ไบโอเทคโชว์ถอดรหัสพันธุกรรมสำเร็จ ครั้งแรก ของโลกในสาหร่ายฯ นาโนเทคอวดรถพยาบาล ปลอดเชื้อ

ไบโอเทคโชว์ถอดรหัสพันธุกรรมสำเร็จ ครั้งแรก ของโลกในสาหร่ายฯ นาโนเทคอวดรถพยาบาล ปลอดเชื้อ

(1/1)

b.chaiyasith:
ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผอ.ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วย ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผอ.สถาบันจีโนม ไบโอเทค ร่วมแถลงข่าว “ความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ไทยในการถอดรหัสพันธุกรรม” โดย ดร.สมวงษ์กล่าวว่า ไบโอเทคร่วมกับนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ทำการศึกษาโครงการวิจัยถอดรหัสจีโนมสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ปี 2548 เพื่อศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำงานของยีนต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ การเกษตร และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ล่าสุดประสบความสำเร็จในการถอดรหัสพันธุกรรม “สาหร่ายสไปรูไลน่า พลาเทนสิส” (Spirulina platensis) ครั้งแรกของโลก โดยทีมวิจัยไบโอเทคสามารถถอดรหัสและจัดเรียงแผนที่พันธุกรรมของสาหร่ายดังกล่าวได้แล้วกว่าร้อยละ 90 จากทั้งหมดประมาณ 5.8 ล้านคู่เบส และคาดว่าจะสามารถถอดรหัสพันธุกรรมได้อย่างครบถ้วนภายในปี 2552 

ดร.สมวงษ์กล่าวต่อว่า การค้นพบดังกล่าวเบื้องต้นจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่เหมาะสมกับประเทศ ไทย เพื่อลดต้นทุนการผลิตและจะต่อยอดไปใช้ ประโยชน์ด้านอื่นๆ โดยมีเป้าหมายจะถอดรหัสจีโนมในมนุษย์ เพื่อต้องการหายีนที่จะก่อโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง เพื่อหาทางป้องกันต่อไป

ขณะเดียวกัน ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผอ. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. แถลงข่าวเปิดตัวรถพยาบาลนาโนเทคโนโลยีคันแรกของประเทศไทย ว่า นาโนเทคร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนารถพยาบาลนาโนเทคโนโลยี ขึ้นเป็นครั้งแรกและคันแรกของประเทศไทย โดยทำการสังเคราะห์อนุภาคเงินหรือซิลเวอร์ ด้วยกระบวนนาโนเทคโนโลยีนำมาผสมกับสีเคลือบรถ หรือเจลโคส จากนั้นก็นำมาพ่นด้านในรถพยาบาล เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียและการติดเชื้อโรคที่จะแพร่ไปยังผู้ป่วยรายอื่นๆ โดยจะมีอายุการใช้งานนานกว่า 10-20 ปี ทั้งนี้ ในอนาคตตั้งเป้าจะนำอนุภาคเงินนาโนผสมกับเจลโคสใช้ในเครื่องมือทางการแพทย์และเบาะในรถพยาบาลด้วย.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ