เครื่องถ่ายเอกสาร Sharp 1020
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 15, 2024, 05:44:32 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องถ่ายเอกสาร Sharp 1020  (อ่าน 10722 ครั้ง)
rit
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 07:56:11 AM »

มีอยู่ 2 เครื่อง เครื่องแรกอาการคือถ่ายแล้วหน้า 1 ไม่ชัด หน้า 2 ชัด สลับกันไปครับ อยากทราบว่าเกิดจากอะไรครับ
เครื่องที่2 ถ่ายออกมาแล้วไม่มีภาพ มีแต่หมึกเลอะๆออกมาครับ ใครพอทราบช่วยแนะนำหน่อยนะครับ


บันทึกการเข้า

IT. Service Station
วีไอพี
member
***

คะแนน69
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 946


จะตอบได้ ถ้าถามได้(เข้าใจ)


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2007, 12:31:00 AM »

ลองสลับ ตลับผงหมึกดูครับ ไม่น่ามีอะไร
บันทึกการเข้า

IT. Service Station
วีไอพี
member
***

คะแนน69
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 946


จะตอบได้ ถ้าถามได้(เข้าใจ)


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2007, 12:31:59 AM »

้ลืมครับ ลองสลับ ตัวสร้างภาพด้วยนะครับ ไม่รู้ว่า sharp เรียกว่าอะไร แต่ hp เรียกว่า drum
บันทึกการเข้า

rit
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2007, 11:00:51 AM »

ขอบคุณ คุณ IT มากครับ ขอแนะนำผมอีกนิดนะครับ ผมลองสลับทั้งหมึกและชุด drum แล้วครับ ก็ยังไม่มีภาพครับ ตอนนี้ เครื่องที่ถ่ายได้ สามารถถ่ายได้ โดยใช้ mode  photo เท่านั้นครับภาพที่ได้จะจางมากครับต้องแก้ไขอย่างไดบ้างครับ  ส่วน mode Autoและ manualถ่ายออกมามีแต่หมึกสีดำๆ ไม่มีภาพครับ และผงแม่เหล็ก ที่ปัดหมึก ลูก drumควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ครับครับ ใครพอทราบช่วยสละเวลาตอบให้น้องๆบ้างนะครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
IT. Service Station
วีไอพี
member
***

คะแนน69
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 946


จะตอบได้ ถ้าถามได้(เข้าใจ)


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2007, 06:37:10 PM »

ต้องไปดูที่คู่มือของเครื่องเองครับ ว่าควรเปลี่ยนที่เท่าไร มันจะมีอายุการใช้งานเป็น จำนวนแผ่นที่ใช้งานครับ ลองดูน่ะครับ

ในเมื่อมี 2 เครื่องต้องหาทางสรุปให้ได้ครับ ว่าตัวนั้นเกิดจากสาเหตุใด และ อีกตัวหนึ่งเกิดจากสาเหตุใด รวมทั้งชุดสร้างภาพด้วย ตลับหมึกก็ใช่

ลองดูอีกทีน่ะครับ
บันทึกการเข้า

rit
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2007, 03:49:03 PM »

ขอบคุณ พี่ ITครับ ตอนนี้ผมลองสลับใหม่แล้วครับ ปรากฎว่าถ่ายออกมาเป็นดังนี้ครับ
mode Auto   มีแต่หมึกดำๆ ออกมาไม่มีภาพ อีกเครื่องมีภาพแต่ดำ
mode Manual เหมือนกับ mode Auto
mode Photo ถ่ายภาพได้ เครื่องแรกจะเลอะหมึกดำ อีกเครื่องภาพจางแต่ไม่เลอะ

มีคำถามรบกวนอีกนิดนะครับ
1. ภาพถ่ายดำและภาพจาง เป็นที่ส่วนไหนบ้างครับ
2. หมึกเลอะเป็นที่ปาดหมึกหรือ Drum ครับ
3. ทำไมถึงถ่ายได้เฉพาะ mode photo ครับ
4. code การ clear ค่าต่างๆ ของ Sharp SF-1020 มีอะไรบ้างครับ เครื่องซื้อมือสองมาไม่มีคู่มือครับ

หากใครเคยมีประสพการณ์ก็ขอช่วยแนะนำด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า
rit
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2007, 03:41:53 PM »

หายไปหลายวันเหมือนกันครับ ตอนนี้มีอาการคือ ถ่ายแล้วหมึกเลอะเป็นจุดๆ ไม่รู้ว่าเกิดจากsubbase หรือเปล่าครับ ใครก็ได้ที่พอมีความรู้ก็ช่วยๆกันบ้างนะครับ
บันทึกการเข้า
aey
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2007, 10:39:38 PM »

ขอแนะนำเครื่องที่มีภาพแต่ดำก่อนนะครับ
  -  ทำความสะอาดกระจกทั้ง 6 บานก่อน
  -  ทำความสะอาด  copy lamp  (หลอดส่องต้นฉบับ)  ใช้นำมันรอนสัน และในรางสีเงินที่เป็นอะลูมิเนียมด้วย
   
 
บันทึกการเข้า
aey
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2007, 10:50:42 PM »

อาการหมึกสกปรกถ้ากระจายไม่ซำกันก็เป็นที่ subblade แน่นนอน
บันทึกการเข้า
nantawut
Full Member
member
**

คะแนน36
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 508


« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2007, 11:50:24 PM »

ลองศึกษาหลักการทำงานของส่วนต่างดูอาจวิเคราะห์ปัญหาได้  Embarrassed Embarrassed
Drum : ดรัม ถือเป็นหัวใจของระบบเลยทีเดียว เคลือบด้วยชั้นของสารที่นำแสง ( photoconductive material ) เช่น เซเลเนียม เจอร์มาเนียม หรือ ซิลิคอน สารเหล่านี้อย่างเช่น เซเลเนียมมีคุณสมบัติพิเศษหรือแปลกๆคือ สามารถนำไฟฟ้าได้ภายใต้สภาวะการณ์หนึ่งแต่จะไม่นำไฟฟ้าภายในอีกสภาวะการณ์หนึ่ง ในความมืดมันจะกลายเป็นฉนวน ( insulator) จะต้านทานการไหลของอิเลคตรอนจากอะตอมหนึ่งไปอีกอะตอมหนึ่งหรืออะตอมอื่นๆ แต่เมื่อมีแสงมาตกกระทบบนสารนี้ที่เคลือบอยู่บนดรัม มันจะช่วยปลดปล่อยอิเลคตรอนและทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ อิเลคตรอนที่มีประจุลบนี้จะเป็นตัวที่ทำให้ประจุไฟฟ้าบวกที่อยู่บนผิวหน้าของดรัมสลายตัวกลายเป็นกลางทางไฟฟ้า
Corona Wires : เพื่อจะให้เครื่องถ่ายเอกสารทำงานได้ จะต้องมีการสร้างสนามไฟฟ้าของประจุบวก ( positive charges) บนผิวของดรัมและกระดาษสำเนา งานนี้จึงเป็นหน้าที่ของเส้นลวดโคโรนาซึ่งทำงานภายใต้ความต่างศักย์สูง ( high voltage) ประจุที่เกิดขึ้นจะถูกส่งต่อไปยังดรัมและกระดาษสำเนาเพื่อสร้างประจุไฟฟ้าสถิต ( static electricity ) ลวดโคโรนาจะทำการเคลือบผิวของดรัมและกระดาษสำเนาด้วยไอออนบวก ( positively charged ions) ลวดเส้นหนึ่งจะถูกดึงให้ขนานกับความยาวของผิวหน้าดรัมและก่อให้เกิดไอออนบวกบนผิวของดรัม ในขณะที่ลวดอีกเส้นหนึ่งจะพาดผ่านกระดาษสำเนาและทำให้ผิวหน้ากระดาษเกิดสภาพเดียวกันในขณะที่กระดาษกำลังเคลื่อนที่เข้าหาดรัม
Lamp and lenses : การถ่ายเอกสารต้องการแหล่งกำเนิดแสงที่มีพลังงานมากพอเพื่อที่จะเร่งอิเลคตรอนให้หลุดออกจากอะตอมของสารกึ่งตัวนำที่อยู่บนผิวหน้าของดรัม ความถี่แสงที่มีพลังงานมากพอจะอยู่ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ ( visible spectrum ) มีพลังงานมาพอที่จะทำให้เกิกระบวนการนี้ได้ โดยเฉพาะในช่วงสเปกตรัมแสงสีเขียวและน้ำเงิน คลื่นแสงที่อยู่ต่ำกว่าแสงสีแดงจะมีพลังงานไม่มากพอเพราะจะมีความคลื่นมากขึ้นๆและความถี่จะค่อยๆลดลง ( พลังงานของแสงขึ้นกับความถี่แสง) ถึงแม้แสง UV หรือ ultraviolet จะมีพลังงานมากเกินพอที่จะใช้ได้แต่จะมีอันตรายมากกับดวงตาและผิวหนัง นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไปจึงใช้หลอดไฟธรรมดาๆ เช่นหลอด incandescent , fluorescent หรือ ไฟแฟลช ( flash light ) ซึ่งก็ยังสว่างมากเพื่อส่องไปที่ตัวเอกสารที่จะใช้ถ่าย ส่วนของเลนส์จะทำหน้าที่ย่อและขยายขนาดของสำเนาที่ได้ออกมา โดยทำการปรับระยะใกล้และไกลระหว่างเลนส์และตัวเอกสารต้นฉบับ ภาพจึงมีขนาดเล็กและใหญ่ได้
Toner : ทั่วไปอาจจะเข้าใจได้ว่า Toner เป็นหมึกแห้ง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย หมึกนั้นเป็นสารสีที่อยู่ในรูปของเหลว ( pigmented liquid ) Toner จะเป็นอนุภาคที่ละเอียดยิบของพลาสติกหรือพูดง่ายๆว่าเป็นผงพลาสติกที่ละเอียดมากๆ และเพิ่มสารที่ให้สีดำซึ่งโดยทั่วไปก็คือคาร์บอนเข้าไปผสมกับผงพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วนี้ สารนี้จะติดกับลูกกลมๆเล็กๆคล้ายลูกปัด ( bead ) คล้ายกับลูกปิงปองที่มีผงละเอียดๆของ toner สีดำติดอยู่โดยรอบ ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในกล่องเก็บ ( toner catridge ) เมื่อลูกกลมๆเล็กๆจำนวนมากที่เป็นประจุบวกที่มี toner ประจุลบติดอยู่กลิ้งไปบนดรัม มันจะไปถูกดูดให้ไปติดกับบริเวณที่มีประจุบวกบนดรัมที่ไม่ถูกแสงตกกระทบเพราะแสงถูกส่วนสีดำของเอกสารดูดกลืนไว้ ประจุบวกบนดรัมจะแรงกว่าประจุบวกบนลูกกลมๆที่ toner ติดอยู่ มันจึงดึง toner สีดำให้หลุดออกและไปติดอยู่บนดรัมได้ และสุดท้ายประจุบวกบนกระดาษสำเนาที่สร้างโดยลวดโคโรนาก็จะดึง toner จากดรัมให้ไปติดบนแผ่นกรดาษอีกที อนุภาคพลาสติกที่ผสมอยู่ใน toner จะเป็นตัวที่ทำให้สีสามารถติดแน่นบนกระดาษ ไม่หลุดออกไป
Fuser : กระบวนการที่ทำให้ toner ละลายติดแน่นบนกระดาษสำเนาจะเป็นหน้าที่ของ fuser หรือตัวหลอม วิธีการคือให้กระดาษที่มี toner ติดอยู่ วิ่งผ่านลูกกลิ้งสองตัวในลักษณะถูกรีดผ่านโดยมีแรงกดทับ แต่มีหลอดให้ความร้อนในแกนของลูกกลิ้งเพื่อสร้างความร้อนให้กับลูกกลิ้งเพื่อละลาย toner ที่มีผลพลาสติกผสมอยู่ toner ก็จะละลายติดแน่นบนกระดาษ เสร็จสิ้นกระบวนการถ่ายเอกสาร
บันทึกการเข้า
revadee
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: มีนาคม 30, 2011, 05:05:51 PM »

รีสอร์ท สตูล
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!