หัวข้อ: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: ope3 ที่ กันยายน 09, 2007, 09:07:24 pm การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors
มักเกิดจาก Power Supply มีสภาพเสื่อม จ่ายไฟไม่เรียบ หรือมี ไฟกระตุก ไฟกระชาก ทำให้ Condensor บวมหรือระเบิดออกมาได้ ต้องรีบเปลี่ยน Condensor เหล่านี้ และให้เปลี่ยน Condensor ทุกตัวที่ต่อขนานอยู่ด้วย โดย Condensor จะต้องมีค่าเท่าเดิม (เช่น 1000uF/6.3V , 1200uF/6.3V , 1500uF/6.3V , 1800uF/6.3V , 2700uF/6.3V , 3900uF/6.3V) และจะต้องเป็น Low ESR. Condensors ที่สามารถทนความร้อนสูงถึง 105 องศาด้วย ข้อสำคัญคือ ห้ามใช้ Condensor ธรรมดาที่มีวางขายทั่วไป ซึ่งทนความร้อนแค่ 85 องศา และไม่ใช่ Low ESR.เพราะจะเป็นสาเหตุให้ Clock , I/O , CPU เสียหาย สำหรับ Low ESR. Capacitors 105 องศา(Low ESR. = Low Equivalent Series Resistance) หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: sombat2516 ที่ กันยายน 09, 2007, 09:53:18 pm คาปา แบบนี้ซื้อที่ไหนครับ :D
หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: supoj007 ที่ กันยายน 15, 2007, 02:01:50 pm 105 องศา สั่งที่
http://www.1electronic.net/ หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: atuka ที่ กันยายน 24, 2007, 09:11:11 am ผมไม่เข้าใจว่า c แบบ ESR คืออะไร และต่างจาก c ทั่วไปยังไงครับ
หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: พรเทพ-LSV team♥ ที่ กันยายน 24, 2007, 09:16:04 am เขาเรียกว่า C ระเบิดไม่ใช่หรอ
มันไม่ได้บวมนะครับ มันระเบิดไปแล้วนะครับ เนื่องจากไฟเกินครับหรือไฟผิดขั้วครับหรือไฟไม่เรียบ หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: sukyone ที่ กันยายน 26, 2007, 11:59:21 am ผมไม่เข้าใจว่า c แบบ ESR คืออะไร และต่างจาก c ทั่วไปยังไงครับ น่าจะต่างดังนี้นะครับ 1. ทนความร้อนได้สูงขึ้น เป็น 105 องศา ปกติ ประมาณ 85 2.จ่ายกระแสได้สูงและเร็วกว่าแบบทั่วไป 3.ประจุกระแสได้เร็วกว่า ส่วนปัจจุบันนี้มีตัวเก็บประจุชนิดใหม่ ( หรือไม่ใหม่นะ) เข้ามาเพิ่มอีกตัวคือ Solid Capacitor เพื่อใช้กับภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ด ซึ่งเขาบรรยายสรรพคุณว่าทนกว่า ไม่บวม ง่าย จ่ายกระแสได้เร็วกว่า ความต้านทานภายในต่ำกว่า สรุปว่าดีกว่าว่างั้นเถอะ ส่วนรายละเอียดลองหาอ่านเอาในอินเตอร์เน็ตนะครับ ;) :) หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: Tom-duo ที่ กันยายน 15, 2008, 10:29:03 pm เจอบ่อยๆครับเป็นเพราะซัพพลายจ่ายไฟไม่สเถียร บางครั้งใช้สโคปวัดดูจะเห็นยอดแหลม และกระแสไฟไม่เรียบครับ.. smiley4
หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: sreekung ที่ ตุลาคม 02, 2008, 02:36:51 pm ใช้คาปาซิเตอร์ธรรมดาไม่ได้หรอ ผมก็ใช้มันก็ได้ครับ มันมีผลกระทบมากหรอครับ
หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: wormkung ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2009, 02:57:00 pm เปลี่ยน C แล้ว อย่าลืมเปลี่ยน P/S ใหม่นะครับ ไม่เช่นนั้น ใช้ไปสักพัก เครื่องจะรวน smiley4
หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: toon_army ที่ มิถุนายน 08, 2009, 03:25:05 pm มายืนยันครับ ต้องใช้แบบ 105องศา!!!!!! เท่านั้นครับ เพราะในวงจรพวกสวิซชิ่งและคอมพิวเตอร์ ใช้สัญญาณพัลซ์หลากหลายแบบมากครับในการทำงาน
หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: พรเทพ-LSV team♥ ที่ มิถุนายน 08, 2009, 03:30:50 pm มันไม่เกี่ยวกับใช้สัญญาณพัลซ์หลากหลายแบบครับ
ที่ต้องใช้105องศา เพราะ เครื่องหรือวงจรนั้นๆทำงานหนักเช่นเปิดทั้งวันหรือเปิดทั้งวันทั้งคืน ทำให้วงจรมีความร้อนสะสมดังนั้นจึงควรใช้105องศาครับพี่น้อง หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: toon_army ที่ สิงหาคม 01, 2009, 09:16:54 pm มันไม่เกี่ยวกับใช้สัญญาณพัลซ์หลากหลายแบบครับ ที่ต้องใช้105องศา เพราะ เครื่องหรือวงจรนั้นๆทำงานหนักเช่นเปิดทั้งวันหรือเปิดทั้งวันทั้งคืน ทำให้วงจรมีความร้อนสะสมดังนั้นจึงควรใช้105องศาครับพี่น้อง เกี่ยวครับ ผมไม่ได้มั่ว เพราะคาปา เมื่อค่าความจุลดลงและ ESR มีค่ามากขึ้นทำให้ภาคควบคุมของวงจรสวิชชิ่งเพิ่มความถี่ในการสวิตช์ เพื่อชดเชยไฟขาออกให้ได้ตามที่กำหนดไว้ ส่งผลให้มอสเฟตมีความร้อนสูงขึ้นเนื่องจากต้องสวิตช์ ความถี่มากขึ้น ความร้อนจากมอสเฟตมีส่วนทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของตัวเก็บประจุผิดเพี้ยนไป เช่น ค่า ESR เพิ่มมากขึ้น, ค่า EPR ลดลง ส่งผลให้ภายในตัวเก็บประจุ leak มากขึ้นแก๊สไฮโดรเจนเกิด มากขึ้นและความร้อนทำให้แก๊สขยายตัวมากขึ้น ครับตามนี้ครับ หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: upx ที่ กันยายน 01, 2009, 02:37:12 pm อีกอย่างที่สงเกตุมา ส่วนมากที่ผมเจอ C จะบวมหรือระเบิด เฉพาะที่ชุดภาคจ่ายไฟ CPU นั่นแหละครับมันดันวางใกล้ CPU ซึ่งฐานมันร้อนและจุดนั้นมีลมร้อนจาก Heatsilk เป่าโดนด้วย
หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: sutichai ที่ ธันวาคม 16, 2009, 03:44:06 pm :D :D :D
หัวข้อ: Re: การตรวจซ่อม Mainboard อาการ C บวม ด้วย Low ESR. Condensors เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ กันยายน 25, 2010, 03:30:59 pm ...เจอ2เครื่องเร็วๆนี้ เพราะอยู่บ้านนอก หาซื้อc comp. ยาก ลองใช้ c.ใน tv. ซักหน่อย ตามประสาช่างขี้สงสัย ..
(..มองบอร์ดทางด้านบน cpu อยู่ขวามือนะครับ) -ฝั่งขวาใช้ c. ธรรมดาได้ครับ -ฝั่งบนใช้ c. ธรรมดาไม่ได้ครับ แม้กระทั่งเปิดแค่5นาทีก็ร้อนเลย คงเกี่ยวกับESR. Capacitors นั่นหละ(ว่ากันว่ากำหนดวัดที่ความถี่ 100 kHz. ESR. Capacitors ยิ่งมีอิมพิเดนซ์น้อยก็ยิ่งร้อนน้อย ESR. Capacitorsแต่ละยี่ห้อก็มีค่าอิมพิเดนซ์ไม่เท่ากัน ...ESR. Capacitorsค่าอิมพิเดนซ์ยิ่งต่ำก็ยิ่งมีราคาสูง ดังนั้นเมนบอร์ดมาจากจีนที่ใช้ c ราคาถูกๆมาประกอบจึงไม่ทนทาน บวมง่าย เสียเร็ว... ) ...ทดลองเปลี่ยนc. ธรรมดาแล้วใช้งานได้ทันทีครับ อาการเปิดสักพักดับหายไป c.ไม่ร้อน ..ใช้งานได้เหมือนเครื่องใหม่ครับ ตอนนี้ใช้งานมาประมาณครึ่งเดือนแล้วยังไม่เจอปัญหา(เปิด24ชั่วโมง) ..แต่ทางที่ดีหากมีอะไหล่ควรใช้ c เหมือนเดิมนะครับ smiley4 **หมายเหตุ:: ยังไม่ได้เปิดดูวงจร(เพราะขี้เกียจหา :o) ...ท่านใดมีวงจรภาคนี้ แนบมาให้ดูหน่อยก็จะดีนะครับ ช่างที่ดีต้องขี้สงสัยครับ :o |