พิมพ์หน้านี้ - เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

► อิเล็กทรอนิกส์ ► => ถาม-ตอบ ซ่อมทีวี => ข้อความที่เริ่มโดย: sombatthai ที่ พฤศจิกายน 20, 2007, 11:32:12 PM



หัวข้อ: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: sombatthai ที่ พฤศจิกายน 20, 2007, 11:32:12 PM
รบกวนผู้เชี่ยวชาญ....ขอเทคนิคการตรวจซ่อมภาคจ่ายไฟทีวีหน่อยครับ
พอซ่อมได้บ้าง เคยอยู่ร้านซ่อมมาก่อน  อนาคตอยากเปิดร้านซ่อม....ขอเริ่มภาคจ่ายไฟก่อนแล้วกัน 


หัวข้อ: Re: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: mon0915 ที่ พฤศจิกายน 21, 2007, 07:05:54 AM
เปิดฝาครอบเครื่อง   แล้วลอย  TR  ฮอร์เอาท์ออกใช้หลอดไฟต่อเข้าแทนแล้วเริ่มเช็คจากไฟ  300   แล้วเช็คไฟ B+  ให้ไฟมีตรงตามวงจรของแต่ละรุ่นครับ


หัวข้อ: Re: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: kunton ที่ พฤศจิกายน 21, 2007, 07:40:00 AM
เสริมครับ ใช้หลอด ซัก 100 W ต่อแทน ฟิวท์ ด้วยครับ เอา ฟิวท์ ออก ใส่หลอดแท่น  ครับ  จะช่วย เซฟ อะไหล่ ได้ครับ ;D


หัวข้อ: Re: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: tunk33150 ที่ พฤศจิกายน 21, 2007, 08:14:19 AM
ของฟิลลิปครับ เอามาฝาก ;D


หัวข้อ: Re: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: tunk33150 ที่ พฤศจิกายน 21, 2007, 08:21:16 AM
แถมอีกตัว  :P


หัวข้อ: Re: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: พรเทพ-LSV team♥ ที่ พฤศจิกายน 21, 2007, 09:29:27 AM
เสริมครับ ใช้หลอด ซัก 100 W ต่อแทน ฟิวท์ ด้วยครับ เอา ฟิวท์ ออก ใส่หลอดแท่น  ครับ  จะช่วย เซฟ อะไหล่ ได้ครับ ;D

ต้อง 200Wครับ


หัวข้อ: Re: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร-LSVteam ที่ พฤศจิกายน 21, 2007, 10:05:01 AM
เรียนรู้การทำงานของมันถ้ารู้ว่าตัวไหนทำงานอย่างไร ก็จะรู้ว่ามันเสียแล้วจะเป็นยังไง หลักการซ่อมก็คือรู้จักการทำงานของวงจร
 


หัวข้อ: Re: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: sombat2516 ที่ พฤศจิกายน 21, 2007, 10:13:08 AM
พิ้นฐานการซ่อมภาคจ่ายไฟหรืออาการเปิดไม่ติด
              อันดับแรกต้องมีเครื่องมือช่วยคือ หลอดไฟกลม60wและ200w  ความสะอาดและตะกั่วร่อนไม่พูดถึงนะครับ  เมื่อเริ่มจับมิเตอร์ครั้งแรกสำคัญมากให้วัดไฟที่C.ฟิลเตอร์300v ว่ามีไฟค้างอยู่หรือไม่ ค้างมากค้างน้อยมีผลต่อการวิเคราะห์ต่อไปด้วย ถ้ามีไฟค้างให้ดิสชาร์ททิ้งโดยใช้หลอดไฟ  แล้วตั้งมิเตอร์วัดโอห์ม X1K  วัดคร่อมC300V ให้วัดครั้งเดียวพอโดยเอาสายสีดำจับขั้วบวกของC 300 สายสีแดงจับขั้วลบ ถ้าวัดได้ต่ำกว่า1K แสดงว่าไม่ปลอดภัย ยิ่งถ้าอยู่ระหว่าง0 - 100โอห์มกว่าแสดงว่าชอร์ทให้หาตัวเสียให้เจอโดยไม่ต้องเสียบไฟเข้าเครื่อง  ถ้าเราเจอตัวเสียแล้วก็ลองวัดใหม่ถ้าได้สูงกว่า1kถือว่าผ่าน      การวัดต้องวัดค้างไว้สัก3-5วินาทีเพื่อรอการดิสชาร์ทเพื่อผลการวัดจะได้สมบูรณ์
              ส่วนทางด้านไฟบีบวกก็ทำเช่นเดียวกันถ้ามันชอร์ทอยู่หรือวัดโอห์มได้ต่ำให้หาตัวเสียให้เจอก่อนทำขั้นตอนต่อไป
               ถ้าสองจุดที่กล่าวคือด้านไฟ300vและไฟบีบวก ไม่มีปัญหาคราวนี้ก็เตรียมตัวเล่นกับไฟโดยให้ไปลอยฮอร์ออกก่อน  ในกรณีเครื่องชอร์ทอุปกรณ์ที่เสียแน่ๆมีสองตัวคือฟิวส์ต้องขาดดำ และRกระเบื้องหรือเรียกRกันกระชากของไฟค่าประมาณ4.7โอห์ม/5-10W ต้องขาดหรือเสียทั้งสองตัว     ก่อนจะป้อนไฟเข้าให้ถอดฟิวส์ออกแล้วใช้หลอดไฟ200wต่อแทนฟิวส์ ในกรณีเครื่อง25-29นิ้วให้เพิ่มหลอดไฟอีกหนึ่งหลอด  อย่าลืมลอยฮอร์ออกก่อนเสียบปลักไฟและนำหลอด60wต่อเป็นโหลดที่C ฟิลเตอร์บีบวกหรือที่จุดอื่นในลายเดียวกันแล้วแต่สะดวก      ไม่ต้องกลัว เสียบไฟ3วินาทีให้สังเกตุว่าหลอดไฟเริ่มหรี่ลงบ้างไหม ส่วนมากถ้าทำตามที่กล่าวหลอดไฟต้องหรี่ลงใน3-5วินาที  ถ้าไม่เป็นตามนี้ให้กลับไปนับหนึ่งใหม่เลย ส่วนหลอดไฟที่ต่อแทนฟิวส์ให้ต่อไว้จนกว่าจะซ่อมเสร็จ
              การซ่อมภาคจ่ายไฟจะจบเมื่อไฟบีบวกออก และออกได้เท่ากับที่เครื่องกำหนดไว้จะขาดจะเกินบ้างตรงนี้ขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของคนซ่อม    ถ้าหลอดไฟ60wติดและวัดไฟบีบวกได้เท่าที่เครื่องกำหนดก็ถือว่าการซ่อมจบลงแค่นั้น ต่อไปให้ใส่ฮอร์เพื่อเข้าสู่การซ่อมในด่านต่อไป  ...เป็นวิธีของผมครับ  ท่านอื่นเพิ่มเติมได้ครับ :D
              


หัวข้อ: Re: เทคนิคการซ่อมภาคจ่ายไฟ
เริ่มหัวข้อโดย: sombatthai ที่ พฤศจิกายน 23, 2007, 06:45:19 AM
ขอบคุณทุกท่าน  ข้อมูลทุกอย่างเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ใครมีเทคนิคเพิ่ม เสริมได้นะครับ