.สึนามิถล่มญี่ปุ่น!!บ้านรถลอยเกลื่อนหลายประเทศเตือนสึนามิ 11 มีค. 53.
ช่างเล็ก(LSV):
อพยพ3แสนคนรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นหลังเหตุบึ้ม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 12 มี.ค.บรรษัทกระจายเสียงของญี่ปุ่น (เอ็นเอชเค) รายงานว่า ทางการจังหวัดฟูกูชิมา ตรวจพบกัมมันตภาพรังสีระดับสูง ใกล้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมาหมายเลข 1 วานนี้ (12 มี.ค.) โดยระดับกัมมันตภาพรังสีเพิ่มขึ้นเป็น 1,015 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง คิดเป็นสองเท่าของระดับซึ่งถือว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่บริษัทพลังงานจะ ต้องแจ้งต่อทางการ
สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นระบุ ว่า บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ เจ้าของโรงไฟฟ้าดังกล่าว ตรวจพบระดับกัมมันตภาพรังสีเมื่อเวลา 15.23 น.ตามเวลาท้องถิ่น ก่อนมีรายงานการระเบิดที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ โดยเหตุระเบิดทำให้กำแพงและเพดานของอาคารหลังหนึ่งพังถล่ม มีคนงานได้รับบาดเจ็บหลายคน
เจ้าหน้าที่บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าว เปิดเผยว่า คนงานที่ได้รับบาดเจ็บเป็นพวกที่เข้าไปกอบกู้ระบบหล่อเย็นให้กับเตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ และลดแรงดันในเครื่องปฏิกรณ์ เพื่อป้องกันการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิง
ระบบหล่อเย็นของเครื่อง ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้าดังกล่าว ขัดข้องหลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันศุกร์ (11 มี.ค.) ทำให้อุณหภูมิภายในเครื่องร้อนขึ้น จนอาจถึงขั้นทำให้เกิดการหลอมละลายขึ้นภายใน
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) รายงานว่า ได้รับทราบข่าวการระเบิดที่โรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นแล้ว และกำลังสอบถามข้อมูลจากทางการญี่ปุ่น
ส่วน เจ้าหน้าที่กระทรวงฉุกเฉินรัสเซียแถลงว่า รัสเซียกำลังเร่งตรวจสอบระดับรังสีในภาคตะวันออกไกล ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการหลอมละลายในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่น
เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นทำให้ทางการญี่ปุ่นประกาศ ขยายพื้นที่การอพยพจากเดิมในรัศมี 10 กิโลเมตร เป็น 20 กิโลเมตร ขณะที่การอพยพรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าหมายเลข 2 ขยายจาก 3 กิโลเมตร เป็น 10 กิโลเมตร โดยได้เร่งอพยพประชาชนราว 3 แสนคนออกจากพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าว
ขอบคุณภาพจาก ..ฟิสิกส์ราชมงคล nhk
ช่างเล็ก(LSV):
14 มีค. 2554 09:52 น.
สำนักข่าว NHK ของญี่ปุ่นรายงาน เมื่อเวลา 11.01 ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุระเบิดที่ อาคารหมายเลข 3 ของ โรงไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 1 ใน ฟูคุชิมะ มีควันสีขาวฟุ้งกระจาย มีรายงานว่า เตาปฏิกรณ์ไม่มีความเสียหาย ขณะนี้กำลังสอบสวนหาสาเหตุ ทางการสั่งอพยพประชาชนที่อยู่ภายในรัศมี 20 กิโลเมตร
-------------------------------------------------
สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด!?!? หรือว่าฟุกุชิมาจะเป็น Chernobyl รอบสอง?
13 มีนาคม 2011- โรงไฟฟ้าฟุกุชิมาอาจจะมีระเบิดอีกครั้ง
คนที่ติดตามข่าวช่วงเมื่อหัวค่ำคงทราบแล้วว่าตอนนี้ทางการญี่ปุ่นได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเพิ่มกับเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 แล้ว (Fukushima Daiichi Plant)
Yukio Edano เลขาธิการคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น (Chief Cabinet Secretary) แถลงว่า เนื่องจากความร้อนที่สะสมภายในเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต แม้ว่าก่อนหน้านี้จะได้มีการเปิดวาล์วเพื่อปล่อยไอน้ำบางส่วนออกมาและปั๊มน้ำเย็นเข้าไปแทนที่ แต่ด้วยความผิดพลาดทางเทคนิคบางประการ ดูเหมือนน้ำทะเลจะปนเข้าไปด้วยทำให้กระแสน้ำไหลเข้าไม่คงที่ การแก้ไขจึงกินเวลานานกว่าที่ควรจะเป็น ช่างเทคนิคของ TEPCO คาดว่าตอนนี้ในเตาปฏิกรณ์ที่ 3 น่าจะมีปริมาณของก๊าซไฮโดรเจนสะสมในปริมาณมาก หากปล่อยให้เจอกับก๊าซออกซิเจนและประกายไฟก็มีโอกาสที่จะระเบิดตูมตามกันอีกรอบได้ (เมื่อวานระเบิดที่เตาปฏิกรณ์ที่ 1 ก็มีสาเหตุมาจากไฮโดรเจนที่สะสมนี่แหละ)
เหตุการณ์ของเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ในตอนนี้จึงอยู่ในภาวะตึงเครียดอย่างที่สุด หากเปิดระบายก๊าซไม่ถูกวิธี ก็จะเกิดระเบิด หากไม่เปิดเลย ก็มีความเสี่ยงที่ความดันและอุณหภูมิในเตาปฏิกรณ์สูงจนแท่งเชื้อเพลิงหลอมละลาย
ถ้านั่นยังฟังแล้วน่ากลัวไม่พอ เตาปฏิกรณ์ที่ 3 ยังมีความพิเศษอีกอย่าง นั่นคือเชื้อเพลิงในเตาที่ 3 มีส่วนผสมของพลูโตเนียมกับยูเรเนียม ไม่ใช่แค่ยูเรเนียมอย่างเดียวเหมือนอย่างในเตาที่ 1
ข้อดีของการผสมพลูโตเนียมลงไปในแท่งเชื้อเพลิง คือ มันให้พลังงานความร้อนได้เร็วกว่าและมากกว่ายูเรเนียมอย่างเดียว (นี่เป็นสาเหตุที่พลูโตเนียมเป็นที่นิยมใช้ในหัวรบนิวเคลียร์ด้วย) ด้วยข้อดีนี้เองทำให้ในวินาทีนี้มันอันตรายยิ่งกว่า เพราะเกิดความร้อนสะสมมากกว่า นอกจากนี้พลูโตเนียมออกไซด์ยังติดไฟได้ด้วย
(ตามธรรมชาติของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน แม้ว่าในขั้นตอนการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจะใส่แค่ยูเรเนียมลงไปอย่างเดียว พอเวลาผ่านไปก็จะมีพลูโตเนียมเกิดขึ้นด้วย แต่การใส่พลูโตเนียมลงไปในขั้นตอนการผลิตเลยนั้นจะส่งผลให้เชื้อเพลิงมีความเข้มข้นของพลูโตเนียมสูงกว่านั้นมาก)
ตอนนี้ TEPCO กำลังปั๊มน้ำทะเลผสม boric acid เข้าไปเพื่อหยุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ (ตามทฤษฏี ธาตุ Boron ใน boric acid จะจับกับนิวตรอนยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันไม่สามารถเกิดต่อไปได้)
*****************************************************************
เมื่อเวลาประมาณ 15:36 น. ของเมื่อวานนี้ (12 มีนาคม 2011) มีรายงานว่าเกิดเสียงระเบิดที่บริเวณเตาปฏิกรณ์ที่ 1 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาโรงที่ 1 (Fukushima Daiichi Plant) ตามมาด้วยภาพฝุ่นควันพวยพุ่งและกำแพงที่ถล่มลงมาทั้งด้าน ประกอบกับข่าวรายงานการตรวจพบกัมมันตรังสีและสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลทำให้ทั่วโลกวิตกกังวลว่าฟุกุชิมาจะเป็น Chernobyl รอบสองหรือไม่
อย่างแรก คือ เรื่องการระเบิดที่เกิดเมื่อวาน
แทบจะในทันทีที่เกิดแผ่นดินไหว Tokyo Electric Power Company (TEPCO) ได้สั่งหยุดเครื่องเตาปฏิกรณ์ของทั้งสองโรงไฟฟ้าในฟุกุชิมาทุกเตา ซึ่งเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน เนื่องจากเป็นจุดที่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวมากเกินกว่าจะเสี่ยงเดินเครื่องต่อไปได้
การหยุดเครื่องเตาปฏิกรณ์ที่เป็นแบบ boiling water reactor (BWR) นั้นทำได้โดยการจุ่มแท่งควบคุม (control rod) ลงไปในเตาปฏิกรณ์ แท่งควบคุมนี้จะทำหน้าที่กันไม่ให้นิวตรอนจากแท่งเชื้อเพลิงแท่งหนึ่งวิ่งไปชนแท่งเชื้อเพลิงอีกแท่ง เป็นการลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่
ปัญหาที่ตามมาจากการหยุดเครื่องเตาปฏิกรณ์ คือ ความร้อนที่สะสมในเตาปฏิกรณ์ เนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในแท่งเชื้อเพลิงยังไม่หยุดไปเสียทีเดียว ในภาวะปกติของระบบ BWR จะมีปั๊มน้ำดึงน้ำเย็นเข้ามาหล่อเลี้ยงแท่งเชื้อเพลิงตลอดเวลา (ไอน้ำที่เกิดจากการระเหยของน้ำหล่อเย็นก็จะถูกใช้ในการปั่นกังหันเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้านั้นเอง -- ดูภาพประกอบได้จาก Infographic ของ Live Science ท้ายข่าว) แต่เมื่อเครื่องหยุดทำงาน ปั๊มน้ำก็ต้องหยุดไปด้วยโดยปริยาย ความร้อนสะสมนี้จะทำให้น้ำที่อยู่ในปฏิกรณ์ระเหยเป็นไอ และถ้าหากปล่อยไปเรื่อยๆ ความดันไอน้ำจะมากพอจน "ตู้มมมมมมม!"
TEPCO แก้ปัญหานี้โดยเอาเครื่องปั๊มดีเซลมาปั๊มน้ำเข้าไปแทนชั่วคราวจนกว่าปฏิกิริยาทั้งหมดจะดับลง แต่ด้วยไม่รู้สาเหตุอะไร เครื่องปั๊มดีเซลทำงานได้เพียงประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น เลยต้องพึ่งพลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ซึ่งก็ซื้อเวลาได้อีกเพียงไม่กี่ชั่วโมง
เมื่อหมดปัญญากับเครื่องปั๊มน้ำแล้ว TEPCO จึงดึงแผนสำรองที่สองออกมาใช้ นั่นคือการเปิดวาล์วปล่อยไอน้ำบางส่วนออกมาจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อลดความดันในเตา ไอน้ำเหล่านี้มีการปนเปื้อนกัมมันตรังสีอยู่เล็กน้อย ส่วนใหญ่เกิดจากไอโซโทปของไนโตรเจน-16 ซึ่งนี่เองเป็นสาเหตุว่าทำไมเมื่อวานจึงมีรายงานข่าวว่าพบปริมาณกัมมันตรังสีรอบๆ เตาปฏิกรณ์สูงกว่าระดับปกติถึง 1,000 เท่า นักวิทยาศาสตร์และทาง TEPCO ยืนยันว่าไอโซโทปเหล่านี้มีอายุสั้น ดังนั้นมันจะไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
ทุกอย่างดูดี แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะสิ่งที่ออกมาพร้อมๆ กับไอน้ำ คือ ตัวการของการระเบิดเมื่อวานนี้
ไฮโดรเจน นั่นเอง
ไฮโดรเจนมาจากไหน? และเกี่ยวอะไรด้วย?
แท่งเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแบบ BWR คือ ยูเรเนียมหุ้มด้วยโลหะ zirconium หลอมเป็นแท่งทรงกระบอก ซึ่งถ้ามันจุ่มอยู่ในน้ำเหลวๆ ตามปกติที่มันควรเป็นก็จะไม่มีปัญหาอย่างใด แต่ในกรณีของเมื่อวานนั้น คาดการณ์กันว่าน้ำในเตาปฏิกรณ์จะระเหยเป็นไอมากจนทำให้แท่งเชื้อเพลิงบางส่วนโผล่ขึ้นพ้นระดับน้ำ ประกอบกับอุณหภูมิที่สูงมากเกิน 1,500 องศาเซลเซียส ทำให้ zirconium ที่หุ้มอยู่ทำปฏิกิริยากับไอน้ำอย่างรวดเร็ว เกิดเป็น zirconium oxide (จะเรียกว่าเป็นสนิมของ zirconium ก็ได้) และไฮโดรเจน
ไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่ติดไฟในอากาศที่มีออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง ตอนที่มันยังอยู่ในเตาปฏิกรณ์ มันก็ไม่มีปัญหาอะไรมากหรอก เพราะในเตาปฏิกรณ์ไม่มีออกซิเจนมากพอจะทำให้เกิดติดไฟได้ แต่เมื่อ TEPCO เปิดวาล์วปล่อยไอน้ำออกมาเท่านั้นแหละ ไฮโดรเจนซึ่งเป็นก๊าซที่เบากว่าไอน้ำก็ออกมาด้วย (จริงๆ ต้องพูดว่ามันวิ่งนำหน้าออกมาด้วยซ้ำ)
ดูรายงานของ TEPCO และทางการญี่ปุ่น การระเบิดเมื่อวานกระทบเพียงโครงสร้างอาคารและกำแพงที่เป็นปูนซีเมนต์เท่านั้น ส่วนโลหะที่ครอบเตาปฏิกรณ์ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด แม้ภาพที่ออกมาจะดูรุนแรงไปสักหน่อยก็ตาม (แค่กำแพงหายไปหนึ่งแถบเอง) เชื้อเพลิงยังคงสบายดีอยู่ในเตาปฏิกรณ์ ไม่มีหลุดออกมาวิ่งเล่นข้างนอก
อย่างที่สอง คือ ความกังวลเกี่ยวกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ยังร้อนจัดอยู่ในเตาปฏิกรณ์
นอกจากเมื่อวานจะมีการตรวจพบกัมมันตรังสีรั่วออกมาแล้ว ยังมีของแถมอีกอย่างเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของ cesium ซึ่งสร้างความตระหนกตกใจให้กับนักวิทยาศาสตร์พอสมควร
กรณีของ cesium นี้มีนัยยะอันตรายกว่าการระเบิดเมื่อวานด้วยซ้ำ เนื่องจากมันเป็นสัญญาณว่ามีอะไรผิดปกติกับแท่งเชื้อเพลิงแล้ว cesium และไอโซโทปธาตุกัมมันตรังสีอื่นๆ เช่น ไอโอดีน คือสิ่งที่เรียกว่า fission fragment ที่ได้จากการสลายตัวของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ตามปกติมันควรจะถูกกักอยู่ในแท่งเชื้อเพลิง การที่พบ cesium หลุดออกมาอยู่ข้างนอกเตาปฏิกรณ์จึงสามารถแปลผลได้ว่าแท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์เกิดการรั่วแล้ว นักวิทยาศาสตร์คาดกันว่าน่าจะเป็นเพราะแท่งเชื้อเพลิงโผล่พ้นน้ำนานเกินไป จนทำให้ zirconium ที่หุ้มอยู่ทำปฏิกิริยากับไอน้ำแล้วหลุดลอกออกไปบางส่วน ตอนนี้ทาง TEPCO ยังไม่เผยรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้
แผนรับมือขั้นสุดท้ายที่ TEPCO กำลังงัดออกมาใช้ คือ การปั๊มน้ำทะเลผสม boric acid เข้าท่วมเตาปฏิกรณ์ที่ 1 ตามทฤษฎีแล้ว boron ใน boric acid จะเข้าไปหยุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในแท่งเชื้อเพลิง น้ำทะเลจะเข้าไปทำให้แกนแท่งเย็นลงและกัดกร่อนจนแท่งเชื้อเพลิงใช้งานไม่ได้อีกต่อไป พูดกันง่ายๆ คือ ปิดกิจการเตาที่ 1 ถาวรไปเลย
เป็นไปได้ว่า TEPCO อาจจะตัดสินใจปิดเตาปฏิกรณ์อันอื่นในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 ทิ้งไปพร้อมกันทั้งโรงด้วย เนื่องจากโรงไฟฟ้านี้ก็เปิดทำการมาตั้งแต่ปี 1971 และก็ใกล้จะเข้าสู่วาระเกษียณเต็มทีอยู่แล้ว
อย่างที่สาม คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมามีโอกาสดำเนินรอยตามรุ่นพี่อย่างที่ Chernobyl และ Three Mile Island หรือไม่
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าความกังวลที่ฟุกุชิมาตอนนี้ในแบบที่เลวร้ายสุดๆ (Worst case scenario) คือ "การหลอมละลาย" ของแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นภาวะที่แตกต่างจากสาเหตุการระเบิดที่ Chernobyl ปี 1986 (อันนั้นเกิดจากความดันไอน้ำสะสมจนแท่งกราไฟต์ในเตาปฏิกรณ์ระเบิด ส่งธาตุกัมมันตรังสีข้างในพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโดยรอบมากมาย -- ซึ่งฟุกุชิมาไม่ใช้แท่งกราไฟต์แบบที่ว่า) และโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาก็ได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยสูงกว่าที่ Chernobyl อยู่มากโข
การหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงเกิดจากการที่แท่งเชื้อเพลิงมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนเกินขีดจำกัด โลหะที่ครอบแท่งเชื้อเพลิงอยู่จะระเบิดแตกออกไป สารกัมมันตรังสีที่เป็น fission fragments ทั้งหลายก็จะหลุดลอยออกสู่อากาศ ส่วนเชื้อเพลิงข้างในจะค่อยๆ หลอมเหลวและไหลหลุดออกมาจากแท่ง เชื้อเพลิงหลอมเหลวพวกนี้บางส่วนจะติดไฟ บางส่วนจะไหลลงก้นถังเตาปฎิกรณ์และหลอมจนตัวถังทะลุ และถ้าเชื้อเพลิงเหล่านี้ยังไม่หมดความบ้าพลัง มันก็จะหลอมโลหะที่ครอบเตาด้วย ทำให้เกิดการรั่วไหลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไปสู่สิ่งแวดล้อม คล้ายๆ กับที่เกิดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Three Mile Island ปี 1979
ปัจจุบัน ทางการญี่ปุ่นจัดให้เหตุการณ์ในฟุกุชิมาอยู่ในระดับ 4 หรือระดับ "อุบัติเหตุที่กระทบพื้นที่ระดับท้องถิ่น" ตามเกณฑ์ของ International Nuclear and Radiological Event Scale ซึ่งมีระดับตั้งแต่ 1-7 นับจากต่ำสุดไปสูงสุด เหตุการณ์ที่ Three Mile Island อยู่ในระดับ 5 ส่วน Chernobyl ครองแชมป์หายนะตลอดกาลด้วยระดับสูงสุด 7
หลังจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน มีการอพยพผู้คนรอบรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งไปแล้วประมาณ 200,000 คน บางส่วนในนี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับกัมมันตรังสีด้วย ซึ่งทางศูนย์อพยพก็ได้มีการสแกนตรวจสอบและแจกจ่าย จักษุธาตุ เอ๊ย ไอโอดีนให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงทุกคน เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ระบบอวัยวะภายใน
ตอนนี้ทุกอย่างยังอยู่ในสภาวะที่ต้องเฝ้าระวังสูงสุด แม้ว่าอุบัติเหตุในระดับ Chernobyl นั้นจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ (ความเป็นไปได้ที่มากกว่าคือเหตุการณ์อย่าง Three Mile Island ซึ่งก็ยังมีโอกาสน้อยอยู่ดี เพราะแผนการรับมือของ TEPCO เรียกได้ว่า "อยู่ในขั้นที่ดีมากๆ") อย่าลืมว่าตอนนี้ TEPCO และรัฐบาลญี่ปุ่นมีเตาปฏิกรณ์ให้จัดการพร้อมกันถึง 6 เตา ความผิดพลาดแม้เพียงนิดเดียวอาจนำไปสู่หายนะได้ทุกวินาที
จาก Live Science
ช่างเล็ก(LSV):
บึ้มข้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เจ็บ 15
15 มีค. 2554 07:15 น.
สำนักข่าว NHK ของญี่ปุ่น รายงานว่า เวลา 06.10 น. ตามเวลาท้องถิ่น บ่อหล่อเย็นข้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ 2 ในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ได้ระเบิดขึ้น เตาปฏิกรณ์ได้รับความเสียหาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 15 คน รัฐบาลญี่ปุ่นคาดบ่งชี้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วไหลอย่างรุนแรง เร่งอพยพประชาชน ยังไม่มีการรั่วไหลของกัมมันตรังสี
https://breakingnews.nationchannel.com
b.chaiyasith:
ในรูปบอกว่าส่วนที่ระเบิดคือ(Secondary)ส่วนPrimary ยังดีอยู่ ไฉนจึงมีกัมตรังสี
ไปทั่วบริเวณ30กม. และกำลังลอยไปตามกระแสลม undecided2
ช่างเล็ก(LSV):
ผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศสระบุ วิกฤตินิวเคลียร์ญี่ปุ่นขึ้นถึงระดับ 6 ใกล้เทียบชั้น เชอร์โนบิล ที่ก่อนหน้านี้อันตรายอยู่ที่ระดับ 7 สูงสุด
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) แจ้งว่า เมื่อ 12.24 น.เวลาประเทศไทย ได้รับแจ้งข้อมูลจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ว่า บ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมา หน่วยที่ 4 เกิดไฟไหม้ขึ้นและกัมมันตภาพรังสีถูกปล่อยโดยตรงออกสู่บรรยากาศ อัตราระดับรังสี ณ ที่เกิดเหตุ วัดได้มีค่าถึง 400 มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง
(400 มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมงทำให้มนุษย์เป็นมะเร็ง)
(1,000มิลลิซีเวิร์ตทำให้มนุษย์เป็นมะเร็งในทันทีที่โดนรังสี)
(10,000มิลลิซีเวิร์ตทำให้มนุษย์เสียชีวิตทันที)
สาเหตุที่เกิดไฟไหม้ขึ้นอาจเป็นไปได้ว่ามาจากการระเบิดของไฮโดรเจน และดับไปแล้วในเวลาประมาณ 15.00 น.
ทางด้าน นายอังเดร โคล้ด ลาคอสต์ หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์แห่งฝรั่งเศส กล่าวเตือนว่า อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา มีความอันตรายถึงระดับ 6 แล้ว จากทั้งหมด 7 อันดับ เทียบกับอุบัติเหตุที่เกาะทรีไมล์ในเพนซิลวาเนีย สหรัฐ เมื่อปี 2522 มีความรุนแรงที่ระดับ 5 ส่วนที่เชอร์โนบิลอยู่ที่ระดับ 7 สูงสุด
https://www.bangkokbiznews.com
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว