Airbus A380
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 17, 2024, 06:29:51 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Airbus A380  (อ่าน 5138 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 04:33:55 PM »



18 มกราคม 2005 เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก A380 ถูกเปิดผ้าคลุมโดยบริษัท Airbus มันคือเครื่องบินโดยสารลำตัวสองชั้นแบบแรกของโลกอากาศยาน ซึ่งได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การบิน ไม่ว่าจะเป็นสุดยอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการออกแบบและสร้าง Airbus A380 ความร่วมมือทางธุรกิจและงานด้านวิศวกรรมของโครงสร้างและเครื่องยนต์ ตลอดจนระบบต่างๆ ที่ใช้ในการบินระหว่างบริษัทผลิตเครื่องบิน และชิ้นส่วนของเครื่องบินในสหภาพยุโรป หลังจากเข้าประจำการในสายการบินต่างๆ Airbus A380 จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนที่เดินทางทางอากาศตลอดไป
The A380 is the world’s biggest airliner, but do its handling qualities match its mammoth proportions? We found out when we flew it for the first time

Can Airbus fly-by-wire flight control technology make the world’s largest airliner as easy and safe to fly as one of the European manufacturer’s ubiquitous narrowbodies? Since Airbus launched the 555-seat A380 six years ago, that question has been at the forefront for both pilots and passengers.
More than 50 airline pilots have flown the A380, getting an early taste of how this ultra-large aircraft operates and providing Airbus with invaluable feedback from an operator’s perspective. Now Airbus has put its technology to the test by inviting Flight International and other journals to evaluate the A380, in the final stages of certification flight testing at Toulouse in France.
Despite well-publicised production delays, Airbus says it is on track to complete certification flight testing on the A380 in October. Route-proving will take place in November, and European type certification is expected in December. Four long-range flights have already been conducted with 474 passengers and 26 crew on board to work out the kinks in cabin and entertainment systems.


หลังจากที่เครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่อย่าง Boeing 747 ครองความเป็นเจ้าแห่งการเดินทางทางอากาศมาตั้งแต่ปี 1969 โดยมีตัวเลขของเครื่อง 747 ที่ออกบินให้บริการกว่า 1,400 ลำและมีถึง 881 ลำที่ยังคงบินใช้งานอยู่จนถึงทุกวันนี้ ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จึงได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อผู้บริหารของบริษัท Airbus มีแนวคิดในการสร้างเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ที่มีจำนวนที่นั่ง 600-800 ที่นั่ง บริษัท Airbus ได้ทำการสำรวจความต้องการของสายการบินขนาดใหญ่ทั่วโลก ถึงความต้องการเปลี่ยนแบบหรือหาเครื่องบินที่จะมาแทนที่ Boeing 747 และจากการสำรวจก็พบว่า สายการบินเหล่านี้มีความต้องการเครื่องบินที่บรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า Boeing 747 ประมาณ 50-100%


ครงสร้างและวิศวกรรม

เมื่อโครงการของ Airbus A380 เริ่มต้นขึ้นมีการคาดการณ์เอาไว้ว่าจะต้องใช้เวลาถึง 18 ปีและใช้เงินลงทุนสูงถึงกว่า 7,100 ล้านปอนด์โดยการลงทุนครั้งใหญ่นี้บริษัท Airbus จะต้องขาย A380 ให้ได้ถึง 300 ลำเพื่อให้คุ้มทุน ชิ้นส่วนจำนวนมากกว่า 75 % ของ A380 ทำมาจากอลูมินัมอัลลอย แต่ยังมีชิ้นส่วนอีก 25% ของโครงสร้างที่ผลิตขึ้นจากวัสดุประเภทคาร์บอนคอมโพสิต รวมไปถึงส่วนปีก, ลำตัว และหางของเครื่องที่ติดกัน โดยตัวเครื่องเปล่าๆ จะมีน้ำหนัก 276.8 ตัน และถ้าไม่ได้มีการนำวัสดุน้ำหนักเบามาใช้งานจะทำให้ A380 มีน้ำหนักเพิ่ม ขึ้นอีก 15 ตัน และเมื่อมีน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถังบวกกับผู้โดยสารและสัมภาระ A380 จะบินขึ้นที่น้ำหนัก 560 ตัน

ปีกของเครื่อง A380 มีความสำคัญอีกชิ้นส่วนหนึ่งซึ่งผ่านการทดสอบในอุโมงค์ลมอย่างหนักในการออกแบบ วิศวกรของ Airbus สามารถลดแรงต้านทานของอากาศที่เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อของปีกและไพลอนลง จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กระบวนการผลิตโครงสร้างของ A380 ใช้นวัตกรรมใหม่ล่าสุด โดยการใช้วัสดุที่มีชื่อเรียกว่า Glare (Glassfiber Reinforced Aluminium) วัสดุชนิดนี้มีส่วนประกอบที่ทำมาจากแผ่นอลูมิเนียมบางๆ ขนาด 0.38 มิลลิเมตร 4 แผ่นวางสลับกับแผ่นฟิล์มประสานที่มีการเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์กลาส จุดเด่นของ Glare อยู่ที่น้ำหนักเบาซึ่งน้อยกว่าอลูมิเนียมปกติถึง 15-30 % สามารถทนทานต่อแรงที่มากระทำและทนต่อความล้าได้ดี Glare ถูกนำมาใช้มากในบริเวณด้านหน้าและด้านหลังของผิวด้านบนลำตัวเครื่องบินซึ่ง จะเป็นส่วนที่รับแรงดึงหรือแรงอัดอยู่ตลอดเวลายามขึ้นบิน เทคนิคการเชื่อมโดยใช้แสงเลเซอร์ (Laser Beam Welding) ถูกนำมาใช้แทนการยิงด้วยหมุดยึดทำให้เกิดความทนทานต่อการกัดกร่อนและความ รวดเร็วในการประกอบลำตัวเข้ากับปีกระหว่างที่ A380 อยู่ในสายการผลิต ทำให้ย่นเวลาการสร้างลงไปได้มาก

ระบบที่ถือได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งนวัตกรรมของ A380 คือ ระบบไฮดรอลิค เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องลดน้ำหนักของตัวเคร่ืองลงให้มากที่สุด Airbus จึงนำระบบไฮดรอลิคของเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ที่ใช้งานในกิจการของทหาร ซึ่งผลิตแรงดันได้ถึง 5,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (35 เมกะปาสคาล) ความดันมหาศาลที่นำมาใช้มากกว่าความดันในระบบไฮดรอลิคแบบปกติที่ใช้งานในเครื่องบินทั่วๆ ไปถึง 2,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทำให้ขนาดของระบบไฮดรอลิคเล็กลงและสามารถลดน้ำหนักจากระบบนี้ลงได้กว่า 1,000 กิโลกรัม

ระบบควบคุมการบินแบบก้าวหน้า (Flight Control) หรือระบบแลนดิ้งเกียร์ในเครื่องบินส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยระบบไฮดรอลิค 2 ระบบ แต่สำหรับเครื่อง A380 ยังจะมีระบบสำรองแบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 2 ระบบเพื่อช่วยให้การบังคับควบคุมมีความยืดหยุ่นสูง และมีความปลอดภัยมากขึ้นหากระบบใดระบบหนึ่งเกิดล้มเหลวในระหว่างการบิน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ความถี่ต่างกัน (Variable Frequency Electrical Generator) ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในเครื่อง A380 จุดเด่นของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดนี้คือผลิตความถี่ที่คงที่และมีน้ำหนักเบา ส่วนประกอบไม่ซับซ้อนสามารถซ่อมบำรุงได้ง่ายและรวดเร็ว เทคโนโลยีแบบก้าวหน้ายังถูกนำไปใช้ภายในห้องนักบิน เช่น การเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบเอวิโอนิคเข้ากับระบบจัดการการบินที่ทันสมัยด้วยอินเทอร์เน็ต ระบบจัดการการบินจะแสดงข้อมูลต่างๆ เป็นแบบกราฟฟิกส์แทนตัวอักษรแบบเก่า ที่อ่านค่าได้ยากกว่า การแสดงผลจะผ่านจอแบบ LCD อินเตอร์แอคทีฟ


ห้องนักบินของ Airbus A380 มีความล้ำสมัยประกอบไปด้วยระบบอีเลคโทรนิคต่างๆ ที่ต่อเชื่อมกันอย่างเป็น อย่างดี จอคู่แบบ LED แสดงการนำร่องเป็นอุปกรณ์อินเตอร์แอคทีฟ สามารถปรับเปลี่ยนแผนการบินและแสดงสถานะการบินเบื้องต้น สวิชท์หลักของเครื่องยนต์อยู่หน้าคันบังคับ Thrust และ Thrust Reverse โดยวางตำแหน่งไว้กึ่งกลางขนาบด้วยจอ LCD ของระบบสื่อสาร Side Stick PB หรือก้านบังคับทำหน้าที่หลายอย่างเช่นสามารถปลดระบบบินอัตโนมัตทันทีที่เครื่องบินมีอาการผิดปกติ ห้องนักบินของ Airbus A380 จะมีความคล้ายคลึงกับห้องนักบินของเครื่อง A340 เพื่อความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยนักบินสามารถฝึกบินเพื่อทำการเปลี่ยนแบบ เพียง 8 วันเท่านั้น ห้องนักบินของมันจะสร้างความคุ้นเคยได้อย่างรวดเร็ว สำหรับนักบินบางนายที่เคยบินกับเครื่องบินของบริษัท Airbus ที่นั่งในตำแหน่งนักบินมีความสะดวกสบายพร้อมด้วยเข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุดยึด Airbusใช้ระบบ Fly-By-Wire กับเครื่องบินแทบทุกแบบของบริษัทในยุคปัจจุบัน หมายถึงการวางระบบควบคุมทุกอย่างไว้ในตำแหน่งเดิมทำให้ง่ายสำหรับนักบินที่มีความคุ้นเคยและใช้เวลาเพียงน้อยนิดในการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแบบของเครื่องบิน ส่วนที่มีความแตกต่างและถูกเพิ่มเติมเข้าไปภายในค็อกพิสได้แก่ จอแสดงผลแบบ Liquid Crystal Displayขนาด 6x8นิ้วจำนวน 8 ชุดซึ่งแบ่งออกเป็น

1) จอแสดงผลข้อมูลการบิน- Primary Flight Display จำนวน 2 ชุด
2) จอแสดงการทำงานของเครื่องยนต์-Engine Parameter จำนวน 1 ชุด
3) จอแสดงการนำร่อง-Navigation Display จำนวน 2 ชุด
4) จอแสดงการทำงานและประมวลผลรวม-System Display จำนวน 1 ชุด
5) จอแสดงผลแบบมัลติฟังชั่น-Multi-Function Display จำนวน 2 ชุด

Landing Gear



สำหรับระบบร่อนลงจอด Airbus A380 มีระบบ Thurst Reverse และเบรคแบบคาร์บอนโดยติดตั้งระบบใหม่ล่าสุดเพิ่มเติมเข้าไปซึ่งมีชื่อเรียก ว่า Brake-To-Vacate เป็นอุปกรณ์เสริมในระบบร่องลงจอด สมองกลรุ่นก้าวหน้าจะทำหน้าที่ประมวลผลและคำนวนแรงเบรคที่ต้องการเพื่อทำให้ A380 ออกจากรันเวย์ที่ตั้งโปรแกรมเอาไว้ก่อนจะนำเครื่องลงจอดเมื่อจำเป็น

ความต้องการในการไต่ระดับเพดานบินด้วยความรวดเร็วเพื่ิอลดปริมาณมลภาวะภายในสนามบินทั้งไอเสียและเสียงทำให้บริษัทผู้ออกแบบและผลิตเครื่องยนต์จำเป็นต้องสร้างเครื่องยนต์ที่มีกำลังขับมากกว่า 70,000 ปอนด์ (310กิโลนิวตัน) เครื่องยนต์ Trent 900 จากบริษัทอังกฤษ โรลล์-รอยซ์ (Rolls-Royce) จึงถูกพัฒนาและสร้างขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ที่จะนำมาใช้กับ Airbus A380 Rolls-Royce นำเทคโนโลยีใบพัดแบบใหม่ล่าสุดและระบบคอมเพรสเซอร์รวมถึงระบบเทอร์ไบน์ความดันสูงที่มีการหมุนแบบสวนทางกันมาใช้งาน (Counter-Rotating High-Pressure Compressor And Turbine) เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพและกำลังของเครื่องยนต์ให้ดียิ่งขึ้น

เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟนขนาดยักษ์ของบริษัทอเมริกันนาม จีอีและแพรตต์แอนวิตนี่ย์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาและสร้างเครื่องยนต์ในรหัส GP 7200 ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้กับเครื่องบินโดยสารพิสัยบินไกลขนาดใหญ่ เครื่องยนต์รุ่นนี้มีความยาวถึง 4.74 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.16เมตร มีน้ำหนัก 6712 กิโลกรัม และมีมูลค่าถึง 1 ใน 4 ของมูลค่าตัวเครื่องทั้งหมด GP 7200 ให้แรงขับ 70,000 ปอนด์จากทั้งหมด (4 เครื่องยนต์) 280,000 ปอนด์ พละกำลังอันมหาศาลของเครื่องยนต์ทั้งสองบริษัททำให้ Airbus A380ใช้ทางวิ่งขึ้น-ลงในรันเวย์พอๆ กันกับเครื่อง Boeing 747 เมื่อบินอยู่บนอากาศ A380 จะมีความเร็วประมาณ 0.89 มัค ที่เพดานบินเดินทางในความสูง 43,000 ฟุต ระยะทางในการบินสูงสุดแบบบรรทุกน้ำหนักเต็มลำจะมีระยะทางประมาณ 15,198 กิโลเมตร (9,444 ไมล์) ซึ่งเพียงพอที่จะบินจากปารีสไปบูรโนสไอเรส หรือฮอโนลูลูด้วยการบินรวดเดียวและสามารถประหยัดเชื้อเพลิงถึง 500,000 ลิตรต่อเครื่องยนต์ 1 ตัวในระยะการใช้งานถึง 1 ปี

Airbus เพิ่มพิ้นที่ให้กับ A380 โดยมีความกว้างกว่าลำตัวของเครื่อง Boeing 747 เพื่อให้ผู้โดยสารทุกคนมีพื้นที่เพ่ิมขึ้น การขึ้นบินในแต่ละครั้ง A380 จะสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 489 คน โดยมีที่นั่งในชั้นสูงสุด ( First Class) 14 ที่นั่งและ 76 ที่นั่งในชั้น Business Class ส่วนชั้นประหยัดหรือ Economy จะมีที่นั่งมากที่สุด 399 ที่นั่ง ในชั้น First Class ของบางสายการบิน เช่น Emirate จะมีห้องอาบน้ำถึง 2 ห้อง ส่วนสายการบิน Virgin ก็จะมีเตียงนอนแบบคู่และบ่อนคาสิโนเปิดให้บริการตลอดเส้นทางการบิน ส่วนเก้าอี้ของผู้โดยสารในชั้นประหยัดก็มีความกว้างขึ้นและได้รับความบันเทิงจากระบบมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียงให้เลือก


การมีสองชั้นของห้องโดยสารในเครื่อง A380 ทำให้เกิดความแตกต่างในการบรรทุกผู้โดยสารและสัมภาระ ห้องนักบินจะอยู่ระหว่างกลางกับห้องผู้โดยสาร บันไดที่ค่อนข้างจะเล็กและคับแคบจากพื้นที่ที่มีความจำกัดในการออกแบบชั้นลอยทำให้เกิดความผิดหวังขึ้นบ้าง แต่ความรู้สึกดังกล่าวจะหายไปทันที่ที่ผู้โดยสารได้พบกับการตกแต่งอย่างสุดอลังการ เช่น เลาจ์บนชั้นสองที่ให้บริการเครื่องดื่มทุกชนิดตลอดเส้นทาง พร้อมด้วยกระดานปาลูกดอก และของขบเคี้ยวที่แสนอร่อย


การขึ้นบินกับ Airbus A380 ก็เหมือนกับการบินเครื่องบิน Airbus ขนาดกลางทั่วไป เพราะตำแหน่งและอุปกรณ์บางชนิดในห้องนักบินมีความคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ การควบคุมทั้งหมดมาจากระบบไฮดรอลิคแรงดันสูง การตอบสนองของตัวเครื่องในระหว่างการบินมีความนิ่มนวลผ่านระบบการควบคุมจากสมองกลหลายขั้นตอน แม้นักบินจะพยายามเลี้ยวตัวเครื่องอย่างรุนแรงในระหว่างการบิน แต่ระบบที่รองรับอยู่จะปรับท่าทางการบินและตอบสนองต่อคำสั่งอย่างนิ่มนวล ในระบบ Fly-By-Wire คอมพิวเตอร์ที่รับหน้าทีควบคุมจะทำงานเท่าที่จำเป็นภายใต้ขอบเขตที่ปลอดภัยสูงสุด Airbus A380 สามารถเลี้ยวได้ในมุม 67 องศา (สองในสามของเส้นทางถ้าปีกยกขึ้นในแนวตั้ง) ซึ่งส่งผลลัพธ์ที่ดีกับเครื่องบินขนาดยักษ์แบบนี้ นักบินจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อยกับเครื่อง A 380 ส่วนมลภาวะทางเสียงเมื่อขึ้นบินจะมีความดังเพียงครึ่งเดียวของเครื่อง Boeing 747 มีเสียงของลมน้อยกว่าในเครื่องแบบอื่นมาก การนำเครื่อง Airbus A380 ร่อนลงจอดต้องการสัมผัสที่แทบจะไม่แตกต่างไปจากเครื่องบินรุ่นอื่นมากนัก แต่จะมีการถ่ายเทน้ำหนักตอนที่ล้อสัมผัสกับรันเวย์โดยเฉพาะเมื่อปีกเคลื่อนไหว และถึงแม้ว่านักบินจะมีประสบการณ์มาจากเครื่อง Boeing 747 ก็จะไม่เกิดปัญหาเมื่อพาเจ้ายักษ์ A380 ทำการวิ่งขึ้นหรือร่อนลงจอด หรือถอยหลังแล้ววิ่งช้าๆ เพื่อออกจากหลุมจอดไปยังรันเวย์เพื่อทำการบินขึ้น เนื่องจากมีกล้องติดอยู่รอบลำตัวของเครื่องบินเพื่อแสดงระยะห่างและคำนวนพื้นที่ที่ปลอดภัยในการเลี้ยวให้อย่างเบ็ดเสร็จครบครัน

27 เมษายน 2005 เวลา 10.29 น. ตามเวลาท้องถิ่นในสนามบิน Blagnac International Airport ในเมืองตูลูสประเทศฝรั่งเศล เที่ยวบินทดสอบหรือ Flight Test Instrument ของ Airbus A380 ซึ่งบรรทุกอุปกรณ์เครื่องวัดประกอบการบินและถังน้ำถ่วงน้ำหนัก (Water Ballasts) ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าด้วยความสวยงามและยิ่งใหญ่โดยมีน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงถึง 421 ตันกลายเป็นการบินขึ้นด้วยน้ำหนักสูงสุดสำหรับประวัติศาสตร์การบินพานิชย์ ที่ยังไม่เคยมีเครื่องบินโดยสารชนิดใดบินขึ้นด้วยน้ำหนักขนาดนั้นมาก่อน ลูกเรือทั้ง 6 นายประกอบไปด้วย นักบินทดสอบและวิศวกรของ Airbus นำเครื่องบิน A380 ทำการบินทดสอบในท่าทางต่างๆกว่า 233 นาที ข้อมูลการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบไฮดรอลิคและระบบไฟฟ้าถูกวัดค่าและบันทึกไว้ด้วยอุปกรณ์และเซนเซอร์ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่อง และถูกส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นเพื่อประมวลผล หลังจากนั้นจึงทำการร่อนลงจอดอย่างสมบูรณ์แบบ

Airbus A380 ได้รับความนิยมและถูกสั่งซื้อจากบรรดาสายการบินขนาดใหญ่กว่า 16 สายการบินทั่วโลก (16 พ.ย. 2005) ซึ่งรวมถึงการสั่งซื้อจากบริษัทให้เช่าเครื่องบินยักษ์ใหญ่อย่าง AIG และ ILFC ในจำนวนการสั่งซื้อที่มากถึง 159 ลำ เป็นเครื่องรุ่น A380-800F 27 ลำโดยมีราคาเฉลี่ยต่อลำประมาณ 295 ล้านเหรียญหรือ 12,250 ล้านบาท จากวันที่มันเริ่มต้นขึ้นบินทดสอบ จนถึงทุกวันนี้ Airbus A380 ยักษ์ใหญ่แห่งนภากาศเริ่มเปิดเส้นทางการบินให้บริการทั่วโลกภายใต้สายการบิน ชั้นนำที่บริษัท Airbus ทยอยส่งมอบเครื่องให้ และกลายเป็นที่มาของประวัติศาสตร์ในโลกแห่งอากาศยานพานิชย์ที่มีความเป็นที่สุดทั้งความใหญ่โตมโหฬาร กำลังของเครื่องยนต์ ปริมาตรการบรรทุก และมูลค่าอันมหาศาลของมัน



 เครื่องยนต์............................Engline Allance GP7000 And Rolls-Royce Trent 900
การติดตั้ง..............................4 จุดยึดใต้ปีก วางตามยาว
แบบ......................................High-Bypass TurboFan
แรงขับตอนบินขึ้น.................70,000 ปอนด์ (311kn)
แรงขับตอนบินระดับ.............12,633 ปอนด์ (56kn)
กำลังต่อน้ำหนัก....................258.9 ปอนด์/ตัน บินขึ้นแบบเครื่องเปล่า
ความดัง................................25.6 เดซิเบล
อัตราส่วนกำลังอัด.................43.9
Bypass Ratio (Cruise)...........8.7
ความยาวของเครื่องยนต์......4,750 m.m. (Engline Allance GP7000)
เส้นผ่าศูนย์กลางเครื่องยนต์....3,160 m.m.
น้ำหนักเครื่องยนต์..................6712 กิโลกรัม (Engline Allance GP7000)

อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
ความจุถังเชื้อเพลิง.................310,000 ลิตร
ปริมาตรเชื้อเพลิงต่อคน........34.3 กิโลเมตร/ลิตร (ผู้โดยสารเต็มลำ)
การปล่อยมลภาวะ................คาร์บอนไดออกไซค์ 75กรัมต่อกิโลเมตร
Nox................ ................... ...51.6g/kn
Hc................. ................... .....5.4g/kn
Co................. ................... .....44.9g/kn

พิสัยบิน
ผู้โดยสารเต็มลำ...................15,198 กิโลเมตร (8200 น็อตติเคิลไมล์)
บรรทุกสูงสุด.........................10,460 กิโลเมตร
บินแบบเครื่องเปล่า...............18,507 กิโลเมตร

มิติ
ความยาวตัวเครื่อง...............72.57 เมตร
ความสูงรวม.........................24.2 เมตร
ความกว้างปีกรวม................79.75 เมตร
ความยาวหางเสือ.................30.37 เมตร
ความกว้างของลำตัว............7.14 เมตร
ความสูงตัวเครื่อง.................8.56 เมตร
ฐานล้อ..................................31.89 เมตร

น้ำหนัก
น้ำหนักทางลาดสูงสุด..........562,000 กิโลกรัม
น้ำหนักบินขึ้น.......................560,000 กิโลกรัม
น้ำหนักร่อนลงจอด...............386,000 กิโลกรัม
น้ำหนักเครื่องเปล่า...............361,000 กิโลกรัม
บรรทุกสัมภาระและผู้โดยสาร.....90,718 กิโลกรัม

ระบบกันสะเทือน
-ระบบ Goodrich ใต้ท้องเครื่องทั้ง 22 ล้อ
-เกียร์ 5 ชุด 1x2 ล้อใต้จมูกเครื่อง/ 2x6 ใต้ลำตัว/ 2x4 ใต้ปีก

ขนาดยาง
ยางชุดล้อหน้า......................1,270x455 R22 32PR
ลมยางชุดล้อหน้า.................14.1 Bar (250psi)
ยางชุดล้อใต้ปีก....................1,400x530 R23 40PR
ลมยางชุดล้อใต้ปีก...............15 Bar (218psi)
ยางชุดล้อใต้ลำตัว................1,400x530 R23 40PR
ลมยางชุดล้อใต้ลำตัว...........15 Bar (218psi)

อุปกรณ์ในห้องนักบิน
-ระบบปกป้องสภาพการบิน
-คันบังคับข้าง
-Dark Cockpit
-กล้องและวีดีโอช่วยถอยและจอด
-หน้าปัดท์แสดงแรงขับดัน
-จอแสดงผลการเร่งเครื่องยนต์เพื่อ Take-Off
-จอแสดงสถานะในแนวตั้ง
-ระบบแสดงข้อมูลบนเครื่อง
-หน้าจอแสดงผลแบบตอบสนอง

ระบบความปลอดภัยเมื่อลงจอดฉุกเฉิน
ทางสไลด์ 6 ช่องทาง
ความสามารถในการอพยพผู้โดยสาร 853 คนใน 90 วินาที

arcom roumsuwan
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th

Photo By
www.qualityjunkyard .com
www.wallpaper-s.org
www.flightglobal.co m
www.theage.com.au
www.fspilotshop.com
ที่มา
http://www.flightglobal.com/articles/2006/09/25/209189/flight-test-airbus-a380.htm





บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!