พิมพ์หน้านี้ - ทีวีสามมิติ อีกก้าวย่างของความแปลกใหม่

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 14, 2009, 08:25:42 PM



หัวข้อ: ทีวีสามมิติ อีกก้าวย่างของความแปลกใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 14, 2009, 08:25:42 PM
โทรทัศน์เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่าน มาสื่อชนิดนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี ภาพชีวิตที่สะท้อนผ่านกรอบหน้าจอสี่เหลี่ยมเล็กๆ  ไม่ยากนักที่จะสะกดให้สายตาทุกคู่ที่กำลังเฝ้ามองเห็นคล้อยตามไปด้วย ทั้งโศกเศร้า  เฮฮา  ล้วนแต่เป็นสื่อมายาที่ผู้ชมคล้อยตามอ่อนไหวไปกับความหลากหลายทางอารมณ์ที่ รับผ่านทางหน้าจอสี่เหลี่ยม

           โทรทัศน์ได้กลายเป็น สื่อสำคัญในการเข้าถึงในทุกครัวเรือนสร้างอิทธิพลในการโน้มน้าวและเปลี่ยน แปลงความคิดความอ่านของผู้คนมาอย่างยาวนาน แต่กว่าจะเป็นโทรทัศน์ที่มีติดบ้านกันแทบทุกจะหลังคาเรือนอย่างเช่นทุก วันนี้ โทรทัศน์ก็มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน การผลิตโทรทัศน์ออกมาสักเครื่องจำต้องอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใน หลายๆแขนง ไม่ว่าจะต้องอาศัยองค์ความรู้จาก

           -  การค้นพบธาตุซิลีเนียมของ จาคอบ เบอร์เซเบียส (Jacob Berzebius) ในปี พ.ศ. 2360 ซิลีเนียมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการผลิตโฟโตอิเล็กทริกซ์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
           -  หลอดรังสีแคโทด เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของการพัฒนาโทรทัศน์ วิลเลียม ครุก (William Crook) ได้คิดค้นขึ้นเป็นผลสำเร็จ เขาเรียกมันว่า  หลอดไฟฟ้าครุก ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาและปรับปรุง จนกลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างเครื่องรับโทรทัศน์ในยุคปัจจุบัน
           -   ในปี พ.ศ.2407 เจมส์ แมกเวลล์ (James Clerk Maxvell) ค้นพบรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ถือเป็นจุดสำคัญอีกประการหนึ่งของการเกิดสื่ออย่างโทรทัศน์ เพราะเทคโนโลยีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถูกนำมาใช้เป็นพาห์ในการรับส่งภาพและเสียงของโทรทัศน์นั้นเอง
           -  รูดอล์ฟ เฮิร์ทซ์ (Rudolph Henrich Hertz) เป็นผู้ซึ่งสามารถประดิษฐ์เครื่องมือที่สามารถ ใช้รับส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  คลื่นที่ถูกส่งออกไปถูกเรียกว่าคลื่นเฮิร์ต อันถือว่าเป็นการให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้นี้ในฐานะผู้ค้นพบ

           แต่สำหรับจุดเริ่มต้นอันเป็นก้าวย่างสำคัญของการเกิดโทรทัศน์คือการค้นพบของ พอล นิพโกว์ (Paul Nipkow) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งสามารถรวมเอาองค์ความรู้ในแขนงต่างๆมาสร้าง ให้เกิดภาพบนจอรับได้ วิธีการของ ปอล นิพโกว์ ใช้หลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนซึ่งเขาเรียกมันว่าจาน นิพโกวดิสก์
http://www.vcharkarn.com/uploads/168/168593.jpg (http://www.vcharkarn.com/uploads/168/168593.jpg)

(http://)นิพโกวดิสก์ มีลักษณะเป็นจานกลมที่เจาะรูเล็กๆ ไว้โดยรอบ  วิธีการแพร่ภาพที่ พอล นิพโกว์ นำมาใช้ในการทดลองของเขาคือ เขาจะทำการหมุนจานกลมด้วยความเร็วสูง แสงที่กระทบจะสามารถลอดผ่านจุดเล็กๆที่เจาะไว้ออกมาได้ และถูกแปลงให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าไปยังจานรับอีกใบที่กำลังหมุนด้วยความเร็วที่สัมพันธ์กันกับจานใบแรก  ก่อนที่กระแสไฟฟ้าดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนกลับเป็นภาพอีกทีและปรากฏลงบนจอของเครื่องรับ หลักการนี้เองที่ต่อมาถูกนำมาดัดแปลงในการส่งคลื่นสัญญาณของโทรทัศน์

           ถึงแม้จะประสบความสำเร็จในการแปลงสัญญาณและส่งให้กลายเป็นภาพที่เครื่องรับได้แต่ปัญหาของพอล นิวโกว์ ก็ยังคงมีอยู่คือการจะทำยังไงให้สามารถส่งสัญญาที่ว่านี้ไปได้ในระยะไกลๆ  ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือที่สามารถขยายสัญญาณที่มีประสิทธิภาพมากพอ

           แต่ ความเพียรพยายามของพอล นิพโกว ก็ไม่ถือว่าเป็นการสูญเปล่าเสียทีเดียว องค์ความรู้ที่เกิดจากความเพียรพยายามของเขาถูกนำมาพัฒนาต่อจนกลายเป็นระบบ รับส่งโทรทัศน์ที่กลายเป็นสื่อที่ไม่เคยล้าสมัยไปจากสังคมของเรา
           ผู้ที่นำแนวคิดของพอล นิพโกว์ มาศึกษาต่อคือ จอห์น แบร์ด นักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อตแลนด์ เขานำหลักการของพอล นิพโกว์ มาประยุกต์สร้างเป็นโทรทัศน์แบบกลไก จอห์น แบร์ด ได้ทำการทดลองส่งสัญญาณภาพขาวดำที่มีความละเอียด 30 เส้น โดยการสแกนภาพในแนวตั้ง ที่ความเร็ว 5 เฟรมต่อวินาที หลังจากนั้น จอห์น แบร์ด ก็ได้ทำการทดลองและปรับปรุงงานวิจัยของเขาเรื่อยมาจนเป็นที่น่าพอใจเขาจึงเปิดให้มีการสาธิต ให้ประชาชนชาวลอนดอนได้รับชมโทรทัศน์ฝีมือของเขา ซึ่งในครั้งนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

           ในขณะที่ชาวลอนดอนพากันตื่นเต้นยินดีในระบบโทรทัศน์แบบกลไกของจอห์น แบร์ด ฝั่งอเมริกาก็ไม่น้อยหน้าเมื่อได้ทำการทดลองส่งผ่านโทรทัศน์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน  มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันสองท่านที่ต่างออกมากล่าวอ้างว่าตนเป็นคนค้นพบเทคโนโลยีชนิดนี้ก่อนกัน ระหว่าง ฟิโล ฟานเวิร์ท และ วลาดิเมีย สวอริกิน เมื่อตกลงกันไม่ได้ทั้งสองจึงต้องพึ่งอำนาจศาลว่าใครกัน ที่เป็นบุคคลแรกของการคิดค้นโทรทัศน์ระบบอิเล็กทรอนิกส์กันแน่ ศาลได้วินิจฉัยให้ฟานเวิร์ทชนะและได้สิทธิบัตรไปครอบครองในที่สุด

(http://www.vcharkarn.com/uploads/168/168594.jpg)

http://www.sfcityguides.org/ (http://www.sfcityguides.org/)

(http://)ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ฟากอเมริกันมีการทำงานที่แตกต่างกับโทรทัศน์ระบบกลไก โดยวิธีการทำงานของโทรทัศน์ระบบอิเล็กทรอนิกส์อาศัยหลอดวิทยุที่ทำหน้าปล่อยแสงและรับแสงโดยแปลงออกมาเป็นคลื่นไฟฟ้า มีอุปกรณ์สำคัญอีกชนิดที่ทำหน้าที่ยิงแสง เรียกว่าปืนอิเล็กทรอนิกส์  ปืนอิเล็กทรอนิกส์จะจับภาพและยิงภาพออกไปเป็นลำแสงเล็กๆ  หลอดวิทยุที่มีความไวในการรับแสงจะแปลงแสงให้กลายเป็นคลื่นไฟฟ้าและส่งออกไป ในเครื่องรับ ปืนอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่ตรวจสแกนคลื่นที่ถูกส่งมาทำให้ปรากฏเป็นภาพขึ้นในเครื่องรับได้ ความสามารถของปืนอิเล็กทรอนิกส์มีมากกว่าจานหมุนทำให้โทรทัศน์ระบอิเล็กทรอนิกส์ให้ภาพที่คมชัดกว่าโทรทัศน์ระบบกลไกของ  จอห์น แบร์ด การทดลองออกอากาศโทรทัศน์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์กลายมาเป็นพื้นฐานที่ได้พัฒนาปรับปรุงมาจนกลายเป็นระบบการรับส่งโทรทัศน์ในปัจจุบัน

           หลังจากนั้นระบบโทรทัศน์ก็ได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ จากยุคเริ่มต้นที่มีจอภาพขาวดำ พัฒนามาเป็นระบบรับส่งจอสี จนมาถึงยุด LCD ดูเหมือนว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้ ความนิยมในสื่อชนิดนี้ลดน้อยถอยลงตามกาลเวลา โดยเฉพาะการเข้ามาแทนทีด้วยสื่อสมัยใหม่หลายชนิด ที่สำคัญอย่างเช่นอินเตอร์เนต ก็เป็นสื่อยุคใหม่อีกชนิดหนึ่งที่สามารถดึงความสนอกสนใจของผู้คนออกจากสื่อโทรทัศน์ได้มากพอสมควร โทรทัศน์ลดบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิตและค่านิยมลดน้อยลงตามลำดับ

           แม้จะล้าสมัยลงกลายเป็นสื่อยุคเก่าที่ไม่สามารถนำพาความรู้สึกแปลกใหม่มาสู่ผู้คนในสังคมได้ แต่สื่อแต่ละประเภทก็ย่อมมีเสน่ห์ในตัวมันเองการเข้ามาของโทรทัศน์ ไม่ได้ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุล้มหายตายจากลงฉันใด การเข้ามาของสื่อไฮเทคสมัยใหม่ก็ย่อมไม่ได้ทำให้เสน่ห์ของโทรทัศน์ลดน้อยถอยลงด้วยเช่นกัน แม้จะได้รับนิยมลดน้อยถอยลงจากแต่เดิม แต่เสน่ห์หรือคุณค่าในตัวมันเองยังมีอยู่ ยิ่งการพัฒนาสู่ยุคทีวีสามมิติ ยิ่งเหมือนการเรียกร้องให้ผู้คนหันกลับมาสนใจพัฒนาการอันแปลกใหม่และตื่นตาตื่นใจในสื่อชนิดนี้

(http://www.vcharkarn.com/uploads/168/168595.jpg)

ก้าวสู่ยุคทีวีสามมิติ


           ทีวีสามมิติเป็นนวัตกรรมในวงการทีวี หากใครเคยรับชมภาพยนต์สามมิติที่เคยเข้าฉายในบ้านเรามาบ้าง ย่อมซึมซาบและสัมผัสได้กับความตื่นเต้นเร้าใจ แปลกใหม่ที่ได้รับจากภาพยนต์สามมิติ ภาพสัตว์ป่าดุร้ายที่หมายโจนขย้ำเหยื่อ ดูคล้ายกับว่ามันกำลังเผ่นโผนออกมาในจอ กรงเล็บที่กางออกสุดเหยียดพร้อมจะตะปบเหยื่อ ย่อมสร้างความเสียวซ่านไปถึงปลายผมของผู้รับชมได้เป็นอย่างดี


           ข้อดีของทีวีสามมิติแบบใหม่ไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์เสริมอย่างอื่นเลย   ทีวีสามมิติสามารถสื่อความตื่นเต้นออกมาโดยไม่ต้องอาศัยแว่นตาสามมิติแบบ เก่าๆที่เราเคยคุ้นชิน ความตื่นเต้นสสมจริงสามารถสัมผัสได้ด้วยตาเปล่า  ผู้ผลิตหลายค่ายต่างเร่งทุ่มสรรพกำลังในการศึกษาค้นคว้าเพื่อจะผลิตทีวีสาม มิติออกมาโดยอาศัยเทคโนโลยีและความรู้ความเชียวชาญที่แตกต่างกันไปแต่ล้วนมี เป้าหมายเดียวกันนั้นคือการเนรมิตภาพสมจริงแบบสามมิติผ่านหน้าจอทีวี เช่น

           ฟิลลิปผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีกระแสข่าวออกมานานแล้วว่ากำลังจะมีการส่งทีวีประสิทธิภาพสูงหรือเอชดีทีวี (high-definition) ซึ่งสามารถแสดงภาพแบบสามมิติออกมาวางตลาด ฟิลลิปใช้วิธีการยิงลำแสงออกจากพิกเซลทั้งหมดของจอภาพ ทำให้เกิดเป็นภาพที่ทับซ้อนกันถึง 8 ภาพเมื่อตาของเรารับภาพที่แตกต่างกันจำนวนมากเช่นนี้ จึงทำให้มองให้เห็นมิติของความลึกเพิ่มมาในรูปแบบของภาพสามมิติ
           บริษัทซีเรียลของลักเซมเบิร์ก ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างไปจากฟิลลิปโดยใช้การผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี "ซับ-โฮโลแกรม"และ "วิววิ่ง วินโดว์ส " ทำให้เกิดเป็นภาพสามมิติขึ้นมา
           โซนีก็เป็นผู้ผลิตอีกหลายที่มุ่งมั่นและประกาศออกมาว่าจะมีทีวีสามมิติออกมาให้บริการภายในแบรนด้ของตนภายในเวลาอีกไม่นาน โดยจะผลึกกับเทคโนโลยีในการสร้างทีวีที่ตนมีความถนัดอยู่ก่อนแล้ว จึงมีการคาดหมายกันว่าในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้น่าจะมีทีวีสามมิติจากโซนี่ออกมาแน่นอน

           ดูเหมือนว่าทุกค่ายผู้ผลิตกำลังเร่งไปในทิศทางเดียวกันคือการ เร่งผลิตทีวีสามมิตออกมาเพราะคาดการณ์กันว่ายังไงเทคโนโลยีชนิดก็ต้องย่อมเกิดขึ้นในเวลาไม่ช้าไม่นาน การเป็นผู้ผลิตรายแรกย่อมได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดที่คุ้มค่า ทั้งยังกลายเป็นผู้นำของเทคโนโลยีใหม่ สื่อโทรทัศน์กำลังลดความสำคัญลงเป็นลำดับเพราะการเข้ามาแทนทีของสื่อสมัยใหม่ และทางเลือกของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น การโดนแย่งความสนใจของสื่อโทรทัศน์จากกิจกรรมอย่างอื่นที่มีอยู่หลาก หลายนับวันจะผลักให้สื่อโทรทัศน์กลายเป็นสื่อชั้นรองลงทุกขณะแต่การพัฒนา เพื่อก้าวสู่โลกของยุคสามมิติย่อมสร้างความสดและแปลกใหม่ให้ผู้คนหันมาสนใจ ได้เป็นอย่างดี
[url=http://farm1.static.flickr.com/]]http://farm1.static.flickr.com/] (http://[/url)ก้าวสู่ยุคทีวีสามมิติ


           ทีวีสามมิติเป็นนวัตกรรมในวงการทีวี หากใครเคยรับชมภาพยนต์สามมิติที่เคยเข้าฉายในบ้านเรามาบ้าง ย่อมซึมซาบและสัมผัสได้กับความตื่นเต้นเร้าใจ แปลกใหม่ที่ได้รับจากภาพยนต์สามมิติ ภาพสัตว์ป่าดุร้ายที่หมายโจนขย้ำเหยื่อ ดูคล้ายกับว่ามันกำลังเผ่นโผนออกมาในจอ กรงเล็บที่กางออกสุดเหยียดพร้อมจะตะปบเหยื่อ ย่อมสร้างความเสียวซ่านไปถึงปลายผมของผู้รับชมได้เป็นอย่างดี


           ข้อดีของทีวีสามมิติแบบใหม่ไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์เสริมอย่างอื่นเลย   ทีวีสามมิติสามารถสื่อความตื่นเต้นออกมาโดยไม่ต้องอาศัยแว่นตาสามมิติแบบ เก่าๆที่เราเคยคุ้นชิน ความตื่นเต้นสสมจริงสามารถสัมผัสได้ด้วยตาเปล่า  ผู้ผลิตหลายค่ายต่างเร่งทุ่มสรรพกำลังในการศึกษาค้นคว้าเพื่อจะผลิตทีวีสาม มิติออกมาโดยอาศัยเทคโนโลยีและความรู้ความเชียวชาญที่แตกต่างกันไปแต่ล้วนมี เป้าหมายเดียวกันนั้นคือการเนรมิตภาพสมจริงแบบสามมิติผ่านหน้าจอทีวี เช่น

           ฟิลลิปผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีกระแสข่าวออกมานานแล้วว่ากำลังจะมีการส่งทีวีประสิทธิภาพสูงหรือเอชดีทีวี (high-definition) ซึ่งสามารถแสดงภาพแบบสามมิติออกมาวางตลาด ฟิลลิปใช้วิธีการยิงลำแสงออกจากพิกเซลทั้งหมดของจอภาพ ทำให้เกิดเป็นภาพที่ทับซ้อนกันถึง 8 ภาพเมื่อตาของเรารับภาพที่แตกต่างกันจำนวนมากเช่นนี้ จึงทำให้มองให้เห็นมิติของความลึกเพิ่มมาในรูปแบบของภาพสามมิติ
           บริษัทซีเรียลของลักเซมเบิร์ก ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างไปจากฟิลลิปโดยใช้การผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี "ซับ-โฮโลแกรม"และ "วิววิ่ง วินโดว์ส " ทำให้เกิดเป็นภาพสามมิติขึ้นมา
           โซนีก็เป็นผู้ผลิตอีกหลายที่มุ่งมั่นและประกาศออกมาว่าจะมีทีวีสามมิติออกมาให้บริการภายในแบรนด้ของตนภายในเวลาอีกไม่นาน โดยจะผลึกกับเทคโนโลยีในการสร้างทีวีที่ตนมีความถนัดอยู่ก่อนแล้ว จึงมีการคาดหมายกันว่าในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้น่าจะมีทีวีสามมิติจากโซนี่ออกมาแน่นอน

           ดูเหมือนว่าทุกค่ายผู้ผลิตกำลังเร่งไปในทิศทางเดียวกันคือการ เร่งผลิตทีวีสามมิตออกมาเพราะคาดการณ์กันว่ายังไงเทคโนโลยีชนิดก็ต้องย่อมเกิดขึ้นในเวลาไม่ช้าไม่นาน การเป็นผู้ผลิตรายแรกย่อมได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดที่คุ้มค่า ทั้งยังกลายเป็นผู้นำของเทคโนโลยีใหม่ สื่อโทรทัศน์กำลังลดความสำคัญลงเป็นลำดับเพราะการเข้ามาแทนทีของสื่อสมัยใหม่ และทางเลือกของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น การโดนแย่งความสนใจของสื่อโทรทัศน์จากกิจกรรมอย่างอื่นที่มีอยู่หลาก หลายนับวันจะผลักให้สื่อโทรทัศน์กลายเป็นสื่อชั้นรองลงทุกขณะแต่การพัฒนา เพื่อก้าวสู่โลกของยุคสามมิติย่อมสร้างความสดและแปลกใหม่ให้ผู้คนหันมาสนใจ ได้เป็นอย่างดี
http://farm1.static.flickr.com/ (http://farm1.static.flickr.com/)
ขอบคุณวิชาการดอดคอม