ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 09, 2024, 02:33:15 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้  (อ่าน 7138 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 04, 2009, 09:23:17 PM »

ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้ 

       ภาษาและสำเนียงของคนปักษ์ใต้ โดยเฉพาะคนสงขลา   จะมีคำศัพท์เฉพาะจำนวนมาก
ที่คนกรุงเทพฯฟังแล้วไม่เข้าใจ   และแม้จะสอบค้นจากพจนานุกรมไทยไม่ว่าฉบับใดก็คงจะค้นหา
ความหมายคำเหล่านี้ได้ยาก ตัวอย่างเช่น

      เลี๊ยะ       ภาษาสงขลาใช้เรียก  กระแต(สัตว์ตัวเล็กคล้ายกระรอก)

        ซ่า-ว้า     ภาษาสงขลาใช้เรียก  ละมุด (ไม้ผลชนิดหนึ่ง)

      มายา หรือม่ายยา    ภาษาสงขลาใช้เรียก   ปุ๋ยคอก   

        คง          ภาษาสงขลาใช้เรียก   ข้าวโพด

        น้ำพะ      ภาษาสงขลาใช้ในความหมาย  น้ำท่วม

                     ฯลฯ

       ศัพท์ภาษาที่แตกต่างจากเขตอื่นเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นคำที่คนสงขลารับมาจากมลายู  ทั้งนี้
เนื่องจาก อยู่ใกล้ชายแดน มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนไทยและมลายูดั่งเดิม  ส่งผลให้คนไทย
ชายแดน รับเอาภาษามลายูมาใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันในภาษามลายูเองก็มีคำหลายๆ
คำที่คล้ายคลึงกันกับภาษาไทย  ทั้งสำเนียงและความหมายจนผู้รู้ทางด้านภาษาเอง ก็ไม่สามารถ
บอกได้เช่นกันว่า มลายูยืมจากภาษาไทย หรือไทยยืมมาจากภาษามลายูกันแน่

 

       ดังนั้น เพื่อเป็นการสืบทอดภาษา ของคนเฒ่าคนแก่ให้คงอยู่   จึงขอนำภาษาไทยและมลายู
ที่เหมือนกัน   (เท่าที่จะสามารถค้นได้ จาก  Kamus ของ มาเลย์-อินโดนีเซีย) มาเปรียบเทียบกับ
ภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ผู้เฒ่าผู้แก่เขาพูด เขา”แหลง”กัน  เพื่อให้ท่านได้พิจารณา  ดังต่อไปนี้

 
 
ภาษามลายู
 ภาษาไทย และคำที่ใช้ในปักษ์ใต้
acar
 
 (น)  ผักดอง   
ผักดองที่เป็นเครื่องเคียงของแกงมัสหมั่น จะเรียกว่า อาจาด  หรือ อาดจาด    ( คำนี้เดิมมาจาก achar ในภาษาทมิฬ )
aduh
 
 
 (ว)  คำอุทานแสดงอาการปวด
อะโดย, อะโตย  เป็นคำอุทานแสดงอาการปวดของคนใต้  กล่าว
กันว่า  คำๆ นี้ใช้กันตั้งแต่ปักษ์ใต้ของไทย   ลงไปจนถึงเกาะชวา
 ของอินโดนีเซีย “อะโดย” หรือ "อะดุย"  จะหมายเฉพาะเจ็บนิดๆ
 แต่  อะโตย  หรือ อัดโตย จะเจ็บมากกว่า
amboi (ว) คำอุทานในลักษณะชื่นชม   
คนปักษ์ใต้ โดยเฉพาะคนสะกอมจะใช้คำนี้อุทาน  เช่น  “ อะโบย
มะ สวยจังหู สวยจังเลย”
ambruk
 
 (ก)  ล้ม, พัง, ทรุด
“ต้นไม้ใหญ่พรวก เหงบ้าน”  ความหมายคือต้นไม้ใหญ่ล้มทับบ้าน
 
asrama (น) คำนี้ ในภาษามลายู จะใช้ในความหมาย  หอพักของนักเรียน
 นักศึกษา แต่ภาษาไทย จะใช้ อาศรม ในความหมาย ที่พักของ
ฤษี นักบวช
bab (ลักษณะนาม)  ฉบับ  หรือ ตอน   ใช้กับ เอกสารหรือหนังสือ (chapter)
bah ( air bah )

  (ก)  ท่วม , นอง
ในเขตปักษ์ใต้ชายแดน  จะเรียกฤดูฝน  ซึ่งจะมีน้ำหลากอยู่เป็น
ประจำ ระหว่าง เดือน 12  ถึงเดือนอ้ายว่า   "ดูพะ" หรือ "ฤดูพะ"
(หมายถึงฤดูน้ำท่วม น้ำนอง)
bahasa (น)  ภาษา
bahtera (น)  เภตรา  หรือ  เรือ
baja (น)  มายา หรือ ม่าย ยา   ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยขี้ค้างคาว
bakti (น)  ภักดี    ความซื่อสัตย์ จงรัก
balai

 
 
 (น)  พาไล  คำมลายูใช้ในความหมาย ห้องประชุม หรือสำนักงาน
 แต่ภาษาไทยปักษ์ใต้ใช้ในความหมาย ห้อง หรือสถานที่ๆต่อเติม
จากตัวบ้านไว้เป็นการเฉพาะเช่น  “พาไล”  ของโนราโรงครู 
ในกรณีต่อเติมมักจะใช้คำสั้นๆว่า พะ เช่น  " เรือนซีกนี้พะออกไป
เป็นครัว "
 
banci  (น) บัญชี ในภาษามลายูใช้ในความหมายการสำรวจ หรือ การสำ
มะโน
 
bangsa

  (น) ชาติกำเนิด,ชาติตระกูล ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ใช้ว่า บังสา
มีตัวอย่างที่ผู้เฒ่าผู้แก่พูดกันดังนี้
  “ อย่าไปถือสามันเลย บังสาของมัน เป็นอย่างนั้นเอง ” หมายถึง
ชาติตระกูลหรือลักษณะของมันเป็นอย่างนั้นเอง
barat


 

 
 (น) ทิศตะวันตก   
ไทยปักษ์ใต้ใช้เฉพาะเรียกชนิดของฝนหรือลมเช่นคำว่า “ลมพรัด” หมายถึงลมในช่วงเดือนหก เดือนเจ็ดซึ่งมาจากทิศตะวันตก
ถ้าพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะเรียกว่าลมพรัดยา (barat-
daya) หรือลมพัทยาในภาษากรุงเทพฯ แต่ถ้าเป็นลมที่พัดมาจาก
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะเรียกว่า ลมพรัดหลวง(barat-laut)  ซึ่ง
ลมชนิดนี้ความรุนแรง ของลมจะมีมาก
 
baroh
  (น)   บริเวณที่ลุ่ม มีน้ำแฉะ
ไทยถิ่นใต้ชายแดนใช้ว่า  โพระ  หรือ พรุ     
beka (น)  ต้นเพกา 
bia
  (น)  เบี้ย
คนไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะเรียก เงินหรือ ธนบัตร ว่า เบี้ย
มลายูใช้ในความหมายเฉพาะ ภาษีอากร  และเงินทุนการศึกษา
bidan
  (น) หมอตำแย  ภาษาถิ่นใต้ชายแดนจะเรียกหมอตำแยว่า หมอ
บิดัน  หรือ   หมอดั้น     ทางนครศรีธรรมราช จะเรียกว่า หมอไบ
ทาน
 
binasa (น) (ก)   พินาศ   ทำลาย,กวาดล้าง
bok (น)  เบาะ ที่รองนั่ง หรือนอน 
budu (น)  น้ำบูดู 
bumi
bumi butra
 
 (น)  ภูมิ,  แผ่นดิน
(น)  ภูมิบุตร ลูกหลานของแผ่นดิน
       ภาษาถิ่นใต้ จะใช้คำว่า " ลูกที่ " หมายถึง ผู้คนดั่งเดิมที่อยู่
      ในท้องถิ่น  (ไม่ได้อพยพมาจากที่อื่น)
 
buruk

  (ว)  ไม่สวย, ไม่ดี,
ไทยปักษ์ใต้จะใช้คำว่า "โบร๊ะ" ในความหมาย
ไม่หล่อ ไม่สวย หรือขี้เหร่
 
borok (ว)  สกปรก   
ไทยปักษ์ใต้ชายแดน(คลองหอยโข่ง)จะใช้คำว่า " บอรอก, มอรก
 หรือ มรก " ในความหมายสกปรก
borung (น)  บุหรง  นก
bulan (น)  บุหลัน  เดือน, ดวงจันทร์
cakap

  (น)  (ก)  พูดคุย สนทนา
 ผู้เฒ่าผู้แก่แถบปักษ์ใต้ชายแดนโดยเฉพาะในเขต อ. นาทวี
อ. สะบ้าย้อย  จะใช้คำนี้ในบางโอกาส เช่น    "ถ้าไม่ได้จากับ กับ
สาวๆ  แล้วกินไม่ได้นอนไม่หลับ เลยนะ" หมายความว่า" ถ้าไม่ได้
พูดคุยกับสาวๆ แล้วกินไม่ได้นอนไม่หลับ เลยนะ"


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://plugmet.orgfree.com/sk_melayu_dialect.htm


บันทึกการเข้า

srithaimax ♥1,510
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน262
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 585

ลูกอีสาน หลานย่าโม


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2009, 02:10:35 PM »

ว่าไปว่ามา
ผมไปอยู่ใต้เกือบ10ปียังไม่เก่งภาษาใต้เท่าคุณ D2058เลย
ตอนแรกสงสัยรู้ภาษาโคราชได้อย่างไร    แต่ตอนนี้ไม่ค่อยสงสัยแล้ว  เพื่อนผมมีเยอะทุกภาค  มีอีกสักคนจะเป็นไร
ยินดีที่ได้รู้จัก
บันทึกการเข้า

คิดดี  ทำดี   ย่อมได้รับสิ่งดีๆ
Suchat  sriwicha  โทร D tac  0869486776  6หมู่3 บ้านน้ำบ่า(สระวัด)  ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120
....ผมไม่รู้ทุกเรื่อง.....
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2009, 06:55:13 PM »


 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!