ไดกิ้นอินเวอร์เตอร์ โค๊ต u4
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 14, 2024, 03:08:43 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไดกิ้นอินเวอร์เตอร์ โค๊ต u4  (อ่าน 18849 ครั้ง)
cutter ♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน44
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10


« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2009, 11:27:48 AM »

รบกวนขอคำแนะนำหหน่อยนะครับ แอร์ไดกิ้น รุ่น RKE12BVMS  อาการเสียโค๊ต u4 (การสื่อสารระหว่างยูนิตใน-ยูนิตนอกผิดพลาด) ตรวจดูแล้วเจอแผงคอนโทรลที่ชุดคอนเดนซิ่งเสียไฟไม่จ่าย  พบว่าที่ชุดเรกูเรเตอร์  ทรานซิสเตอร์เรกูเรต เบอร์ c3751 ช๊อต ไม่ทราบว่าจะใช้เบอร์อะไรไส่แทนได้  แล้วท่านไดที่เคยซ่อม เปลี่ยนไปแล้วจะไช้ได้ไหมครับ  ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาช่วยเหลือครับ 


บันทึกการเข้า

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2009, 12:37:20 PM »

อินเวอร์เตอร์คืออะไร


       ปัจจุบันอินเวอร์เตอร์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหลายท่านได้ใช้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องแต่ไม่ทราบว่าอินเวอร์เตอร์คืออะไร ท ำงานอย่างไร 
 ... ดังนั้นวัตถุประสงค์ของเอกสารนี้ จึงเรียบเรียงขึ้นเป็นแนวทางเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานอินเวอร์เตอร์ ได้เกิดความเข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของอินเวอร์เตอร์ ได้มากยิ่งขึ้น
 
 อินเวอร์เตอร์คืออะไร ?
อินเวอร์เตอร์ (inverter) หรือเรียกว่า เอซีไดร์ฟ (AC drives) ็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วรอบ ของมอเตอร์เหนี่ยวนำหรือเอซีมอเตอร์ (ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกว่า "อะซิงโครนัส หรือมอเตอร์แบบกรงกระรอก")
ความเร็วรอบสามารถควบคุมได้อย่างไร ?
เนื่องจากความเร็วรอบของอินดัคชั่นมอเตอร์ หรือมอเตอร์เหนี่ยวนำ จะเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับสมการความเร็วรอบหรือสมการซิงโครนัส-สปีดดังต่อไปนี้     
   
Synchronous speed  (Ns)
 
       = (120 * f ) / P
 
โดยกำหนดให้:
 
    f = ความถี่กระแสไฟฟ้า
    P = จำนวนขั้วแม่เหล็ก 

......จากสมการสมซิงโครนัส-สปีดจะเห็นว่าความเร็วรอบของมอเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนได้ 2 เส้นทางคือ
         1.  เปลี่ยนจำนวนขั้วแม่เหล็ก (P) และ
         2. เปลี่ยนแปลงความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า ( f  )

      ดังนั้นหากความถี่กระแสไฟฟ้ามีค่าคงที่คือ 50 Hz. ( หรือ 60 Hz.ในบางประเทศ เช่นอเมริกา ) ความเร็วรอบของมอเตอร์  แต่ละตัวก็จะมีความเร็วรอบที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้วแม่เหล็กของมอเตอร์แต่ละตัว ซึ่งสามารถสรุปได้ตามตารางดังนี้             

จำนวนขั้วแม่เหล็ก(P)  2
 4 6 8 10 15
จำนวนรอบที่ความถี่ 50 Hz.    (RPM) 3000 1500 1000 750 600 500
จำนวนรอบที่ความถี่ 60 Hz.    (RPM) 3600 1800 1200 900 720 600
 
   จากตารางสรุปความสัมพันธ์ของความเร็วรอบของมอเตอร์ที่มีจำนวนขั้วแม่เหล็กที่แตกต่างกันจะเห็นว่า วิธีการควบคุมความเร็วรอบด้วยการเปลี่ยนจำนวนขั้วแม่เหล็กนั้น ความเร็วจะเปลี่ยนแปลงไปครั้งละมาก ๆ เช่น เปลี่ยนจาก 3000 รอบต่อนาที ไปเป็น 1500 รอบต่อนาที  หรือจาก 1500 รอบต่อนาที ไปเป็น3000 รอบต่อนาที ( กรณีเปลี่ยนจากการต่อแบบ  2 ขั้วแม่เหล็กไปเป็นการต่อแบบ 4 ขั้วแม่เหล็ก หรือจาก 4 ขั้วแม่เหล็กลดลงมาเหลือ 2 ขั้วแม่เหล็ก) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบในลักษณะนี้ความเร็วรอบที่เปลี่ยนแปลงจะไม่ละเอียด ,ทำได้เฉพาะในขณะที่ไม่มีโหลด และที่สำคัญคือต้องใช้มอเตอร์ที่ออกแบบพิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนขั้วแม่เหล็กได้เท่านั้น ทำให้ไม่เหมาะสมกับความต้องการของงานในหลาย ๆประเภทที่ต้องการควบคุมความเร็วรอบในขณะมีโหลดเพื่อให้ความเร็วเหมาะสมกับความเร็วของกระบวนการผลิต  ดังนั้นในกระบวนการผลิตทั่วไปจึงนิยมใช้อินเวอร์เตอร์ในการควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์มากกว่าเนื่องจากสามารถควบ คุมให้มอเตอร์ด้วยความเร็วคงที่  ปรับความเร็วรอบไปที่ความเร็วต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีความเที่ยงตรงมากกว่า
อินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร?
  จากรูปบล็อคไดอะแกรมพื้นฐานอย่างง่ายๆ ของอินเวอร์ จะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ และมีการทำงานดังนี้


รูปภาพจาก ออมรอน (OMRON)
 

 Reetifier  circuit:
  วงจรเรกติไฟเออร์ หรือวงจรเรียงกระแส :  ทำหน้าที่แปลงผันหรือเปลี่ยนจากแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง วงจรประกอบด้วย เพาเวอร์ไดโอด 4 ตัว กรณีที่อินพุทเป็นแบบเฟสเดียว หรือมีเพาเวอร์ไดโอด 6 ตัว กรณีที่อินพุตเป็นแบบ 3 เฟส ดังรูป ( สำหรับอินเวอร์เตอร์บางประเภทจะใช้ SCR ทำหน้าที่เป็นวงจรเรกติไฟเออร์ซึ่งทำให้สารมารถควบคุมระดับแรงดันในวงจร ดีซีลิ๊งค์ได้)

 

DC link :
   ดีซีลิ๊งค์ หรือ วงจรเชื่อมโยงทางดีซี  คือวงจรเชื่อมโยงระหว่างวงจรเรียกกระแสและวงจรอินเวอร์เตอร์ (ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป) ซึ่งจะประกอบด้วยแคปปาซิเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ พิกัดแรงดัน ไฟฟ้า 400 VDC หรือ 800 VDC โดยขึ้นอยู่กับแรงดันอินพุตว่าเป็นแบบเฟสเดียวหรือ 3 เฟส  ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากวงจรเรียงเรกติไฟเออร์ให้เรียบยิ่งขึ้น และทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ขณะที่มอเตอร์ทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในช่วงสั้นเนื่องจาการเบรคหรือมีการลดความเร็วรอบลงอย่างรวดเร็ว (สำหรับกรณีที่ใช้งานกับโหลดที่มีแรงเฉื่อยมาก ๆ และต้องการหยุดอย่างรวดเร็ว จะเกิดแรงดันสูงย้อนกับมาตกคร่อมแคปปาซิเตอร์และทำให้ แคปปาซิเตอร์เสียหาย ได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติจะมีวงจรชอปเปอร์โดยต่อค่าความต้านอนุกรมกับทรานซิสเตอร์ และต่อขนานกับแคปปาซิเตอร์ไว้ โดยทรานซิสเตอร์จะทำให้ที่เป็นสวิตซ์ตัดต่อควบคุมให้กระแสไหลผ่านค่าความต้านทานเพื่อลดพลังงานที่เกิดขึ้น
Inverter circuit :
 วงจรอินเวอร ์ คือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงผันจากแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (ที่ผ่านการกรองจากวงจรดีซีลิ๊งค์) เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรจะประกอบด้วยเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์กำลัง 6 ชุด (ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ IGBT) ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัดต่อกระแสไฟฟ้าเพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยอาศัยเทคนิคที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ PWM (Pule width modulation)
Control circuit :
  วงจรควบคุม จะทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เช่น รับข้อมูลความเร็วรอบที่ต้องการเข้าไปทำการประมวลผล และส่งนำเอาท์พุทออกไปควบคุมการทำงานของทรานซิสเตอร์เพื่อจ่ายแรงดันและความถี่ให้ได้ความเร็วรอบและแรงบิดตาม ที่ผู้ใช้งานต้องการ   
ทำไมจึงต้องแปลงผันจาก ดีซีเป็น เอซี และแปลงผันกลับจากดีซีเป็นเอซีอีกครั้ง ?  (คำถามที่พบบ่อย)
    เนื่องจากการแปลงจากเอซีไปเป็นเอซี โดยตรงเลยนั้น ความถึ่ทางด้านเอาท์พุตจะได้สูงสดไม่เกินความถี่ทางด้านอินพุต ทำให้ไม่สามารถควบคุมความเร็วมอเตอร์ให้มีความเร็วมากกว่าความเร็วที่บอกไว้บนแผ่นป้ายของมอเตอร์ แต่การเปลี่ยนจาก เอซี ไปเป็น ดีซี และแปลงกลับมาเป็น เอซี อีกครั้งจะทำให้อินเวอร์เตอร์สามารถสร้างความถี่ได้สูงกว่าความถี่ทางด้านอินพุต 
 
http://www.9engineer.com/au_main/Drives/what%20is%20inverter.htm Wink
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
cutter ♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน44
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2009, 02:08:33 PM »

ขอบคุณมากครับ  แต่ว่ามันกว้างไปหน่อยครับ  เรกูเรตชุดนี้ เป็นชุดจ่ายไฟเบื้องต้นครับ  จ่ายไฟเลี้ยง  5v,12v และไดร์ฟ ชุดควบคุมความเร็วคอมเพรสเซอร์ครับ  แต่ก็ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับอินเวอร์เตอร์ Cheesy
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2009, 05:22:23 PM »

คุณหมายถึง 2SC3751 หรือเปล่าถ้าเป็นตัวนี้ก็มีเบอร์ที่แทนได้เยอะ ลองดู
http://www.alldatasheet.com/datasheet-pdf/pdf/38889/SANYO/2SC3751.html
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
cutter ♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน44
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2009, 11:14:00 AM »

ขอบคุณครับ    พอดีงานผมออกแล้วผมได้เบอร์ c4517  แทนครับ ใช้ได้ไม่มีปัญหาอะไรครับ ถ้าใครเจออาการอย่างผม ก็อย่าลืมเปลี่ยน zd5.6 v ด้วยนะครับ ขอบคุณ ขอบคุณ ดีใจจัง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!