พิมพ์หน้านี้ - ชมฝนดาวตกพรั่งพรู กลุ่มดาวสิงโต คืนวันที่ 17 - เช้า 18 พฤศจิกายน 2552

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => ตากล้อง-ท่องเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: TongTang-LSV team♥ ที่ พฤศจิกายน 04, 2009, 01:43:41 PM



หัวข้อ: ชมฝนดาวตกพรั่งพรู กลุ่มดาวสิงโต คืนวันที่ 17 - เช้า 18 พฤศจิกายน 2552
เริ่มหัวข้อโดย: TongTang-LSV team♥ ที่ พฤศจิกายน 04, 2009, 01:43:41 PM
ปรากฏการดูฝนดาวตกครั้งยิ่งใหญ่ในเมืองไทยจะมีขึ้นอีกแล้ว ใน คืนวันที่ 17 - เช้า 18 พฤศจิกายน 2552



(http://thaiastro.nectec.or.th/activity/25521117_Leonids/fireball.jpg)




จากประสบการณ์ในปี พ.ศ. 2544 คนส่วนใหญ่ประทับใจในการดูฝนดาวตกสิงโต (Leonids)
ในคืนวันที่ 18-19 พฤศจิกายน ซึ่งได้พรั่งพรูตกจากฟากฟ้าประมาณ 1,000 ดวงต่อชั่วโมง
นับจากวันนั้นได้มีการเฝ้าติดตามปรากฎการณ์ทุก ๆ ปี และจากการคำนวณของนักดาราศาสตร์
ได้มีการคาดคะเนว่าในปี ค.ศ. 2009 จะมีฝนดาวตกสิงโตประมาณ 100 - 500 ดวงต่อชั่วโมง

ที่มา : http://thaiastro.nectec.or.th/activity/25521117_Leonids/






ฝนดาวตกในปี 2552

1 มกราคม 2552 วรเชษฐ์ บุญปลอด

โดยทั่วไปในสภาพท้องฟ้าที่ดีไม่มีเมฆหมอกหรือแสงไฟฝุ่นควันรบกวน เราสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้า
ได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ในหลายช่วงของปีจะมีดาวตกที่ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า
เรียกว่าฝนดาวตก (meteor shower)

ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางทิ้งไว้ ดาวตกที่เกิดจากสะเก็ดดาวเหล่านี้มีหลายกลุ่ม
แต่ละกลุ่มมีลักษณะของดาวตกที่เห็น และจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว
ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีอัตราต่ำเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมงแต่ยังก็เรียกว่าฝน ดาวตกเนื่องจากมีแหล่งกำเนิดที่สังเกตได้ว่า
ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณ หนึ่งบนท้องฟ้า จุดนั้นเรียกว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) มักเรียกชี่อฝนดาวตก
ตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่ในบริเวณจุดกระจายฝนดาวตก

ฝนดาวตกกลุ่มดาวสำคัญ ๆ ส่วนใหญ่ในปีนี้ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ที่น่าดูที่สุดอาจจะเป็นฝนดาวตกสิงโต
จุดกระจายฝนดาวตกชุดนี้อยู่บริเวณหัวของกลุ่มดาวสิงโตซึ่งมีลักษณะคล้าย เคียว นักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์
ดาวตกหลายคนคำนวณพบว่าปีนี้โลกจะ ฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางเทมเพล-ทัตเทิลทิ้งเอาไว้ในปี ค.ศ. 1466
และ 1533 ทำให้คาดหมายว่าฝนดาวตกสิงโตในปีนี้จะมีอัตราการตกสูงสุดมากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง
หรือมากกว่า 1-2 ดวงต่อนาที (อาจมากกว่านี้ได้อีก) ในเวลาประมาณ 4.00-5.00 ของเช้ามืดวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน
ตามเวลาประเทศไทย รายละเอียดของผลการพยากรณ์จะนำเสนอต่อไปเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม

นอกจากฝนดาวตกสิงโต ฝนดาวตกคนคู่ในเดือนธันวาคมก็น่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากมีจำนวนมากทุกปี
และไม่มีแสงจันทร์รบกวน จุดกระจายฝนดาวตกคนคู่อยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ ต้นกำเนิดของฝนดาวตกชุดนี้
มาจากดาวเคราะห์น้อยฟีทอนซึ่งอาจเคยเป็นดาวหางมา ก่อน
ฝนดาวตกในปี 2552


(http://xn--12c6cez7ezb.com/images/6f7vb5qu0nii3p6vcxdl.gif)


หมายเหตุ

    * ตัวเลขสำหรับสถานที่ที่ท้องฟ้ามืดสนิท หากมีแสงจันทร์และมลพิษทางแสงรบกวน จะมีจำนวนดาวตกที่เห็น
ลดลงจากค่าในตารางนี้
    * คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมาย / ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืน
วันที่ 3 ต่อเช้ามืดวันที่ 4
    * ดัดแปลงจากตารางฝนดาวตกประจำปีเผยแพร่โดยองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization - IMO)


ที่มา : http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/meteors/2009meteors.html






หัวข้อ: Re: ชมฝนดาวตกพรั่งพรู กลุ่มดาวสิงโต คืนวันที่ 17 - เช้า 18 พฤศจิกายน 2552
เริ่มหัวข้อโดย: supoj007 ที่ พฤศจิกายน 06, 2009, 11:12:47 PM
 :D  ปีนี้ โอ๋  จะนอนชมดาวที่ไหนหละ   ;D


หัวข้อ: Re: ชมฝนดาวตกพรั่งพรู กลุ่มดาวสิงโต คืนวันที่ 17 - เช้า 18 พฤศจิกายน 2552
เริ่มหัวข้อโดย: TongTang-LSV team♥ ที่ พฤศจิกายน 07, 2009, 05:50:46 PM
:D  ปีนี้ โอ๋  จะนอนชมดาวที่ไหนหละ   ;D




เล็งๆ เนินเขาแถวทองผาภูมิไว้ครับพี่  ไม่น่าจะมีใครเข้าไป  :P