เกี่ยวกับสารตะกั่วที่จต้องเจอครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 15, 2024, 11:19:33 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับสารตะกั่วที่จต้องเจอครับ  (อ่าน 2266 ครั้ง)
changtong
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17


« เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 10:57:24 PM »

อยากทราบว่าพี่ๆ เพื่อนๆ  ทั้งหลายมีวิธีป้องกันตะกั่วกันอย่างไรบ้างครับ

คิดว่าน่าจะป้องกันได้กี่เปอร์เซ็นครับ


บันทึกการเข้า

s1150 ♥280
วีไอพี
member
***

คะแนน64
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 645


You will be with me 4ever..*


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 11:36:07 PM »

ผ้าปิดจมูก  ป้องกันได้ไหมครับ  Smiley
บันทึกการเข้า

~!!  >o<"  !!%
changtong
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17


« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 11:48:09 PM »

ไม่ทราบเหมือนกันครับ

ผมก็ไม่มั่นใจ  ผมก็ใช้อยู่ครับ
บันทึกการเข้า
mumu2005
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 14, 2010, 01:33:38 AM »

พัดลมดูดอากาศครับและห้องทำงานต้องระบายอากาศให้ดีนะครับ เป็นห่วงคนหัวดีๆ โดนตะกั่วจนเีพี้ยนเยอะเลยครับ ไม่เอา
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 14, 2010, 06:53:29 AM »

สารตะกั่วเป็นมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ก่ออันตรายต่อเด็ก
การที่เด็กได้รับสารตะกั่วแม้จะไม่มาก
แต่จะส่งผลต่อระดับสติปัญญา (ไอคิว) สมอง และระบบประสาท

เนื่องจากร่างกายเด็กจะดูดซึมสารตะกั่วได้มากกว่าผู้ใหญ่ 5 เท่า คือ 50%
เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่มีการดูดซึมเพียงแค่ 10-15%
โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ขวบ

สารตะกั่วเป็นพิษ
สาเหตุ

     เกิดจากการสูดไอตะกั่ว หรือกิน หรือสัมผัสสารตะกั่ว (ดูดซึมผ่านผิวหนัง) เป็นเวลานาน จนร่างกายมีการสะสมสารตะกั่ว ถึงระดับที่เป็นพิษมักเกิดจากการประกอบอาชีพในโรงงานที่มีสารตะกั่ว หรือ เกิดจากความประมาทเลินเล่น หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเกิดจากการเล่นซนของเด็ก ๆ


อาการ

     ผู้ป่วยอาจแสดงอาการได้หลายอย่าง เช่น ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรงโดยหาสาเหตุไม่พบ ร่วมกับอาการท้องผูก หรือไม่ก็ถ่ายเป็นเลือดอาจมีอาการซีด เนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเร็วขึ้น และสร้างได้น้อย เนื่องจากพิษของตะกั่วที่มีต่อระบบเลือด

     อาจมีอาการปลายประสาทอักเสบ ซึ่งจะพบผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ที่พบได้บ่อย คือ ประสาทมือเป็นอัมพาต ทำให้ข้อมือตก เหยียดไม่ขึ้น และประสาทเท้าเป็นอัมพาต ทำให้ปลายเท้าตกเดินขาปัด ที่ร้ายแรง ได้แก่ภาวะผิดปกติทางสมอง ซึ่งจะพบมากในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ส่วนผู้ใหญ่พบได้น้อย เด็กจะมีอาการเดินเซ อาเจียน ซึม เพ้อ บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิมนำมาก่อนแล้วจะมีอาการชักและหมดสติ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา ก็มักจะตายในที่สุด หรือไม่สมองอาจพิการ และปัญญาอ่อน

     ส่วนในรายที่มีพิษตะกั่วเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อน เพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ ขาเป็นตะคริวบางคนอาจพบรอยสีเทา ๆ ดำ ๆ ของสารตะกั่ว ที่ขอบเหงือก ในคนที่ไม่มีฟันจะไม่พบอาการนี้ และในเด็กก็มีโอกาสพบได้น้อย


การรักษา
     
     หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล ถ้ามีอาการชัก ให้ฉีดไดอะซีแพม  ก่อนส่งควรตรวจดูระดับตะกั่วในเลือด (มักพบสูงกว่า 80 ไมโครกรัม ต่อเลือด 100 มล.) และในปัสสาวะ (มักพบสูงกว่า1 มิลลิกรัมต่อปัสสาวะ 24 ชั่วโมง) สารคอโพรพอร์ไพริน (Coproporphyrin) ในปัสสาวะ จะมีค่าสูงกว่า  50 ไมโครกรัมต่อปัสสาวะ 100 มล.

     การตรวจดูเม็ดเลือดแดง จะพบลักษณะที่เรียกว่า Basophilic stippling

     การตรวจเอกซเรย์ อาจพบรอยทึบแสงของสารตะกั่วในลำไส้ และรอยสะสมของตะกั่วที่ปลายกระดูกแขนขา

     การรักษา ให้ฉีดยาขับตะกั่ว ได้แก่ ไดเมอร์แคปรอล (Dimercaprol) เช่น บีเอแอล (BAL) ร่วมกับ แคลเซียมไดโซเดียมอีดีเทต (Calcium disodium edetate) เช่น อีดีทีเอ (EDTA) เป็นเวลา 5-7 วันเมื่ออาการดีขึ้น ควรให้กินเพนิซิลลามีน (Penicillamine) ต่ออีก 1-2 เดือน (ในผู้ใหญ่) หรือ 3-6 เดือน (ในเด็ก)

     ผลการรักษา ถ้าไม่มีอาการทางสมอง ก็มักจะหายเป็นปกติได้ แต่ถ้ามีอาการทางสมอง อาจมีอันตรายถึงทุพพลภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในเด็ก อายุต่ำกว่า 2 ปี อาจมีอัตราตายถึง 25%


ข้อแนะนำ

1. โรคตะกั่วเป็นพิษอาจมีอาการได้หลายแบบ ดังนั้น ถ้าพบคนที่มีอาการปวดท้อง, ซีด, ข้อมือตก ,ข้อเท้าตก,
    บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม, เพ้อ, ชัก หรือหมดสติ ควรถามประวัติการเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว หากสงสัย
    ควรส่งไปตรวจรักษา ที่โรงพยาบาล

2. คนที่มีอาการผิดปกติทางสมอง เนื่องจากตะกั่วเป็นพิษ อยู่ ๆ อาจแสดงอาการแปลก ๆ เช่น เพ้อ คลุ้มคลั่ง ชัก
    ชาวบ้านอาจเข้าใจผิดว่าเกิดจาก "ผีเข้า" หรือ "วิกลจริต" แล้วพาไปรักษาทางไสยศาสตร์ ซึ่งมักจะเสียชีวิต
    ลงอย่างน่าอนาถ ทางที่ดี ควรหาทางชักจูงให้ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล เพราะมีทางรักษาให้หายได้

ที่มาของข้อมูล
http://www.nangkatik-club.com/smf/index.php?topic=235.0
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!