หัวข้อ: ตัวย่อและความหมายทางelectronics(ในบางวงจร) เริ่มหัวข้อโดย: ช้าง ณ.ปากพนัง -LSV team ที่ มกราคม 20, 2007, 10:01:39 pm ย้ายมาจาก http://www.leksound.net/forum/index.php?topic=3394.0
-------------------------------------------------------------------------------- team >กลุ่มผู้มีน้ำใจ -------------------------------------------------------------------------------- Electronics Reference: Acronyms A A Amperes AC Alternating Current A/D Analog to Digital ADC Analog to Digital Converter AE Applications Engineer AI Artificial Intelligence ALU Arithmetic-Logic Unit AM Amplitude Modulation AMD Advanced Micro Devices, Inc. ANSI American National Standards Institute ARQ Automatic Retransmission reQuest ASCII American Standard Code for Information Interchange ASEE American Society for Engineering Education ASIC Application Specific Integrated Circuit ASPI Advanced SCSI Programming Interface ATDM Asynchronous Time Division Multiplexing ATM Asynchronous Transfer Mode AUI Attached Unit Interface B B Magnetic Flux BBS Bulletin Board System BCC Block Check Character BCD Binary Coded Decimal BiCMOS Bipolar Complementary Metal-Oxide Semiconductor BIOS Basic Input / Output System BNC Bayonet Nut(?) Connector BPS/bps Bytes/bits Per Second BSC Binary Synchronous Communications BSD Berkeley Standard Distribution C C Capacitance CAD Computer Aided Design CAM Computer Aided Manufacturing CAM Content Addressable Memory CAS Column Address Strobe CBX Common Branch eXtender CCD Charge Coupled Device CCITT Consultative Committee of International Telephony and Telegraphy CD Carrier Detect CDDI Copper Distributed Data Interface CDROM Compact Disk Read Only Memory CDMA Code Division Multiple Access CGA Color Graphics Adapter CISC Complex Instruction-Set Computer CLA Carry Look-ahead Adder CMOS Complementary Metal-Oxide Semiconductor CP/M Control Program / Monitor CPI Clocks Per Instruction CPLD Complex Programmable Logic Device CPU Central Processing Unit CR Carriage Return CRC Cyclic Redundancy Code CRQ Command Response Queue CRT Cathode Ray Tube CS Chip Select / Check-Sum CSMA Carrier Sense Multiple-Access CSMA/CD Carrier Sense Multiple-Access with Collision Detect CSR Command Status Register CTS Clear To Send D D Dissipation Factor D/A Digital to Analog DAC Digital to Analog Converter DAT Digital Audio Tape dB (DB) deciBels dBm dB referenced to 1 milliWatt DC Direct Current DCD Data Carrier Detect DCE Data Circuit (Channel) Equipment DD Double Density DDD Direct Distance Dialing DEC Digital Equipment Corporation DES Data Encryption Standard DID Direct Inward Dial DIN Deutsche Industrie Norm DIP Dual-In-line Package DMA Direct Memory Access DOS Disk Operating System DPDT Double-Pole Double-Throw (switch) DPE Data Parity Error DPSK Differential Phase Shift Keying DRAM Dynamic Random Access Memory DS Double Sided DSP Digital Signal Processor DSR Data Set Ready DTC Data Terminal Controller DTE Data Terminal (Terminating) Equipment DTMF Dual-Tone Multi-Frequency DTR Data Terminal Ready DVD Digital Video Disk E E EMF EBCDIC Extended Binary Coded Decimal Interchange Code ECC Error Correction Code ECL Emitter-Coupled Logic ECN Engineering Change Notice ECO Engineering Change Order ECR Engineering Change Request EEPROM Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory EGA Enhanced Graphics Adapter EIA Electronic Industries Association EISA Enhanced Industry Standard Architecture EMI Electro-Magnetic Interference EMF Electro-Motive Force EMS Expanded Memory Specification EOF End Of File EOL End Of Line EPROM Erasable Programmable Read-Only Memory ESD Electro-Static Discharge ESDI Enhanced Small Devices Interface F F Farads FAT File Allocation Table FCC Federal Communications Commission FDD Floppy Disk Drive FDDI Fiber Distributed Data Interface FDM Frequency Division Multiplexing FDMA Frequency Division Multiple Access FDX Full-Duplex Transmission FE Front End FEP Front End Processor FF Form Feed FF Flip-Flop FFT Fast Fourier Transform FIFO First-In First-Out FILO First-In Last-Out FLOPS Floating-point Operations Per Second FM Frequency Modulation FPGA Field Programmable Gate Array FPU Floating Point Unit FRU Field-Replaceable Unit FSK Frequency Shifty Keying FTP File Transfer Program G - H - I G Giga GAs Gallium Arsenide GFLOPS Billions (10^9) of FLOating Point Operations Per Second ("Giga-Flops") GHz Giga Hertz GNU Gnu's Not Unix GPIB General Purpose Interface Bus GUI Graphical User Interface H Henries H Magnetic Force HD High Density HDD Hard Disk Drive HDX Half-Duplex Transmission HFS Hierarchical File System HP Hewlett-Packard I Current HPIB Hewlett-Packard Interface Bus I/O Input / Output IBM International Business Machines Corp. IC Integrated Circuit IDC Insulation Displacement Connector IDE Integrated Device Electronics IEEE Institute of Electrical and Electronic Engineers IMP Interface Message Processor IP Internet Protocol IPC InterProcess Communication IRQ Interrupt ReQuest ISA Industry Standard Architecture ISDN Integrated Services Digital Network ISO International Standards Organization ISP ISP Internet Service Provider J - K - L J Joules of energy K Kilo KVA Kilo Volt-Amps LAN Local Area Network LAP Link Access Protocol LAPB Link Access Protocol Balanced LCD Liquid Crystal Display LED Light Emitting Diode LF Line Feed LIFO Last In First Out LSB Least Significant Bit (or Byte) LSI Large Scale Integration LUN Logical Unit Number M M Mega m milli MAN Metropolitan Area Network MB Mega Bytes MBR Master Boot Record MCA Micro Channel Architecture MCGA Multi-Color Graphics Array MCM Multi-Chip Module mfd micro Farads MFLOPS Millions of FLOating Point Operations per Second ("MegaFlops") MFM Modified Frequency Modulated MHz MegaHertz MIDI Musical Instrument Digital Interface MIPS Millions of Instructions per Second MMU Memory Management Unit MNP Microcom Network Protocol MODEM MOdulator / DEModulator MOPS Millions of Operations Per Second MOS Metal-Oxide Semiconductor MSB Most Significant Bit (or Byte) MSDOS Microsoft Disk Operating System MSI Medium Scale Integration MTBF Mean Time Between Failures N - O n nano NAND Not And N/C No-Connect NBS National Bureau of Standards NEMA National Electrical Manufacturers Association NFS Network File System NIC Network Interface Card NIST National Institute of Standards and Technology NMI Non-Maskable Interrupt NMOS Negatively doped Metal-Oxide Semiconductor NOP No OPeration NSF National Science Foundation NVRAM NonVolatile Random Access Memory OCR Optical Character Recognition ODI Open Datalink Interface OEM Original Equipment Manufacturer OS Operating System OSF Open Software Foundation OSI Open Systems Interconnect P p pico PAL Programmable Array Logic PLA Programmable Logic Array PB Push Button PBX Private Branch eXchange PC Personal Computer, Program Counter PCB Printed Circuit Board PCI Peripheral Component Interconnect PCM Pulse Code Modulation PCMCIA Personal Computer Memory Card International Association PE Professional Engineer PGA Pin Grid Array PIA Peripheral Interface Adapter PIC Programmable Interrupt Controller PIO Programmed Input/Output PLCC Plastic Leaded Chip Carrier PLD Programmable Logic Device PLL Phase Locked Loop PMOS Positively doped Metal-Oxide Semiconductor POP Post Office Protocol (email) POST Power On Self Test POTS Plain Old Telephone Service PPP Point-to-Point Protocol PQFP Plastic Quad-FlatPack PROM Programmable Read-Only Memory PSTN Public Switched Telephone Network Q - R Q Charge QAM Quadrature Amplitude Modulation QFP Quad-FlatPack R Resistance RAM Random Access Memory RAS Row Address Strobe RCA Radio Corporation of America R/C Radio Control RC Resistor - Capacitor RF Radio Frequency RFC Radio Frequency Choke RFI Radio Frequency Interference RFP Request For Proposal RFQ Request For Quotation RI Ring Indicator RISC Reduced Instruction-Set Computer RLL Run Length Limited RMS Root Mean Square ROM Read-Only Memory RPM Revolutions Per Minute RS Recommended Specification RTC Real Time Clock RTS Request To Send S S Siemens SASI Shugart Associates Standard Interface SCSI Small Computer Systems Interface SD Single Density SDLC Synchronous Data Link Control SIMM Single Inline Memory Module SIP Single Inline Package SLIP Serial Line Internet Protocol SMD Surface Mount Device SMT Surface Mount Technology SNA System Network Architecture SNR Signal to Noise Ratio SOT Small Outline Transistor SOIC Small Outline Integrated Circuit SPOOL Simultaneous Peripheral Operation On Line SPST Single-Pole Single-Throw (switch) SPT Sectors Per Track SQE Signal Quality Error SRAM Static Random Access Memory SS Single Sided STDM Synchronous Time Division Multiplexing STN Super Twisted Nematic STP Shielded Twisted Pair STU Streaming Tape Unit SVGA Super Video Graphics Array T TCM Trellis Code Modulation TCP/IP Transmission Control Protocol / Internet Protocol TDM Time Division Multiplexing TDMA Time Division Multiple Access TI Texas Instruments TIA Telecomm. Industry Assocation TPI Tracks Per Inch TSR Terminate and Stay Resident TTL Transistor-Transistor Logic TUV Technischer Ueberwachuags Verein U - V UV Ultra Violet UART Universal Asynchronous Receiver/Transmitter UDP User Datagram Protocol UMB Upper Memory Block UPS Uninterruptible Power Supply UTP Unshielded Twisted Pair UUCP Unix to Unix Copy Program VCR Video Cassette Recorder VESA Video Enhanced Standards Association VGA Video Graphics Array VLB VESA Local Bus VLSI Very Large Scale Integration VM Virtual Memory VME Versa Module Eurocard VRAM Video Random Access Memory VTR Video Tape Recorder W - X - Y - Z W Watts WAN Wide Area Network WATS Wide Area Telephone Service WORM Write-Once Read-Many WWW World Wide Web XGA eXtended Graphics Array XMS Extended Memory Specification XOR Exclusive-Or Y Admittance Z Impedance ZIF Zero Insertion Force -------------------------------------------------------------------------------- somsak47 > บุคคลทั่วไป Re: ตัวย่อและความหมายทางelectronics(ในบางวงจร) « ตอบ #1 เมื่อ: 16 มกราคม 2005, 11:51:04 » -------------------------------------------------------------------------------- Anode แอโนด Antenna สายอากาศ Indoor antenna สายอากาศภายใน Outdoor antenna สายอากาศภายนอก Folded dipole antenna ส่ายอากาศแบบ โฟลเดด ไดโพล Conical antenna สายอากาศรูปทรงกรวย Amplifier เครื่องขยายสัญญาณ เครื่องขยาย กำลังสัญญาณ Power amplifier เครื่องขยายกำลังสัญญาณ Voltage amplifier เครื่องขยายสัญญาณ A F amplifier (audio-frequency amplifier) เครื่องขยายสัญญาณเสียง R F amplifier (radio-frequency amplifier) เครื่องขยายสัญญาณโทรทัศน์ Video amplifier เครื่องขยายสัญญาณภาพ Audio amplifier เครื่องขยายสัญญาณเสียง Video IF amplifier เครื่องขยายสัญญาณ ไอ.เอฟ. คลื่นพาห์ของภาพ Audio IF amplifier เครื่องขยายสัญญาณ ไอ.เอฟ. คลื่นพาห์ของเสียง Grounded - cathode amplifier เครื่องขยายสัญญาณชนิดต่อคาโถดลงดิน Grounded - grid amplifier เครื่องขยายสัญญาณชนิดต่อกริดลงดิน Ampare แอมป์ Ammeter แอมป์มีเตอร์ AGC (automatic gain control) ส่วนควบคุมการขยายสัญญาณอัตโนมัติ AGC circuit วงจร เอ.จี.ซี. วงจรควบคุมการขยายอัตโนมัติ Amplitude ขนาด , ช่วงกว้างของคลื่น AM (amplitude modulation) เอ.เอ็ม. - B - battery แบตเตอร bandwidth แบนด์ วิดธ blanking signal สัญญาณแบ้ลงค์กิ้ง boosted voltage บูชเทด โวลเทจ biasing voltage ไบแอชชิ่ง โวลเทจ brightness control ส่วนควบคุมความสว่างของภาพ bridge circuit วงจรบริดจ์ - C - casrrier ตัวพาห์ carrier wave คลื่นพาห์ camera กล้องโทรทัศน์ cathode แคโถด charge ประจุ characteristics คุณลักษณะ channel selector สวิทช์เปลี่ยนช่องโทรทัศน chassis แชซซิส T v chanel ช่องโทรทัศน์ Coil คอยล์ , ขดลวด Coil pitch พิทช์ของคอยล์ Contrast control ส่วนควบคุมความแตกต่าของภาพ , คอนแทรสท์ Composite video signal สัญญาณภาพรวม Condenser } capacitor คอนแดนเซอร Cut - off voltage คัทอ็อฟ โวลเทจ Cycle per second , Hertz รอบต่อวินาที , เฮิทซ Mc / s, MHz เมกกะเฮิทซ์ Kc / c,kHz กิโลเฮทซ์ Current กระแส Sawtooth Current กระแสรูปฟันเลี่อย Control ส่วนควบคุม Hold Control ส่วนควบคุมความถี่ Vertical hold control ส่วนควบคุมความถี่ทางแนวตั้ง Horizontal hold control ส่วนควบคุมความถี่ทางแนวนอน Height control ส่วนควบคุมความสูงของภาพ Linearity control ส่วนควบคุมรูปร่างของกระแสรูปฟันเลื่อย Vertical linearity control ส่วนควบคุมรูปร่างของกระแสรูปฟันเลื่อยในวงจรการหักเหทาง แนวตั้ง horizontal linearity control ส่วนควบคุมรูปร่างของกระแสรูปฟันเลื่อยในวงจรการหักเหทาง แนวนอน fine turning control ไฟน์ ทูนนิ่ง brightness control ส่วนควบคุมความสว่างของภาพ contrast control ส่วนควบคุมความแตกต่างของภาพ , คอนแทรสท์ volume control ส่วนควบคุมความดังของเสียง width control ส่วนควบคุมความกว้างของภาพทางแนวนอน focus ส่วนควบคุมโฟกัส circuit วงจร mixer circuit วงจรผสมสัญญาณ cascode amplifier circuit วงจรขยายสัญญาณแบบ แคสโคด coupling condenser คัพปลิง คอนเดนเซอร์ contrast คอนแทรสท์ - D - deflection ดีเฟลคชั่น , การหักเห vertical deflection circuit วงจรการหักเหทางแนวตั้ง horizontal deflection circuit วงจรหักเหทางแนวนอน vertical deflection coil คอยล์ของการหักเหทางแนวตั้ง detector circuit วงจรดีเทคเตอร์ video detector circuit วงจรดีเทคเตอร์ด้านภาพ audio detector circuit วงจรดีเทคเตอร์ด้านเสียง damper แดมเปอร์ deflection yoke ดีเฟล็กชั่น โย๊ค - E - electron อิเล็กตรอน equalizing pulse signal สัญญาณอีควอไลซิ่ง frequency ความถ - F - IF (intermediate frequency) ความถี่ ไอ.เอฟ. MF (medium frequency) ความถี่ปานกลาง HF (high frequency) ความถี่สูง VHF (very high frequency) ความถี่สูงมาก Frequency spectrum สเปคตรัมของความถ Farad ฟารัด Microfarad ไมโครฟารัด Picofarad พิโคฟารัด Feeder line สายฟีเดอร์ Frame เฟรม (ภาพ) Frame frequency ความถี่เฟรม (ภาพ) Field ฟิลด์ Field frequency ความถี่ฟิลด์ Odd field scanning การสแกนฟิลด์เส้นค Even field scanning การสแกนฟิลด์เส้นค Frequency control ส่วนควบคุมความถี่ AFC (automatic frequency control) ส่วนควบคุมความถี่อัตโมัติ Pluse - width AFC พัลซ์ วิดธ์ เอ.เอฟ.ซี. Sawtooth - wave AFC ซอ ทูธ - เวฟ เอ.เอฟ.ซี. Filter circuit วงจรกรองกระแส Low - pass filter ฟิลเทอร์ชนิดหนึ่งที่ความถี่ต่ำผ่านได้ง่าย High - pass filter ฟิลเทอร์ชนิดหนึ่งที่ความถี่สูงผ่านได้ง่าย FM (frequency modulation) เอฟ.เอ็ม Fly - back line เส้นสะบัดกลับ Horizontal retrace line เส้นสะบัดกลับในแนวนอน Vertical fly - back line เส้นสะบัดกลับในแนวตั้ง Front end circuit วงจรส่วนหน้า Feedback circuit วงจรฟีดแบค - G - gain การขยาย power gain การขยายกำลัง voltage gain การขยายสัญญาณ gain control ส่วนควบคุมการขยาย AGC (automatic gain control) ส่วนควบคุมการขยายอัตโมัติ Keyed AGC คีย์ เอ.จี.ซี. Grid กริด Generater เยเนอเรเตอร์ Sweep generater ชวีพ เยเนอเรเตอร์ Marker generter มารคเกอร์ เยเนอเรเตอร์ - H - heater ฮิ้ทเทอร์ harmonics ฮาร์โมนิกส์ - I - input อินพุต์ inducter อินดัคเทอร์ , คอยล์ impedance อิมพีแดนซ์ ์ - L - line สาย , เส้น feeder line สายฟีเดอร์ twin - lead type feeder line สายฟีเดอร์ชนิด สายคู่ coaxial cable line สายโคแอคเชี่ยล - N - noise นอยส์ , สัญญาณรบกวน - O - oscillator ออสซิลเลเตอร์ local oscillator ออสซิลเลเตอร์ประจำวงส่วนหน้า horizontal oscillator ออสซิลเลเตอร์ของวงจรหักเหทางแนวนอน vertical oscillator ออสซิลเลเตอร์ของวงจรหักเหทางแนวตั้ง test oscillator ออสซิลเลเตอร์ทดสอบ oscilloscope ออสซิลโลสโคพ ohm โอห์ม - P - pulse พัลช์ picture ภาพ picture signal สัญญาณภาพ picture tube หลอดภาพ plate เพลท peaking coil พีคกิ้ง คอยล์ peaking resistor พีคกิ้ง รีซิสเตอร์ potential difference ความต่างศักย์ phase - shifting network วงจรเปลี่ยนเฟส - R - raster แรซเทอร์ resistor รีซิสเตอร์ , ตัวต้านทาน rectifier เรคติไฟเออร์ resonance เรโซแนนซ์ - S - synchronizing pulse signal สัญญาณซิ้งค ์ sync seperator circuit วงจรแยกสัญญาณซิ้งค์ sync amplifier เครื่องขยายสัญญาณซิ้งค์ scanning การสแกน sawtooth current กระแสรูปฟันเลื่อย signal สัญญาณ video signal , picture signal สัญญาณภาพ composite video signal สัญญาณภาพรวม sound if section สัญญาณเสียง sideband แถบความถี่ข้างเคียง , ไซด์แบนด์ lower sideband แถบข้างเคียงด้านความถี่ต่ำ higher sideband แถบข้างเคียงด้านความถี่สูง snow สโนว์ staggered tuning สแทกเกอร์ทูนนิ่ง stray condenser สเตรย์ คอนเดนเซอร์ - T - television signal สัญญาณโทรทัศน์ tuner ทูนเนอร์ , วงจรส่วนหน้า turret tuner เทอเรท ทูนเนอร์ rotary switch tuner โรทารี่ สวิทช์ ทูนเนอร์ TV transmitter เครื่องส่งโทรทัศน์ Thermister เธอร์มิสเทอร T.P. (test point) จุดทดสอบ - V - voltage โวลเทจ - W - wave trap เวฟ แทรพ wafer switch เวฟเฟอร์ สวิทช์ -------------------------------------------------------------------------------- somsak47 >บุคคลทั่วไป Re: ตัวย่อและความหมายทางelectronics(ในบางวงจร) « ตอบ #2 เมื่อ: 16 มกราคม 2005, 12:02:10 » -------------------------------------------------------------------------------- Alignment : (อลายเม้นท์) คือการจัดวางแนว การจัดอลายเม้นท์ สำหรับหัวเข้มมีความสำคัญมาก หากผิดพลายไปจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนมาก หัวเข็มไม่ได้สัมผัสร่องในทิศทางและมุมอันควร ก็จะเก็บรายละเอียดได้ไม่ถูกต้องเช่นกัน -------------------------------------------------------------------------------- Amplifier : (แอมปลิฟายเออร์) คืออุปกรณ์ที่ขยายความแรงของสัญญาณให้แรงพอที่จะขับลำโพงได้ การขยายสัญญาณจะแบ่งเป็นสองช่วงคือ ขยายสัญญาณอ่อนเรียกว่า pre-amplifier ส่วนนี้จะขยายสัญญาณให้แรงขึ้นมาระดับหนึ่ง ก่อนจะป้อนเข้าภาคขยายตัวจริงคือ power-amplifier หากจับทั้งสองส่วนรวมกันไว้ในตัวเดียวกันเขาเรียกว่า intergrated-amplifier -------------------------------------------------------------------------------- Analogue : (อนาล็อก) หมายถึง ลักษณะของสัญญารที่เป็นคลื่นต่อเนื่องไปตามปกติ -------------------------------------------------------------------------------- Anti-skating : (แอนติ-สเภทติ้ง) เป็นการปรับหัวเมให้มีแรงด้านต่อการตึงเข้าสู่จุดศูนย์กลางขณะที่กำลังเล่นอยู่ อาศัยกลไกของโทนอาร์มเป็นตัวทำให้มีแรงต้านนี้ -------------------------------------------------------------------------------- Balanced : (บาล้านซ์) วงจรไฟฟ้าแบบล้านซ์คือ วงจรที่จัดสัญญาณทั้งซีกบอกและซีกลบ ผิดจากสัญญาณปกติที่จะเป็นสัญญาณซีกบวกมาเทียบกับระดับอ้างอิง (ground) การต่อสัญญาณแบบ บาลานซ์ คือการใช้สัญญาณทั้งซีกบอกและลบซึ่งผ่านมาในตัวนำที่มีลวด screen ป้องกันการรบกวน ซึ่งนิยมใช้กันในสตูดิโอเนื่องจากต้องเดินสายสัญญาณเป้นระยะทางยาวและอาจถูกรบกวนจากภายนอกได้มาก -------------------------------------------------------------------------------- Bass : เบสส์ หมายถึง เสียงในช่วงความถี่ต่ำกว่า 160 Hz ลงไปซึ่งอาจแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ช่วง 1 UPPER BASS : เบสส์ช่วงบนย่านความถี่ 80-160 Hz 2 MIDBASS : เบสส์ช่วงกลางย่านความถี่ 40-80 Hz 3 DEEP BASS : เบสส์ช่วงลึก ย่านความถี่ 20-40 Hz ลักษณะของเบสส์อาจบรรยายด้วยถ้อยคำมากมาย เช่น โด่ง/วูบ : บอกในเชิงปริมาณมากหรือน้อยของเสียงในช่วงใดช่วงหนึ่ง หนา/บาง : บอกทั้งในเชิงปริมาณและลักษณะการทอดตัวของเสียงหลังจากที่ต้นเสียงเกิดขึ้นแล้ว เบสส์หนา จะมีปริมาณมากเกินควรและคงตัวอยู่นานเกินควรทั้ง ๆ ที่ควรจางหายไป เบสส์บาง จะมีปริมาณน้อยเกินควรและจางหายเร็ว หนัก : เบสส์ช่วงลึกเป็นตัวให้ความหนัก แน่น : การตอบสนองที่ฉับพลันทันทีเป็นตัวให้ความแน่น หนักแน่น : เบสส์ที่ทั้งลงได้ลึกทั้งรวดเร็วฉับพลัน เฉื่อย : ตรงข้ามกับความแน่น บวม : ปริมาณออกจะมากเกินควรไปบ้างแถมยังไม่ค่อยเก็บตัว -------------------------------------------------------------------------------- Bass Reflex : (เบสส์รีเฟล็กซ์) รูปแบบหนึ่งของระบบการทำงานของลำโพง อาศัยการอัดคลื่นอากาศในตู้ให้ผ่านท่อออกมาในช่วยเบสส์ ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นในช่วยความถี่ต่ำ Belt Drive : (เบ็ลท์ไดร์ฟ) ใช้ในการถ่ายทอดพลังงานจากมอเตอร์ไปยังจานหมุนของเครื่องเล่นแผ่นเสียงหรืออุปกร์อื่น ๆ วิธีการนี้จะลดอาการกระตุกหรือการทำงานที่ทำงานไม่ราบเรียบของมอเตอร์ให้ไปถึงจานหมุน -------------------------------------------------------------------------------- Bimping : (ไบแอมปิ้ง) วิธีการต่อแอมปลิฟายเออร์เข้ากับลำโพง โดยแยกการขับวูฟเฟอร์ และทวีตเตอร์ให้แอมปลิฟายเออร์คนละตัว ในกรณีนี้ต้องใช้แอมปลิฟายเออร์สองตัว สายลำโพงสองชุดและการแยกสัญญาณต่างหาก Bias : (ไบแอส) -------------------------------------------------------------------------------- Bias : (ไบแอส) ในกรณีแรกหมายถึงแนวโน้มของโทนอาร์มในเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่จะแกว่งเข้าหาศูนย์กลาง ซึ่งแก้ไขได้โดยการปรับแอนติสเกทติ้ง ในกรณีที่สอง หมายถึง สัญญาณความถี่สู่งระดับอุลตร้าโซนิคที่ป้อนเข้าหัวเทปขณะบันทึกสัญญาณ และอีกกรณีคือ การจัดระดับไฟเลี้ยงเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ -------------------------------------------------------------------------------- Bit : (บิท) ข้อมูลทางสัญญาณดิจิตอล ซึ่งแบ่งเป็นช่วงจัยหวะสั้น ๆ ชุดของสัญาณอาจจะมเป็น 8 บิท 14 บิท หรือ 16 บิท ซึ่งจะบอกถึงความแรงของสัญญาณในจังหวะหนึ่ง ๆ ของเครื่องเล่นซีดี -------------------------------------------------------------------------------- Bitsteam : (บิทสตรีม) วิธีการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลมาเป็นอนาล็อกสำหรับซีดีตัวแปลงสัญญาณในระบบบิทสตรีม จะจัดการกับสัญญาณดิจิตอลด้วยความเร็วสูงกว่าระบบมัลติบิท (multi-bit) ทำให้มีความต่อเนื่องราบเรียบดีกว่า -------------------------------------------------------------------------------- Biwiring : (ไบวายริ่ง) การต่อสายลำโพงสองชุดแยกสำหรับวูฟเฟอร์และทวิตเตอร์ลดการรบกวนในสายลำโพงเป็นการปรับปรุงที่ให้ผลในราคาย่อมเยา Bridging : (บริคจิ้ง) -------------------------------------------------------------------------------- Bridging : (บริคจิ้ง) วิธีการเพิ่มกำลังของแอมปลิฟายเออร์โดยรวมกำลังจากแอมปลิฟายเออร์ข้างซ้าย/ขวา มาขับสัญญาณแต่ละซีก (บวก/ลบ) ต้องการแอมปลิฟายเออร์อย่างน้อยสองตัวสำหรับสเตอริโอ -------------------------------------------------------------------------------- Cables : (เคเบิ้ล) สายนำสัญญาณ โดมากอาศัยทองแดงเป็นตัวนำ การออกแบบโครงสร้างของตัวนำอาจต่างกันไป ฉนวนที่หุ้มอาจต่างกันไป สายนำสัญญาณอาจให้ผลความแตกต่างในเสียงได้เนื่อจากคุณสมบัติทางไฟฟ้า สายยิ่งยาวยิ่งให้ผลกระทบมาก -------------------------------------------------------------------------------- Cartridge : (คาร์ทริดจ์) หัวเข็มเล่นแผ่นเสียง มีหน้าที่เก็บข้อมูลขึ้นมาจากร่องที่เขาบันทึกไว้เป็นลูกคลื่นรอยขยัก การทำงานอาศัยปลายเข็มรูดไปตามลูกคลื่นสร้างความเคลื่นไหวมาตามก้านเข็มทำให้มีแส้นแรงแม่เหล็กตัดกับขดลวดสร้างแรงดันไฟฟ้าขึ้นมา -------------------------------------------------------------------------------- CD+G : (ซีดีพลัสจี) ตัวย่อสำหรับ CD และ Graphics หมายถึง ซีดีที่มีรูปด้วยเล่นจาเกครื่องเล่นซีดีธรรมดาก็ได้หรือหากจะให้ได้ภาพต้องใช้เครื่องเล่น CD-I -------------------------------------------------------------------------------- CD-I : (ซีดีไอ) ตัวย่อสำหรับ CD Interactive เป็นการใช้ซีดีในการเก็บข้อมูลและการใช้งานในลักษณะที่มีการโต้ตอบ อย่างเช่นใช้สำหรับการศึกษา ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้ หรือสำหรับวิดีโอเกมส์ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้ -------------------------------------------------------------------------------- CD-R : (ซีดี อาร์) ตัวย่อสำหรับ CD-recordable หมายถึง ซีดีที่บันทึกได้โดยผู้ใช้ แต่เป็นการบันทึกครั้งเดียวลบไม่ได้ อาจจะระบุให้ยกเลิดบางส่วนของแผ่นได้ ให้เสียงในลักษณะเดียวกับซีดี วึ่งเหนือกว่า DAT และ Mini Disc -------------------------------------------------------------------------------- CD-ROM : (ซีดี รอม) เป็นการใช้ซีดีในแบบของตัวบันทึกข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ อาจบันทึกข้อมูลได้มาก เช่น เอ็นไซโคลปิเดีย อันนี้ไม่ค่อยเกี่ยวกับวงการสเตอริโอของเรานัก -------------------------------------------------------------------------------- Class-A : (คลาสส์-เอ) แอมปลิฟายเออร์ ซึ่งทำงานได้โดยที่วงจรแต่ละซีกขยายสัญญาณทั้งบวกและลบพร้อม ๆ กัน เพื่อลด Switching Distortion ให้คุณภาพเสียงดีมากแต่ร้อน -------------------------------------------------------------------------------- Class-B : (คลาสส์-บี) แอปลิฟายเออร์ ซึ่งทำงานโดยที่วงจรแต่ละซีกขยายสัญญาณเฉพาะบวกหรือลบเท่านั้น ประสิทธิภาพสูง แต่คุณภาพเสียงอาจไม่ดีนัก แอปลิฟายเออร์ทั่วไปจะทำงานในคลาสส์-เอบี คือมีไฟเลี้ยงอยู่ในระดับหนึ่ง พอจะเป็นคลาสส์เอได้ในช่วงที่ใช้กำลังน้อย ๆ -------------------------------------------------------------------------------- Colouration : (คัลเลอเรชั่น) การที่เสียงมีการบิดเบือนไปจากของเดิม อาจเรียกได้ว่าเป็นการแต่งแต้มสีสัน มักจะไม่เป็นที่ต้องการในเวลาที่พูดกัน แต่อาจเป็นที่ต้องการเวลาฟัง ก็คนเรามักชอบความหลอกลวงแต่ปิดบังไว้ ! -------------------------------------------------------------------------------- Compression : (คอมเพรสชั่น) วิธีการลดเนื้อที่การเก็บสัญญาณในระบบดิจิตอล เช่น ATRAC ของโซนี่สำหรับแผ่น MD และ PASC ของฟิลิปส์สำหรับ DCC ลดอัตราความเร็วองข้อมูลที่จะใช้ในตัวเก็บ ในอีกกรณีหนึ่ง คือการปรับระดับความแรงของสัญญาณช่วงดังมาก ๆ หรือเบามาก ๆ ให้พอเหมาะกับคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ -------------------------------------------------------------------------------- Crossover Network : (ครอสส์โอเวอร์เน็ทเวิร์ค) อุปกรณ์ที่แบ่งสัญญาณออกเป็นสองหรือสามทางตามความถี่ที่กำหนด เช่น ความถี่สูงให้ไปทวีตเตอร์ความถี่ต่ำไปวูฟเฟอร์ -------------------------------------------------------------------------------- DAC : (ดีเอซี) Digital-to-Analogue Converter คืออุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณในรูปดิจิตอลเป็นรูปอนาล็อกในเครื่องเล่นซีดี หรือ ดีเอที ล้วนต้องใช้อุปกรณ์นี้ อาจจะรวมอยู่ใรตัวหรือแยกเครื่องออกไปก็แล้วกัน -------------------------------------------------------------------------------- DAT : (ดีเอที) Digital Audio Tape เครื่องบันทึกสัญญาณในระบบดิจิตอลลงบนเทป ใช้ในวงการอาชีพ ให้หัวเทปหมุนคล้ายของดีดีโอ ปัจจุบันเหลือใช้แต่ในสตูดิโอ -------------------------------------------------------------------------------- DCC : (ดีซีซี) Digital Compact Cassette คิดค้นโดย Philips สามารถบันทึกสัญญาณดิจิตอลบนเทป ได้โดยอาศัยวิธีการ Compresssion และสามารถเล่นเทปอนาล็อกธรรมดาได้ด้วย -------------------------------------------------------------------------------- Decibles : (เดซิเบล) หน่วยการวัดความเปลี่ยนแปลงจากแรงดันของเสียงเปลี่ยนไป 1 เดซิเบล หูคนอาจจับความแตกต่างไม่ได้ ในขณะที่ -10 เดซิเบลจะฟังเหมือนดันขึ้นไปเป็น 2 เท่า -------------------------------------------------------------------------------- Drect Drive : (ไดเร็คท์ไดร๊ฟ์) วิธีการขับจานหมุนของแผ่นเสียง แกนของมอเตอร์จะเป็นแกนของจานหมุนด้วย ให้ประสิทธิภาพสูงในการถ่ายพลังงานออกตัวเร็ว ความเที่ยงตรงในการหมุนดี แต่อาจมีการสั่นสะเทือนจากมอเตอร์ -------------------------------------------------------------------------------- Digital output : (ดิจิตอลเอาท์พุท) เป็นสัญญาณดิจิตอลที่ออกมาจากเครื่องเล่นซีดีหรือดีเอที เพื่อที่จะผ่านเข้าสู่เครื่องแปลงสัญญาณ (DAC) หรือเครื่องบันทึกสัญญาณดิจิตอล อาจจะมาในรูปของสัญญาณไฟฟ้าหรือลำแสง -------------------------------------------------------------------------------- Distortion : (ดิสทอร์ชั่น) สัญญาณที่ผิดเพี้ยนแปลกปลอมไปจากเดิม อาจมีในหลายรูปแบบ -------------------------------------------------------------------------------- Dolby Labs : (ดอลบี้ แลบส์ เป็นผู้คิดค้นระบบลดเสียงรบกวนในการบันทึกเสียง และระบบเซอร์ราวนด์ให้เสียงรอบทิศทางสำหรับภาพยนตร์ -------------------------------------------------------------------------------- Dolby B,C and S : (ดอลบี้ บี,ซี แอนด์เอส) ระบบลดเสียงรบกวนสำหรับการบันทึกเสียงโดยนักเล่นนักฟังทั่วไป -------------------------------------------------------------------------------- Dolby HX Pro : (ดอลบี้เอชเอ๊กซ์โปร) ไม่ใช่ระบบลดเสียงรบกวน แต่ช่วยให้การบันทึกความถี่สูง ๆ ดีขึ้น -------------------------------------------------------------------------------- Dolby Surround : (ดอลปี้ เซอร์ราวนด์) สำหรับโรงภาพยนตร์หรือวีดีโอเข้ารหัสสัญญาณสำหรับเสียงที่จะมาด้านหลังตำแหน่งนั่งฟัง เมื่อเวลาเล่นก็จะต้องมีเครื่องถอดรหัสเป็นสัญญาณด้านหลังมาประกอบกับเสียงสเตอริโอด้านหน้า -------------------------------------------------------------------------------- Drop out : (ดร็อปเอ๊าท์) เกิดขึ้นระหว่างการบันทึกหรือเล่นกลับของเทป เมื่อเส้นเทปสัมผัสหัวเทปไม่สนิทหรือมีตำหนิบนเทป ทำใหัสัญญาณสูญหายไป -------------------------------------------------------------------------------- Dynamic Range : (ไดนามิคเร้นจ์) เป็นช่วงของความดังที่แตกต่างระหว่างตอนที่มีสัญญาณดังที่สุดและเบาที่สุด จะบอกในหน่วย dB -------------------------------------------------------------------------------- Electrostatic : (อีเลคโทรสแตติค) โดยมากจะหมายถึงลำโพงที่อาศัยประจุไฟฟ้าสถิตย์การทำให้แผ่นไดอะแฟรมเคลื่นไหว ลำโพงประเภทนี้มักจะมีรูปทรงเบา ๆ -------------------------------------------------------------------------------- Flutter : (ฟลัตเตอร์) คือความไม่แน่นอนคงที่ของการเคลื่อนตัวของเส้นเทปหรือการหมุนของเครื่องเล่นแผ่นเสียง จะเกิดขึ้นแบบวูปวาวชั่วครู่ชั่วคราว -------------------------------------------------------------------------------- Frequency : (ฟรีเควนซี่) ความถี่ของสัญญาณ เสียงแหลมจะมีความถี่สูง เสียงทุ้มจะมี ความถี่ต่ำ ช่วงความถี่ของเสียงที่มนุษย์ทั่วไปได้ยินคือ 20-20,000 Hz -------------------------------------------------------------------------------- Frequency Response : การตอบสนองความถี่ หมายถึง ลักษณะของระดับความแรงของสัญญาณที่ออกมาจากอุปกรณ์นั้น ๆ เมื่อได้รับสัญญาณที่ป้อนเข้าไป เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความสามารถของอุปกรณ์ว่าสามารถทำงานได้ในช่วงความถี่ไหนและมีความราบเรียบถูกต้องเที่ยงตรงเพียงใด -------------------------------------------------------------------------------- Front end : (ฟร้อนท์เอ็นด์) เป็นส่วนที่ให้สัญญาณมาก่อนถึงภาคขยายสัญญาณ ซึ่จะนับรวมตั้งแต่เครื่องเล่นซีดี จูนเนอร์ ไปจนถึงส่วนควบคุมปรับแต่งสัญญาณ -------------------------------------------------------------------------------- Hertz (Hz) : (เฮิร์ทซ์) เป็นหน่วยของความถี่ หนึ่งเฮิร์ทซ์ หมายถึง หนึ่งรอบคลื่นต่อ หนึ่งวินาที -------------------------------------------------------------------------------- Horn loading : (ฮอร์นโหลดดิ้ง) วิธีการหนึํงที่เพิ่มประสิทธิภาพของลำโพงโดยใช้อุปกรณ์ในลักษณะปากแตรวางไว้หน้าลำโพง -------------------------------------------------------------------------------- Imprdance : (อิมพิแดนซ์) คุณสมบัติทางไฟฟ้าของวงจรที่มีสัญญาณ โดยกว้าง ๆ หมายถึง ความต้านทางของอุปกรณ์หนึ่ง ๆแต่ในความต้านทานนี้อาจแปรเปลี่ยนไปกับความถี่ได้ ลำโพงที่มีอิมพิแดนซ์ต่ำ (น้อยกว่า 4 โอห์ม) หรือมีอิมพิแดนซ์ที่แปรเปลี่ยนมาก ๆ นั้นต้องการแอมปลิฟายเออร์ที่มีคุณภาพสูงขับกระแสได้มากและเสถียรภาพดี -------------------------------------------------------------------------------- Laser disc : (เลเซอร์ดิสค์) คล้ายแผ่นซีดี แต่มีขนาด 12 นิ้วและบันทึกสัญญานสองหน้า สัญญาณที่บันทึกมามีทั้งภาพและเสียง ทำมาสำหรับภาพยนตร์ในบ้าน ให้คุณภาพที่ดีกว่าวีดีโอเทปมาก -------------------------------------------------------------------------------- Line level : (ไลน์เลเวล) ใช้สำหรับสัญญาณทั่วไปที่มีความแรงพอที่จะไม่ต้องขยายขึ้นอีกก่อนป้อนเข้าสู่แอมปลิฟายเออร์ กล่าวโดยง่ายก็คือสัญญาณทั้งหลายที่ไม่ใช่สัญญาณจากหัวเข็ม -------------------------------------------------------------------------------- MidRange : เสียงกลาง หมายถึง ความถี่เสียงในช่วงกลาง อันเป็นส่วนหลักของย่านเสียงที่เราได้ยินกัน อยู่ในช่วงความถี่ 160-1,500 Hz โดยมากมาจากการเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว มีทั้งศัพท์ฝรั่งและศัพท์ไทยหลาย ๆ คำ ก็ยากที่จะถ่ายทอดออกมาให้เข้าใจตรงกันได้ เช่น ขึ้นจมูก : มาจากคำ NASAL หมายถึง เสียงคำที่ออกมาในแบบที่ถูกบีบจมูก เกิดจากเสียงที่โด่งขึ้นมาเป็นช่วงแคบในย่านเสียงกลาง LS3/5A ก็มีอาการอย่างนี้ เจิดจ้า : หมายถึง เสียงกลางที่ค่อนข้างจะโดดเด่นล้ำนำหน้าเสียงอื่น ๆ ทำให้ขาดความกลมกลืน เสียดุล อัดหน้าอก : มาจากคำ CHESTY หมายถึง เสียงกลางช่วงต่ำที่มีปริมาณค่อนข้างมาก ทำให้เสียงผู้ชายทุ้มห้าว ลึกเกินควร โปร่ง : หมายถึง ลักษณะเสียงที่ชัดเจนปราศจากการรบกวนจากเสียงอื่น ๆ นอกเหนือไปจากสัญญาณที่มา -------------------------------------------------------------------------------- Mini-disc : (มินิดิสค์) พัฒนาโดยโซนี่ ขนาดครึ่งหนึ่งของซีดี ใช้เทคนิคคอมเพรสชั่นเพื่อให้บันทึกสัญญาณได้มากพอสำหรับเล่นกลับ 74 นาที บันทึกสัญญาณได้โดยผู้ใช้ มีซองหุ้มคล้ายดิสเกทท์คอมพิวเตอร คุณภาพยังเป็นรองซีดี -------------------------------------------------------------------------------- Monitor : (มอนิเตอร์) โดยมากใช้กับลำโพง หมายถึง ลำโพงที่ใช้ในการตรวจสอบระหว่างการบันทึกเสียงหรือออกอากาศสำหรับสตูริโอ โดยปกติการออกอากาศจะใช้ลำโพงที่ให้ความเป็นกลางของเสียงจริง ในขณะที่การบันทึกเสียงจะใช้ลำโพงที่สามารถเปิดได้ดัง มีรายละเอียด -------------------------------------------------------------------------------- Monobloc : (โมโนบล็อค) หมายถึง แอมปลิฟายเออร์ที่ทำขึ้นมาสำหรับการขยายสัญญาณข้างใดข้างหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องใช้สองตัวสำหรับสเตอริโอ ลดการรบกวนระหว่างซ้าย/ขวา วางแยกกันได้สะดวก -------------------------------------------------------------------------------- Moving coil : (มูฟวิ่งคอยล์) หัวเข็มที่ให้สัญญาณออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของขดลวดที่ติดอยู่กับก้านเข็ม สัญญาณที่ได้มีกำลังอ่อน แต่มีข้อดีที่ให้รายละเอียดสูง -------------------------------------------------------------------------------- Moving magne : (มูฟวิ่งแมกเน็ท) หัวเข็มอีกชนึดหนึ่งส่วนที่เคลื่อนไหวคือแม่เหล็กที่ก้านเข็มให้สัญญาณได้แรงกว่าแบบมูฟวิ่งคอยล์ นิยมใช้ทั่วไป -------------------------------------------------------------------------------- NICAM : (นิแคม) วิธีการออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์ให้มีคุณภาพเสียงเทียบเท่าซีดี อาศัยเทคนิคทางดิจิตอล ใช้ในอังกฤษและยุโรปบางประเทศ -------------------------------------------------------------------------------- Ohm : (โอห์ม) หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า ตัวเลขมากแสดงความด้านทานสูง กระแวไฟฟ้าผ่านได้ยาก -------------------------------------------------------------------------------- Oversampling : (โอเวอร์แซมปลิ้ง) ใช้ในการแปลงสัญญาณจากดิจิตอลเป็นอนาล็อก เป็นเทคนิคในการกรองสัญญาณจากดิจิตอลและการอนุมานข้อมูลระหว่างช่วงของการแซมปลิ้ง -------------------------------------------------------------------------------- Passive : (แพสซีฟ) วงจรหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการไฟเลี้ยง ไม่มีขยายสัญญาณ ให้ดิสเทอร์ชั่นต่ำแต่ทำให้การสูญเสียสัญญาณได้ -------------------------------------------------------------------------------- Phono stage : (โฟโนสเตจ) ภาคขยายสัญญาณสำหรับหัวเข็มเล่มแผ่นเสียง นอกจากจะขยายสัญญาณแล้วยังต้องปรับแต่ลักษณะการตอบสนองตามมาตรฐานของ RIAA -------------------------------------------------------------------------------- Plinth : (พลิ้นท์) อุปกรณ์ซึ่งเป็นส่วนรองรับส่วนที่เคลื่อนไหวทั้งหลาย อาจเป็นแท่นใหญ่ในกรณีของเครื่องเล่นแผ่นเสียง หรือเป็นตุ่มเล็ก ๆ รองรับเครื่องเล่นซีดี หรือลำโพง มีหน้าที่ตัดความสั่นสะเทือนด้วย -------------------------------------------------------------------------------- Power handling : (เพาเวอร์แฮนด์ลิ่ง) กำลังสูงสุดที่ลำโพงสามารถรับได้ โดยที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนหรือกรวยต้องเคลื่อนตัวเกินขีดจำกัด -------------------------------------------------------------------------------- Realism : ความเหมือนจริง คำนี้น่าจะแปลว่าความจริง แต่มันเป็นความจริงของเสียงที่ถูกสร้างขึ้นมา ซึ่งอย่างไรมันก็ไม่ใช้ความจริง เป็นได้เพียงใกล้ความจริง เพียงความเหมือนจริง เสียงจริงมีคุณสมบัติของมันที่สร้างขึ้นมายากจากจากระบบเครื่องเสียง เพราะต้องผ่านขึ้นตอนต่าง ๆ มากมายจนถึงลำโพงที่ทำเสียงขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีลักษณะคล้ายเครื่องดนตรีของเดิมเลย พิจารณาในแง่ต่าง ๆ เช่น ความสด : หมายถึง เสียงที่มีความเร็วทันกับความฉับพลันของเสียงจากเครื่องดนตรีจริง และมีปริมาณที่ได้ใกล้เคียง ไม่มีการบีบอั้นจำกัดไว้ เสียงฟาดกลองฟาดฉาบแฉต้องออกมาเหมือนกับมีการสัมผัสจริง ๆ โดยไม่มีอะไรกั้น ความใส : มาจากคำว่า TRANSPARENCY หมายถึง ความสามารถในการถ่ายทอดเสียงออกมาได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ให้ได้รายละเอียดอย่างทั่วถึงไม่คลุมเครือ ไม่มีหมอกเมฆ ไม่มีสากเสี้ยน ปราศจากความฝ้ามัว เหมือนมองขึ้นไปยังท้องฟ้าหน้าหนาวยามเที่ยงในชนบท เสียงที่เราได้ยินจากเครื่องเสียงนั้นไม่ได้ใสบริสุทธิ์ แต่จะคล้ายภาพที่เห็นจากการมองผ่านกระจกหลายชั้น ซึ่งเกิดจากขั้นตอนต่าง ๆ ในการบันทึกและผลิตขึ้นใหม่ ช่วงความดัง : หมายถึง ช่วงความดับระหว่างเสียงที่ค่อยที่สุดกับเสียงดังที่สุด ในเสียงจริงนั้นอาจจะเป็นถึง 100 dB ระบบเครื่องเสียงทั่วไปจะทำได้ยังไม่สมบูรณ์ บางทีอาจทำได้ในแง่ของความดังจาก 40-120 dB แต่มักจะไม่สามารถรักษาความเที่ยงของอัตราส่วนระหว่างนั้นได้อย่างถูกต้องโดยตลอด -------------------------------------------------------------------------------- RF : (อาร์เอฟ) ย่อมาจาก Radio Frequency เป็นสัญญาณในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ เป็นความถี่ที่สูงกว่าย่านความถี่เสียงมาก -------------------------------------------------------------------------------- RMS : (อาร์เอ็มเอส) มาจาก Root Mean Square เป็นวิะการวัดค่าเฉลี่ยของกำลังโดยใช้รากที่สองของกำลังสูงสุด แทนที่จะเฉลี่ยจากผลรวมของกำลังสูงสุด ซึ่งเป็นทั้งบวกและลบ -------------------------------------------------------------------------------- Rumble : (รัมเบิ้ล) เสียงรบกวนช่วงความถี่ต่ำที่เกิดจากกลไกการหมุนที่ไม่ราบเรียบสม่ำเสมอ -------------------------------------------------------------------------------- SCART : (เอสซีเออาร์ที) ขั้วต่อสัญญาณแบบพิเศษที่ผ่านสัญญาณทั้งภาพและเสียงใช้ในการต่อเครื่องเล่นโทรทัศน์กับอุปกรณ์ภาพและเสียง -------------------------------------------------------------------------------- Sensitivity : (เซนซิติวิตี้) หมายถึง ความไวในการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามา ความไวสูงก็ต้องการสัญญาณที่ไม่ต้องมีกำลังมากนักเซนซิติวิตี้ของลำโพงจะบอกเป็น dB/W/m หมายถึง ความดังของเสียงเมื่อป้อนสัญญาณเข้าไปหนึ่งวัตต์ โดยวัดที่ระยะห่างออกมาหนึ่งเมตร -------------------------------------------------------------------------------- Screening : (สกรีนนิ่ง) หมายถึง ลวดตาข่ายที่จะเป็นตัวป้องกันการรบกวนจากภายนอก และอาจหมายถึงสิ่งที่ป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือคลื่นอื่น ๆ ที่แพร่มา บางทีก็เรียก Shielding -------------------------------------------------------------------------------- S/N : มาจาก Signal-to-Noise Ration หมายถึง อัตราความแรงของสัญญาณเมื่อเทียบกับสัญญาณรบกวน ตัวเลขยิ่งมากหมายถึงการรบกวนน้อย -------------------------------------------------------------------------------- Soundstage : (ซาวน์สเตจ) นอกเหนือจากคุณภาพในเชิงปริมาณแล้ว ระบบสเตอริโอยังสามารถสร้างวงดนตรีจำลองขึ้นมาได้ ไม่เป็นเพียงแต่เสียงออกมาจากลำโพงโดยตรง แต่จะฟังเหมือนกับว่าสรรพเสียงต่าง ๆ กำเนิดขึ้นมาจากบริเวณรอบ ๆ ลำโพงมีความกว้าง และความลึกเป็นสามมิติบริเวณที่ว่า เรียกว่า ซาวนด์สเตจ คุณภาพของซาวนด์สเตจจะมีในแง่ของความกว้าง ใหญ่ ความลึก สัดส่วนของความลึกเมื่อเทียบกับความกว้าง รายละเอียดและความสม่ำเสมอ การวางตำแหน่งของอิมเมจ ความกว้าง : ระบบสเตอริโอที่ดีจะสามารถให้ความกว้างขอวงซาวนด์สเตจออกมาได้กว้างกว่าระยะระหว่างขอบนอกของลำโพงออกไปจรดหรือเลยผนังด้านข้างของห้องฟังขึ้นอยู่กับสัญญาณที่บันทึกมานั้น ความลึก : ได้มาจากระบบที่สามารถให้ความเที่ยงตรงในแง่ของเลาและในแง่ของปริมาณของเสียงประกอบที่แรดซ้อนห้อมล้อมอยู่ จำให้การแยกแยะของเสียงต่าง ๆ ได้ว่าอันไหนอยู่หน้าอยู่หลัง อิมเมจ : มาจากคำว่า IMAGE หมายถึงภาพเสมือนของต้นกำเนิดเสียงหรือเครื่องดนตรี ตำแหน่งของขนาดของอิมเมจจะต้องมีความมั่นคง มีปริมาณของตัวเองแยกย้ายกันอยู่ในซาวนด์สเตจ ในการบันทึกสัญญาณอาจทำมาให้อิมเมจมีการเคลื่อนไหวได้โดยมากอาศัยอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ช่วย -------------------------------------------------------------------------------- Source : (ซ๊อส) แหล่งกำเนิดสัญญาณ ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องเล่นซีดีเครื่องเล่นแผ่นเสียงทำนองนี้ -------------------------------------------------------------------------------- Stylus : (สตายลัส) ปลายเข็มของหัวเข็มเล่นแผ่นเสียง มักจะสัมผัสร่องแผ่นเสียง และเก็บข้อมูลขึ้นมาจากรอยหยักที่เขาทำไว้ ทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งและทนทาน เช่น เพชร มีขนาดเล็กมาก รูปร่างก็ต้องออกแบบกันอย่างพิถีพิถัน -------------------------------------------------------------------------------- Subwoofer : (ซับวูฟเฟอร์) ลำโพงที่ออกแบบมาสำหรับการสร้างความถี่ต่ำมาก ฟ โดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มช่วงกว้างการตอบสนองความถี่และลดภาระของลำโพงขนาดเล็ก -------------------------------------------------------------------------------- Tepe loop : (เทปลูป) ขั้วต่อสัญญาณที่ให้สัญญาณออกมาสำหรับการบันทึก และรับสัญญาณการเล่นกลับจากเทป อาจใช้ต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ เช่น อีควอไลเซอร์หรือดพรเซสเซอร์อื่น ๆ -------------------------------------------------------------------------------- THX : (ทีเอชเอ๊กซ์) วิธีการนำสัญญาณ จาก Dolby Pro Logic มาจัดการต่อ ให้ผลทางเสียงรอบทิศทางที่แยกแยะได้ชัดเจนขึ้น คิดค้นโดย Lucas film เพื่อใช้ในโรงภาพยนตร์และต่อมาแปลงมาใช้ในบ้านทั่วไป -------------------------------------------------------------------------------- Tonal Balance : ดุลย์ของน้ำเสียง หมายถึง การตอบสนองความถี่ที่ยังไม่ราบ (อาจจะเรียบก็ได้) มีความโน้มเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือโด่งขึ้นมาในบางช่วงหรือวูบหายไปในบางช่วงความถี่เสียง ทำให้เสียงที่ได้ไม่เสมอกันตลอดย่านมีความเด่นหรืออ่อนมาทางเสียงในช่วงใดช่วงหนึ่งก็ได้ -------------------------------------------------------------------------------- Tonearm : (โทนอาร์ม) อุปกรณ์บนเครื่องเล่นแผ่นเสียง ที่เป็นตัวจับและควบคุมหัวเข็มให้เคลื่อนไปตามร่องบนแผ่นเสี่ยง -------------------------------------------------------------------------------- Transients : (ทรานเซี้ยนท์) สัญญาณหรือเสียงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันใด เป็นส่วนสำคัญที่ให้ความแตกต่างของเสียงดนตรีจริง ๆ กับเสียงจากการบันทึก -------------------------------------------------------------------------------- Treble : เสียงแหลม หมายถึง เสียงในช่วงความถี่ 1,500-20,000 Hz เป็นเสียงในช่วงความถี่สูงที่จะให้ความสดใสมีชีวิตชีวา คำที่ใช้บรรยายลักษณะของเสียงแหลมก็มีมากมาย เช่น จัดจ้าน : หมายถึง เสียงแหลมที่มีปริมาณค่อนข้างมาก เพลงป๊อปมักจะมีการบันทึกเสียงมาในลักษณะนี้ บางคนว่ามันกรุ๊งกริ๊งดี สว่างไสว : หมายถึง เสียงแหลมที่มากด้วยรายละเอียด คล้ายกับว่าเป็นช่วงที่แสงไปส่องมามากกว่าช่วงอื่น ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นกว่าส่วนอื่น ๆ แข็งกระด้าง : มาจากบางความถี่ที่มากเกินควรเข้ามากวนเสียงที่ควรมี อาจมาจากสัญญาณภายนอกที่แทรกซ้อนอาจมาจากตัวของอุปกรณ์เอง -------------------------------------------------------------------------------- Tube : (ทยู๊บ) หมายถึง หลอดสูญญากาศที่ใช้ในวงจรอิเลคโทรนิคส์ ใช้กันมาก่อนทรานซิสเตอร์ หลายคนติดใจเสียงของอุปกรณ์ที่ใช้หลอดสูญญากาศนี้ ชาวอังกฤษเรียก Valve -------------------------------------------------------------------------------- Tweeter : (ทวีตเตอร์) ตัวขับเสียงความถี่สูงในลำโพง -------------------------------------------------------------------------------- Watt : (วัตต์) หน่วยที่ใช้วัดกำลังของแอมปลิฟายเออร์ ตัวเลขยิ่งมากยิ่งเป็นที่ต้องการ แต่ต้องระวังมีวิธีการวัดมากมายที่จะทำให้ได้ค่าตัวเลขสูง ๆ เอาไว้โฆษณา -------------------------------------------------------------------------------- Wave length : (เวฟเล้งจ์) ความยาวคลื่น หมายถึง ระยะทางที่คลื่นเดินทางในหนึ่งรอบคลื่น -------------------------------------------------------------------------------- Woofer : (วูฟเฟอร์) ตัวขับเสียงย่ายกลางลงไปถึงต่ำ -------------------------------------------------------------------------------- Wow : (วาว) อาการแปรเปลี่ยนความเร็วในแบบช้า ๆ เกิดกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงหรือเครื่องเล่นเทป ทำให้เกิดเสียงที่ไม่คงที่ http://www.thaiavzone.com/technicalG/audio_avvocab.html |