ประโยชน์ในการฟังธรรมะ + ระวังความคิดของเธอ
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประโยชน์ในการฟังธรรมะ + ระวังความคิดของเธอ  (อ่าน 3199 ครั้ง)
saksit
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« เมื่อ: มกราคม 16, 2009, 08:52:51 PM »

     การฟังธรรม เปรียบเหมือนการสร้างถ้ำให้แก่จิตใจ แต่บางท่านไม่สนใจฟังธรรม ถ้าท่านสร้างถ้ำไว้ในจิตใจอยู่ด้วยความสงบ ฟังไปก็เกิดความรู้
ความดี มีพลังและปัญญา แต่บางคนก็ไม่อยากฟัง มันใกล้ชิดกันเกินไป เหมือนสัปเหร่ออยู่ใกล้ผี ชีอยู่ใกล้พระ ใกล้เกลือกินด่าง
    
    การฟังธรรมนั้นก็ยาก บางคนต้องจ้างมาฟัง จ้างก็ยากที่จะฟังอีก การที่จะมาพบพระพุทธเจ้ามาตรัสในโลกก็แสนจะยากแล้ว ท่านน่าจะตีปัญหา
ให้ได้กำไรชีวิตสักวันหนึ่ง ๑ สัปดาห์ ๗ วัน ฟังธรรมวันเดียวก็ไม่เต็มวัน เพียง ๑ ชั่วโมงเดียวที่จะฟังธรรมก็หาฟังยากญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
เรามาวัดเพื่อหากำไรชีวิตใช้หรือไม่ หรือต้องการให้มันขาดทุนชีวิตเสียดายกับโยม การที่มาถวายเงินเป็นแสนให้อาตมานั้น อาตมาไม่ได้สนใจกับโยม
หรอก อย่าคิดว่าเอาปัจจัยมาถวายอาตมา อาตมาจะดีใจเสมอไป อาจจะเป็นบาปเป็นกรรมของอาตมาก็ได้ที่ต้องมารับเงินรับทองของโยมมากองไว้
อยู่ตรงหน้า ขอฝากไปคิดเป็นข้อคิดว่า อาตมาสนใจต้องการให้โยมได้บุญได้กุศลเท่านั้นวันพระเรามาแสวงหาพระ เรามาพบพระสักวันหนึ่ง ท่านจะใจ
ประเสริฐในการพบพระ ในการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน โดยเฉพาะในกรอบของสติสัมปชัญญะ ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนคือ สติสัมปชัญญะ บางคนขาดสติ
มาก ไม่มีโอกาสที่จะแสวงหาธรรมะได้แล้ว พลาดทั้งโอกาสอันดีงาม ท่านจะเสียดายเวลาของท่านที่เกิดมาในสากลโลกนี้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นใน
วันพระคือ วันฟังธรรม ฟังให้เกิดประโยชน์ ฟังธรรมเหมือนสร้างถ้ำให้จิตใจของเราเอง ทำให้จิตใจเรามีสติสัมปชัญญะ ฟังให้เกิดความรู้ ใจเปรียบเหมือน
เสือ เสียงธรรมะเปรียบเหมือนถ้ำคอยกำบัง หูเราฟังใจเราคิด จิตจะได้สบาย เกิดความรู้ ความดี มีพลังและปัญญา   

อานิสงส์หรือผลดีอันเกิดจากการฟังนั้น มีประโยชน์มากมายหลายสถาน เช่น

๑. ทำให้ได้ฟังเรื่องใหม่ ฟังเรื่องที่ยังไม่เคยได้ยินไม่เคยได้ฟังมาก่อน
๒. ได้ใส่ใจในเรื่องเก่า ทบทวนหวนคิดถึงอดีตชีวิตที่ผ่านมา ศรัทธาฟัง สนใจฟัง  
     ทบทวน จดหัวข้อ ปฏิบัติทันที่อย่ารอรีแต่ประการใด
๓. บรรเทาความกังขา ปิดประตูความกังวลสงสัยเสียได้
๔. เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่เข้าใจสิ่งใดในทางที่ผิด
๕. มีสติมั่นคง มีสติดี จริตไม่แปรปรวนทวนกระแส

สิ่งสำคัญที่สุด การฟังต้องมีหลัก ๓ ประการ คือ

๑. ตั้งใจฟัง
๒. ตั้งใจทำ
๓. ตั้งใจนำไปปฏิบัติ

           ท่านจะได้ประโยชน์โสถิผลของท่านโดยเฉพาะ แต่บางคนก็ไม่ตั้งใจจำ ไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจปฏิบัติ จำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ทิ้งไป ถ้าฟังได้ประโยชน์โทษไม่มี
ฟังดีย่อมมีปัญญา บางท่านพูดถึงการฟังแปลกแตกต่างจากผู้อื่น ซึ่งมีทั้งประเภท ฟังได้ฟังเสีย บางคนฟังได้ บางคนก็ฟังเสียเอาดีไม่ได้ แล้วแต่ทัศนคติในการฟังว่าจะ
เป็นไปในทางใด เช่น

๑. ฟังเล่น บางเรื่องไม่จริงจัง สักแต่ว่าฟัง หรือ ฟังแบบเสียไม่ได้ ก็ฟังส่งเดชไปอย่างนี้ ไม่ได้เรื่องได้ราว
๒. ฟังลอง เป็นการฟังเพื่อเปรียบเทียบลองดู ลองความรู้ ลองพื้นความรู้ และ ลองภูมิว่าผู้นี้จะสู้ผู้นั้นได้หรือไม่ หรือ ใครจะเก่งกว่ากัน
๓. ฟังเอาเรื่อง พระสงฆ์จะได้สาระ หรือ อรรถรสแห่งธรรม และ ข้อปฏิบัตินั้น
๔. ฟังหาเรื่อง เป็นการฟังเพื่อจับผิด ฟังด้วยจิตเป็นอกุศล ไม่ได้สนใจในการฟังแต่ประการใด       จิตเป็นอกุศลกรรม คนนั้นจะดีไม่ได้แน่นอน
๕. ฟังไม่รู้เรื่อง ฟังไปหลับไป หรือคุยกัน ผลสุดท้ายไม่รู้เรื่อง จำไม่ได้ และไม่รู้จะเอาอะไรเป็นข้อปฏิบัติ
 
        ขอเจริญพรว่าผู้ที่ฟังได้ผลไม่เท่ากัน บางคนตั้งแต่ต้นกำหนดจดจำนำไปปฏิบัติแน่นอน บางคนก็สับสนชนปลาย ไม่เข้าใจในการฟัง นี่แหละท่านสาธุชน
ทั้งหลาย ไม่ใช่จะเข้าใจทุกคน ไม่ใช่รู้ทุกคน ตั้งหมั่นฟัง หมั่นจำ หมั่นจดหมั่นจำ สิ่งใดงามอย่าได้งด หมั่นจดหมั่นจำเป็นตำรา เอาตาชั่งเข้ามาดู เอาตราชูขึ้น
มาชั่ง ไม่ใช่ฟังแล้วทิ้งไป เลยไม่ได้เรื่อง จุดประสงค์ของการฟัง ก็เพื่อ รู้แล้วนำไปคิดเพื่อใคร่ครวญด้วยปัญญา เห็นว่าถูกต้องสอดคล้องด้วยเหตุผลก็นำไปใช้ได้
นำเอาไปใช้ได้ประโยชน์ หลีกเลี่ยงที่เป็นโทษต่อชีวิต ดังบัณฑิตท่านกล่าวไว้ว่า "รู้แล้วคิดพิชิตศัตรู รู้แล้วเงียบได้เปรียบศัตรู รู้แล้วปฏิบัติขจัดศัตรู รู้แล้วทำหยิ่ง
จะยิ่งด้วยศัตรู" พูดเท่านี้บางคนไม่รู้ไม่เข้าใจ โง่เป็นคุณ ฉลาดเป็นภัย เสนียดจัญไรสำหรับคนฉลาด ไม่เอาการเอางาน คนฉลาดไม่เอาการเอางาน รู้มากไม่ปฏิบัติธรรม
ไม่มีกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชีวิตแต่ประการใด
        ขอเจริญพระท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายเอ๋ย เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่กำลังพนมมือว่าเป็นชาวพุทธ เป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จะรู้ได้ข้อ
เดียวว่า เขาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า ถ้า ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เรียกว่าเขาเป็นชาวพุทธ พนมมือเรียบร้อย แต่ไม่เคยปฏิบัติตามคำ
สอนของพระพุทธเจ้าเลย จะเรียกว่าชาวพุทธได้อย่างไร เป็นชาวพุทธแบบปลอม หาทำนองคลองธรรมไม่ได้เลย ขอฝากไว้
        มีคำกล่าวที่น่าคิด ท่านกล่าวไว้ว่า โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก เมื่อสมัยอาตมาเป็นเด็ก จำได้ว่า ท่านกล่าวไว้ว่า โง่บ่เป็น บ่เป็นใหญ่ โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก ซึ่ง
ก็ถูกต้อง และ ตรงกับหลักที่ว่า รู้แล้วคิดพิชิตศัตรู รู้แล้วเงียบได้เปรียบศัตรู แต่ อาตมาใคร่จะฝากให้ท่านคิดต่ออีกนิดหนึ่งสักประโยคว่า โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยากนั้นถูก
ต้อง แต่ถ้าโง่มาก ๆ ก็ยากที่จะเป็นใหญ่   

        ความโง่มีทั้งโง่เป็นคุณและโทษ คนไม่สนใจปฏิบัติก็ถือว่าเป็นคนฉลาด ไม่ใช่โง่ แต่ก็โง่เป็นคุณ เป็นคุณปฏิบัติได้หรือ ความโง่มีทั้งเหตุทั้งเป็นคุณและเป็นโทษ
โง่ที่เป็นคุณคือ โง่ในทางที่จะ ทรยศคดโกงผู้อื่น ปฏิบัติกิจวัตรหน้าที่ของอุบาสก อุบาสิกา ไม่โกงการปฏิบัติ ไม่โกงหลักกติกากฎหมาย ประเทศชาติบ้านเมือง โง่ใน
การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น โง่ในการไม่นำตนไปสู่อบายหายนะ โง่อย่างนี้ควรจะช่วยกันโง่ให้มาก ๆ
      
         อนึ่ง แม้ ความฉลาดก็เช่นเดียวกัน มีทั้งฉลาดที่เป็นภัยและฉลาดที่เป็นคุณ ฉลาดที่เป็นภัยเช่น ฉลาดในการใช่เล่ห์เพทุบาย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ฉลาดในการ
ทรยศคดโกงประเทศชาติบ้านเมือง ฉลาดในการเอาตัวรอด แต่กลับทำให้เพื่อนล่มจม ฉลาดในการนำชีวิตเข้าสู่ทางพิบัติจัดเป็นอันตรายทั้งนั้น
        
          แม้ระหว่างโง่กับฉลาดก็ยังมีข้อแตกต่างให้สังเกตกัน ฉลาดแต่เกียจคร้านก็ไม่ดี ฉลาดเลี่ยงงานเก่งไม่เอาการเอางานเลยก็ไม่ดีเท่าไรนัก โง่แต่ขยันก็อันตราย
ก็ขอฝากญาติโยมให้เป็นหลักปฏิบัติ ธรรมทัศน์กับโทรศัพท์ บางคนไม่เข้าใจธรรมทัศน์กับโทรศัพท์ อาตมาขอยก พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คราวเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ความตอนหนึ่งว่า
 
       "การรู้จักฟังอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลายมาอำนวยประโยชน์ เป็นการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จ
ที่สมบูรณ์และมีสติปัญญาสมบูรณ์นั่นเอง"

ธรรมบรรยาย
ประโยชน์การฟังธรรม
พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมฺโม)
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี และ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
ผู้มีปณิธานมั่นคง และ มีผลงานพัฒนาคนให้สูงด้วยคุณธรรม



                                    คำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโท

                                   เธอจงระวัง ความคิด ของเธอ
                                   เพราะ ความคิด ของเธอ
                                   จะกลายเป็น ความประพฤติ ของเธอ

                                   เธอจงระวัง ความประพฤติ ของเธอ
                                   เพราะ ความประพฤติ ของเธอ
                                   จะกลายเป็น ความเคยชิน ของเธอ

                                   เธอจงระวัง ความเคยชิน ของเธอ
                                   เพราะ ความเคยชิน ของเธอ
                                   จะกลายเป็น อุปนิสัย ของเธอ

                                   เธอจงระวัง อุปนิสัย ของเธอ
                                   เพราะ อุปนิสัย ของเธอจะ
                                   กำหนดชะตากรรมของเธอ...ชั่วชีวิต




บันทึกการเข้า

Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 20, 2009, 06:46:03 PM »

 THANK!!  ขอบคุณ  ขอบคุณ  ขอบคุณ  THANK!!
 THANK!!  THANK!!  THANK!!
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: