การศึกษาพระอภิธรรม
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การศึกษาพระอภิธรรม  (อ่าน 1727 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 02:50:09 PM »

การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรม                     
เกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรม                                 
 จึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณ ของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง
การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติ การทำงานของ กายและใจ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเรา และสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ), เรื่องเจตสิก, เรื่องอำนาจจิต, เรื่องวีถีจิต, เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม, เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด, เรื่องสัตว์ในภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส ทำให้รู้ว่าชีวิตของเรา               ในชาติปัจจุบันนี้ มาจากไหนและมาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้ว ก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและไป ได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยง ระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยว่า ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม (วิบาก) อย่างละเอียดลึกซึ้ง
ผู้ศึกษาพระอภิธรรม จะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตามธรรมชาติ           ในพระอภิธรรม จะแยกสภาวะออกให้เห็นว่า ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไรทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย                   โดยอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยอุดหนุน ซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับ          ไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา นานแสนนานไม่รู้กี่แสนชาติ กี่ ล้านชาติมาแล้ว            ที่สืบต่อกันอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาวธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้ โดยไม่มีเวลาหยุดพักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้ มิใช่เกิดขึ้นจาก                  พระผู้เป็นเจ้า พระพรหม พระอินทร์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง               แต่สภาวธรรมเหล่านี้ เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง
การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง                                               
อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึง นั่นก็คือ นิพพาน
นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลส ตัณหาแล้วนั้น                     
เมื่อสิ้นชีวิตลง ก็จะไม่มีการสืบต่อ ของจิต+เจตสิก และ รูปอีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่า นิพพานเป็นธรรมชาติ               ที่ปราศจากกิเลส ตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง และเป็นธรรมชาติที่พ้นจากขันธ์ ๕ นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดี ที่เป็นอมตะ และเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วนๆ ตลอดนิรันดร์กาล ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุด ในพระพุทธศาสนา
เพราะแค่การให้ทาน รักษาศีล และการเจริญสมาธิก็ยังมิใช่ คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุ ให้ต้องเกิดมารับ ผลของกุศลเหล่านั้นอีก
ท่านเรียกว่า วัฏฏกุศล เพราะกุศลเหล่านี้ยังไม่ทำให้ พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด                     
 คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนว                       
มหาสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่า..... ทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป)
มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา         
หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะนำไปสู่การประหาณกิเลส และเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด
การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนา
ซึ่งต้องมีนามธรรม (จิต + เจตสิก )
และรูปธรรม (รูป) เป็นอารมณ์
เมื่อกำหนดอารมณ์ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ถูกต้อง                                           
การปฏิบัติก็ย่อมได้ผล ตามที่ต้องการ
การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุด ไม่มีวิทยาการใด ๆ                   
ในโลกที่ศึกษาแล้ว จะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกได้เท่ากับ การศึกษาพระอภิธรรม
การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษา
หลักธรรมคำสอน ของพระพุทธองค์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง
และเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงถาวรตลอดไป ..

เว็ปศึกษาพระอภิธรรมครับ
http://www.buddhism-online.org/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: