ชาวสวนนนท์รวยเละ! เพาะกล้วยแดงอินโดต้นไม้สุดฮิต ขายหน่อ 1 ล้าน โตแล้ว3 ล้าน
(1/1)
ช่างเล็ก(LSV):
https://www.pohchae.com/2022/04/10/siam-ruby
ชาวสวนนนท์รวยเละ! เพาะกล้วยแดงอินโดต้นไม้สุดฮิต ขายหน่อ 1 ล้าน โตแล้ว3 ล้าน
#ชาวสวนนนท์รวย #เพาะกล้วยแดงอินโด #ต้นไม้สุดฮิต #หน่อ1ล้าน #กล้วยแดงด่าง
-------------------
..ผู้ว่าฯ นนทบุรี เยี่ยมชม สวนเพาะไม้ด่างสายพันธุ์อินโด หลังทำเม็ดเงินเข้ากระเป๋าชาวสวนแบบอู้ฟู่ ขายต้นละ 3 ล้านบาท ส่วนหน่อเล็ก 5 แสน 1 ล้าน ..
9 เมษายน 2565 ข่าวช่องวัน รายงานว่า ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าฯ นนทบุรี เข้าเยี่ยมชมสวนเพาะไม้ด่างอินโด ของป้าตุ๋ย อายุ 71 ปี ตั้งอยู่ในซอยติวานนท์ 28 ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี โดยบ้านของป้าตุ๋ยใช้เนื้อที่ส่วนหนึ่งทำเป็นสวนเพาะกล้วยด่างจำนวนหลายสิบต้น
นายธนกร เพ็งนาเรนทร์ หรือ ก็อป อวตาร เจ้าของสวนกล้วยด่างฟาร์มอวตาร บอกว่า กล้วยแดงอินโด มีสายพันธุ์เดียวแต่มีหลากหลายลวดลาย ยิ่งลวดลายเยอะ มูลค่าตามลวดลายยิ่งหายาก ราคาก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
โดยสวนป้าตุ๋ยต้นที่แพงที่สุด ราคาอยู่ที่ 3ล้านบาท ถ้าหน่อลูกเล็ก จะขายหน่อละ 5แสนบาท หน่อโต ๆ ขายหน่อละหนึ่งล้านบาท
ส่วนต้นที่สวนนี้จะมาจากกลุ่มกล้วยแดงอินโด ซึ่งไปจองตั้งแต่หน่อโคนต้นเลย สูงประมาณ 2 นิ้ว ซื้อมาต้นละ 1,000,000 บาท และนับตั้งแต่วันที่ซื้อมาปลูกก็ประมาณ 5 เดือนแล้ว ได้ผลผลิตและขุดแยกขายไปแล้ว 2 หน่อ.
ทั้งนี้ ต้นใหญ่หรือต้นแม่พันธุ์ มีคนทาบทามขอซื้อเยอะมาก แต่ป้าตุ๋ยไม่ขาย เพราะอยากจะขยายให้มีต้นลูกเก็บไว้เยอะ ๆ ก่อน ซึ่งก็มีเก็บต้นลูกไว้บ้างแล้ว หากวันหนึ่งมีการพูดคุยถูกคอและถูกใจ อยากจะยกต้นแม่ไปก็ค่อยว่าเป็นกรณีไป และตั้งแต่ซื้อต้นแม่มา ก็ทำรายได้ประมาณ 7 หลักแล้ว...
ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่นี่ > https://www.pohchae.com/2022/04/10/siam-ruby/
ช่างเล็ก(LSV):
https://108kaset.com/2022/04/10/musa-siam-ruby
รู้ก่อนปลูก..กล้วยแดงด่างอินโดนีเซีย พันธุ์กล้วยนำเข้าราคาหลักล้าน
#รู้ก่อนปลูก #กล้วยแดงด่างอินโดนีเซีย #พันธุ์กล้วยนำเข้าราคาหลักล้าน
------------------
กล้วยแดงอินโด ( Siam Ruby ) เป็นกล้วยพันธุ์พื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะเหมือนกันกับกล้วยไทยแต่จะต่างกันตรงที่กล้วยแดงอินโดมีสีแดงสด
ในบางต้นที่มีการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมก็จะมีลักษณะใบด่างเกิดขึ้นด้วย โดยความด่างที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถกำหนดลวดลายความด่างได้ จึงอาจเป็นสาเหตุทำให้ กล้วยแดงอินโดด่าง ได้รับความนิยมและมีราคาสูง นิยมนำมาปลูกลงกระถางใช้เป็นไม้ประดับให้ความสวยงามโดดเด่นแก่สถานที่ต่างๆ หรือจะนำไปปลูกเรียงเป็นแนวสวยงามใช้ประดับสวนสวยๆก็ได้เช่นกัน
△ต้นกล้วยเท่าที่เห็น ขายไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท
ลำต้น ลำต้นตั้งตรง รูปทรงกลม ผิวเกลี้ยงเรียบเนียน มีสีแดง ลักษณะอวบน้ำมีกาบหุ้ม
ใบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนยาว ช่วงโคนและปลายใบโค้งมน ผิวใบเรียบเป็นมันสีแดง ขอบใบเรียบ สามารถมองเห็นลายเส้นของใบและเส้นส่วนกลางใบได้ชัดเจน
หน่อ มีลักษณะเหมือนหน่อกล้วยไทยที่เราพบเห็นกันทั่วไป แตกต่างตรงที่มีสีแดง โดยในแต่ละกอสามารถแตกหน่อออกมาได้หลายหน่อ ซึ่งวิธีการขยายพันธุ์และวิธีปลูกกล้วยแดงอินโดก็จะต้องใช้หน่อที่มีความสมบูรณ์มาใช้ในการปลูกด้วย
ดอก ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด หุ้มด้วยใบประดับสีแดง เรียกรวมว่า ปลีกล้วย และส่วนนี้ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นผลต่อไป
ผล ผลมีลักษณะเรียวยาว มีสีแดง มักออกผลกระจุกรวมกันจำนวนมากบริเวณปลายยอด ( บริเวณเดียวกับกับปลีกล้วย ) เรียกว่า เครือ ในหนึ่งเครือสามารถแยกย่อยออกมาได้อีก เรียกว่า หวี ในหนึ่งหวีจะประกอบด้วยผลประมาณ 10-15 ผล
วิธีปลูกกล้วยแดงอินโด
เริ่มจากการขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตร x 50 เซนติเมตร ควรเว้นระยะห่างระหว่างหลุมมากพอสมควร เนื่องจากเมื่อต้นกล้วยแดงอินโดเจริญเติบโตขึ้นจะมีขนาดใบที่ใหญ่มาก หากเว้นระยะระหว่างหลุมน้อยเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาใบเบียดซ้อนกันขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้ลำต้นใหม่ไม่สมบูรณ์
นำดินร่วนปนทรายที่ผสมกับอินทรียวัตถุ เช่น กาบมพร้าวแห้งสับเป็นชิ้นเล็กๆ เศษใบไม้แห้ง แกลบ ขี้เถ้า ฯลฯ ไปตากแดดประมาณ 1 สัปดาห์เตรียมไว้
นำปุ๋ยคอกมาใส่รองก้นหลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ โดยใส่ปุ๋ยให้มีความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นนำต้นพันธุ์กล้วยแดงอินโดที่คัดเตรียมไว้ลงปลูกตามด้วยการกลบดินปิดให้แน่น โดยผู้ปลูกควรเหลือส่วนยอดให้โผล่เหนือดินขึ้นมาประมาณ 10 เซนติเมตร และรดน้ำตามในปริมาณที่พอเหมาะ
หลังจากการปลูกกล้วยแดงอินโดแล้วผู้ปลูกจำเป็นจะต้องมีการใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงด้วย โดยในช่วง 1-3 เดือนแรกควรใส่ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนเยอะสักหน่อย เช่น 21-0-0 หลังจากนั้นสามารถใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยยูเรียเพิ่มเติมเดือนละ 1 ครั้ง
หลังจากการปลูกผู้ปลูกควรหมั่นดูแลรักษาต้นกล้วยอยู่เสมอ โดยการหมั่นรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และตัดแต่งนำใบแห้งออกจากต้น รวมถึงการนำหน่อกล้วยแยกออกปลูกที่อื่นเมื่อเห็นว่ามีมากกว่า 1-2 หน่อ ต่อ1 กอ เพื่อป้องกันสารอาหารไม่เพียงพอ อีกทั้งจะต้องระวังอย่ารดน้ำมากจนดินชื้นแฉะหรือมีน้ำท่วมขังเพราะอาจจะทำให้รากกล้วยเน่าได้.
ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่นี่ > https://108kaset.com/2022/04/10/musa-siam-ruby/
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ