พิมพ์หน้านี้ - หลักการทำงานของ แว่น 3 มิติ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: nongtop ที่ เมษายน 29, 2014, 01:26:11 PM



หัวข้อ: หลักการทำงานของ แว่น 3 มิติ
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 29, 2014, 01:26:11 PM
วันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับแว่น 3 มิติกันนะครับ  smiley4


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของ แว่น 3 มิติ
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 29, 2014, 01:34:26 PM

(http://1.bp.blogspot.com/-nIeIhAwn3wk/T3PY9y6LyXI/AAAAAAAAAKQ/6A15Xzkx67Y/s1600/%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%99+3+%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4+5.jpg)

ภาพเหลื่อม  (อังกฤษ: anaglyph image) คือเทคนิคการบันทึกและการดูภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเสมือนสามมิติ พัฒนามาจาก Stereo Pairs หรือการดูแบบสลับภาพด้วยตาเปล่า ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างลำบาก ทำให้ ดูว์ ฮาว์รอน (Du Hauron) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้คิดค้นระบบภาพเหลื่อมขึ้นในปี ค.ศ. 1891โดยใช้หลักการการดูแบบสลับตาด้วยตาเปล่า (Cross-Eye View) ซึ่งสามารถดูได้เองโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือช่วย โดยการวางภาพขวา ไว้ด้านซ้าย และวางภาพซ้ายไว้ด้านขวา จากนั้น ใช้ตาขวาดูภาพด้านซ้าย และใช้ตาซ้ายดูภาพด้านขวา เมื่อเริ่มดูภาพ ภาพทั้งสองจะค่อยๆ เคลื่อนเข้าหากัน จนเกิดการรวมของภาพและเกิดเป็นภาพ 3 มิติ

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/538/16538/images/33512.jpg)


หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของ แว่น 3 มิติ
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 29, 2014, 01:37:44 PM

(http://www.pantipmarket.com/mall/center/PicBin/July2011/fullsize/User25276_EXMJIZ.jpg)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0c/Stereograph_as_an_educator_-_anaglyph.jpg/300px-Stereograph_as_an_educator_-_anaglyph.jpg)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/04/Stereograph_as_an_educator.jpg/300px-Stereograph_as_an_educator.jpg)

ภาพต้นฉบับของภาพ Anaglyph ด้านบน

ภาพสองภาพซ้อนทับกันทำให้ได้มุมมองแบบสามมิติด้วยวิธีการ Anaglyph โดยใช้ตัวกรองสีแดง (ตาซ้าย) และฟ้า (ตาขวา) ในการชมควรใส่ 3d  แว่นสามมิติแดง ฟ้า เพื่อดูภาพนี้ในมุมมอง 3 มิติ






หัวข้อ: อุปกรณ์ที่ใช้ดูภาพ 3 มิติ แบบ Anaglyph Image
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 29, 2014, 01:52:21 PM
(http://student.nu.ac.th/nackie/design/additive.gif)

ดูว์ ฮาว์รอน อาศัยหลักการของสี การตัดกันของสี โดยผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ดูภาพแบบ Anaglyph ขึ้นมา โดยมักกำหนดให้เป็นสีฟ้าอมเขียว (Cyan) และ สีแดง (Red) เมื่อลองนำอุปกรณ์ที่ทำเป็นแว่นตามองดูภาพแปดเหลี่ยมที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ทดสอบ โดยปิดและเปิดตาทีละข้างจะสังเกตเห็นว่าเมื่อปิดตาซ้ายและเปิดตาขวา (มองรูปผ่าน Filter สีฟ้าอมเขียว) จะมองเห็นว่าสีแดงนี้จะหายไปเหลือแต่เส้นสีขาว จากนั้นเปิดตาซ้ายปิดตาขวา (มองFilter สีแดง) จะมองเห็นว่า

(http://www.bloggang.com/data/f/free4u/picture/1292251766.jpg)

สีฟ้าอมเขียวหายไปเหลือแต่เส้นสีขาว แต่เมื่อลืมตาพร้อมกันผ่าน ทั้งสองข้าง จะเห็นกรอบสีขาวของรูป 8 เหลี่ยมชัดเจน นี่คือหลักการของภาพ 3 มิติ แบบ Anaglyph
ภาพที่ได้จากกล้องทั่วไป หรือภาพจากการ Scan ด้วยเครื่อง Scanner ถ้าเป็น Mode ภาพแบบ RGB คือ ภาพ 1 ภาพจะมีองค์ประกอบของสีแดง (R) สีเขียว (G) สีน้ำเงิน (B)

(http://www.kasemrad-saraburi.com/upload/image/anamai/2_10_83.jpg)

ภาพ 3 มิติ แบบ Anaglyph นั้นประยุกต์มาจากภาพคู่ หรือ Stereo Pairs คือ มีรูปด้านซ้ายและขวา แทนภาพที่มอง เห็นจากตาข้างซ้ายและตาขวาของมนุษย์ จากนั้นทำการตัดสีของภาพ Stereo pairs ทั้ง 2 ภาพออก โดยให้ภาพทางขวาเป็นภาพสีแดง (ตัดสีเขียวและสีน้ำเงินออก)

(http://www.lcdtvthailand.com/asp-bin/images-source/image/News/2010/SS%20%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/samsung3dtv.jpg)

และภาพทางซ้ายจะเป็นภาพสีฟ้าอมเขียว (ตัดสีแดงออก) และนำภาพที่ได้นี้มาซ้อนเหลื่อมกัน การวางภาพให้ซ้อนเหลื่อมกันนั้นโดยส่วนใหญ่จะให้ภาพที่เหลื่อมทางขวาเป็นภาพสีแดง และภาพที่เหลื่อมทางซ้ายจะเป็น ภาพสีฟ้าอมเขียว อย่างไรก็ตามการวางภาพเหลื่อมนี้ไม่ได้บังคับตายตัว เราสามารถที่จะกำหนดให้ภาพเหลื่อมด้านขวาเป็นสีฟ้าอม เขียว และภาพทางด้านซ้ายเป็นสีแดงก็ได้ แต่แว่นตาที่ใช้ สำหรับดูภาพนี้ต้องใส่ Filter ให้สลับด้านเท่านั้น เช่น ถ้ากำหนดให้ภาพสีแดงเหลื่อมทางด้านขวาก็ต้องใช้ที่Filter สีแดงอยู่ที่ตาซ้าย เป็นต้น

• การมองภาพ 3 มิติ แบบภาพเหลื่อม Anaglyph

• การดูภาพเหลื่อม Anaglyph ต้องอาศัยแว่นตาพิเศษที่มีสองสี ตามมาตรฐานแล้ว มักใช้สีฟ้าอมเขียวสำหรับตาขวา (แต่หากหาไม่ได้สามารถใช้สีน้ำเงินแทนได้) และสีแดงสำหรับตาซ้าย

(http://a1.trd.cm/thaisecondhand/201203/024/10087996_0.jpg)

• การมองจากแว่นทางด้านซ้ายจะได้รูปที่เป็นโทนสีแดง ทำให้สามารถแยกภาพออกมาได้ แต่จะเห็นว่าภาพที่มองได้จะเป็นภาพที่ได้จากกล้องทางด้านขวามือ เช่นเดียวกับเมื่อมองภาพผ่าน Filter สีฟ้าอมเขียว (คือ ภาพที่ได้จากกล้องด้านซ้ายมือ) ตามหลักการมองภาพแบบไขว้ (Cross-Eye View) แต่ในความเป็นจริงเรามองภาพนี้ผ่าน Filter ทั้งสองพร้อมกัน ทำให้เป็นการจำลองภาพเหมือนกับว่าเรากำลังจ้องมองภาพเดียวกันอยู่ ทำให้เราเห็นถึงส่วนลึกและมิติของภาพได้