พิมพ์หน้านี้ - ขอถามผู้รู้เรื่องตู้เย็นกินไฟ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

► อิเล็กทรอนิกส์ ► => แอร์,ตู้เย็น,ไมโครเวฟ,ซักผ้า => ข้อความที่เริ่มโดย: SAK101 ที่ กรกฎาคม 22, 2009, 01:56:27 PM



หัวข้อ: ขอถามผู้รู้เรื่องตู้เย็นกินไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: SAK101 ที่ กรกฎาคม 22, 2009, 01:56:27 PM
คือว่าตู้เย็นที่ร้านผมหนะกินไฟไม่ค่อยจะมีตังค์ก็เลยอยากจะถามผู้รู้ว่าเขาเช็คกันยังงัยพอมีทางกลับมาเป็นเหมือนเดิมใหม.....ขอบพระคุณครับ


หัวข้อ: Re: ขอถามผู้รู้เรื่องตู้เย็นกินไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กรกฎาคม 22, 2009, 03:38:24 PM
ปฏิบัติการลดค่าไฟฟ้า...ทำเช่นนี้จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้
(ตัวอย่างคำนวณมาจากการใช้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่หน่วยละ 2.50 บาท)

ตู้เย็น
การเปิดตู้เย็นบ่อยๆ หรือใส่ของร้อนจะทำให้ความร้อนเข้าไปในตู้ ภายในตู้เสียความเย็น ตู้เย็นต้องเริ่มทำงานสะสมความเย็นใหม่ หมั่นตรวจสอบขอบยางประตูอย่าปล่อยให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ

ตู้เย็น กินไฟประมาณ 53-194 วัตต์

ลด...ละ...เลิก...

- เลิกนำอาหารที่ร้อนหรือยังอุ่นแช่ในตู้เย็น
- ลดการเปิดตู้เย็นโดยไม่จำเป็น เพราะค่าไฟฟ้า จะเพิ่มตามจำนวนครั้งของการเปิดตู้เย็น
- เลิกเปิดประตูตู้เย็นค้างไว้เป็นเวลานานๆ
- ไม่แช่ของจนแน่นเกินไป เพราะความเย็นจะไหลเวียนไม่สะดวก
- อย่าตั้งตู้เย็นใกล้เตาไฟหรือหม้อหุงข้าว หรือถูกแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะจะทำให้ตู้เย็นระบายความร้อนไม่ดี สิ้นเปลืองไฟ

ดูแลรักษาและใช้อย่างถูกวิธี

- ควรตั้งอุณหภูมิภายในตู้เย็น 3-6 องศาเซลเซียส และในช่องแช่แข็งระหว่าง ลบ 15-18องศาเซลเซียส ถ้าตั้งไว้เย็นกว่าที่กำหนด 1องศาเซลเซียส จะสิ้นเปลืองไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 25
- หมั่นละลายน้ำแข็งอย่าให้น้ำแข็งเกาะในช่องน้ำแข็งมากเกินไป โดยกดปุ่มละลายน้ำแข็งหรือดึงปลั๊กออกจนน้ำแข็งละลายหมด
- ควรตั้งตู้เย็นห่างจากผนังทั้งด้านหลังและด้านข้างอย่างน้อย 15 ซม. เพื่อให้การระบายความร้อนดีขึ้น ประหยัดไฟได้ร้อยละ 39

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง

- เลือกตู้เย็นที่ได้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ใหม่ 2001 ซึ่งประหยัดได้มากกว่าเบอร์ 5 เดิมประมาณร้อยละ 20
- ตู้เย็นชนิดกดปุ่มละลายน้ำแข็งกินไฟน้อยกว่าชนิดละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ (No Frost)
- ตรวจสอบยางขอบประตูตู้เย็นโดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยางแล้วปิดประตู ถ้าสามารถเลื่อนกระดาษขึ้นลงได้แสดงว่าขอบยางเสื่อมควรเปลี่ยนใหม่ เพราะคอมเพรสเซอร์ทำงานหนักสิ้นเปลืองไฟ

ตู้เย็นแบบ 1 ประตู 5-6 คิว 100 วัตต์ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง (โดยคอมเพรสเซอร์ทำงานร้อยละ 50) ใช้ไฟวันละ 1.2 หน่วยจะจ่ายค่าไฟฟ้าประมาณ 90 บาทต่อเดือน

การเลือกซื้อตู้เย็น นอกจากจะคำนึงถึงเรื่องราคาแล้ว ควรพิจารณาถึงลักษณะและระบบของตู้เย็น เพื่อประหยัดพลังงานดังต่อไปนี้ คือ

ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟ โดยสติกเกอร์ติดอยู่ที่ตู้เย็น ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพโดยกำหนดตัวเลขดังต่อไปนี้
เลข 5 ดีมาก หมายถึง ประสิทธิภาพสูงสุด
เลข 4 ดี หมายถึง ประสิทธิภาพสูง
เลข 3 ปานกลาง หมายถึง ประสิทธิภาพปานกลาง
เลข 2 พอใช้ หมายถึง ประสิทธิภาพพอใช้
เลข 1 ต่ำ หมายถึง ประสิทธิภาพต่ำ
ควรพิจารณาขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของครอบครัวขนาด 2.5 ลูกบาศก์ฟุต (คิว)
สำหรับสมาชิก 2 คนแรกของครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุตต่อ 1 คน
ควรเลือกตู้เย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหนา และเป็นชนิดโฟมอัด เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียความเย็นมาก
ตู้เย็น 2 ประตู กินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดความจุเท่ากัน เนื่องจากใช้ท่อน้ำยาที่เย็นยาวกว่า แต่ตู้เย็น 2 ประตูจะมีการสูญเสียความเย็นน้อยกว่า
ตู้เย็นชนิดที่ไม่มีน้ำแข็งจับจะกินไฟมากกว่าชนิดที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็ง
ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 220-230 โวลต์เท่านั้น ถ้าใช้ชนิด110-120 โวลต์จะต้องใช้หม้อแปลง
ลดแรงดันทำให้กินไฟมากขึ้น
วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน

ก่อนใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ
ตั้งไว้ในที่เหมาะสม ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร
อย่าตั้งใกล้แหล่งความร้อน ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้เตาไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่นและไม่ควรให้โดนแสงแดด
ปรับระดับให้เหมาะสม เวลาตั้งตู้เย็นให้ปรับระดับด้านหน้าของตู้เย็นสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเวลาปิดน้ำหนักของประตูตู้เย็นจะถ่วงให้ประตูปิดเข้าไปเอง
หมั่นตรวจสอบยางขอบประตู ไม่ให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ
.อย่าเปิดตู้เย็นบ่อยๆเมื่อเปิดแล้วต้องรีบปิด
.ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพสูง
ตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและปริมาณอาหารที่แช่ตู้เย็น
ถอดปลั๊ก กรณีไม่อยู่บ้านหลายวันหรือไม่มีอะไรในตู้เย็น
คำแนะนำด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับตู้เย็น

ควรติดตั้งระบบสายดินกับตู้เย็นผ่านทางเต้าเสียบ-เต้ารับที่มีสายดิน
ใช้ไขควงลองไฟตรวจสอบตัวตู้เย็นว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ตู้เย็นที่ไม่มีสายดินนั้นกลับขั้วที่ปลั๊กอาจทำให้มีไฟรั่วน้อยลงได้
ตู้เย็นที่ดีควรจะมีสวิตช์อัตโนมัติปลดออกและสับเองด้วยการหน่วงเวลา เมื่อมีไฟดับ-ตก มิฉะนั้นจะต้อง
ถอดปลั๊กตู้เย็นออกทันทีก่อนที่จะมีไฟเข้ามา และจะเสียบปลั๊กเข้าอีกครั้งเมื่อไฟมาปกติแล้ว3-5 นาที
หลอดไฟในตู้เย็นถ้าขาด ไม่ควรเอาหลอดออกจนกว่าจะเปลี่ยนใหม่
อย่าปล่อยให้พื้นบริเวณตู้เย็นเปียก เพราะอาจเป็นสื่อไฟฟ้าอย่างดี ให้ปูพรมหรือพื้นยางก็ได้
ส่วนบริเวณมือจับก็ควรมีผ้าหรือฉนวนหุ้มด้วย
เครดิต พีอีเอสำหรับเด็ก