พิมพ์หน้านี้ - ตะขาบ...พิษร้ายอาจถึงตาย คนบ่ยั่น...จับมาเปิบ เป็นยาโด๊ป

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●การเกษตร => ข้อความที่เริ่มโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ เมษายน 29, 2008, 06:57:19 AM



หัวข้อ: ตะขาบ...พิษร้ายอาจถึงตาย คนบ่ยั่น...จับมาเปิบ เป็นยาโด๊ป
เริ่มหัวข้อโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ เมษายน 29, 2008, 06:57:19 AM
ตะขาบ...พิษร้ายอาจถึงตาย คนบ่ยั่น...จับมาเปิบ เป็นยาโด๊ป

(http://www.thairath.co.th/images/logo.gif)

(http://www.thairath.co.th/2551/agriculture/Apr/library/29/faming1.jpg)

ช่วงฝนตกพรำๆ อันทำให้อากาศมีความชุ่มชื่นเย็นฉ่ำเช่นนี้ “บรรดา” พวกแมงป่อง ตะขาบ มักออกมาเดินเพ่นพ่านไต่ผนังยั้วเยี้ย จับแมลงเล็กๆกินเป็นอาหารและหาที่อบอุ่นซุกหลับนอน

ฉะนั้น เวลาหยิบจับผ้ามาสวมใส่ หรือจะเข้าพักผ่อนบนฟูกอันอ่อนนุ่ม ควรตรวจตราความเรียบร้อยให้ดีก่อน ไม่อย่างนั้นอาจ “ดวงซวย” มีสิทธิ์โดนพิษร้าย ยิ่งเป็นแมงป่องแม่ลูกอ่อนต่อยเข้า บอกได้อย่างเดียวว่าเจ็บปวดไปทั่วสรรพางค์กาย

หรือบางรายที่ค่อนข้าง “อภิมหาซวย” อาจเจอ “ตะขาบ” ที่มีพิษไม่แพ้แมงป่องขบกัดเอาได้ง่ายๆ เช่นกัน อย่างเช่นเมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา นายสมโพด นูพัฒน์ อายุ 41 ปี ชาวบ้านหมู่ 6 ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ไม่รู้ไปทำอีท่าไหน จึงถูก “ไอ้แสนขา” ไต่เข้าไปฝังเขี้ยวพิษกับ “กล่องดวงใจภายในร่มผ้า”

ด้วยที่คิดว่าตนเองแกร่งและอดทนกับสัตว์ตัวน้อยๆที่เข้ามารบกวนแค่นี้เพียงเจ็บๆคันๆ ช่วงแรกๆ “จึงมินำพา” ไม่ไปหาหมอ เพราะอาการเพียงแค่ “ไม่สามารถ” ขึ้นคร่อม (มอเตอร์ไซค์คู่ชีพ) ได้......

สิ้นฤดูเทศกาลจะกลับกรุงเทพฯจำเป็นต้องนั่งรถโดยสาร แล้วก็ต้องยอมแพ้อาการที่อดทนเพราะเกิดปวดหัวรุนแรง ศรีภรรยาจำต้องพาส่งโรงพยาบาล...สุดท้ายก็ จบชีวิตลง!...

แพทย์ ระบุว่าการเสียชีวิตนั่นเกิดจาก “ไวรัสขึ้นสมอง” ในขณะที่เมียยืนยันว่าสามีถูก “ตะขาบกัดไข่” แต่ดันลืมไม่ได้แจ้งสาเหตุ

ความสูญเสียครั้งนี้จึงยังเป็นปม ไม่กล้าฟันธงว่าเกิดจากพิษสงของ “เขี้ยวตะขาบ” หรือเป็นเพราะเชื้อโรคกันแน่ “หลายชีวิต” นำมาบอกกล่าวเพียงต้องการยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนเตือนให้หลาย ๆ คนพึงระวังและรอบคอบให้มากขึ้น!...

(http://www.thairath.co.th/2551/agriculture/Apr/library/29/faming2.jpg)

“ตะขาบ” (Centipede) พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบกตามสภาพพื้นที่เย็น มีขนาดลำตัวยาว 3-8 ซม. พันธุ์ที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดก็คือ Scolopendra gigantea มีชื่อเรียกสามัญว่า “ตะขาบยักษ์ขาเหลืองเปรู” หรือ “ตะขาบยักษ์อเมซอน” โดยเผ่าพันธุ์นี้อาศัยอยู่ทางแถบเหนือและตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ และตามเกาะแก่งของประเทศตรินิแดดและจาเมกา มันเป็นสัตว์กินเนื้อ ทั้งจิ้งจก กบ นก หนู และแม้แต่ค้างคาว

ตะขาบยักษ์อเมซอน เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 10 นิ้ว แต่บางตัวก็อาจโตได้ 12 นิ้ว สายพันธุ์นี้มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน หนวด 1 คู่ มีเขี้ยวพิษ 1 คู่ เชื่อมต่อกับต่อมพิษ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว

ทั้งนี้ ใช้เวลาเจริญเติบโตนาน ในช่วงชีวิตหนึ่งจะลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมี อายุ 3-5 ปี จึงเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ และ สภาพพื้นที่มันชอบวางไข่ จะเป็นที่ชื้นหรือต้นพืชหญ้า โดยในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อคือแมลงตัวเล็กในเวลากลางคืนกินเป็นอาหาร

ในรายที่โดนตะขาบกัดจะมีรอยเขี้ยว ลักษณะ เป็นจุดเลือดออก มันจะปล่อยพิษซึ่งประกอบด้วยสารก่อปฏิกิริยาอักเสบต่อร่างกาย ได้แก่ 5 hydroxytryptamine หรือ cytolysin ทำให้มีการอักเสบ ปวดบวมแดงร้อน ชา

และ...อาจเกิดอาการแพ้ เช่นกระวนกระวาย อาเจียน หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มึนงง ปวดศีรษะ ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตรงบริเวณที่ถูกกัด อาจเป็นแผลไหม้อยู่ 2-3 วัน และเป็นอัมพาตได้ในบางราย ทั้งนี้มีรายงานแจ้งว่ามีเด็กหญิงฟิลิปปินส์ อายุ 7 ขวบ ถูกตะขาบพันธุ์ Scolopendra subspinipes ขนาดยาว 23 เซนติเมตร กัดที่บริเวณศีรษะ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

แม้ว่ามันจะมีพิษสงอันเจ็บปวดซักปานใด แต่ก็หารอดพ้นที่จะกลายเป็นอาหารของมนุษย์ อาทิ ตะขาบผัดพริกเกลือ เปิบแอ้มสุรา อย่างที่หมู่ เกาะหูจิ่ง แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลชื่อดัง ตั้งอยู่ทางตะวันตกของไต้หวัน ผู้คนถิ่นนี้นิยมจับตะขาบพันธุ์ Scolopendra subspinipes mutilans...มาทำยาดองเหล้า

เป็นสินค้าประจำท้องถิ่นเชื่อว่ากินแล้วปึ๋งปั๋งจึงขายดี... และเป็นของฝากข้ามน้ำข้ามทะเล!...