พิมพ์หน้านี้ - เด็กเสี่ยงไฮเปอร์-สมาธิสั้น เหตุบริโภคอาหาร เครื่องดื่มมีสารกันบูด

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ เมษายน 20, 2008, 06:20:49 AM



หัวข้อ: เด็กเสี่ยงไฮเปอร์-สมาธิสั้น เหตุบริโภคอาหาร เครื่องดื่มมีสารกันบูด
เริ่มหัวข้อโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ เมษายน 20, 2008, 06:20:49 AM
เด็กเสี่ยงไฮเปอร์-สมาธิสั้น เหตุบริโภคอาหาร เครื่องดื่มมีสารกันบูด

(http://www.dailynews.co.th/web/images/logo.gif)

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/environment/4/20/161233_73409.jpg)

เชื่อหรือไม่ ทุกวันนี้ วิถีชีวิตคนไทยยังต้องผจญอยู่กับวัตถุเจือปนอาหาร ทั้งสารเคมีสังเคราะห์  สารกันเสียและสีผสมอาหาร ในอาหาร  ขนมหวาน  ลูกกวาด  ไอศกรีม  น้ำผลไม้และน้ำอัดลม   ซึ่งวัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในระยะยาว
 
ข้อมูลจากรายงาน ประจำเดือนมกราคม 2551 ของ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร แผนกวิเคราะห์ข้อมูล ฝ่ายบริการข้อมูลและสารสนเทศ สถาบันอาหาร ระบุว่า ปัจจุบันวัตถุเจือปนอาหาร  ซึ่งเป็นสารกลุ่มหนึ่งในอุตสาหกรรมสารผสมอาหาร อาทิ  วัตถุกันเสีย  สีผสมอาหาร ฯลฯ ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหารเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะอาหารสำหรับเด็กนั้นมีมูลค่ากว่า  20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ   

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/environment/4/20/161233_73410.jpg)

ด้วยคุณสมบัติช่วยถนอมรักษาอาหาร ให้สามารถเก็บได้นาน สีสัน สวยงาม สม่ำเสมอตลอดอายุการเก็บ ซึ่งสารเหล่านี้บางชนิดผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ ที่ถูกควบคุมและจำกัดด้านปริมาณ โดยในทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารนี้อย่างมาก
 
ล่าสุดในเดือนตุลาคม 2550 นักวิจัยจากประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารทางการแพทย์ชื่อดัง พบว่า การใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ร่วมกับ สารโซเดียมเบนโซเอต ซึ่งเป็นวัตถุกันเสีย หรือในภาษาชาวบ้านที่เรียกว่า สารกันบูด ชนิดหนึ่งที่ใช้ผสมอาหารอย่างแพร่หลายในอาหารประเภทขนมหวาน ลูกกวาด ลูกอม ไอศกรีม น้ำผลไม้และน้ำอัดลม อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กอายุระหว่าง 3-9 ขวบ มีพฤติกรรมไม่หยุดนิ่ง ที่เรียกกันว่าอาการ “ไฮเปอร์” หรือเป็นโรคสมาธิสั้น

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/environment/4/20/161233_73411.jpg)

สามารถสังเกตได้จากเด็กจะไม่สามารถควบคุมสมาธิและการเคลื่อนไหวของตนเองได้ วอกแวกง่าย อยู่ไม่นิ่ง ซุกซนผิดปกติ ขาดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา อาทิ ผลการเรียนตกต่ำ เป็นต้น
 
ดังนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อขนม หรือเครื่องดื่มให้เด็ก ๆ ผู้ปกครองควรอ่านฉลากให้แน่ใจว่าขนมหรือเครื่องดื่มที่เด็ก ๆ ชื่นชอบปราศจากวัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ ซึ่งผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมจะมีแนวโน้มที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างประเทศมาในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม มากกว่าที่จะใช้วิธีเก่า ๆ แบบดั้งเดิมที่เน้นผลิตจำนวนมากในราคาถูก
 
สำหรับในประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุข มีประกาศควบคุมชนิดและปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารในอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มหลายชนิด โดยกำหนดให้ใช้สีผสมอาหารในอาหารและเครื่องดื่ม   ได้เพียง 4 ชนิด คือสีสังเคราะห์ที่ให้สีเหลือง ได้แก่ Sunset Yellow  และ Tartrazine สีสังเคราะห์ที่ให้สีแดง ได้แก่ Ponceau 4R และ Carmoisine พร้อมกำหนดปริมาณการทั้งในเครื่องดื่ม ลูกกวาดและขนมหวาน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547)

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/environment/4/20/161233_73412.jpg)

แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวัตถุเจือปนอาหารอย่างจริงจัง แต่ผลจากนักวิจัยในต่างประเทศ กระตุ้นให้ผู้ประกอบการคนไทยหันมาใส่ใจ และศึกษาถึงการพัฒนาสินค้าอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และอื่น ๆ เพื่อการจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก
 
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่หน่วยงานภาครัฐต้องเร่ง กระตุ้นและสนับสนุน คือการลดการใช้สีสังเคราะห์และสารกันเสียในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม รวมไปถึงลูกกวาด ขนมหวาน เค้ก เบเกอรี่ น้ำผลไม้และน้ำอัดลม
 
โดยเปลี่ยนมาใช้สีผสมอาหารที่ได้จากธรรมชาติ ขณะที่ผู้บริโภคเองโดยเฉพาะผู้ปกครอง ต้องป้องกันไม่ให้เด็กบริโภคอาหาร เครื่องดื่มที่มีสีสันฉูดฉาด เลือกบริโภคอาหารที่ใหม่ สด และเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการผลิต และมีฉลากระบุส่วนผสมอาหารที่ชัดเจน
 
อย่างไรก็ดี การลด ละ เลิก การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ทั้งสารกันเสียและสีผสมอาหาร ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการภาคเอกชนถ้วนหน้า ซึ่งปัจจุบันพบว่าบริษัทเอกชน เริ่มให้ความสำคัญและหันมาใช้เทค โนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตเพื่อให้สินค้าคงคุณค่าทางโภชนาการอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องปรุงแต่งด้วยสารสังเคราะห์
   
โดย นางสาว สุวรรณดี ไชยวรุตม์ ผู้จัดกา ร ฝ่ายการตลาด บริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำส้มฟรุ้ตฟิตฟอร์ฟัน กล่าวว่า ด้วยนโยบายของบริษัทในการเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไทย และเชื่อว่าคุณภาพชีวิตมิได้ถูกจำกัดด้วยรายได้ ทุกคนสามารถเลือกคุณภาพชีวิตที่ดีได้
 
โดยการให้ความใส่ใจขึ้นอีกนิดในการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่ม บริษัทจึงนำระบบเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ที่เรียกว่า ระบบ โคลด์ อะเซพเทค ( COLD ASEPTECH )  หรือ การบรรจุเย็นแบบปลอดเชื้อ จากประเทศเยอรมนี เข้ามาใช้ในการผลิตและบรรจุน้ำส้มฟรุ้ตฟิตฟอร์ฟัน ซึ่งเป็นน้ำส้มไร้วัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ที่ผลิตด้วยระบบโคลด์ อะเซพเทคแบบครบวงจรรายแรกในเมืองไทย

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/environment/4/20/161233_73413.jpg)

ทั้งนี้ ระบบโคลด์ อะเซพเทค เป็นเทคโนโลยีล่าสุด ที่อาศัยกรรมวิธีในการทำให้ปลอดเชื้อตลอดกระบวนการบรรจุ โดยเน้นการลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ตั้งแต่ขั้นตอนในการผสมในห้องปลอดเชื้อ หรือ คลีนรูม ที่มีอากาศบริสุทธิ์ในระดับที่เรียกว่า คลาส 5 ซึ่งเทียบเท่าห้องผ่าตัดที่ได้มาตรฐานโลก ทำให้บรรจุภัณฑ์ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ และฆ่าเชื้อส่วนผสมด้วยความร้อนสูง แต่ใช้ระยะเวลาสั้นมาก เพื่อคงคุณค่าสารอาหาร ความสดใหม่ กลิ่นและรสชาติที่คงเดิม รวมทั้งยังช่วยยืดอายุสินค้าให้เก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น
 
นอกจากนี้ ระบบโคลด์ อะเซพเทค ยังเหมาะกับการใช้ผลิตเครื่องดื่มประเภทน้ำผักผลไม้ ที่ต้องการรสสัมผัสและกลิ่นตามธรรมชาติ อีกทั้งยังคงคุณค่าสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินซีไว้ได้ เทคโนโลยีการบรรจุแบบใหม่นี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในยุโรป สหรัฐอเมริกา และกำลังขยายวงกว้างสู่ประเทศในแถบเอเชีย
 
ด้าน ผศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล ให้ข้อมูลทางวิชาการด้านวิตามินซีว่า วิตามินจะถูกทำลายได้ง่ายในสภาพที่มีความร้อน ยิ่งบ้านเราเป็นเมืองร้อนการสูญเสียวิตามินซีในผลไม้รวดเร็วกว่าประเทศในเมืองหนาว ประกอบกับในภาคการขนส่งไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ อย่างส้มจากเชียงใหม่ มาในรถไม่ติดแอร์กว่าจะถึงกรุงเทพฯ วิตามินซีที่มีอยู่ 100 อาจเหลือ 20
 
ยกตัวอย่างเมื่อซื้อฝรั่งจากตลาดวันที่ 1 ตั้ง  ทิ้งไว้ไม่เก็บในตู้เย็น วิตามินซีจะลดลงประมาณ 30-50 เปอร์ เซ็นต์ ขณะเดียวกันเมื่อใส่ในตู้เย็นวิตามินซีก็ลดลงไปเรื่อย วิธีเก็บผลไม้ให้คงวิตามินซีไว้ได้มากที่สุดคือเก็บแล้วห่อให้ปิดสนิทโดยใช้กระดาษห่อ เพราะแสงไฟในตู้เย็นสามารถทำลายวิตามินซีได้
 
“ผลไม้ไม่ควรซื้อกักตุนไว้ทานเป็นอาทิตย์ เพราะการเก็บไว้นานจะไม่ได้อะไรเลย สุดท้ายแล้วจะเหลือสารอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”
 
นักโภชนาการคนเดิมยังบอกอีกว่า ข้อแตกต่างระหว่างการรับประทานผลไม้สดกับน้ำผลไม้ ต่างกันที่เส้นใยอาหาร เมื่อผลไม้ถูกสกัดมาเป็นน้ำผลไม้ กากใยอาหารถูกแยกออกไป แต่การกินผลไม้สดซึ่งมีใยอาหารการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดจะช้ากว่าการกินน้ำผลไม้ ขณะที่ดื่มน้ำผลไม้มีข้อดีที่ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้รวดเร็ว แต่เป็นผลร้ายสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จึงควรหลีกเลี่ยงเพราะน้ำตาลจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำตาลหลังจากที่ย่อยแล้วมันจะลอยอยู่ในกระแสเลือด เข้าไม่ได้ เนื่องจากไม่มีอินซูลิน ไตทำหน้าที่ขับพวกนี้ค่อนข้างที่จะลำบาก ส่วนข้อเสียที่ได้เมื่อดื่มน้ำผลไม้มาก ๆ ร่างกายก็จะไม่ได้ใยอาหาร ใยอาหารช่วยในการขับถ่าย เมื่อขับถ่ายทำให้คนเราสุขภาพดี
 
“ควรจะมีฉลาก ว่าดื่มน้ำผลไม้ไม่ควรเกินเท่าไรเหมือนกับขนมกรุบกรอบ สมมุติว่ากรณีดื่มมากเกินไปก็มีผล ก็โดยเฉพาะใยอาหารได้ในปริมาณซึ่งพอเหมาะพอสมเขาก็จะช่วยให้สุขภาพดี”
 
เมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม ผลไม้มีให้เลือกรับประทานทั้งปี วิตามินซีจากผลไม้หาได้ไม่ยาก ผลไม้พื้นบ้านอย่างเช่น มะยม ตะลิงปลิง ปลูกง่ายให้ผลดีวิตามินซีโข เป็นสิ่งที่เราอาจหลงลืมไปในยุคข้าวยากหมากแพงจึงเป็นสิ่งที่น่าคิดคำนึง.