พิมพ์หน้านี้ - การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 10, 2014, 04:24:25 PM



หัวข้อ: การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 10, 2014, 04:24:25 PM

(http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2010/09/marshill530.jpg)

พลังงานลมเป็นพลังงานจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานลมมานานหลายพันปี ในการอำนวยความสะดวกสบายแก่ชีวิต เช่น การแล่นเรือใบขนส่งสินค้าไปได้ไกลๆ การหมุนกังหันวิดน้ำ การหมุนโม่หินบดเมล็ดพืชให้เป็นแป้ง ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยการนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อ เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อ

(http://www.energysavingmedia.com/news/images/webpage/120910183032_wind-farm.jpg)

สภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น “ กังหันลม ” เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้้สกัดพลังงานจลน์ของกระแสลม และเปลี่ยนให้เป็นให้เป็นพลังงานกล จากนั้นจึงนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ เมื่อกระแสลมพัดผ่านใบกังหัน จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานจลน์ไปสู่ใบกังหัน ทำให้กังหันหมุนรอบแกน สามารถนำพลังงานจากการหมุนนี้ไปใช้งานได้

(http://www.tpa.or.th/writer/picture/25769_wind-farm2.jpg)

ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมเพื่อใช้สำหรับผลิตไฟฟ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศทั่วโลกได้ให้ความสนใจ โดยเฉพาะในทวีปยุโรป เช่น ประเทศเดนมาร์ก กังหันลมที่ได้มีการพัฒนากันขึ้นมานั้นจะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าจำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของกังหันจะได้ 2 แบบ คือ


หัวข้อ: 1. กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 10, 2014, 04:29:11 PM
1. กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)  ;D

(http://upic.me/i/tn/windturbine.jpg)

(http://2.bp.blogspot.com/_nEeeHa3Der8/TLA3PKNpaaI/AAAAAAAAAF8/MV3mZJVIo0Y/s320/wind-h.JPG)

เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางของลมโดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม มีอุปกรณ์ควบคุมกังหันให้หันไปตามทิศทางของกระแสลม เรียกว่า หางเสือ และมีอุปกรณ์ป้องกันกังหันชำรุดเสียหายขณะเกิดลมพัดแรง เช่น ลมพายุและตั้งอยู่บนเสาที่แข็งแรง กังหันลมแบบแกนนอน ได้แก่ กังหันลมวินด์มิลล์ ( Windmills) กังหันลมใบเสื่อลำแพน นิยมใช้กับเครื่องฉุดน้ำ กังหันลมแบบกงล้อจักรยาน กังหันลมสำหรับผลิตไฟฟ้าแบบพรอบเพลเลอร์ (Propeller)


หัวข้อ: 2. กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 10, 2014, 04:31:39 PM
 2. กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)  ;D

(http://4.bp.blogspot.com/_nEeeHa3Der8/TLA4ElMXP1I/AAAAAAAAAGA/jOaR2lHs_78/s320/wind-v.JPG)

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTznfCVQLhvQfIyGwGCG5WVmhioTSUbpZSuy8MCo3HwzOtcpHaa)

 กังหันลมแบบแนวแกนนอนเป็นแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากออกแบบให้เป็นชนิดที่ขับใบกังหันด้วยแรงยก แต่อย่างไรก็ตาม กังหันลมแบบแนวแกนตั้ง ซึ่งได้รับการพัฒนามากในระยะหลังก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากข้อดีกว่าแบบแนวแกนนอนคือ ในแบบแนวแกนตั้งนั้นไม่ว่าลมจะเข้ามาทิศไหนก็ยังหมุนได้ โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมให้กังหันหันหน้าเข้าหาลม นอกจากนี้แล้วแบบแนวแกนตั้งนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบการส่งกำลังวางไว้ใกล้พื้นดินมากกว่าแบบแกนนอน เวลาเกิดปัญหาแก้ไขง่ายกว่าแบบแกนนอนที่ติดอยู่บนหอคอยสูง


หัวข้อ: ส่วนประกอบสำคัญๆ ของระบบกังหันลม
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 10, 2014, 04:34:11 PM

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSgZH8i-swYCT3POE4taKOte515-Jy_YN9mCzp4YYyqu5tJ940W)

1. ใบพัด เป็นตัวรับพลังลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกลซึ่งยึดติดกับชุดแกนหมุน
    และส่งแรงจากแกนหมุนไปยังเพลาแกนหมุน
2. เพลาแกนหมุน ซึ่งรับแรงจากแกนหมุนใบพัด และส่งผ่านระบบกำลังเพื่อหมุนและ
    ปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
3. ห้องส่งกำลังซึ่งเป็นระบบปรับเปลี่ยนและควบคุมความเร็วในการหมุนระหว่าง
    เพลาแกนหมุนกับเพลาของเคริ่องกำเนิดไฟฟ้า
4. ห้องเครื่องซึ่งมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อกังหันลมใช้บรรจุระบบต่างๆ
    ของกังหันลม เช่น ระบบเกียร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เบรก และระบบควบคุม
5. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า
6. ระบบควบคุมไฟฟ้า ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน
    และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ
7. ระบบเบรค เป็นระบบกลไกเพื่อใช้ควบคุมการหยุดหมุนของใบพัดและเพลา
    แกนหมุนของกังหัน เมื่อได้รับความเร็วลม เกินความสามารถของกังหันที่
    จะรับได้ และในระหว่างการซ่อมบำรุงรักษา
8 . แกนคอหมุนรับทิศทางลม เป็นตัวควบคุมการหมุนห้องเครื่อง เพื่อให้ใบพัด
     รับทิศทางลมโดยระบบอิเลคทรอนิคส์ ที่เชื่อมต่อให้มีความสัมพันธ์กับหาง
     เสือรับทิศทางลมที่อยู่ด้านบนของเครื่อง
9 . เครื่องวัดความเร็วลมและทิศทางลม ซึ่งเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้าสู่ระบบ
     คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นตัวชี้ขนาดของความเร็วและทิศทางของลมเพื่อที่คอม
     พิวเตอร์จะได้ควบคุมกลไกอื่นๆ ได้ถูกต้อง
10. เสากังหันลม เป็นตัวแบกรับส่วนที่เป็นตัวเครื่องที่อยู่ข้างบน

(http://goto.canon.co.th/cleanenergyforgreenworld/th/wp-content/uploads/2010/07/demo2.jpg)


หัวข้อ: Re: การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 10, 2014, 04:35:41 PM
ขอขอบคุณ blogspot.com  :D