ic str f6656 panasonic ระเบิด รุ่น tc-25p20b (MX-8)
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 14, 2024, 12:44:06 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ic str f6656 panasonic ระเบิด รุ่น tc-25p20b (MX-8)  (อ่าน 4061 ครั้ง)
manoon9
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2008, 09:04:03 PM »

panasonic รุ่น tc-25p20b (MX-8)
เปลี่ยน ic แล้วก็ระเบิดเหมือนเดิมและฟิวส์ขาดด้วย


บันทึกการเข้า

Tian♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน66
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 880


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2008, 09:19:42 PM »

ตั้งหลายกระตู้ก็ตามมาตอบหลายกระทู้เหมือนกัน ลอยฮอร์ต่อโหลดคาไว้
เช็คชุดบริด เปลียนซี300
สวิทชิ่งระเบิดต้องเปลียนซีเนอร์ทุกตัวด้วยครับ
วัดเรียบดีที่สุด
บันทึกการเข้า
boonkuae35
วีไอพี
member
***

คะแนน12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 950


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2008, 09:49:06 AM »

ต่อหลอดแทนฟิวส์ดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
sombat2516
วีไอพี
member
***

คะแนน79
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1184


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2008, 10:04:18 AM »

 เอาแน่อาการเปิดไม่ติดไม่แสดงอะไรให้เห็นเลย หรืออาจแสดงทางLED ่หรือมีเสียงออสซิเลส ช่างเราๆเรียกว่า เปิดไม่ติดนั้นแหละครับ  .. อาการนี้ส่วนตัวผมชอบเพราะเกือบร้อยเปอรเซ็นเสียที่ภาคจ่าไฟ ไม่ช้าก็เร็วต้องหาตัวเสียเจอ  แต่สำหรับเพื่อนช่างที่ยังใหม่หรือ
ชั่วโมงบินยังน้อยอาจทำให้เสียเวลา หรืออาจเสียค่าอะไหล่เพิ่มขึ้นทั้งที่ไม่น่าเสีย และที่มากกว่านั้นคือ มิเตอร์ตัวเก่งอาจพังได้เพราะ
ขาดหลักการที่ถูกต้อง...บทความนี้ผมขอเสนอ การซ่อมที่ใช้เวลาให้สั้นลงและปลอดภัยต่อเครื่องมือของเรา
           อุปกรณ์ที่น่าจะมีเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากมิเตอร์วัดไฟนั้นคือหลอดไฟ 60W หนึงหลอดและ200Wอีกหนึ่งหลอด
           เนื่องจากการจัดวงจรของทีวีแต่ละรุ่นอาจแตกต่างกันบ้างก็ขอยกเอาแท่นที่แยกเป็นกราวด์ร้อนกราวด์เย็นมาเสนอเพราะมีจำ
นวนมากกว่า......มาเริ่มกันเลยครับ
                  1.  เมื่อเครื่องมาถึงมือเราแล้วไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเข้าเครื่อง เมื่อเปิดฝาหลังออกมาสัญชาติญานช่างต้องปล่อยออกมาให้หมด
เช่นอุปกรณ์สมบูรณ์หรือไม่เช่นหายแตกหักไหม้หรือเปล่าและดูสิ่งสกปรกที่เห็นเป็นแบบไหนเพราะถ้าเป็นเขตโรงงานอุตสาหกรรมสาเหต
ุใหญ่ก็น่าจะมาจากตรงนี้...เรื่องความสะอาดเป็นศาสตร์ขั้นสูงในการซ่อมครับอย่ามองข้าม
                 2. เมื่อพลิกPCB มาด้านตะกั่วให้ดูดีๆว่ามีหลวมมีร่อนหรือไม่ โดยเฉพาะเครื่องที่ยังไม่เคยซ่อมตะกั่วมักไม่ดี ไม่แนะนำให้เปิด
ไฟเข้าเครือ่งถ้าเห็นตะกั่วที่ภาคจ่ายไฟร่อนหลวมอยู่  ตรงนี้ระวังไฟ300v มักค้าง
                 3. จับมิเตอร์มาพร้อมวัดไฟ ยังไม่เสียบปลักไฟนะครับ ผมจะให้ตรวจสอบว่ามีไฟค้างที่คอนเดนเซอร์ตัวใหญ่ที่สุดหรือไม่ เพราะ
บางท่านตั้งมิ่เตอร์โอห์มไปวัดแล้วมิเตอร์พัง ไฟค้างหรือไม่มันบ่งบอกอะไรหลายๆอย่างทำให้เราประเมินว่าน่าจะซ่อมไปทางไหน
                 4. ถ้าไฟค้างให้ใช้หลอดไฟดิสชาร์ทออกให้หมด นั้นแสดงว่าด้านกราวด์ร้อนนี้อาจไม่ชอร์ท จะบอกว่าไม่ชอร์ทแน่ๆก็ต้องไปดู
รีซิสเตอร์ค่าต่ำๆขาดหรือเปล่า
                 5. ตรงนี้สำคัญครับ ให้ตั้งมิเตอร์x1k  สายสีดำวัดขั้วบวกของคอนเดนเซอร์300v และสายสีแดงวัดขั้วลบของคอนเดนเซอร์300v
เช่นกันแล้วดูผลที่มิเตอร์ ถ้าเข็มตีขึ้นสุดแล้วค่อยๆลงมา นั้นแสดงว่าปลอดภัย ทางด้านกราวด์ร้อนไม่น่าจะมีอุปกรณ์ชอร์ท แต่ไม่ใช่ว่าจะ
ไม่มีตัวอะไรเสียนะครับ เช่นอาจมีรีซิสเตอร์ขาด  Cเสื่อม แต่ชอร์ทน่าจะสบายใจได้
                 6. ถ้าเข็มขึ้นค้างไม่ยอมลงก็ลดมิเตอร์ลงมาเป็นx10 หรือ x1 จะได้รู้ว่าค่าโอห์มจริงๆได้เท่าไหร่ ถ้าวัดได้ไกล้ศูนย์โอหฺมนั้นแสดง
ว่ามีอุปกรณ์ชอร์ทอยู่ครับ....ตัวที่เสียมีไม่กี่ตัวครับ 90% เป็นไอซีชอร์ทเอง ในกรณีนี้ฟิวส์ต้องขาดดำด้วยหรือรีซิสเตอรืตัวใหญ่โอห์มต่ำต้อง
ขาด
                7. ถ้าวัดได้10 ถึง 100 โอห์มโดยประมาณให้ไปดูพวกซีแดมป์มันมักมีรอยไหม้หรือแตกให้เห็นเลย....แต่จะให้แน่ให้ลอย
อุปกรณ์ที่น่าสงสัยทีละตัว เมื่อลอยแล้วการวัดโอหฺ์มเป็นไปในทางที่ดีก็จบ ตัวที่ลอยออกนั้นแหละเสีย
                                ในกรณีไฟสามร้อยโวล์ทค้างตัวเสียไม่จำเป็นที่จะอยู่ทางด้านกราวด์ร้อนเสมอไป เดี๋ยวนี้ด้านกราวด์เย็นชอรฺ์ทเช่น
ฮอร์ชอร์ทอยู่ไฟสามร้อยก็ค้างได้เหมือนกัน ่เจอบ่อยมากๆกับทีวีรุ่นใหม่ๆ
               8. ทางด้านกราวด์เย็นหรือทางฝั่งกราวด์ของไฟบีบวกอยากจะรู้ว่าชอร์ทอยู่หรือไม่ก็ทำเหมือนกันตามข้อ5-6-7  ถ้าโอห์มต่ำก็ให้
้ลอยอุปกรณ์ที่อยู่ในลายของบีบวกออกรวมทั้งทรานซิสเตอร์ฮอร์ด้วย ถ้าชอร์ทอยู่ต้องหาให้เจอ ไม่เจอห้ามกินข้าว
                                จะเห็นว่าทั้งหมดที่กล่าวมายังไม่ได้เปิดไฟเข้าเครือ่งเลย ที่สำคัญสุดๆๆๆ อย่าลืมย้ำตะกั่วให้ดีๆอย่าคิดว่าตะกั่วแพง
เดี๋ยวเครื่องตีกลับแล้วต้องจ่ายแพงกว่าค่าตะกั่ว
              9. ถ้ามั่นใจทั้งทางด้านกราวดฺ์ร้อนและกราวดฺ์เย็น ก่อนจะเปิดไฟเข้าครื่องขอแนะนำว่าให้ลอยฮอร์ออกก่อน รวมทั้งสายดีเก๊าให้
ดึงออกด้วยเพื่อความปลอดภัยหลายอย่าง แล้วให้ถอดฟิวส์ออก จากนั้นนำหลอดไฟ200w มาต่อแทนฟิวส์ ถ้าจอใหญ่กว่า21นิ้วให้เพิ่ม
หลอดไปอีกหนึ่งหลอด 29นิ้วบางรุ่นอาจใช้ถึงสามหลอด จากนั้นให้นำหลอดไฟ60w มาต่อคร่อมคอนเดนเซอร์บีบวก ถ้าหาไม่เจอก็ให้ต่อ
ขั้วหนึ่งลงกราวด์อีกขั้วต่อที่ขาCของฮอร์ที่ลอยออกไปนั้นแหละแล้วเปิดไฟเข้าเครื่องได้เลย
            10- การเปิดไฟเข้าครั้งแรกสำคัญมากประสาทเราต้องไว คือตาซ้ายดูเข็มมิเตอร์ ตาขวาดูหลอดไฟ หูรอฟังเสียง มือ่ซ้ายเตรียมชัก
ปลักไฟออกมือ่ขวาวัดไฟ ...หลอดไฟ200w ต้องสว่างไม่เกินสามวินาทีแล้วหรี่ลง ถ้าเราไม่ถอดสายดีเก๊ามันจะสว่างนานขอแนะนำให้ดึง
ออกก่อน ถ้าเกินสามวินาทียังสว่างจ้าอยู่แสดงว่าด้านกราวด์ร้อนยังมีปัญหาอยู่ให้ตามไปแก้ไข หรือให้เริ่มต้นข้อ1 ใหม่  ถ้าหลอดไฟ60w สว่างขึ้นมาแสดงว่าไฟบีบวกออกมาแล้ว จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้ตามที่สเปคเครื่องกำหนดมา
            11. อันนี้ก็สำคัญ...ว่า หลอดไฟ200w ที่ต่อแทนฟิวส์อยู่ให้ต่อไว้แบบนั้นจนกว่าจะซ่อมเสร็จ มีภาพมีเสียงแล้วค่อยถอดออก
บันทึกการเข้า
prom jantapho
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน413
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4845


ทำดีเท่าที่ทำได้


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2008, 10:09:21 AM »

1.อีกตัวหนึ่งที่ทำให้สมาชิกหลงทางกันมากคือ R ดีเก๊าส์  อาจจะช๊อตเพราะเคยเจอมาก็ต้องตรวจเช็คให้ดีด้วย
2.ในส่วนเหลือท่านอย่ามองข้ามหม้อ สวิทชิ่งด้วยละครับ
บันทึกการเข้า

สามารถติดต่อได้ที่ 0841987970
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!