พิมพ์หน้านี้ - เมื่อตำนานน้ำพริกถูกปลุกขึ้น (1)

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => บ้าน,ครอบครัว,อาหาร => ข้อความที่เริ่มโดย: ekk_nak ที่ ธันวาคม 17, 2007, 12:39:20 PM



หัวข้อ: เมื่อตำนานน้ำพริกถูกปลุกขึ้น (1)
เริ่มหัวข้อโดย: ekk_nak ที่ ธันวาคม 17, 2007, 12:39:20 PM
(http://www.siyote.com/home/share_file/photo_12745.jpg)

เมื่อช่วงหลายเดือนก่อนกระถินได้มีโอกาส ไปงานน้ำพริกที่เมืองทองมา เห็นน้ำพริก (ของโปรด) เยอะแยะเลย เป็นร้อยๆก็ว่าได้นะ สมองอันน้อยนิดเลยสั่งการว่า น้ำพริกนี่มีความเป็นมาอย่างไรนะ แล้วทำไมถึงอยู่คู่กับคนไทยเรามาตั้งนานแล้ว  เลยรีบกลับมาค้นหาข้อมูลของน้ำพริก จนไปเจอ "ตำนานน้ำพริกลงเรือ" เข้า เรื่องมีอยู่ว่า

       เจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ ลดาวัลย์ ต้นตำนาน  'น้ำพริกลงเรือ' ทุกวันนี้ดูเหมือน น้ำพริกลงเรือ จะกลายเป็นอาหารในทุกระดับของสังคมไทยไปแล้ว ตั้งแต่ห้องอาหารหรูในโรงแรมชั้นหนึ่งมาจนถึงร้านอาหารในห้องแถวหรือริมฟุตบาท ซึ่งต่างก็โหมโฆษณากันอย่างน่าสนใจว่า "น้ำพริกลงเรือตำรับชาววัง"ถามว่าวังไหน ก็ไม่มีผู้ใดตอบได้ แต่สนนราคานั้นสูงกว่าน้ำพริกกะปิธรรมดาหลายเท่านักก็ น้ำพริกลงเรืออร่อยดีนี่ คือคำตอบที่ได้รับอยู่เสมอ และเงียบงันกันในเรื่องราวของที่มาที่หลายคนอยากรู้และนี่คือเรื่องราวและตำ นานที่แสนสนุกสนานของ น้ำพริกลงเรือ...

       ครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระราชวังสวนสุนันทา เพื่อใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์อีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากพระบรมมหาราชวังมีความแออัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับนั้นพระบรมราชวงศ์ พระมเหสี และพระอัครชายา ที่ทรงพระราชทานพระตำหนักที่ประทับมีอยู่หลายพระองค์ อาทิ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี และ พระวิมา ดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาถ ปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัคร ชายาเธอฯ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงปฏิบัติหน้า ที่ ห้องพระเครื่องต้น ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งหมายถึงพระภารกิจสำคัญในการจัดทำพระกระยาหารถวายพระมหากษัตริย์และผู้คนทั้งหลายในราชสำนักนั่นเอง

        ม.ร.ว.สดับ ลดาวัลย์ เป็นพระนัดดาในพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาถฯ ที่ หม่อมเจ้าเพิ่มลดาวัลย์ ท่านบิดา นำเข้าถวายเพื่อศึกษาเล่าเรียนงานกุลสตรีในพระบรมมหาราชวังหม่อมราชวงศ์สดับ ได้รับพระอุปถัมภ์บำรุงอยู่ในตำหนักพระวิมาดาเธอฯ เยี่ยงพระญาติ โดยโปรดให้เรียนหนังสือจากครูซึ่งผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาสอน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และฝึกงานฝีมือรวมทั้ง กับข้าวคาวหวาน สารพัดชนิด และด้วยความเป็นคนคล่องแคล่วทะมัดทะแมง จึงเป็นที่โปรดปรานของเจ้านายทุกพระองค์ และได้ทำหน้าที่ตามเสด็จพระวิมาดาเธอฯ ในกระบวนเสด็จทุกงาน จนเจริญวัยขึ้นเป็นกุลสตรีที่นอกจากจะมีรูปสมบัติที่งามแล้ว ยังมีน้ำเสียงไพเราะมาก

         เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ พระวิมาดาเธอฯ ทรงตั้งวงมโหรีขึ้นนั้น ครูมโหรีก็เลือก หม่อมราชวงศ์สดับ ให้เป็นนักร้องต้นเสียงพรสวรรค์ที่ขับร้องเพลงได้ไพเราะนี่เองที่ทำให้ หม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงออกพระโอษฐ์ขอต่อพระวิมาดาเธอฯ ผู้เป็นอาและเป็นผู้ปกครองในขณะนั้น เมื่อทุกฝ่ายโดยเฉพาะ หม่อมเจ้าเพิ่ม ผู้บิดาไม่ขัดข้อง จึงทำพิธีถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นการถวายตัวเมื่อวันตรุษ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 โดยมี คุณท้าววรจันทร์ ('เจ้าจอมมารดาวาด'ในรัชกาลที่สี่) เป็นผู้นำถวายและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการสนองเบื้องพระยุคล บาทเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2449เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ได้รับใช้ใกล้ชิดใต้เบื้องพระยุคลบาทด้วยความจงรักภักดี จนเป็นที่สนิทเสน่หาไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับพระราชทานวัตถุพยาน อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ สิ่งนั้น คือ กำไลทองรูปตาปู ซึ่งทรงจารึกคำกลอนพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

         ".....กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นย่อมยืนสี
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเป็นเสี่ยงทาย
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรับไว้อย่าให้หาย
แม้นรักร่วมสวมไว้ให้ติดกาย เมื่อวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย..."