มารู้จัก โลจิสติกส์กันหน่อย
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 17, 2024, 06:14:53 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จัก โลจิสติกส์กันหน่อย  (อ่าน 5211 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 10:43:42 AM »

โลจิสติกส์ : จากต้นทางถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ

ทุกวันนี้ "โลจิสติกส์ (Logistics)" ไม่ใช่ของใหม่ มัถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง หลายคนได้ยินคำว่า โลจิสติกส์ ก็หลับตานึกถึงภาพการเดินทางของสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ผิดที่จะบอกว่าโลจิสติกส์ คือ การขนส่ง เพียงแต่ถูกไม่หมดเท่านั้นเอง



การขนส่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมในระบบโลจิสติกส์เท่านั้น เพราะโลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมมากมายหลายด้านกว่านั้น มีขอบเขตของกิจกรรมตั่งแต่  งานด้านการจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ สินค้าคงคลัง การขนส่ง การกำจัดของเสีย  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ จึงมีการผลักดันให้พัฒนาศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



ในอดีตคำว่า โลจิสติกส์ เป็นคำที่มาจากกรีก (Logistikos) ที่หมายถึง "ศิลปะในการคำนวณ" ในแง่ของความสามารถทางการทหาร ในการส่งกำลังบำรุง ทั้งเสบียง อาวุธ กำลังพล จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งให้ถูกสถานที่ทันเวลา เพื่อสนับสนุนการรบหรือกิจกรรมทางการทหาร

          แต่ในปัจจุบันคำว่า  โลจิสติกส์  หมายถึงกระบวนงานหนึ่งในกระบวนงานของโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่จุดเริ่ม(Source of Origin) จนถึงมือผู้บริโภค (Final Destination) ครอบคลุมทั้ง การจัดหาวัตถุดิบ ( Raw Material) สินค้า (Goods) และบริการ (Services) การขนส่งสินค้า (Cargoes Carriage) การเก็บรักษาสินค้า (Warehousing) และการกระจายสินค้า (Cargoes Distribution) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ (Procurement) และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการคาดคะเนของตลาด (Market Predict)


โดยใช้วิธีการและกระบวนการที่ทำให้เกิดต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีศาสตร์แขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ด้วยกัน คือ

          1 ด้านวิศวกรรมศาตร์ สนใจกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพสูงสุด
          2. ด้านบริหารธุรกิจ เป็นเรื่องของการขนส่งระหว่างประเทศ โดยพิจารณาในเรื่องของ ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบาย หรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ
          3. การจัดการสารสนเทศ เป็นการพิจารณาในด้านของ software และ hardware ร่วมรวมกัน เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 2 ลักษณะ คือ
 
1. กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อต้นทุนและการให้บริการของสินค้ามากที่สุด ได้แก่
          - การขนส่ง
          - การสินค้าคงคลัง
          - กระบวนการสั่งซื้อ

2. กิจกรรมสนับสนุน คือ กิจกรรมที่มีส่วนในกระบวนการกระจายสินค้า เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้งานของกิจกรรมหลักดำเนินไปได้สะดวก ได้แก่
          - การบริหารจัดการคลังสินค้า
          - การยกขน
          - การหีบห่อ และบรรจุภัณฑ์
          - การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ
          - การจัดตารางผลิตภัณฑ์
          - การจัดการข้อมูลข่าวสารและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานโลจิสติกส์



ป้าหมายของการจัดการโลจิสติกส์ คือ
          - ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)
          - การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)
          - การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)
          - การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)
          - การลดต้นทุนการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้า การดูแลและขนส่งสินค้า (Cargo Handling & Carriage Cost)

          จากความสำคัญของโลจิสติกส์ จึงทำให้สถาบันการศึกษาเปิดหลักสูตรผลิตบัณฑิตสนองความต้องการของตลาดที่ยังขาดแคลนบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ทั้งการอบรมระยะสั้น ระดับอาชีวะศึกษา ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก



แต่ด้วยความที่โลจิสติกส์เป็นเรื่องที่กว้างมาก ทั้งมิติทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มิติทางด้านบริหาร มิติทางด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการกำหนดหลักสูตรมาตรฐานเพื่อใช้ในทุกสถาบันจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก จึงทำเพียงกำหนดวิชาหลัก เพื่อให้นักศึกษารู้ว่าหลักๆแล้วควรมีความรู้ด้านระบบการขนส่ง รู้เรื่องศูนย์กระจายสินค้า เข้าใจรู้วิธีการบริหารจัดการทำอย่างไรให้มีต้นทุนต่ำ ภายใต้เงื่อนไขที่สินค้าต้องมีคุณภาพดีที่สุด พร้อมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์ และมีความรู้ด้านการตลาดบ้าง จากนั้นแต่ละสถาบันจึงตัดสินใจเปิดหลักสูตรที่เป็นจุดแข็งของตนเอง เช่น

          หลักสูตรโลจิสติกส์ในเชิงวิศวกรรมศาสตร์  จะเน้นความรู้ในการจัดการกระบวนการผลิต กระบวนการเคลื่อนย้ายภายในการจัดการเครื่องมือ การทำให้สินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางผลิตได้เร็วขึ้น สามารถจัดการแบบ Just in Time โรงงาน มีทักษะในในการคำนวณ การวางแผนทางการขนส่งต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และประหยัดต้นทุนมากที่สุด โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาบริหารจัดการ"

          หลักสูตรโลจิสติกส์ทางด้านการจัดระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ  เน้นในเรื่องการบริหารระหว่างประเทศ การจัดระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ  การจัดทำ Global Supply chain ที่เป็นจุดแข็งและจุดเด่น 

          สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ ซึ่งสำหรับสาขานี้ จะต้องมีการฝึกภาคทะเล และฝึกประสบการณ์บนเรือเดินทะเล ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องใช้เรือของทางราชการยังไม่พร้อมที่จะรับเพศหญิงเข้ารับการฝึก จึงระบุว่ารับเฉพาะเพศชายเท่านั้น
          สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์
          สาขาวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี
          สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี

          หลักสูตรการประยุกต์ Logistics and Supply Chain ในองค์กร
          หลักสูตรฟังก์ชันการบริหารงานด้านโลจิสติกส์
          หลักสูตรโลจิสติกส์และและโซ่อุปทานสำหรับผู้บริหาร
          หลักสูตรออกแบบสำหรับผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางที่กำลังทำงานทางด้านโลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน
          หลักสูตรระยะสั้นการจัดการการขนส่งทางอากาศ
          หลักสูตรระยะสั้นการออกแบบและการวางแผนการปฎิบัติการคลังสินค้า

          แนวทางการประกอบอาชีพของผู้สำเร็จการศึกษาสาขานี้ สามารถทำงานในองค์กรของรัฐ หรือเอกชน เช่น บริษัททั่วไปที่มีแผนกนำเข้าและส่งออก บริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางทะเลหรือทางอากาศ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือหรือท่าเทียบเรือของเอกชน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการสถานีพักสินค้า กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร เป็นต้น ในตำแหน่งต่างๆ เช่น

          นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
          นักวางแผนวัตถุดิบการผลิต หรือการกระจายสินค้า
          นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
          Customs Broker(จัดทำเอกสารการนำเข้า-ส่งออก)
          Air Freight for warder
          Customs Broker(ตรวจปล่อยสินค้า)
          Sea Freight for warder
          Customs Broker(ฝ่ายสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร)
          Other Freight for warder
          ฝ่ายจัดการคลังสินค้า
          ฝ่ายขนส่งสินค้า
          ฝ่ายผลิตสินค้า 



ภาพ Customs Broker ทำการเคลียร์สินค้าออก จากท่า แล้วนำส่งที่คลังสินค้าของ Consignee หลังจากนั้น Consignee ก็กระจายสินค้าไปตาม Shop ต่างๆ
ที่มา blog.trekkingthai.c om


          "โลจิสติกส์" มีความกว้างขว้างทางหลักสูตรมาก จึงพร้อมให้คุณเลือกศึกษาได้ตามความสนใจ ถ้ายังตัดสินใจไม่อาจ อาจลองศึกษาหาความรู้จากการอบรมหรือหลักสูตรระยะสั้นๆ เพื่อทดลองชิม ก่อนเอาจริงก็ไม่สาย

ที่มาวิชาการดอดคอม


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!