สมาธิ-วิปัสสนา เส้นทางสร้างสุข ยุคสังคมวุ่นวายเสื่อมทราม
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิ-วิปัสสนา เส้นทางสร้างสุข ยุคสังคมวุ่นวายเสื่อมทราม  (อ่าน 2905 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2008, 08:45:37 AM »

สมาธิ-วิปัสสนา เส้นทางสร้างสุข ยุคสังคมวุ่นวายเสื่อมทราม

โดย ปิติพงษ์ เมืองสง
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล

 
ช่วงเวลาหลังเลิกงานเป็นช่วงเวลาที่หลายคนต่างรีบเร่งกลับบ้านเพื่อพักผ่อน ท้องถนนเต็มไปด้วยรถราจอดติดเรียงรายรอสัญญาณไฟ

ส่วนรถเมล์ภายในก็แน่นขนัดผู้คนอัดกันเป็นปลากระป๋อง รถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินขบวนยาวแต่ไร้ซึ่งที่ว่าง

แต่กลับมีสิ่งที่ไม่น่าเชื่อเกิดขึ้น! บนตึกสูงใจกลางกรุงเทพมหานครกลับพบบรรยากาศของความสงบ และพบผู้คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกัน เพื่อร่วมฟังบรรยายและปฏิบัติธรรม

เป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเล่าด้านบนที่กล่าวมาตัดกันฉับพลันโดยสิ้นเชิง ท่ามกลางความวุ่นวายโกลาหลที่ดูเหมือนเส้นประสาทจะขาดผึงได้ทุกเมื่อ กลับมีมุมสงบๆ สบายๆ ให้พักหัวใจ และสร้างพลังใจเพื่อต่อสู้กับความวุ่นวายในวันรุ่งขึ้น

มุมสงบที่ว่านี้ อยู่บนอาคารอัมรินทร์ พลาซา ย่านราชประสงค์ ซึ่งมีการจัดบรรยายธรรมะเป็นประจำทุกสัปดาห์ สำหรับครั้งนี้เป็นหัวข้อเรื่อง "สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน"

การจัดบรรยายธรรมะนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ใจตัวเอง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับวิทยากรที่มาบรรยายโดยผ่านการสนทนา ซึ่งมี "ชมรมคนรู้ใจ" สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี และบริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่น จำกัด เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น เพราะเล็งเห็นคุณค่าในการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และการปฏิบัติธรรมในแนวสติปัฏฐาน 4 เป็นการพัฒนาปัญญาและดุลยภาพชีวิตของประชาชน

ปัญจสิรีย์ องอาจสิริ ผู้ประสานงานพระวิทยากร บอกถึงเหตุผลในการจัดบรรยายธรรมะ ว่า เป็นเรื่องที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันที่ต้องพบกับความวุ่นวายรอบด้าน ทั้งด้วยสภาพสังคมอันโกลาหล ความผันผวนของเศรษฐกิจ พ่วงด้วยปัญหาการว่างงานที่กำลังตามมา กลายเป็นเรื่องราว "ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์" ที่ทำให้หลายคนรู้สึกวิตกกับภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น จนทำให้เส้นกราฟความเครียดพุ่งสูงก่อเกิดเป็นความทุกข์ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"การจัดบรรยายเรื่องสมาธิ-วิปัสสนา ครั้งนี้ก็เพราะการทำสมาธิ ทั้งสมถะและวิปัสสนาจะทำให้จิตใจของผู้ปฏิบัติสงบและสามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน จนเกิดเป็นปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาที่ผ่านเข้ามาได้ เช่น การนั่งสมาธิ แล้วกำหนดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ อาจทำให้เราสามารถคิดถึงสิ่งที่เคยทำผิดเพราะจิตสงบ จนเป็นการรับรู้ว่าสิ่งที่ทำลงไปเป็นสิ่งไม่ดี ไม่ควรทำอีกหรือคิดหาหนทางที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น เป็นต้น"

 บรรยากาศแห่งความสงบเริ่มต้นด้วยการที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดร่วมกันทำวัตรเย็น กล่าวบทสวดมนต์อย่างพร้อมเพรียงกัน และร่วมกันนั่งสมาธิเป็นเวลา 10 กว่านาที เป็นการเปิด "จิต" ในการรับฟังธรรม

จากนั้น พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง จังหวัดปทุมธานี พระวิทยากรเริ่มต้นด้วยปัญหาที่หลายคนสับสนคำว่า "สมถะ" กับ "วิปัสสนา" ว่า จริงๆ แล้วทั้งสองคำเป็นลำดับขั้นตอนที่เกื้อหนุนกัน

คือ "สมถะ" เป็นการอบรมใจให้สงบ (มีสมาธิ) ให้หยุดนิ่ง เป็นอารมณ์เดียว ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก คำบริกรรมคาถา เป็นต้น ส่วนการ "วิปัสสนา" หมายถึงการอบรมปัญญาให้เกิด โดยการปฏิบัติธรรมแล้วใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรม ทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง จนมี "จิต" ที่เป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์

หากปฏิบัติทั้งสองอย่างควบคู่กันไปจะเกื้อหนุนกัน คือผลของสมถะจะทำให้เกิดวิปัสสนาปัญญาได้ง่ายขึ้น และผลของวิปัสสนา (ความปล่อยวาง, ความไม่ยึดมั่น) ก็ทำให้นิวรณ์ (สิ่งขวางกั้นสมาธิ) เกิดน้อยลง ทำให้สมาธิเกิดได้ง่ายขึ้น

หลายคนมองว่าภาวะปัจจุบันนั้นยากในการจะปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ขอเพียงมีกายมีจิตอยู่ตลอดเวลา

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ ยกตัวอย่างแสดงธรรมต่อไป ว่า หากใครเคยศึกษาพุทธศาสนามาบ้าง อาจเคยได้ยิน เรื่อง "ม้ากระจอก" กับ "ม้าอาชาไนย" ที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสเปรียบเปรยไว้

"ม้ากระจอก" ผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ก็จะมองเห็นแต่ข้าวเหนียว ว่าเป็นข้าวเหนียว เพราะเพ่งเพียงรูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้เพ่งอย่างลึกซึ้งเเละไม่ได้ใช้ปัญญาในการคิดต่อถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น แตกต่างกับม้าอาชาไนย ถูกผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวเหมือนกัน แต่จะไม่คิดว่าข้าวเหนียวเป็นเพียงข้าวเหนียว แต่จะคิดว่าวันนี้เจ้าของจะให้ทำอะไร เราจะทำสิ่งใดเป็นการตอบแทน

ปัญจสิรีย์ องอาจศิริ

 "เรื่องนี้ก็คล้ายกันกับคนเรา ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่สถานที่ใด จะเป็นอยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี หรืออยู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ไม่มีจิตอันกามราคะรุมเร้าแล้ว ย่อมรู้ถึงวิธีสลัดกามราคะที่เกิดขึ้น แล้วตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีจิตอันพยาบาท ซึ่งคล้ายกับเป็นการบอกว่าไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ใดก็สามารถทำสมถะ วิปัสสนาได้"

พระอาจารย์คึกฤทธิ์กล่าวต่ออีกว่า ในชีวิตประจำวันเราสามารถปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนาที่ไหนก็ได้ ขอเพียงมีกายมีจิตตลอดเวลา มีวิธีง่ายๆ อยู่หลายวิธี เช่น เมื่อมีเวลาว่างให้ลองคิดทบทวนถึงการดำเนินชีวิตที่ผ่านมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

"ทบทวนช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน แล้วพยายามทบทวนถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในแต่ละเหตุการณ์ ให้มองให้ชัดเจนว่าความสุขที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมา กับความทุกข์ที่ต้องเผชิญมันคุ้มกันหรือไม่ การกระทำของเราในขณะนั้น เป็นไปตามความปรารถนาของเราอย่างแท้จริง หรือว่าเราควบคุมมันไม่ได้ ความสุขความทุกข์นั้นอยู่กับเราได้นานเพียงใด ที่สำคัญคือต้องทำจิตใจให้เป็นกลาง และต้องมองให้ลึกทุกแง่มุม

"ความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในอดีต ถ้าภายหลังทำไม่ได้ หรือมีใครมาพูดให้กระทบกระเทือนจนสูญเสียความมั่นใจ ก็อาจทำให้เราเป็นทุกข์อย่างมากมายก็ได้ แต่อย่ามองแง่เดียว เพราะสิ่งที่มีคุณอนันต์ก็มักจะมีโทษมหันต์เช่นกัน ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันลองคอยสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ถ้าเผลอไปก็ไม่เป็นไร พยายามสังเกตให้ได้มากที่สุด จนเคยชินเป็นนิสัย มีสติรู้ทันความรู้สึกตลอดเวลา

"การสังเกตนั้นเพื่อศึกษาธรรมชาติของร่างกายของจิตใจของเราเอง ว่า มีสุขมีทุกข์มากน้อยเพียงใด เกิดความแปรปรวนเพราะอะไรบ้าง บังคับได้หรือไม่ได้ ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน จนกระทั่งหลับไปในที่สุด คือรู้ตัวเมื่อไหร่ก็สังเกตเมื่อนั้น แล้วสิ่งที่ท่านคิดว่า คือ "เรา" นั้น ก็จะแสดงธรรมชาติที่แท้จริงให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ"

อย่าลืมว่า "พระพุทธศาสนาสอนให้เรากล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและความเป็นจริง แทนที่จะหลบลี้ไปจากความจริง ทรงพบว่าเพียงการหันเหจิตใจ จากความทุกข์เฉพาะหน้า ไปสู่สิ่งอื่นในส่วนลึกของจิตนั้น เรายังคงรู้สึกถึงความทุกข์อยู่ และยังสร้างสังขาร หรือความคิดปรุงแต่งของจิต ให้เกิดโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) หรือ โมหะ (ความหลง) ขึ้นมาอีก ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น

"การปฏิบัติสมถะวิปัสสนา" จะช่วยให้เราเพ่งเพียรในอารมณ์ เพราะเราจะรู้สิ่งใดอย่างแท้จริง เราก็ต้องเฝ้าดู เพ่งดูซึ่งสิ่งนั้น" เจ้าอาวาสวัดนาป่าพงย้ำถึงหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

หลายคนเวลามีความทุกข์เกิดขึ้นในชีวิต มีความเดือดเนื้อร้อนใจ จนไม่อาจจะทนทุกข์อยู่ต่อไปได้ ก็อยากจะหนีความทุกข์นั้นไปให้พ้น อาจจะไปดูหนัง ดูละคร หรือไปสถานบันเทิงต่างๆ แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ช่วยให้หลบไปจากความทุกข์ได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น เป็นเพียงการหันเหความสนใจไปจากความทุกข์เป็นการชั่วคราว แล้วก็นึกเองว่าได้พ้นจากความทุกข์นั้นแล้ว

แต่ความเป็นจริงนั้นไม่ได้หลุดพ้นจากความทุกข์

ในทางตรงกันข้าม ความทุกข์กลับจะเพิ่มพูนขึ้น การหนีไปจากความทุกข์ จึงมิใช่เป็นการแก้ปัญหา

คำบรรยายของพระผู้เป็นวิทยากร เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของคนเรา เรื่องของทุกข์ สุข เรื่องของจิตใจ ในบรรยากาศสงบ นิ่ง เย็นสบายเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ว่า

ความสุขที่แท้จริงนั้น ไม่ต้องหาสิ่งใดมาปรุงแต่ง ไม่ต้องใช้ตัวช่วยที่แลกมาด้วยความสิ้นเปลือง

และพระพุทธศาสนานี่เองที่สอนให้รู้ว่า

"ขอเพียงสร้างความรู้เท่าทันให้เกิดขึ้นในจิตใจด้วยตัวเอง ไม่ให้ถูกครอบงำด้วยความมืดดำแห่งกิเลสแล้ว ชีวิตก็นับว่าได้สัมผัสกับความสุขที่แท้จริง"

---------

http://www.matichon.co.th/matichon/v...day=2008-12-10


บันทึกการเข้า

Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 04, 2009, 09:12:21 AM »

ภัย ๔ อย่างของผู้ภาวนา

กลางดึกคืนหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังจำวัดอยู่

ท่านได้สะดุ้งขึ้นอย่างแรง พระผู้ปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ต่างรีบจัดหมอนและผ้าห่มถวายท่านองค์หนึ่งสงสัยจึงกราบเรียนถามท่านว่า
ท่านสะดุ้งตื่นด้วยเหตุใด หลวงปู่เลยบอกศิษย์ว่า ดูเมื่อกี้นี้ ไม่เห็นพระมีแต่จระเข้อยู่เต็มกุฏิ ไปดูซิ
นอนอยู่ใต้ถุนตัวหนึ่ง นอนอยู่บนเตียงตัวหนึ่ง ตัวใหญ่ๆ นอนอยู่ตรงกลาง ไปดูซิ...ใช่ไหม...
 
พระเณรรีบไปดู ก็จริงดังท่านว่า...!กล่าวคือ
แทนที่จะเห็นภาพพระเณร ศิษย์ของท่านกำลังนั่งภาวนาอย่างเอาเป็นเอาตาย ให้สมกับที่ปวารณาตัวถวายเป็นศิษย์พระกรรมฐาน
แต่กลับมีพระเณรนอนอยู่ใต้ถุน...บนเตียง...องค์ใหญ่นั้นนอนตรงกลาง.... ไม่น่าประหลาดใจที่ทำไมบรรดาศิษย์จึงเกรงกลัวท่านกันนัก
ท่านไม่ต้องลุกเดินไปตรวจตราดูใคร ท่านเป็นอัมพาต นอนอยู่กับที่ แต่ท่านก็ทราบได้ดีว่า ศิษย์คนไหนภาวนาหรือไม่
ผู้ไม่ภาวนา ท่านเห็นเป็นภาพจระเข้นอนกลิ้งเกลือกกองกิเลสอยู่...!
 
หลวงปู่เตือนเสมอถึงภัย ๔ อย่างของพระกรรมฐาน
ท่านสอนให้ศิษย์ของท่านควรระวัง...ระวังเหมือนถ้าเฮาจะลงไปในฮ้วงน้ำข้ามโอฆสงสารก็ต้องระวังภัย ๔ อย่างคือ
คลื่นหนึ่ง จระเข้ หนึ่ง วังน้ำวน หนึ่ง....และ ปลาร้าย อีกหนึ่ง ท่านบอกศิษย์ให้ระวัง ทั้งคลื่น ทั้งจระเข้ ทั้งวังน้ำวน และปลาร้าย
ความดื้อดึงไม่อดทนเชื่อฟังต่อโอวาทที่ครูบาอาจารย์พร่ำสอนแนะนำเปรียบด้วยภัย คือ คลื่น
ความเห็นแก่ปากแก่ท้อง เห็นแก่หลับแก่นอน ไม่บำเพ็ญเพียร
เปรียบด้วยภัย คือ จระเข้
กามคุณ ๕ อย่าง...รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
เปรียบด้วยภัย คือ วังน้ำวน ใครหลงติดกามคุณทั้ง ๕ นี้ ก็จะ “ติด” เหมือนลิงติดตัง อยู่ในวังน้ำวน และมีแต่จะถูกกระแสน้ำดูดจมลงอย่างไม่ต้องสงสัย
 
มาตุคามที่พระพุทธเจ้าสอนพระอานนท์ไว้ก่อนจะเสด็จปรินิพพานว่า...ควรหลีกเลี่ยงไม่พบปะด้วย...
หากจำเป็นต้องพบปะก็ไม่ควรพูดด้วย...หากจำเป็นต้องพูดด้วยก็ต้องพูดด้วยความสำรวมมีสติ...ท่านเปรียบด้วยภัย คือ ปลาร้าย...!
 
ผู้จะผ่านพ้นโอฆสงสาร หรือห้วงน้ำใหญ่ ไปถึงพระนิพานได้ จะต้องอาศัยหลักของความเชื่อ...ต้องเชื่อมั่นในหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เชื่อมั่นในปฏิปทาทางดำเนินของครูบาอาจารย์ จะต้องมีความเชื่อมั่นแน่นอนว่า มรรคผลนิพพานเป็นของมีอยู่จริง เมื่อเราเชื่อว่า
มรรคผลนิพพานมีอยู่จริง เราก็ปฏิบัติมุ่งต่อมรรคผลนิพพานได้ เมื่อเราเชื่อว่ามนุษยสมบัติมี สวรรคสมบัติมี เราก็ทำทาน รักษาศีล ไหว้พระ เจริญเมตตาภาวนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
 

เมื่อเราเชื่อว่าจิตของเราเป็นธรรมชาติที่ไม่ตาย
รูปร่างกายเราต่างหากที่แตกดับ เมื่อเราเชื่อว่าโอวาทคำสอนของครูบาอาจารย์ เราก็ขวนขวายสร้างคุณงามความดี สร้างบุญกุศล
 เป็นอริยทรัพย์อริยบารมีฝังไว้สำหรับติดตัวเราไปทุกชาติทุกภพ จนกว่าจะถึงพระนิพพาน
 
ถ้าเราไม่เชื่อโอวาท ไม่เชื่อกรรมดีกรรมชั่ว จิตใจก็หวั่นไหวเป็นลูกคลื่นมากระทบจิตใจ สู้คลื่นแรงที่ซัดโถมมาไม่ไหวก็อาจจะจมน้ำตาย ผ่านคลื่นมาได้
หากมาติดการเห็นแก่ปากท้อง ไม่ปรารภความเพียรถูกจระเข้ร้ายฟาดฟันงับลงสู่ใต้ท้องน้ำ หรือกลายเป็นจระเข้ไปเสียเอง ดังนิมิตเกิดขึ้นฟ้องหลวงปู่ก็ได้
 
ผ่านคลื่น ผ่านจระเข้ ก็อาจมาติดวังน้ำวน มัวรัก มัวชอบ มัวหวง มัวห่วง มัวอาลัย ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เกิดความยึดถือมั่นหมายว่าเป็นของเรา
เดี๋ยวเจ็บ เดี๋ยวป่วย กลัวเป็นหนัก กลัวล้มตาย กลัวแก่ กลัวตาย ไม่แต่ร่างกายของเรา แม้ที่อยู่ ที่อาศัยก็ห่วงก็หวง กลัวชำรุด ทรุดโทรม
ร่างกายของคนอื่น ก็ห่วง ก็หวง ก็อาลัยไปด้วย จิตใจก็หวั่นไหว แหวกว่ายอยู่กลางวังน้ำวน หลงยึด หลงติด ก็ถูกกระแสน้ำดูดลงสู่วังน้ำวน เป็นวัฏฏวนตลอดไป
 
หลบคลื่น หลบจระเข้ หลบวังน้ำวน เผลอๆ อาจจะถูกปลาร้ายจับกินเป็นภักษาหาร ศิษย์ของท่านเองก็ต้องสึกหาลาเพศออกไปนักต่อนักแล้ว
ท่านจึงเตือนศิษย์เสมอถึงภัย ๔ อย่างของผู้ภาวนา

โดย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม จากหนังสือ : ฐานสโมบูชา หน้า ๙๒-๙๔
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 04, 2009, 09:13:40 AM »

วิธีสร้างสมาธิ ในการทำงาน --------------------------------------------------------------------------------


สมาธิเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการทำงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาก็ต้องมีสมาธิในการเรียน คนขับแท็กซี่ก็ต้องมีสมาธิในการขับรถ หมอก็ต้องมีสมาธิในการตรวจคนไข้ รวมถึงพวกเราหนุ่มๆ ออฟฟิศทั้งหลายก็ต้องใช้สมาธิในการทำงานด้วย เพราะสมาธิจะช่วยให้เราทำงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ใครที่รู้ตัวว่า ไม่ค่อยจะมีสมาธิในการทำงานลองมาฝึกสมาธิไปพร้อมๆ กับผมกันดีกว่า

  อย่างแรกลองฝึกขั้นง่ายๆ กันก่อน นั้นก็คือการอ่านหนังสือครับ หลายคนคงจะงง เพราะตอนนี้คุณก็กำลังอ่านอยู่ อ่านหนังสือจะฝึกสมาธิได้อย่างไร การอ่านหนังสือที่ผมแนะนำไม่ใช่การอ่านแบบกวาดสายตาผ่านๆไปแบบรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่เป็นการอ่านที่คุณห้ามละสายตาจากตัวอักษรนั้นๆ เลย เรียกว่าอ่านแบบพยายามหาว่ามันมีตัวไหนที่เขาเขียนผิดหรือเปล่า ค่อยๆ อ่านครับ ไม่ต้องรีบ แรกๆ ลองตั้งเวลาสัก 5 นาทีก่อน ถ้าคุณทำได้โดยที่คุณไม่ละสายตาไปสนใจสิ่งรอบข้าง ครั้งต่อไปคุณก็เพิ่มเวลาเป็น 10 นาที 15 นาที แล้วคุณจะมีสมาธิกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่มากขึ้น

ขั้นต่อมา ลองตั้งใจฟังบ้างครับ เพราะหลายๆ คน บางครั้งเจ้านายสั่งอย่างแต่เรากลับไปทำอีกอย่าง ของแบบนี้มันก็ต้องมีผิดพลาดกันได้บ้าง แต่คุณควรจะแก้ไขโดยฝึกสมาธิในการรับฟังครับ โดยเริ่มจากการฟังเทปบันทึกเสียงหรือคำสอนต่างๆ ที่ไม่ใช่เพลง เพราะถ้าเป็นเพลงคุณอาจจะเพลิดเพลินกันจนไม่ได้จับใจความสำคัญ ฝึกไปเรื่อยๆ เลยครับ จนคุณแทบจะจำทุกคำพูดในเทปนั้นได้คราวนี้จะได้มีสมาธิในการฟัง

อีกขั้นตอนหนึ่ง ลองลงมือจัดเอกสารต่างๆ ของคุณให้มันเป็นที่เป็นทางก็ นับเป็นการฝึกสมาธิให้คุณได้ เพราะขณะที่คุณจัดเอกสารอยู่ คุณก็ต้องนึกว่าเอกสารฉบับนี้เราวางไว้ตรงนี้ ฉบับนั้นเราวางไว้ในตู้ อะไรทำนองนี้ เรียกว่าเป็นการย้ำความจำของเราอีกที แถมพอคราวหน้าเรามาหาเอกสารฉบับนั้นๆ ก็จะได้ไม่ต้องรื้อโต๊ะกันให้วุ่นอีกด้วย

ต่อมาลองจัดลำดับความสำคัญของงานดูว่างานไหนสำคัญที่สุด ถ้าคุณยังนึกไม่ออก ก็ลองนึกดูว่างานชิ้นไหนของคุณทำแล้ว คนอื่นๆ สามารถรับงานต่อจากคุณได้ หรือเป็นงานเร่งจริงๆ ถ้าไม่ได้ภายในชั่วโมงนี้หรือวันนี้ คนอื่นจะได้รับความเดือดร้อน นั้นแหละครับ รีบทำไปก่อนเลย คราวนี้คุณก็ไล่งานอื่นๆดูว่าต้องอันไหนต่อ เป็นการทวนตัวเองด้วยว่าวันนี้คุณมีงานอะไรต้องทำบ้าง

ข้อสุดท้ายครับ ทัศนคติกับงานที่คุณทำอยู่ถ้า ใครมีทัศนคติไม่ดีกับงานที่ตัวเองทำอยู่ ต่อให้เทพก็ไม่สามารถที่จะมีสมาธิในการทำงานได้ เพราะคุณจะหาแต่ข้ออ้างมาปฏิเสธงานต่างๆ ที่เข้ามา เพราะฉะนั้นคุณควรปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ เพื่อการทำงานที่ราบรื่น

แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องเป็นตัวคุณเอง ที่ต้องฝึกทั้งสมาธิ ฝึกทั้งการควบคุมอารมณ์ของตนเอง เมื่อจิตใจสงบ มีสมาธิสติในการทำงานก็จะตามมา งานของคุณก็จะผิดพลาดน้อยลงครับ
บันทึกการเข้า
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 04, 2009, 04:34:27 PM »

<a href="http://winai.leksound.net/c77c4347ead553e747ff00e99f2792c8.wma" target="_blank">http://winai.leksound.net/c77c4347ead553e747ff00e99f2792c8.wma</a>
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: