รักษามะเร็งแนวใหม่ ทำให้เซลล์แก่ แทนที่จะทำลาย
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 01, 2024, 06:54:02 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รักษามะเร็งแนวใหม่ ทำให้เซลล์แก่ แทนที่จะทำลาย  (อ่าน 1912 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 20, 2010, 06:43:47 pm »

เซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่มีคุณสมบัติในการเจริญละแพร่กระจายอย่างไม่มีที่สิ้นสุดหรืออาจเรียกว่าเป็นเซลล์ที่ไม่มีอายุขัยก็ว่าได้ รายงานล่าสุดตีพิมพ์ในวารสาร  Nature แสดงให้เห็นว่า การยับยั้งยีน Skp2 ในหนูมีผลทำให้เซลล์มะเร็งแก่ชรา ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับการกำจัดเซลล์ที่ได้รับความเสียหายจากการได้รับแสงแดดออกไปจากร่างกาย
ดร. Pier Paolo Pandolfi จาก Harvard Medical School ในบอสตันและคณะ กล่าวว่า การยับยั้งยีนชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งหมดอายุขัยได้
การทดลองนี้ใช้ยา MLN4924 ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก คาดว่ายาชนิดนี้มีผลในการรักษาผู้ป่วยผ่านกระบวนการข้างต้นที่กล่าวมา
ดร. Pandolfi กล่าวว่า สิ่งที่ทีมทดลองพบคือเมื่อเซลล์ได้รับความเสียหาย พวกมันจะละทิ้งงานซ่อมแซมตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือหยุดการเยียวยาตนเองให้กลับมาเจริญได้ใหม่
สัตว์ทดลองที่ใช้ในการทดลองนี้คือ หนูดัดแปลงพันธุกรรมที่พัฒนาลักษณะของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ทีมทดลองทำการยับยั้งยีน Skp2 ในหนูบางตัว เมื่อหนูมีอายุครบ 6 เดือน พบว่าหนูกลุ่มที่ยีน Skp2 ไม่แสดงออกนี้ไม่พัฒนาลักษณะของเนื้องอก ขณะที่หนูตัวอื่นเป็นมะเร็ง
เมื่อทำการวิเคราะห์เนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองและต่อมลูกหมากของหนูกลุ่มที่มีการยับยั้งยีน  Skp2 พบว่าเซลล์มะเร็งจำนวนมากเริ่มแก่ชราและมีอัตราการแบ่งเซลล์ช้าลง ซึ่งลักษณะนี้จะไม่พบในหนูที่มียีน Skp2 แสดงออกปกติ
นอกจากนั้นเมื่อใช้ยา MLN4924 ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งยีน Skp2 กับเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากคนที่เพาะในห้องทดลองไว้ก็พบว่าให้ผลเช่นเดียวกัน
เพื่อทดสอบดูว่ายาจะให้ผลเหมือนกันเมื่อทดสอบในหนูหรือไม่ ทีมทดลองได้ทำการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งลงในหนูแล้วรักษาด้วยยาชนิดเดียวกัน
ดร. Pandolfi กล่าวว่า ทีมทดลองได้ถ่ายเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากไปไว้ในหนู และให้ยาชนิดที่กล่าวถึง พบว่า เซลล์เกิดการแก่ชรา ซึ่งเป็นกลไกเดียวกับที่ร่างกายใช้กำจัดเซลล์ที่เสียหายจากการได้รับแสงแดด นอกจากนั้นยังพบว่ากระบวนการแก่ชราที่เป็นผลมาจากการแสดงออกของยีน Skp2 จะทำงานเฉพาะในเซลล์มะเร็งเท่านั้น วิธีรักษานี้มีผลกับเซลล์มะเร็งเท่านั้น ไม่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยแก่ชราแต่อย่างใด
ขอบคุณวชก.คอม

Instead of killing off cancer cells with toxic drugs, scientists have discovered a molecular pathway that forces them to grow old and die.

Cancer cells spread and grow because they can divide indefinitely.

But a study in mice, published today in Nature, shows that blocking a cancer-causing gene called Skp2 forces cancer cells to go through an aging process known as senescence - the same process involved in ridding the body of cells damaged by sunlight.

If you block Skp2 in cancer cells, this process is triggered, write Dr Pier Paolo Pandolfi of Harvard Medical School in Boston and colleagues.

An experimental cancer drug named MLN4924, currently undergoing early-stage clinical trials in people, appears to have the power to do just that, says Pandolfi.

The finding may offer a new strategy for fighting cancer.

"What we discovered is if you damage cells, the cells have a built-in mechanism to put themselves out of business," says Pandolfi. "They are stopped irreversibly from growing."

Slowing growth
For the study, the team used genetically altered mice that developed a form of prostate cancer.

In some of these, they inactivated the Skp2 gene. When the mice reached six months of age, they found those with an inactive Skp2 gene did not develop tumours, while the other mice did.

When they analysed the tissues from lymph nodes and the prostate, they found many cells had started to age, and they also found a slow rate of cell division.

This was not the case in mice with normal Skp2 function.

They got a similar effect when they used the Skp2-blocking drug MLN4924 in lab cultures of human prostate cancer cells.

To see if this would work in mice, they transplanted the cells and treated the mice with the drug.

"We put human cancer cells into mice. We fed them with a drug and these cells do senesce (age)," says Pandolfi.

"The same mechanism of damage caused by the Sun can be evoked pharmacologically in cancer cells."

He says this Skp2-related aging pathway appears to be active in cancer, and not other cells.

"We have no intention of aging the patient. But only the cancer."

ที่มา
http://www.abc.net.au/science/articles/2010/03/18/2849323.htm
 


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!