พิมพ์หน้านี้ - สำหรับผู้ที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะหมดปัญหาแล้ว

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => สุขภาพ => ข้อความที่เริ่มโดย: s1150 ♥280 ที่ เมษายน 02, 2008, 12:28:57 PM



หัวข้อ: สำหรับผู้ที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะหมดปัญหาแล้ว
เริ่มหัวข้อโดย: s1150 ♥280 ที่ เมษายน 02, 2008, 12:28:57 PM
คนที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่คงรู้สึกหงุดหงิดกับตัวเองไม่น้อย
แต่ต่อไปปัญหานี้อาจจะไม่ทำให้อารมณ์เสียอีกแล้ว


(http://www.uploadtoday.com/thumb.php?8d0c1823ce1e8a3c6b9c009822ef2c50) (http://www.uploadtoday.com/download/?8d0c1a873abed35b34f6c122daf23ba8)


เนื้อหา »     

บีบีซีนิวส์ - คนที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่คงรู้สึกหงุดหงิดกับตัวเองไม่น้อย แต่ต่อไปปัญหานี้อาจจะไม่ทำให้อารมณ์เสียอีกแล้ว เพราะอีกไม่นานคณะนักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียก็จะเปลี่ยนถ่ายกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะซึ่งควบคุมด้วยรีโมท คอนโทรลได้สำเร็จ

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถเก็บปัสสาวะไว้ในกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนั้น คณะนักวิทยาศาสตร์จากยูนิเวอ์ซิตี ออฟ เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียจึงคิดที่จะรักษาอาการดังกล่าวโดยการเปลี่ยนกล้ามเนื้อหูรูด

ส่วนเทคนิคหรือวิธีการที่จะนำมาใช้นั้น ทางคณะนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า จะนำเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายมาทำเป็นกล้ามเนื้อรูปวงแหวน และจะนำไปเปลี่ยนถ่ายเพื่อเป็นกล้ามเนื้อหูรูดเทียม

และเพื่อให้กล้ามเนื้อหูรูดเทียมทำงานได้ดี คณะนักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดที่จะนำตัวกระตุ้นไฟฟ้าขนาดเล็กไปใส่ไว้ในกล้ามเนื้อหูรูดเทียม ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวจะทำงานคล้ายกับเครื่องมือที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังเพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ

แต่จะต่างกันก็ตรงที่ผู้ป่วยที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะสามารถใช้รีโมท คอนโทรลบังคับการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดเทียมได้ เมื่อต้องการจะเข้าห้องน้ำ ซึ่งศาสตราจารย์จอห์น เฟอร์เนสส์ ผู้นำการวิจัยเชื่อว่าเทคนิคนี้จะช่วยรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของคนเป็นจำนวนมากได้

"ปัจจุบัน แพทย์รักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนเอาอวัยวะปลอมใส่เข้าไปแทนที่ ซึ่งอาจเกิดปัญหาการรั่วซึม เนื้อเยื่อภายในร่างกายมีการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมและการทำงานของอวัยวะปลอมล้มเหลวได้ในภายหลัง" ศาสตราจารย์เฟอร์เนสส์ กล่าว

ทั้งนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งทีมขึ้นในรูปแบบของบริษัทโดยใช้ชื่อว่า คอนทิเนนท์ คอนโทรล ซิสเต็มส์ อินเตอร์เนชันแนล (Continence Control Systems International) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว และคาดว่าจะนำเอาเทคนิคดังกล่าวมาทดลองรักษาผู้ป่วยได้ในปี 2005 ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็จะนำเอามารักษาผู้ป่วยจริงภายในเวลา 5 ปี


Woooow !!Oo!! ~    รอออออ ออ......  ภายใน 5 ปี  เราก็คงจะไม่ต้องรุกรี้รุกรนรีบวิ่งเข้าห้องน้ำกันอีกแล้ว ไม่ต้องกลัวเปียกด้วย!