พิมพ์หน้านี้ - การชำระหนี้ด้วยเหรียญมีข้อจำกัด??

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 22, 2012, 03:18:02 PM



หัวข้อ: การชำระหนี้ด้วยเหรียญมีข้อจำกัด??
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 22, 2012, 03:18:02 PM
หากโดนใบสั่งปรับ 1,000 บาท หรือไปซื้อรถยนต์ราคา 1,000,000 บาท เราสามารถแคะกระปุกเอาเหรียญบาทที่สะสมไว้ไปจ่ายได้หรือไม่? ในเมื่อก็เป็นเงินเหมือนกัน

          ผู้รับเงินหรือคนขายสามารถปฏิเสธไม่รับได้หรือไม่? ถ้าปฎิเสธแล้วใครผิด ใครถูก
หากมองในแง่ของมูลค่าไม่ว่าจะเป็น เช็ค ธนบัตร หรือเหรียญ ย่อมมีมูลค่าไม่ต่างกัน
          เหรียญบาท 1,000 เหรียญ มีค่าเท่ากับ ธนบัตรพันบาท 1 ใบ

          แต่เงินเหรียญย่อยๆ นั้น แม้จะมีมูลค่าน้อย แต่กลับมีน้ำหนักมากกว่าธนบัตรหลายเท่า เพื่อไม่ให้คนขายลำบากจนเกินไปจึงมีกฎหมายกำหนดมูลค่าสูงสุดที่สามารถชำระด้วยเหรียญชนิดต่างๆ ไว้ เช่น

          “เหรียญกษาปณ์ราคาหนึ่งบาทหรือยี่สิบบาท เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย คราวละไม่เกินจำนวนห้าร้อยบาท”
แปลว่า ถ้าซื้อของราคา 500 บาท เราสามารถจ่ายด้วยเหรียญบาท 500 เหรียญ คนขายไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ
แต่ถ้าของมีมูลค่าเกินกว่านั้น เช่น ราคา 501 บาท หากเราจ่ายด้วยเหรียญบาทล้วนๆ คนขายมีสิทธิ์ไม่รับได้ เพราะเกินกว่ามูลค่าที่กฎมายกำหนด

ส่วนเหรียญอื่นๆ มีมูลค่าสูงสุดที่ชำระได้ในคราวเดียวแตกต่างกันไป ดังนี้

(http://www.vcharkarn.com/uploads/257/257386.jpg)


(http://www.vcharkarn.com/uploads/257/257386.jpg)
    ในทางปฏิบัติ แม้จะมีกฎหมายกำหนดมูลค่าสูงสุดไว้ แต่ไม่ได้กำหนดบทลงโทษเมื่อไม่ปฏิบัติตามไว้ นั่นคือแม้เราจะจ่ายเงิน เหรียญบาทล้วนเป็นล้านเหรียญ ถ้าผู้รับยินยอมก็สามารถทำได้
ส่วนกรณีของผู้ขาย หากลูกค้าจ่ายเงินเหรียญบาท 500 ร้อยเหรียญ ก็สามารถปฏิเสธได้โดยไม่มีความผิด เพียงแต่จะจะมาเรียกร้องว่า "ลูกค้าไม่ยอมจ่าย" ไม่ได้ เพราะถือว่าลูกค้าได้ชำระหนี้ตามกฎหมายอย่างถูกต้องแล้ว

          ในต่างประเทศ มีกรณีลูกหนี้จ่ายเงิน £800 ด้วยเหรียญทองแดง คิดน้ำหนักแล้วประมาณ 166 กิโลกรัม เจ้าหนี้ก็เลยฟ้องศาล
ปรากฎว่าศาลตัดสินให้จ่ายเงินด้วยวิธิการที่เหมาะสม เพราะ £800 เป็นมูลค่าที่สูงเกินกว่าที่จะจ่ายด้วยเหรียญย่อยๆ (มูลค่าสูงสุดที่ให้ชำระได้ด้วยเหรียญคือ £10)


 สรุปคือ การชำระหนี้ด้วยเหรียญมีมูลค่าสูงสุดที่สามารถชำระได้ในคราวเดียวอยู่ หากเกินกว่านั้นผู้รับชำระมีสิทธิ์ที่จะไม่รับเงินจำนวนนั้น โดยถือว่า "ยังไม่ได้ชำระเงิน"

          ส่วนธนบัตรแม้จะไม่มีกฎหมายที่กำหนดมูลค่า "ขั้นสูง" ของการชำระหนี้ไว้ แต่ดูเหมือนในทางปฏิบัติจะมีการกำหนดมูลค่า "ขั้นต่ำ" เอาไว้โดยปริยาย ถ้าไม่เชื่อ ลองจ่ายค่ารถเมล์ด้วยแบงค์พันดูสิครับ ;)
ที่มา วชาการ.คอม


หัวข้อ: Re: การชำระหนี้ด้วยเหรียญมีข้อจำกัด??
เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ กันยายน 25, 2012, 08:28:04 PM
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ พี่ b.chaiyasith   lsv-smile