พิมพ์หน้านี้ - เพาะปลาคาร์ฟ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●การเกษตร => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ กันยายน 30, 2008, 10:44:59 PM



หัวข้อ: เพาะปลาคาร์ฟ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ กันยายน 30, 2008, 10:44:59 PM
ลองมาเพาะปลาคาร์ฟกันเล่นๆเถอะ

      ประเทศไทย ได้เริ่มมีการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ ซึ่งนำมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2493 จากนั้นก็มีผู้สั่งปลาเข้ามาเลี้ยงกันมากมายในราคาที่ค่อนข้างสูงได้มีการศึกษาและทดลองเพาะพันธุ์จนประสบความสำเร็จ ยังผลให้การสั่งเข้าปลาแฟนซีคาร์ฟลดลง และปลาในประเทศที่มีคุณภาพดีได้รับความนิยมมากขึ้นจนแพร่หลายดังเช่นปัจจุบันปลาแฟนซีคาร์ปจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันแล้วแต่สถานที่ที่ปลาอาศัยอยู่ ฤดูวางไข่ของปลาเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น ส่วนในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์เป็นช่วงฤดูหนาว ปลาจะไม่เจริญเติบโตและไม่สืบพันธุ์ สำหรับประเทศไทยนั้นปลาแฟนซีคาร์ฟสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งพ่อแม่ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การที่จะเพาะปลาคาร์ฟจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆดังนี้

1.คุณภาพของปลาที่จะเป็นพ่อแม่ รูปทรงและสีสันของปลาที่ดีจะต้องได้มาจากสายพันธุ์ พันธุกรรมของพ่อแม่ที่ดี หรือเรียกว่า สายพันธุ์นิ่ง คือพ่อแม่พันธุ์หน้าตาเป็นอย่างไร ลูกที่ออกมามักจะได้แบบนั้นเป็นส่วนใหญ่ ปลาที่มีสายพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ดูง่ายๆคือ เวลาออกลูกมาแล้วมีหน้าตาไม่เหมือนพ่อแม่พันธุ์เลย

2.เพศของปลา ต้องรู้ว่าตัวไหนผู้ ตัวไหนเมีย ปลาตัวเมียจะตัวอ้วนๆสั้นๆ ครีบอกจะเล็กเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว ตัวผู้ผอมยาว ครีบอกใหญ่กว้างกว่า ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ที่แข็งแรงพร้อมที่จะทำงานจะมีตุ่มเล็กๆใสๆที่บริเวณหัวและครีบอก เวลาจับคู่มักใช้ตัวเมีย 1 ตัวกับตัวผู้ 2 ตัว เพราะตัวเมียจะมีไข่มาก ตัวผู้จะได้ปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ได้ทัน

3.อายุของปลา พ่อแม่พันธุ์ใช้อายุ 4-5 ปี ลำตัวยาวมากกว่า 10-12 นิ้ว ปลาอายุน้อยจะมีเปลือกไข่บาง เมื่อผสมแล้วไข่มักจะเสียก่อนฟักเป็นตัว ปลาแก่เกินไปเปลือกไข่หนา สเปิร์มเจาะเข้าไปไม่ได้

4.ฤดูกาลผสมพันธุ์ จะเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน ประเทศไทยจะได้เปรียบกว่าญี่ปุ่นเพราะประเทศไทยเราร้อนนานกว่าผสมได้นาน ฤดูหนาวญี่ปุ่นจะไม่ได้ทำการเพาะเลย บ้านเรามีอุณหภูมิที่เหมาะสม

5.บ่อผสมพันธุ์ กักน้ำประปาทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน ให้คลอรีนสลายตัวให้หมด จะได้น้ำสะอาดไม่มีเชื้อโรค เอาเชือกฟางมาทำเป็นพู่ แล้วผูกติดกับท่อให้จมน้ำ ปลาจะไข่ติดกับเชือกฟาง เอาหัวทรายที่ต่อจากปั๊มลมใส่ลงไปในน้ำมีออกซิเจนมากๆ อย่าใช้ปั๊มแบบดูดน้ำพ่น เพราะจะดูดไข่และลูกปลาตายหมด

6.การปล่อยผสม เอาปลาที่ท้องป่อง 2 ตัวกับตัวผู้ใส่ลงอ่าง หาอะไรมาปิดบังแสง ไม่ให้ถูกรบกวน กันปลากระโดด อย่าตั้งกลางแดด ให้อาหารทุกวันแต่อย่ามากเกินไป ปลาจะวางไข่ติดที่เชือกฟางเป็นเม็ดใสๆ ภายใน 3-7 วัน ปลาท้องแฟบแล้วเอาพ่อแม่ปลาออก เพราะจะกินไข่และลูกหมด

7.การฟักไข่ ต้องให้อากาศตลอดเวลา ดูดเศษตะกอนพื้นบ่อกันน้ำเสีย ตัวอ่อนจะพัฒนาในไข่จะเห็นจุดดำๆในไข่คือลูกตา ภายใน 2-3 วันลูกปลาฟักออกจากไข่ จะเกาะติดกับพื้นหรือผนังด้านข้างเห็นเป็นเส้นดำๆเล็กๆ ระยะนี้จะไม่กินอาหารจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่ท้องหมดประมาณ 3-4 วัน

8.การอนุบาล ในวันที่ 4 ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำขึ้นมา เริ่มให้อาหาร นิยมใช้ไข่แดงต้มสุกป่นให้กิน จะเกิดการกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ให้ไข่แดงต้มนานประมาณ 7วัน อย่าให้มากเกินจะทำให้น้ำเน่า ทำให้ปลาตาย วิธีให้อาหารทีละน้อยทุก 2 ชั่วโมง หรือ 5-6 ครั้งต่อวัน ถ้าเห็นว่าน้ำจะเน่าเสีย รีบถ่ายน้ำ 20-30% ระวังอย่าดูดลูกปลาออก เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 2 ใช้อาหารปลาลอยน้ำที่มี สาหร่ายสไปรูลิน่า โปรตีน โปรไบโอติคกับเบต้ากลูแคนผสมอยู่มาบดละเอียดคลุกผสมกับไข่แดงต้มโรยให้ลูกปลากิน 3-4 วัน ลูกปลาเริ่มรู้จักอาหาร อาหารโปรตีนสูงลูกปลาจะย่อยได้ดีกว่าอาหารโปรตีนต่ำๆ หลังจากนั้นหยุดให้ไข่แดงต้ม เหลือแต่อาหารบดอย่างเดียว โปรไบโอติคจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้าไปอยู่ในระบบทางเดินอาหารลูกปลา ช่วยยับยั้งให้จุลินทรีย์ที่ก่อโรคไม่เจริญเติบโต สไปรูลิน่าและเบต้ากลูแคน จะช่วยให้ลูกปลามีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี

9.การคัดลูกปลา ลูกปลาอายุ 1 เดือน เลือกลูกปลาที่ผิดปกติ ป่วย ทรงเสียออกจากลูกปลาที่มีคุณภาพ ส่วนสีของปลาจะดูช่วงนี้ไม่ได้ เพราะสีจริงยังไม่แสดงออก ตำแหน่งสีดำจะกลายเป็นสีแดงเมื่อปลาโตขึ้น

ทราบถึงปัจจัยต่างๆเป็นเกณฑ์กำหนดในการคัดเลือกให้ได้ปลาที่มีคุณภาพ ตลอดจนแนะนำให้เพื่อนที่ต้องการจะทดลองเลี้ยงปลาให้ได้คุณภาพที่สมบูรณ์ ตลอดจนนำปลาที่มีคุณภาพมาจำหน่ายในท้องตลาดที่ได้รับความนิยม

 


ที่มา... PET-MAG นิตยสารสัตว์เลี้ยง


หัวข้อ: Re: เพาะปลาคาร์ฟ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ กันยายน 30, 2008, 10:56:26 PM
 ปลาแฟนซีคาร์ป (Fancy carp) หรือที่เรียกกันว่าปลาไนแฟนซี ปลาไนสี หรือปลาไนทรงเครื่อง เป็นปลาน้ำจืดในกลุ่มปลาตะเพียน (carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า โคย (Koi) หรือนิชิกิกอย (Nishikigoi) เดิมทีเป็นปลาไนชนิดธรรมดา ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่พบอยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก บริเวณที่ถือว่าเป็นแหล่งดั้งเดิมจริง ๆ ของปลาไนคือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ชาวจีนเป็นชนกลุ่มแรกที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปลาไนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศญี่ปุ่น ตามหลักฐานตามประวัติศาสตร์ชิ้นแรกที่มีอยู่เกี่ยวกับ Koi นั้นได้เขียนขึ้นเมื่อประมาณสองร้อยปีหลังคริสต์ศตวรรษ หลักฐานดังกล่าวได้เล่าถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ปลาเหล่านี้ชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้สำหรับดูเล่น
               สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ป ซึ่งนำมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2493 จากนั้นก็มีผู้สั่งปลาเข้ามาเลี้ยงกันมากมายในราคาที่ค่อนข้างสูงได้มีการศึกษาและทดลองเพาะพันธุ์จนประสบความสำเร็จ ยังผลให้การสั่งเข้าปลาแฟนซีคาร์ปลดลง และปลาในประเทศที่มีคุณภาพดีได้รับความนิยมมากขึ้นจนแพร่หลายดังเช่นปัจจุบันปลาแฟนซีคาร์ปจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันแล้วแต่สถานที่ที่ปลาอาศัยอยู่ ฤดูวางไข่ของปลาเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น ส่วนในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์เป็นช่วงฤดูหนาว ปลาจะไม่เจริญเติบโตและไม่สืบพันธุ์ สำหรับประเทศไทยนั้นปลาแฟนซีคาร์ปสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งพ่อแม่ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
  จำเป็นต้องทราบว่าปลาแฟนซีคาร์ปมีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างไร กล่าวคือโดยทั่วไปปลาเพศเมียจะมีความกว้างของลำตัวมากกว่าปลาเพศผู้ บริเวณส่วนท้องจะใหญ่ นิ่ม ช่วงหัวจะกลมและป้านกว่าเพศผู้ ในฤดูสืบพันธุ์ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่สมบูรณ์ จะมีส่วนท้องขยายกว้างใหญ่ออกจนถึงเกือบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อจับหงายท้องดูที่ช่องเพศจะสังเกตเห็นช่องเพศใหญ่และนูนออกเป็นรูปกลม ส่วนปลาเพศผู้ช่องเพศมีลักษณะเล็กเรียวกว่า และเว้าข้างในเล็กน้อย เมื่อจับรีดท้องเพียงเบา ๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมา และเมื่อเอามือลูบบริเวณแก้มหรือครีบหูจะรู้สึกสาก ๆ ในประเทศไทยปลาแฟนซีคาร์ปที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

หลักการคัดเลือกปลาแฟนซีคาร์ปเพื่อนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรคัดจากปลาที่อยู่ในกลุ่มสีเดียวกันหรือต่างกันในกรณีที่ต้องการให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ พ่อแม่พันธุ์จะต้องมีรูปร่างที่ถูกลักษณะ สมบูรณ์ไม่พิการ มีสีและลวดลายที่เด่นชัด เนื่องจากสายพันธุ์ที่ดีจะมีโอกาสให้กำเนิดลูกปลาที่ดีและสวยงามในเปอร์เซ็นต์สูงกว่าปลาที่สายพันธุ์ไม่ดี
วิธีเพาะพันธุ์

ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ (18-22 องศาเซลเซียส) จำเป็นต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิ เพื่อกระตุ้นให้ปลามีการผสมพันธุ์และวางไข่แต่สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25-32 องศาเซลเซียส จึงไม่มีความจำเป็นต้องปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้น

บ่อผสมพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์ป ควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 4 ตารางเมตร มีการทำความสะอาด กำจัดศัตรูและโรคอย่างดี น้ำที่ใช้เพาะพันธุ์ควรเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติดี ไม่มีสารพิษหรือเคมีใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวปลาและไข่ปลา โดยปกติระดับน้ำในบ่อเพาะควรมีความลึกประมาณ 50-70 เซนติเมตร ใช้เชือกฟางพลาสติก สาหร่าย หรือรากของพันธุ์ไม้น้ำมาผูกติดกันเป็นแพลอยอยู่ในบ่อเพื่อให้ไข่ติด อัตราส่วนของพ่อแม่พันธุ์ที่นิยมในการเพาะใช้แม่ปลา 1 ตัว ต่อพ่อปลา 2-3 ตัว การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงในบ่อเพาะควรกระทำในเวลาเย็นเพื่อปลาจะผสมพันธุ์ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น แม่ปลาความยาว 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม จะมีไข่ประมาณ 7-8 หมื่นฟอง พฤติกรรมในการผสมพันธุ์วางไข่ มีลักษณะเช่นเดียวกันกับปลาในตระกูลคาร์ปชนิดอื่น ๆ คือ ปลาตัวผู้จะใช้ส่วนหัวดุนที่ส่วนท้องของตัวเมียเพื่อกระตุ้นให้แม่ปลาวางไข่ แม่ปลาจะว่ายไปใกล้ผิวน้ำแล้วกลับตัวเพื่อปล่อยไข่ ขณะเดียวกันปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะติดกับวัสดุที่เตรียมไว้ หลังจากปลาวางไข่แล้วต้องย้ายพ่อแม่ปลาออกจากบ่อเพาะ ส่วนไข่ที่ติดอยู่กับวัสดุจะย้ายไปพักในบ่ออื่นหรือฟักในบ่อเดิมก็ได้


การฟักไข่และอนุบาลลูกปลา
            ไข่ปลาแฟนซีคาร์ปเป็นไข่ที่ติดกับวัสดุ มีสีเหลืองอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.7 มิลลิเมตร ไข่ที่ผสมแล้วมีลักษณะโปร่งใสใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 45 ชั่วโมง ณ อุณหภูมิ 28-29 องศาเซลเซียส เมื่อฟักเป็นตัวใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะเกาะติดกับวัสดุใต้น้ำ ลูกปลาวัยอ่อนจะกินอาหารจากถุงไข่แดง (Yolk sac) ที่ติดอยู่ที่ตัวปลา เมื่อถุงไข่แดงยุบ (ประมาณ 2-3 วัน) ปลาจะเริ่มว่ายน้ำและหาอาหารธรรมชาติ อาหารในช่วงแรกนี้ควรใช้นมผงหรือไข่แดงต้มสุก บดละเอียดละลายน้ำให้กินวันละ 4-6 ครั้ง จากนั้นจึงให้ไรแดงจืด (Moina sp.) เป็นอาหาร ลูกปลาจะเริ่มเกิดครีบหาง และครีบหูเมื่ออายุ 6 วัน เริ่มมีเกล็ดเมื่ออายุ 12 วัน และจะเจริญเติบโตจนมีรูปร่างและอวัยวะต่าง ๆ ครบเหมือนปลาทั่วไปเมื่ออายุได้ 15 วัน ซึ่งในระยะนี้ลูกปลาจะมีความยาวเฉลี่ย 1.7 เซนติเมตร
  การคัดเลือกลูกปลา โดยทั่วไปแล้วหลังจากที่ลูกปลามีอายุประมาณ 60 วัน จึงเริ่มมีการคัดลูกปลา โดยคัดแยกปลาที่มีลักษณะดี สีสวยงาม ไม่พิการไปเลี้ยง ส่วนปลาที่ไม่ต้องการควรแยกออก เพื่อมิให้ปะปนกัน ปลาที่มีลักษณะดี ในการเพาะพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์ปในแต่ละครั้ง อาจได้ลูกปลาที่สีสวยงามดี ในการเพาะแต่ละครั้งจะได้ลูกปลาที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ แต่ปลาที่สามารถคัดได้มีคุณภาพดีเยี่ยมอาจไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ หรือไม่ได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของพ่อแม่ วิธีการอนุบาล ตลอดจนการดูแลเอาใจใส่ของผู้เพาะพันธุ์การเรียก
ชื่อปลาแบบญี่ปุ่นปัจจุบันการเรียกชื่อปลาแฟนซีคาร์ปตามสายพันธุ์ อาศัยการดูลักษณะและรูปร่างแถบสีของปลาเป็นหลัก ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้กำหนดการเรียกชื่อของปลานี้โดยแบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม ลักษณะดังต่อไปนี้

(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/1-Kohaku.jpg)
โคฮากุ (KOHAKU)
  "โค" แปลว่า แดง "ฮากุ" แปลว่า ขาว โคฮากุ คือปลาที่มีสีแดงกับสีขาว ปลาที่ดีสายพันธุ์นี้จะต้องเป็นสีขาวสะอาดเหมือนสีหิมะซึ่งจะตัดกับแดงซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ดีอย่างเด่นชัดไทโช-ซันโชกุ (TAISHO-SANSHOKU)
       จักรพรรดิไทโช บิดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน คือเริ่มประมาณ ค.ศ. 1912 "ซันโชกุ" แปลว่า 3 สี ปลาคาร์ปพวกนี้พื้นลำตัวเป็นสีขาว แต่ลวดลายหรือจุดแต้มสีแดงหรือสีดำที่เด่นชัด ส่วนสีขาวก็เป็นเหมือนหิมะและที่ครีบหูจะต้องเป็นสีขาวด้วย


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/3-Showa.jpg)
โชวา-ซันโชกุ (SHOWA-SANSHOKU)
"โชวา" หมายถึง ยุคหนึ่งในสมัยจักรพรรดิองค์ปัจจุบันครองราช เริ่มประมาณ ค.ศ. 1927 "ซันโชกุ" แปลว่า 3 สี ปลาคาร์ปกลุ่มนี้มีพื้นลำตัวเป็นสีดำ แต่มีลวดลายหรือจุดแต้มสีขาวและสีแดง ที่ครีบหูจะต้องมีจุดสีดำ


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/17-Utsuri.jpg)
อุทซึริ-โมโน (UTSURI-MONO)
  "อุทซึริ" หมายถึง สีดำที่เป็นลายแถบคาดคลุมจากหลังลงมา ถึงส่วนท้องด้านล่างบนพื้นสีอื่น ๆ ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ชิโร-อุทซึริ (Shiro-Utsuri), ฮิ-อุทซึริ (Hi-Utsuri), คิ-อุทซึริ (Ki-Utsuri)


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/14-Bekko.jpg)
เบคโกะ (BEKKO)
   "เบคโกะ" แปลว่า กระ ปลากลุ่มนี้มีสีขาว แดง หรือเหลือง สีลวดลายเป็นสีดำ มีลักษณะเหมือนที่พบบนกระดองเต่า คือ สีดำเป็นดอก ๆ บนลำตัว ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ชิโร-เลคโกะ (Shiro-Bekko), ฮิ-เบคโกะ (Hi-Bekko), คิ-เบคโกะ (Ki-Bekko) เป็นต้น


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/12-Asagi-Shusui.jpg)
อาซากิ ชูซุย (ASAGI, SHUSUI)
   "อาซากิ" แปลว่า สีฟ้าอ่อน ส่วนบนของลำตัวปลาเป็นสีฟ้าหรือสีเทา แต่มีลวดลายคล้ายร่างแหหรือตาข่ายคลุม "ชูซุย" หมายถึง ปลาแฟนซีคาร์ปพันธุ์เยอรมัน (โดยซึ) ที่มีเกล็ดสีน้ำเงินบนแนวสันหลัง


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/13-Koromo.jpg)
โคโรโมะ (KOROMO)
   "โคโรโมะ" แปลว่า เสื้อคลุม โคโรโมะ หมายถึง ปลาซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างกลุ่มสีโคฮากุ กับกลุ่มสีอาซากิ หรือกลุ่มสีซันโกกุ กับกลุ่มสีอาซากิ สายพันธุ์ที่เกิดใหม่และรู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น อะ-โคโรโมะ (Ai-goromo), ซูมิ-โคโรโมะ (Sumi-goromo) เป็นต้น


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish//9-Hikarimuji_mono.jpg)
ฮิการิ-มูจิโมโน หรือ โอกอน (HIKARI-MUJIMONO or OGON)
"ฮิการิ" แปลว่า แสงรัศมี "มูจิโมโน" แปลว่า ชนิดที่มีสีเดียวกันล้วน ๆ หมายถึงปลาที่มีสีเดียวกันตลอดตัว "โอกอน" เป็นปลาที่มีสีเหลืองทอง Platinum-Ogon เป็นปลาสีเหลืองที่มีประกายเหมือนทองคำขาว, Orange-Ogon เป็นปลาสีเหลืองมีประกายสีส้ม เป็นต้น


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/8-Hikarimoyo.jpg)
ฮิการิ-โมโยโมโน (HIKARI-MOYOMONO)
    "ฮิการิ" แปลว่า แสงรัศมี "โมโยโมโน" แปลว่า ชนิดที่ผสม รวมความแปลว่าชนิดที่มีเกล็ดสีเงินสีทองเป็นแสงรัศมี เป็นลูกผสมระหว่างปลาโอกอน กับปลาในกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปลากลุ่ม อุทซึริ ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ยามาบูกิ-ฮาริวากี (Yamabuki-Hariwake), คูจากุ (Kujaku) เป็นต้น


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/7-Hikari-Utsuri.jpg)
ฮิการิ-อุทซึริโมโน (HIKARI-UTSURIMONO)
        เป็นการผสมพันธุ์ปลาระหว่างอุทซึริ กับ โอกอน ได้ลูกปลาสีพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีสีทองหรือสีเงินแทรกอยู่ เช่น สีของพันธุ์โชวาที่มีสีทองคำขาวแทรก อยู่ (Gin-Showa) สีของพันธุ์อุทซึริที่มีสีทองแทรกอยู่ (Kin-Ki-Utsuri) เป็นต้น


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/11-Kawarimono.jpg)
คาวาริโมโน (KAWARIMONO)
  "คาวาริ" แปลว่า เปลี่ยนแปลงนอกคอก ไม่เหมือนใคร "โมโน" แปลว่า ชนิด รวมความแปลว่า ชนิดที่สีไม่เหมือนใคร เช่น ปลาสีดำ (Karasugoi) สีชา (Chagoi), สีเขียว (Midorigoi)


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish//5-GinRin.jpg)
คินกินริน (KINGINRIN)
   "คิน" แปลว่า ทอง "กิน" แปลว่า เงิน "ริน" แปลว่า เกล็ด รวมความแปลว่า ปลาที่มีเกล็ดทอง เกล็ดเงิน หมายถึงปลาที่มีเกล็ดสีเงินสะท้อนแสงแวววาวเป็นลายเส้นขนานตามแนวยาวของสันหลัง เช่น ปลาพันธุ์โคฮากุที่มีเกล็ดเงิน (Kinginrin-Kohaku) ปลาพันธุ์เบคโกะที่มีสีเงิน (Kinginrin-Bekko) เป็นต้น


(http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/9-51/fish/16-Tancho.jpg)
ตันโจ (TANCHO)
   "ตันโจ" แปลว่า หงอนแดงของหัวไก่ หมายถึงปลาที่มีสีแดงลักษณะกลมที่หัว ส่วนลำตัวจะมีสีขาวหรือสีอื่นก็ได้ เช่น ตันโจ-โคฮากุ (Tencho Kohaku), ตันโจ-โชวา (Tancho-Showa) เป็นต้นจากการตั้งชื่อกลุ่มปลาดังกล่าวข้างต้น จะสังเกตได้ว่าการเรียกชื่อถือรากศัพท์ของสี สถานที่ ชื่อรัชสมัย ฯลฯ ในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นคำเรียก ดังนั้นในการเรียกชื่อปลาแต่ละตัวซึ่งมีลักษณะรวมในกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่มปนกันจึงสามารถนำชื่อกลุ่มเรียงต่อกัน หรือจะตั้งเป็นชื่อใหม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น
ตันโจ-แพลทินั่ม-กินริน (Tancho-Platinum-Ginrin)
        หมายถึงปลาสีแพลทินั่มที่มีสีแดงกลมที่หัวและเกล็ดสีเงินสะท้อนแสงแวววาวเป็นสายเส้นขนานตามลำตัว
ตันโจ-โชวา-ซันโชกุ (Tancho-Showa-Sanshoku)
        หมายถึงปลาสีแดง ดำ ขาว ซึ่งมีสีดำเป็นสีพื้นของลำตัวตลอดจนครีบหู และมีสีแดงกลมที่บริเวณหัว
แพลทินัม-โดยซึ (Platinum-Doitsu)
        หมายถึงปลาพันธุ์เยอรมันที่มีสีทองคำขาว
ฮิ-อุทซึริ (Hi-Utsuri)
       หมายถึงปลาสีแดงที่มีสีดำเป็นลายแดงคาดคลุมจากหลังลงมาถึงส่วนท้องด้านล่าง
ชิโร-เบคโกะ (Shiro-Bekko)
      หมายถึงปลาสีขาวที่มีลวดลายสีดำเป็นดอกบนลำตัว
http://www.chanthakan.th.gs