ธรรมะที่ไม่ชรา...
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะที่ไม่ชรา...  (อ่าน 2120 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2009, 06:49:26 AM »

ธรรมะที่ไม่ชรา...
เรานั้นจะต้องตายร่างกายนี้จะต้องเน่าเปื่อยผุพังไป ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา
คนที่เกิดก่อนเราตายก่อนเราก็มี ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้
คนที่เกิดพร้อมเราตายก่อนเราก็มี ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้
คนที่เกิดทีหลังเราตายก่อนเราก็มี ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้

นี่แสดงว่าไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เราไม่มีในร่างกายร่างกายไม่มีในเรา
ละสักกายทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นในกายนี้ว่าตัวว่าตนออกไปเสียจากใจ
คนเราพอมันไม่ห่วงอะไรไม่อาลัยในสิ่งใด ใจมันก็เป็นสุข ไม่เสียดายชีวิต

จิตนั้นก็สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายได้ ทำลายสังโยชน์ 3 ได้ไปพร้อมกัน
บรรลุปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ โสดาปัตติมัคคตั้งมั่นประดิษฐานในจิต ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน
มีจิตน้อมไปในนิพพาน มีใจเอนไปในนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า เข้าสู่กระแสพระนิพพาน
มีวิตก วิจารในนิพพาน มีปีติ มีสุข และเอกคตารมณ์
จิตเป็นกุศลหลุดพ้นจากโลก หลุดพ้นจากบ่วงโลกีย์ได้แน่นอน



ราชรถอันวิจิตยังมีวันคร่ำคร่า
อนึ่งแม้สรีระก็ย่อมเข้าถึงชราโดยแท้
แต่ว่าธรรมของสัตตบุรุษหาเข้าถึงชราไม่
สัตตบุรุษกับสัตตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้




ขอบคุณบทความจากธรรมะไทย


บันทึกการเข้า

Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 01, 2009, 06:09:31 PM »

ความไวของสติ

--------------------------------------------------------------------------------

สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันระหว่างวิปัสสนากรรมฐานกับสมถกรรมฐาน
ก็คือ เมื่อฝึกถึงจุดที่มีสติไวขึ้น
วิปัสสนากรรมฐานจะสามารถปฏิบัติในระหว่างวันได้โดยไม่จำเป็น
ต้องนั่งสมาธิเป็นเวลานานเหมือนสมถะชั่วเวลาเพียงแค่สองสามวินาที
ก็สามารถปฏิบัติวิปัสสนาได้


แม้ระหว่าง ขับรถ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือเข้าห้องน้ำ
เพราะวิปัสสนาจะใช้เพียงขนิกสมาธิ(สมาธิชั่วขณะ)
พระพุทธองค์ตรัสว่า เพียงแค่ชั่วเวลาช้างกระดิกหู
ถ้าสามารถใช้สติเข้าไปจับแบบวิปัสสนา
ก็จะได้บุญมหาศาลถึงขนาดตัดภพตัดชาติ

แน่นอนสำหรับผู้เริ่มต้น ต้องฝึกวิปัสสนากรรมฐานแบบนั่งสมาธิ
และเดินจงกรมสลับกันไป เพราะสติยังไม่แข็งแรงพอ
ในช่วงเวลาเริ่มแรก ผู้ที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐานจะรู้สึกทรมานกว่า
ผู้ที่ฝึกสมถกรรมฐาน แต่เมื่อฝึกถึงระดับที่บรรลุญาณ
และสามารถใช้สติเข้าไปจับปรากฎการณ์ต่างๆของธรรมชาติรอบๆตัว
รวมไปถึงธรรมชาติภายในตัว จนเข้าใจธรรมชาติอย่างที่เป็นจริง
มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

ยิ่งสติไวยิ่งเห็นละเอียด และเห็นอย่างที่คนอื่นไม่เห็น
เช่น แสงเทียนที่ลุกโชติช่วงดูราบเรียบเย็นตา
ถ้ามองด้วยจิตวิปัสสนาจะเห็นแสงนั้นเกิด ดับ เกิด ดับ
เป็นจำนวนนับหมื่นครั้งต่อนาที

พระพุทธองค์ไม่ทรงเน้นให้ใช้จิตที่ฝึกแล้วแบบวิปัสสนาไปจับการเกิด ดับ
ทางกายภาพ แม้ว่าจะสามารถนำไปสู่การค้นพบอันยิ่งใหญ๋
แบบที่ นิวตัน หรือไอสไตน์ค้นพบก็ตาม

เพราะถึงมนุษย์จะเกิดปัญญาในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆรอบตัว
แต่ไม่เคยวิเคราะห์สภาพจิตภายในของตนเอง
การค้นพบทางกายภาพเหล่านั้นก็ไม่มีทางที่จะลดกิเลส
ตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ของมนุษย์ได้
ดังนั้นจึงไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง

ผลพลอยได้ในทางโลกจากการฝึกวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายเช่น
นักกีฬาที่ฝึกวิปัสสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
จะมีการเคลื่อนไหวทางกายที่ละเอียดและไวกว่าคู่ต่อสู้

นักธุรกิจที่ฝึกสติอย่างสม่ำเสมอ
จะเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคก่อนคู่แข่ง ฯลฯ

แม้จะมีสติที่ไวกว่าปกติ สามารถนำไปใช้ในทางโลกจนประสบผลสำเร็จ
ในอาชีพ ทางธุรกิจ ทางการแข่งขัน ฯลฯ
แต่สำหรับผู้ที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นนิจจะเกิดความเบื่อหน่าย
เพราะรู้เท่าทันความสำเร็จ รู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆที่ผุดขึ้นในแต่ละวัน
เกิด ดับ เกิด ดับ เกิด ดับ วันหนึ่งๆเป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง

จนรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่จีรังยั่งยืนเลย
ไม่ใช่ความสุขที่จริงแท้ ในที่สุดจะเกิดปัญญา
ต้องการที่จะหลุดพ้นจากวังวนเหล่านี้

ตามปกติของผู้ที่ไม่เคยฝึกสติ จะเห็นปรากฎการณ์การ เกิด ดับ
ของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ต่างๆช้ากว่าผู้ที่ฝึกสติ
อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสามเท่าตัว เช่น ในวัยเด็ก
เราเคยเล่นเป่าฟองสบู่ ฟองสบู่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ประมาณ 3 วินาที
ก็แตกออกและดับไป แต่สำหรับผู้ที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน
จะเห็นการเกิด ดับ เหลือเพียง 1 วินาที

ช่วงเวลา 3 วินาที ที่ฟองสบู่ลอยละล่องทำให้เกิดความสนุก ความยินดี
แต่จิตของวิปัสสนาที่เห็นมันดับอย่างรวดเร็วจะไม่หลงเหลือความสนุกอยู่
และยิ่งสติไวขึ้น จนในที่สุดจะเห็นว่าการเกิดการดับเกิดขึ้นเร็วมาก
จนรู้ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นของปลอม
ความสุขความสนุกที่เกิดขึ้นก็เป็นของปลอม


ฟองสบู่เป็นเพียงการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพ
แต่ความจริงแล้วสิ่งต่างๆที่ผุดขึ้นในแต่ละวันทั้งจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
และจากใจเราเอง คือ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ราคะ โทสะ โลภะ โมหะ
เมื่อเกิดภาวนามยปัญญา หยั่งรู้เห็นการเกิด ดับ
รู้เท่าทันมัน


พอมันเกิดขึ้นก็พอใจ พอแตกดับก็เสียใจ
เหมือนถูกธรรมชาติลูบหัวแล้วตบหลัง
แต่จิตแบบวิปัสสนาจะทำให้ความสุขจากการถูกลูบหลังลดลงเรื่อยๆ
และเห็นความทุกข์จากการถูกตบหัวชัดขึ้นเรื่อยๆ
สุขปลอมๆแต่ทุกข์จริง วนไปแบบนี้ตลอดกาล
ก็จะยิ่งรู้สึกว่าต้องหลีกหนีสิ่งมายาเหล่านี้ไปให้ไกล
เมื่อนั้นเราจะเกิดแรงขับ พยายามปฏิบัติธรรม
กำหนดสติให้ถึงจุดที่หลุดพ้นให้ได้
เพื่อเข้าสู่ความจริงอันสูงสุด ความสุขที่จริงแท้และเป็นนิรันดร์

ธรรมดลใจ เรียบเรียงจากบทความของ ท.พ. สม สุจีรา

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
บันทึกการเข้า
sirirrin
สนับสนุนLSV-server
member
***

คะแนน180
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 301



« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 01, 2009, 09:12:31 PM »


สาธุ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: