เรื่องน่ารู้กับวิตามิน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 08, 2024, 02:09:45 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องน่ารู้กับวิตามิน  (อ่าน 1686 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: มิถุนายน 24, 2008, 06:35:12 AM »

วิตามิน เอ  มีมากใน นม เนย เนยแข็ง ตับ น้ำมันตับปลา ผักใบเขียว มะละกอ ฟักทอง แครอท ร่างกายควรได้รับ 5,000 I.U. อาการขาด ตาบอดกลางคืน ตาแห้ง ผิวแห้ง ผิวหนังรอบรูขุมขน และผมหลุดลอก ความต้านทานเชื้อโรคลดลง การเจริญเติบโตช้า พิษจะพบได้ถ้าได้รับขนาดสูง (50,000 I.U.) เป็นเวลานาน อาการพิษ : คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง ปวดศรีษะ ความดันในสมองสูงขึ้น ปวดกระดูก ตับถูกทำลาย

  วิตามิน บี 1 (ไธอามีน) พบมากในยีสต์ ตับ ไต หัวใจ ข้าวซ้อมมือ ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ (ยกเว้น หอย และปลาน้ำจืดดิบจะมี Thiaminase ซึ่งทำลายวิตามิน บี 1) ควรได้รับวันละ 1 – 1.5 มก.
อาการขาด เหน็บชา อาการเริ่มแรก อ่อนเพลีย ซึมเศร้า เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูก แขนขาไม่มีแรง ชาปลายมือปลายเท้า ชีพจรเร็วขึ้น ถ้าขาดมากจะเป็นเหน็บชา ในบางคนอาจมีอาการทางหัวใจร่วมด้วย
อาการพิษ : พบน้อย แต่ถ้าให้โดยการฉีดในขนาด 100 เท่าของปริมาณที่แนะนำให้ควรได้รับ จะทำให้ปวดศีรษะ ชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใจสั่น และมีอาการแพ้

  วิตามิน บี 2  (ไรโบฟลาวิน) พบใน ตับ เนื้อแดง หมู ปลา ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ควรบริโภควันละ 1–1.6 มก.
อาการขาด : ริมฝีปาก ปากและลิ้นอักเสบบวมแดง ปากและมุมปากแตก ตาไม่สู้แสง คันและแสบตา มีการอักเสบของปลายประสาท
อาการพิษ ไม่พบ

  วิตามิน บี 3 (ไนอาชิน) พบในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ปลา ถั่ว และยีสต์ ควรได้รับวันละ 12 – 18 มก.
อาการขาด กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ผิวหนังแห้ง และลอกโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด ลิ้นบวมแดง ท้องผูกหรือท้องเดิน หงุดหงิด ปวดศรีษะ ความจำเสื่อม ซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่อาจถึงขั้นเป็นโรคจิต
อาการพิษ : ถ้าได้รับสูง (มากกว่า 35 มก.) ทำให้ผิวหนังแดง รู้สึกชาที่ปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตับทำงานผิดปกติ ตาพร่า

 วิ ตามิน บี 5  (กรดแพนโทธินิก) พบในอาหารทั่วไป พบมากใน เนื้อ ไข่ ธัญหาร และถั่ว ควรได้รับวันละ 4 – 7 มก.
ภาวะการขาด พบน้อย เคยมีรายงานในคนที่ขาดอาหารอย่างรุนแรง มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
อาการพิษ ยังไม่มีรายงาน

  วิตามีน บี 6 ( ไพริดอกซิน ) พบมากในเนื้อสัตว์ ตับ ธัญหาร ผัก และถั่วต่างๆ ควรได้รับวันละ 1 – 2 มก.
ภาวะการขาด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปากแตกและอักเสบ แผลในปาก ลิ้นอักเสบ ภูมิต้านทานลดลง โลหิตจาง เด็กเจริญเติบโตช้า (ภาวะการขาดพบได้น้อยแต่คนที่ได้รับยา Isoniazid จะขาดวิตามินบี 6 ได้)
อาการพิษ มีรายงานในคนที่ได้รับ 2 – 6 กรัมต่อวัน ทำให้มีอาการประสาทเสื่อม บางคนไม่สามารถเดินได้

  วิตามิน บี 12  (ไซยาโนโคบาลามิน) พบใน ตับ ไต นม ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 0.9 – 2.8 ไมโครกรัม
ภาวะการขาด โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ เยื่อหุ้มประสาทถูกทำลาย มีอาการทางประสาท ชา และปวดแสบปวดร้อนที่เท้า ขาจะแข็งและอ่อนแรง
อาการพิษ ไม่มีรายงานถึงแม้ได้รับวันละ 100 ไมโครกรัม

  กรดโฟลิก (โฟเลต) แหล่งอาหาร: ตับ ยีสต์ ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ไข่ นม ควรได้รับวันละ 300-600 ไมโครกรัม
ภาวะการขาด โลหิตจาง ผิวหนังอักเสบ การเจริญเติบโตช้า ลิ้นและปากอักเสบ ท้องเดิน สตรีตั้งครรภ์ถ้าขาดโฟลิก อาจมีผลให้ทารกที่เกิดมี neural tube defect เช่นกระดูกสันหลังโหว่
อาการพิษ ไม่พบถึงแม้รับประทานในขนาดสูง แต่ในสัตว์ทดลอง ถ้าฉีดในขนาด 1000 เท่า ของปริมาณที่แนะนำให้ควรได้รับ ทำให้เกิดอาการชัก

  วิตามิน ซ  (กรดแอสคอร์บิค) พบมากในผลไม้พวก ส้ม ฝรั่ง ผัก และเครื่องในสัตว์ ควรได้รับวันละ 60-90 มก.
ภาวะการขาด ลักปิดลักเปิด บาดแผลหายช้า ปวดกระดูกและข้อ กระดูกหักได้ง่าย เส้นเลือดเปราะ เป็นรอยฟกซ้ำ เลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากการดูดซึมเหล็กบกพร่อง อาจมีภาวะโลหิตจางได้ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย
อาการพิษ ถ้าได้รับในปริมาณสูงๆ จะรบกวนทางเดินอาหาร ท้องเดิน เนื่องจากวิตามิน ซี จะถูกเมตาโบไลค์ในร่างกาย ให้เป็นออกซาเลต ดังนั้นการได้รับในปริมาณสูงๆ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิด renal oxalate stones(นิ่ว) และปริมาณวิตามิน ซี ที่สูงเกินไปจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ ทำให้ได้ผลการทดสอบเป็นบวกเทียม ( false-positive test ) สำหรับการทดสอบกลูโคสในปัสสาวะ

  วิตามิน ดี  พบมากในตับ น้ำมันตับปลา ไข่แดง นม เนย (ร่างกายสังเคราะห์ได้โดยให้ได้รับแสงแดดในตอนเช้าก็เพียงพอ) ควรได้รับวันละ 200 – 400 I.U.ภาวะการขาด กระดูกอ่อน (ในเด็ก) กระดูกโปร่งบาง (ในผู้ใหญ่)
อาการพิษ การได้รับวิตามินดี ในปริมาณสูงจะมีการสะสมและเกิดพิษได้
อาการพิษ ที่พบคือ แคลเซียมในเลือดสูง แคลเซียมในปัสสาวะสูง นิ่วในไต กระดูกจะสูญเสียเนื้อกระดูก และมีแคลเซียมมาจับตามเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เช่น หลอดเลือด ไต และหัวใจ

  วิตามิน อี  พบในถั่วต่างๆ น้ำมันพืช ไข่แดง ธัญหารทั้งเมล็ด จมูกข้าว  ควรได้รับวันละ 8 – 10 I.U. (ถ้าได้รับไขมันไม่อิ่มตัวมาก ความต้องการวิตามินอี จะเพิ่มขึ้น)
ภาวะการขาด พบได้น้อยเนื่องจากมีในอาหารทั่วไป และร่างกายสะสมไว้ได้ ภาวะการขาดพบในเด็กคลอดก่อนกำหนด ซึ่งพบโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ถ้ารุนแรงอาจมีอาการทางประสาทร่วมด้วย
อาการพิษ วิตามินอีค่อนข้างปลอดภัย แต่ถ้าได้รับในปริมาณสูงๆเป็นเวลานานจะทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง เนื่องจากจะไปรบกวนการทำงานของวิตามิน เค

  วิตามิน เค มีในพืชในรูปฟิลโลคิวโนน (phylloquinone) ส่วนในผลิตภัณฑ์สัตว์จะพบในรูปเมนาคิวโนน (menaquinone) พบมากในตับ ผักใบเขียว จุลินทรีย์ในลำไส้สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้ จึงไม่พบการขาดวิตามินเค ในคนปกติ แต่อาจพบได้ในคนที่ได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ ควรได้รับวันละ 15-65 ไมโครกรัม

อาการขาด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดจึงควรได้รับการฉีดวิตามินเค 1 มก.

อาการพิษ การเสริมวิตามินเคมากเกินไป ทำให้เลือดแข็งตัว และเซลล์เม็ดเลือดแตก ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และมีสารสีเหลืองของบิลิรูบิน(bilirubin) ในเลือดสูง ถ้ามีปริมาณสูงมากก็จะทำลายสมองได้


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!