เศร้า!! เครื่องบินขับไล่"กริพเพน"บินโชว์วันเด็กที่จ.สงขลา ตกระเบิดต่อหน้าเด็ก
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 24, 2024, 09:27:20 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เศร้า!! เครื่องบินขับไล่"กริพเพน"บินโชว์วันเด็กที่จ.สงขลา ตกระเบิดต่อหน้าเด็ก  (อ่าน 2111 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 14, 2017, 10:23:03 AM »
















เศร้า!! เครื่องบินขับไล่"กริพเพน" ผลิตโดยบริษัทซาบ แห่งสวีเดน บินโชว์ผาดแผลงในงานวันเด็กที่จ.สงขลา ตกระเบิดต่อหน้าเด็กๆ..
10.00  14/1/2560


เครื่องบินกริฟเพน ตกระหว่างบินโชว์ในวันเด็ก ที่กองบิน 56 หาดใหญ่ นักบินดีดตัวไม่ทัน เสียชีวิต

เมื่อเวลา 09.40น. เกิดอุบัติเหตุ เครื่องบินรบไอพ่น กริฟเพน ( Gripen 1 Jas 39) ที่บินโชว์ในวันเด็กได้บินตกบริเวณ หัวทางวิ่ง 26 ฝั่งการท่าอากาศยาน ภายในรั้วสนามบิน กองบิน 56 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ต่อหน้าเด็กๆ และผู้ปกครอง ทำให้น.ต.ดิลกฤทธ์ ปัทวี ซึ่งเป็นนักบิน ดีดตัวไม่ทันเสียชีวิต ขณะที่ทอท.สั่งปิดสนามบินหาดใหญ่ คาดว่าจะกลับมาใช้ได้ในเวลาช่วงเที่ยงของวันนี้ (14 ม.ค.60)






บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 14, 2017, 11:45:21 AM »




ยาส 39
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยาส 39
Saab JAS39C Gripen 70109 Thai AF (7363327062).jpg
บทบาท   เครื่องบินขับไล่หลากบทบาท
บริษัทผู้ผลิต   ซ้าบ
บินครั้งแรก   9 ธันวาคม พ.ศ. 2531
เริ่มใช้   9 มิถุนายน พ.ศ. 2539
สถานะ   ประจำการ
ผู้ใช้งานหลัก   กองทัพอากาศสวีเดน
กองทัพอากาศเช็ก
กองทัพอากาศฮังการี
กองทัพอากาศแอฟริกาใต้
ช่วงการผลิต   พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต   213 ลำเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[1][2]
มูลค่า   40-61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ1,500ล้านบาท/ลำ)





ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กลุ่มบริษัทซาบ (Saab Group) ผู้ผลิตอากาศยานของสวีเดนตั้งเป้าจะส่งออกเครื่องบินรบ JAS-39 Gripen ยุคใหม่ให้ได้อย่างน้อย 30 ลำ ภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ โดยเล็งเป้าหมายทั้งในยุโรป ละตินอเมริกา และเอเชีย บริษัทรายงานเรื่องนี้ในเว็บไซต์ของกลุ่ม อ้างการเปิดเผยของนายเอ็ดดี เดอ ลา มอตต์ (Eddy de la Motte) ผู้อำนวยการฝ่ายาส่งออก
       
       ปัจจุบัน กริพเพนมียอดขาย และยอดสั่งซื้อกว่า 240 ลำ และกำลังประจำการอยู่ใน 6 ประเทศ รวมทั้งกองทัพอากาศสวีเดน และไทยด้วย ส่วนอังกฤษ ซื้อกริพเพนสำหรับเป็นเครื่องบินฝึกนักบินของกองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักร ประเทศอื่นๆ ได้แก่สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี และแอฟริกาใต้
       
       รายงานยังระบุว่า เป้าหมายดังกล่าวจำทำให้ Saab มีส่วนแบ่งราว 10% ในตลาดเครื่องบินรบโลก ขณะที่กลุ่มนี้กำลังเร่งทดสอบเพื่อผลิตกริพเพนยุคใหม่ที่เรียกว่า กริพเพนเอ็นจี (Gripen NG) หรือ New Generation หรือกริพเพน E/F และ MS21ชื่อเรียกทั่วไป
       
       กริพเพน NG ติดเครื่องยนต์ทันสมัยล่าสุดที่พัฒนาต่อจากเครื่องยนต์ F414G ของ บริษัทเยเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้กับ F/A-18E/F “ซูเปอร์ฮอร์เน็ต” เครื่องบินรบอเนกประสงค์
       
       กริพเพนรุ่นปัจจุบัน ติดเครื่องยนต์ Volvo-Flygmotor RM12 โดยบริษัทวอลโว่ ที่พัฒนาจาก F404-400 ของเยเนอรัลอิเล็กทริกภายใต้ลิขสิทธิ์ของวอลโว่ ทำให้ JAS-39 ทำความเร็วสูงสุดได้ 2,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรัศมีทำการราว 3,200 กม. เครื่องยนต์รุ่นใหม่จะทำให้กริพเพน NG เร็วขึ้น
       
       กลุ่ม Saab กล่าวว่า เพื่อทำให้ได้ตามเป้าหมายดังกล่าว กริพเพนยุคหน้าจะต้องมีทั้งรุ่นทั่วไป และรุ่นที่สามารถขึ้นลงเรือบรรทุกเครื่องบินอีกด้วย โดยกองทัพเรืออินเดีย กับกองทัพเรือบราซิลซึ่งต่างก็มีเรือบรรทุกเครื่องบิน อาจจะเป็นลูกค้ารายใหญ่
       
       ไืทยเป็นชาติแรกในย่านเอเชียทีีมี JAS-39 ประจำการ อินเดียอาจจะเป็นประเทศต่อไป โดยอินเดียความสนใจ Gripen NG เพื่อใช้ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินอีกลำหนึ่งซึ่งจะเป็นลำที่ 3 ในโครงการเพิ่มขยายขีดความสามารถของกองทัพเรือ ขณะเดียวกัน ก็มีแผนการจะปลดประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินเก่าของอังกฤษที่ใช้งานมานาน และใช้ได้เฉพาะกับอากาศยานที่ขึ้นลงทางดิ่งได้เท่านั้น
       
       เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 2 คือเรือ “วิกรมทิตย์” (Vikramaditya) อยู่ระหว่างการทดสอบใช้งานจริง และทดสอบระบบอาวุธต่างๆ ในทะเลเหนือ รัสเซียมีกำหนดส่งมอบให้แก่อินเดียในปลายปีหน้าและอินเดียได้เลือกเครื่องบินมิก-29 รุ่นพัฒนาขึ้นใหม่
       
       สำหรับ JAS-39 เป็นเครื่องบินรบขนาดเล็ก ได้เปรียบเรื่องความคล่องตัว สามารถขึ้นลงได้บนทางวิ่งระยะสั้นๆ แม้กระทั่งบนทางหลวง ทำให้สามารถติดอาวุธใหม่ (Re-arm) ได้ในทุกที่ที่การสนับสนุนเข้าถึง โดยไม่จำเป็นต้องบินกลับฐานทัพ
       
       เครื่องบินติดปืนใหญ่อากาศขนาด 27 มม. มีจุดติดอาวุธตามโครงลำตัว และใต้ปีกรวม 8 จุด ทั้งจรวดนำวิถีแบบอากาศสู่อากาศ และอากาศสู่พื้น รวมทั้ง “สมาร์ท บอมบ์” ด้วย เป็นเครื่องบินรบอเนกประสงค์ประสิทธิภาพสูงมากอีกรุ่นหนึ่งในปัจจุบัน และมีชื่อเสียงในด้านค่าบำรุงรักษาที่ต่ำมากตลอดอายุใช้งาน ราคาจำหน่ายลำละ 40-60 ล้านดอลลาร์
       
       การซื้อเครื่องบินรบรุ่นใหม่เพื่อเข้าแทนที่ฝูงบิน F-5E ของกองทัพอากาศไทยมีการเตรียมการมายาวนาน และมีการพลิกผันมาตามยุคสมัย ก่อนจะลงตัวเป็นเครื่องบินรบของสวีเดน และในที่สุด 6 ลำแรกซึ่งเป็น Gripen C ที่นั่งเดียว และ Gripen D สองที่นั่ง ก็ส่งมอบให้ไทยในเดือน ก.พ.2553 พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง ชิ้นส่วนอะไหล่ กับการสนับสนุนด้านต่างๆ เป็นเวลา 2 ปี อีก 6 ลำมีกำหนดส่งมอบปี 2556
       
       การซื้อกริพเพนของไทยยังพ่วงเข้ากับระบบเตือนการณ์ล่วงหน้าทางอากาศ (Aerial Early Warning System) โดยเครื่องบิน Saab 340-AEW AWACS ติดระบบเรดาร์ตรวจการณ์ “อีรีอาย” (Erieye) ซึ่งส่งให้ไทยลำแรกตามกำหนดในเดือน ธ.ค.2553 และลำที่สองในปี 2556
       
       กลุ่มซาบยังเป็นผู้ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารบนเรือหลวงจักรีนฤเบศให้แก่ราชนาวีไทยอีกด้วย เพื่อให้สามารถ “ซิงค์” หรือเชื่อมโยงระบบสื่อสาร ระบบบัญชาการ และอำนวยการเข้ากับฝูงบิน JAS-39 กริพเพนทั้ง 12 ลำได้ในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้เป็นรายงานใน Defenseindustrydail y.Com เว็บไซต์ข่าวอุตสาหกรรมกลาโหมยอดนิยมแห่งหนึ่ง
       
       ซาบยังรายงานในเว็บไซต์ SaabGroup.Com คาดว่า ไทยอาจจะซื้อกริพเพนถึง 40 ลำในอนาคต.







ยาส 39 กริพเพน (สวีเดน: JAS 39 Gripen) (อ่านในภาษาสวีเดนว่า "ยอซ แทร็กตี้นิโยะ กรีเผ่น") เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่ผลิตโดยบริษัทซ้าบของประเทศสวีเดน โดยมีกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) ทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการทำสัญญาซึ่งจะรับผิดชอบต่อการตลาด การขาย และการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่กริพเพนทั่วโลก
ปัจจุบันมันอยู่ในประจำการของกองทัพอากาศสวีเดน กองทัพอากาศเช็ก กองทัพอากาศฮังการี และกองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และยังถูกสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศไทยอีกด้วย มีกริพเพนทั้งหมด 236 ลำที่ถูกสั่งซื้อในปี พ.ศ. 2551
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 กองทัพอากาศไทยแถลงผลการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข (เอฟ-5บี/อี) ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง และระยะที่ 2 อีก 6 เครื่อง ได้ตัดสินใจซื้อเครื่อง ยาส 39 กริพเพน ในวงเงินกว่า 19,000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 โดยเครื่องบินฝูงใหม่จะประจำการที่กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การพัฒนา
เมื่อปลายทศวรรษที่ 2513 สวีเดนเริ่มต้องการหาเครื่องบินเข้ามาแทนที่ซ้าบ 35 ดราเคนและซ้าบ 37 วิกเกน[7] เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2523[8] ด้วยการศึกษาแบบที่เริ่มขึ้นในปีต่อมา[7] การพัฒนากริพเพนเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2525 โดยได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา[9]
กริพเพนถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานที่ดี ความยืดหยุ่น ความมีประสิทธิภาพ และความอยู่รอดในการต่อสู้ทางอากาศ คำว่า JAS ย่อมาจาก Jakt (อากาศสู่อากาศ) Attack (อากาศสู่พื้น) และ Spaning (การลาดตระเวน) ซึ่งแปลว่ากริพเพนนั้นเป็นเครื่องบินรบหลากบทบาทซึ่งสามารถทำภารกิจที่แตกต่างกันไปได้ ยาส 39 ได้รับชื่อว่ากริพเพน (Gripen หรือ Griffin ในภาษาอังกฤษ) จากการส่งชื่อเข้าแข่งขันในปีพ.ศ. 2525[10] กริฟฟินเป็นสัญลักษณ์บนโลโก้ของซ้าบและมันเหมาะกับเอกลักษณ์ของเครื่องบินหลากบทบาท นอกจากนี้กริฟฟินยังเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองซึ่งเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของซ้าบ

ยาส 39บี กริพเพนจากโรงเรียนEmpire Test Pilots' Schoolหลังจากลงจอดที่งานแสดงเมื่อปีพ.ศ. 2551
สวีเดนได้เลือกที่จะพัฒนากริพเพนมากกว่าที่จะซื้อเอฟ-16 เอฟ/เอ-18เอ/บี หรือเอฟ-5เอสที่เป็นรุ่นหนึ่งของเอฟ-20 ไทเกอร์ชาร์คของนอร์ทธรอป กริพเพนลำแรกเปิดตัวในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2530 ซึ่งครบรอบ 50 ปีของบริษัทซ้าบพอดี[11] ต้นแบบแรกทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2531[12]
ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เครื่องบินลำสุดท้ายของ 64 ลำถูกส่งให้กับหน่วยงานของสวีเดนที่จะรายงานให้กับกระทรวงกลาโหมสวีเดน[1] นั่นเป็นความสำเร็จที่ตำกว่าราคาตกลง 10% สำหรับกองบินทั้งหมด มันทำให้ราคาของกริพเพน 39ซี บานปลายเป็น 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ข้อตกลงเรื่องทีมการสร้าง[แก้]
ในปี พ.ศ. 2538 ซ้าบและบริติช แอโรสเปซ (ปัจจุบันคือบีเออี ซิสเทมส์) ได้ตั้งบริษัทร่วมขึ้นมาเพื่อทำการสร้างและสนับสนุนกริพเพนระหว่างประเทศ ข้อตกลงมีเพื่อใช้ข้อได้เปรียบเรื่องประสบการณ์การตลาดทั่วโลกของบริติช แอโรสเปซ บริติช แอโรสเปซเองก็มองว่ากริพเพนเป็นผลผลิตที่จะเติมเต็มเครื่องบินของตน เป็นการเติมช่องว่างระหว่างฮอว์ก ทอร์นาโด และยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูน การร่วมมือกันครั้งนี้ขยายออกในปีพ.ศ. 2544 โดยมีการก่อตั้งกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) ขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์เดิม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ซ้าบและบีเออี ซิสเทมส์ได้ตกลงว่าตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ซ้าบจะเป็นผู้รับผิดชอบการตลาดของกริพเพนทั้งหมด เพื่อเพิ่มยอดขายส่งออก
ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 นอร์เวย์ได้ทำสัญญาตกลงในโครงการพัฒนาร่วมกันเพื่อให้มีการพัฒนาเครื่องบินต่อไปในอนาคตสำหรับรุ่นที่จะตามมา สัญญาดังกล่าวมีมูลค่า 150 ล้านโครน ตลอดสองปี[13]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ธาเลส นอร์เวย์ (หรือThales Group) และซ้าบได้ทำสัญญาการพัฒนาระบบสื่อสารของกริพเพน มันเป็นการทำให้บริษัทของนอร์เวย์ได้รับรางวัลแรกจากการทำข้อตกลงที่ทำโดยกระทรวงกลาโหมนอร์เวย์และกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550[13]
ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งในการตลาดของกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลในเดนมาร์ก ข้อตกลงจึงทำขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผู้สนับสนุนเทคโนโลยีของเดนมาร์กคือเทอร์มา เอ/เอส (Terma A/S) ซึ่งทำให้พวกเขาเข้าร่วมในโครงการอุตสาหกรรมร่วมตลอด 10-15 ปี มูลค่าทั้งสิ้นของโครงการคือประมาณ 1 หมื่นล้านเดนมาร์กโครน และบางส่วนขึ้นอยู่กับการเลือกกริพเพนของเดนมาร์ก[14]
กริพเพน เอ็นจี Gripen NG[แก้]
เป็นการพัฒนาเพื่อก้าวไปสู้ เครื่องบินรบยุคที่ 5 และมีการสร้างเครื่องแบบสองที่นั่งสำหรับทดสอบเทคโนโลยีใหม่ถูกสร้างขึ้นมา[15]และถูกนำมาแสดงในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2551 มันมีความจุเชื้อเพลิงมากขึ้น ขุมกำลังที่ทรงพลังยิ่งกว่า น้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้น ระบบอิเลคทรอนิกที่ได้รับการพัฒนา และการพัฒนาอื่นๆ อีกมาก เครื่องบินใหม่นี้ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า"กริพเพน เดโม" (Gripen Demo)[16][17]
กริพเพน เอ็นจี (NG ย่อมาจาก Next Generation) จะมีชิ้นส่วนใหม่มากมายและมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์จีอี/วอลโว แอโร เอฟ414จีที่พัฒนามาจากเครื่องยนต์ของเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เครื่องยนต์จะให้กำลังมากขึ้นอีก 20% เป็น 22,000 ปอนด์ ทำให้มันสามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่ความเร็วซูเปอร์ครูซ 1.1 มัคได้ [18]
เมื่อเทียบกับกริพเพน ดี น้ำหนักสูงสุดของกริพเพน เอ็นจีนั้นเพิ่มขึ้นจาก 14,000 กิโลกรัมเป็น 16,000 กิโลกรัม โดยมีน้ำหนักเปล่าเพิ่มขึ้นอีก 200 กิโลกรัม เนื่องมาจากการเปลี่ยนตำแหน่งของล้อลงจอด ความจุเชื้อเพลิงภายในจึงเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งจะเป็นการเพิ่มระยะในการขนส่งเป็น 4,070 กิโลเมตร รูปแบบใต้ท้องใหม่ยังทำให้มันสามารถเพิ่มจุดติดตั้งอาวุธได้อีกสองจุด เรดาร์พีเอส-05/เอได้เพิ่มเสาอากาศเออีเอสเอเข้าไปเพื่อการบินทดสอบที่จะเกิดขึ้นกลางปีพ.ศ. 2552[18]
การบินครั้งแรกของกริพเพน เดโมเกิดขึ้นในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 การบินทดสอบกินเวลา 30 นาทีและทำความสูงสุดที่ 21,000 ฟุต[19] ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 กริพเพน เดโมได้บินด้วยความเร็ว 1.2 มัคโดยไม่มีการทำให้เครื่องร้อนใหม่เพื่อทดสอบความสามารถในการทำซูเปอร์ครูซของมัน[20][21]
การออกแบบ[แก้]

กริพเพนในการแสดงทางอากาศที่ฟาร์นโบโรเมื่อปีพ.ศ. 2549
ในการออกแบบเครื่องบินมีการศึกษาโครงสร้างมากมาย ในที่สุดซ้าบก็เลือกแบบที่มีปีกหน้าซึ่งไม่เสถียร ปีกหน้าหรือคานาร์ด (Canard) ทำให้มันมีอัตราการไต่ระดับที่มากขึ้นและลดแรงฉุด ทำให้เครื่องบินเร็วขึ้น พิสัยไกลขึ้น และบรรทุกได้มากขึ้น
การผสมผสานกันของปีกทรงสามเหลี่ยมและปีกหน้าทำให้กริพเพนมีการบินขึ้น-ลงที่มีประสิทธิภาพและการบินที่ไม่เหมือนใคร ระบบอิเลคทรอนิกอากาศทั้งหมดทำให้มันเป็นเครื่องบินที่สามารถถูกโปรแกรมได้ มันยังมีหน่วยระบบสงครามอิเลคทรอนิกภายในอีกด้วย ทำใหม้นสามารถเพิ่มระเบิดเข้าไปได้โดยที่ไม่สูญเสียความสามารถในการป้องกันตนเอง มันยังมีระบบ 300-ลิงก์ ที่ใช้เพื่อแบ่งข้อมูลให้กับเครื่องบินอีกลำอีกด้วย[22]
กริพเพนนั้นมีความยืดหยุ่นมากกว่าเครื่องบินรบรุ่นก่อนๆ ที่สวีเดนใช้ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการของมันเท่ากับ 2 ใน 3 ของซ้าบ 37 วิกเกนเท่านั้น
ในกองทัพอากาศสวีเดนมีความต้องการเครื่องบินที่สามารถใช้ทางวิ่งยาว 800 เมตรได้ ในตอนต้นโครงการการบินทั้งหมดจากโรงงานซ้าบใช้ทางวิ่งขนาด 9x800 เมตรเท่านั้น ระยะหยุดถูกลดลงด้วยการเพิ่มเบรกอากาศขนาดใหญ่เข้าไป ด้วยการใช้ผิวหน้าควบคุมเพื่อดันเครื่องบินลง การเพิ่มแรงเบรกที่ล้อให้มากขึ้นและลดปีกปลอมลงจะทำให้พวกมันกลายเป็นเบรกอากาศขนาดใหญ่และดันตัวเครื่องบินลง
เรดาร์[แก้]
ดูบทความหลักที่: พีเอส-05/เอ
กริพเพนใช้เรดาร์สมัยใหม่เป็นเรดาร์พัลส์-ดอปเปลอร์ พีเอส-05/เอ มันถูกสร้างขึ้นโดยอิริกส์สันและจีอีซี-มาร์โคนี โดยมีพื้นฐานมาจากเรดาร์บลูวิกเซน (Blue Vixen) ของซีแฮร์ริเออร์ (ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรดาร์ยูโรไฟท์เตอร์ของแคปเตอร์อีกที)[23]
เรดาร์นี้สามารถตรวจจับ ระบุตำแหน่ง ระบุเป้าหมาย และติดตามเป้าหมายได้หลายเป้าหมายโดยอัตโนมัติ ทั้งบนพื้น ทะเล หรืออากาศ และในทุกสภาพอากาศ มันสามารถถูกใช้เพื่อนำทางขีปนาวุธอากาศสู่อากาศได้ 4 ลูก (อย่างเอไอเอ็ม-120 แอมแรมและเอ็มบีดีเอ ไมก้า) ในเวลาเดียวกันเข้าสู่เป้าหมายทั้งสี่[24][ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซ้าบและซีเล็กซ์ กาลิเลโอได้ทำสัญญาข้อตกลงสำหรับการพัฒนาร่วมกันของเรดาร์วิกเซนเออีเอสเอราเวน (Raven) และพีเอส-05/เอ[25] เรดาร์นี้จะสามารถสแกนได้ 200 องศาจากข้างหลังไปทางซ้ายและขวา[26]
ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 กริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลได้เสนอซอร์ซโค้ดของเรดาร์เออีเอสเอของพวกเขาโดยเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันการขายในอินเดีย[27]
ห้องนักบิน[แก้]
ในห้องนักบินมีจอแสดงแบบเฮดดาวน์สีสมบูรณ์ 3 จอและจอแสดงอุปกรณ์ฉุกเฉินของเครื่องบินแบบดิจิตอล โครงสร้างของห้องนักบินทำให้นักบินมีความสะดวกสบายในการทำงานและยังเพิ่มความระวังต่อสถานการณ์อีกด้วย แต่มันก็ยังสามารถพัฒนาได้อีกในอนาคต นักบินจะควบคุมเครื่องบินด้วยการใช้คันบังคับที่อยู่ตรงกลางและคันเร่งที่อยู่ทางซ้ายมือ
ห้องนักบินให้พื้นที่การมองมากกว่าเครื่องบินขับไล่ส่วนมาก 30% และจอแสดงผลที่กินพื้นที่น้อยจนเหลือพื้นที่เพิ่มขึ้น 75%
มันมีจอแอคทีฟ-เมทริกซ์ขนาดใหญ่ (15.7x21 ซ.ม.) 3 จอ จอคริสตัลเหลวหรือจอแอลซี จอแสดงผลมัลติ-ฟังก์ชัน และจอเฮด-อัพ ดิสเพลย์ จอแสดงผลเหล่านี้จะมีไฟเพื่อช่วยในการให้ความสว่างและความคมชัด
ความสามารถด้านความพร้อม[แก้]
ความน่าสนใจหนึ่งของกริพเพนคือการที่มันสามารถบินขึ้น-ลงได้บนถนนสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสวีเดน เครื่องบินนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถปฏิบัติการได้แม้ว่าทัพอากาศจะสูญเสียความได้เปรียบทางอากาศไป
ในสงครามเย็น กองทัพอากาศสวีเดนได้เตรียมตัวเพื่อเผชิญกับการรุกรานจากสหภาพโซเวียตที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่ายุทธศาสตร์การป้องกันนั้นจะเน้นให้สวีเดนต้องยึดที่มั่นในเขตแดนของตน นักวางแผนทางทหารของสวีเดนก็ทำการคำนวณแล้วว่าพวกเขาจะพ่ายแพ้ในที่สุด ด้วยเหตุนี้เองสวีเดนจึงทำการกระจายยุทโธปกรณ์ของตนออกไปทั่วประเทศ เพื่อที่ว่าพวกเขายังคงความสามารถในการสร้างความเสียหายให้กับศัตรูได้แม้ว่าจะต้องศูนย์เสียค่ายทหารไป
ดังนั้นในหมู่ยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศสวีเดน กริพเพนจะต้องสามารถลงจอดบนถนนสาธารณะที่ใกล้กับค่ายทหารได้เพื่อการบำรุงรักษาที่รวดเร็วและขึ้นบินอีกครั้ง ผลที่ได้คือกริพเพนเป็นเครื่องบินขับไล่ที่สามารถเติมเชื้อเพลิงและอาวุธได้ใน 10 นาทีโดยใช้คนไม่กี่คนและทำการบินอีกครั้ง[28]
หลังยุคสงครามเย็น ความสามารถในปฏิบัติการกระจายกำลังได้พิสูจน์ว่ามีค่ามากในจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ระบบของกริพเพนนั้นเป็นความพร้อมโดยธรรมชาติ และดังนั้นมันจึงเหมาะสำหรับภารกิจรักษาความสงบทั่วโลก ซึ่งได้กลายมาเป็นงานหลักของกองทัพอากาศสวีเดน
ประวัติการใช้งาน[แก้]
ประเทศผู้ใช้งานในปัจจุบัน[แก้]

กริพเพนที่กำลังบินขึ้นจากทางวิ่ง

ซ้าบ 39 กริพเพนของกองทัพอากาศเช็ก

ยาส 39 ดีของกองทัพอากาศฮังการี
กริพเพนเข้าประจำการอยู่ในกองทัพอากาศสวีเดนซึ่งได้สั่งซื้อเอาไว้ 204 ลำ (รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 28 ลำ)[29]
กองทัพอากาศเช็กและกองทัพอากาศฮังการีก็ใช้กริพเพนเช่นกัน โดยใช้เครื่องบินของสวีเดนประเทศละ 14 ลำ โดยในที่สุดพวกเขาก็จะเป็นเจ้าของพวกมัน ทั้งสองประเทศเป็นผู้ใช้รายแรกในกลุ่มนาโต้[30][31]
กองทัพอากาศแอฟริกาใต้เริ่มได้รับเครื่องบินทั้ง 26 ลำ (รวมทั้งแบบสองที่นั่ง) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[32]และกำลังส่งมอบอยู่[2] เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 มีการส่งมอบแบบสองที่นั่ง 9 ลำ
กริพเพนยังได้รับการสั่งซื้อจากกองทัพอากาศไทย จำนวน 6 ลำ โดยสี่ลำเป็นแบบสองที่นั่ง และได้รับมอบเมื่อวันที่ 22/02/2554 และได้รับการจัดซื้อชุดที่ 2 เป็นแบบ C จำนวน 6 เครื่อง กำหนดส่งมอบในปี 2556[33]
โรงเรียนฝึกนักบินรบ Empire Test Pilots' School ของ ทอ.อังกฤษ ก็ใช้กริพเพน รุ่น 2 ที่นั่ง ในการฝึกนักบินจากทั่วโลกเช่นกัน (บริษัท BAE กับ Saab ร่วมกันพัฒนาเครื่องกริเฟน)
ประเทศที่จะเป็นและอาจเป็นผู้ใช้ในอนาคต[แก้]
บราซิล
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานว่ากองทัพอากาศบราซิลได้ลือกผู้เข้าชิงสามรายสุดท้ายในโครงการเอฟ-เอ็กซ์2 ของพวกเขา โดยมีดัซโซลท์ ราฟาเอล เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท และกริพเพน เอ็นจี[34][35] จำนวนที่สั่งซื้อคือประมาณ 36 ลำและอาจเพิ่มขึ้นเป็น 120 ลำในเวลาต่อมา การตัดสินใจเกิดขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซ้าบได้ยอมรับความต้องการกริพเพน เอ็นจีทั้ง 36 ลำของกองทัพอากาศบราซิล[36]
โครเอเชีย
กองทัพอากาศโครเอเชียได้ประกาศแผนในการแทนที่มิก-21 ของพวกเขาด้วยยาส 39 กริพเพนหรือเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน[37] โครงการสุดท้ายนั้นต้องการเครื่องบิน 12-18 ลำ ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 คณะบริหารกองกำลังป้องกันสวีเดนและซ้าบได้ตอบกลับความต้องการของโครเอเชียเพื่อขอข้อมูลในการจัดหาเครื่องบินทั้ง 12 ลำ[38][39] เนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการเมือง กองทัพอากาศโครเอเชียจะยังไม่ทำการตัดสินใจจนกว่าจะถึงปีพ.ศ. 2553[40]
เดนมาร์ก
เดนมาร์กได้ทำสัญญาระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมของตนกับของสวีเดนเพื่อทำการพัฒนากริพเพน โดยเดนมาร์กต้องการมันไปแทนที่เอฟ-16 จำนวน 48 ลำของพวกเขา เดนมาร์กยังได้ร้องขอกริพเพนรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมอีกด้วย มันจะรวมทั้งชุดระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบใหม่ เครื่องยนต์ที่ทรงพลังและใหญ่ขึ้น น้ำหนักบรรทุกที่มากขึ้น และพิสัยไกลยิ่งขึ้น[14] การร้องขอนี้เป็นจุดเริ่มต้นของกริพเพน เอ็นจี ซึ่งมีความต้องการของเดนมาร์กครบทุกอย่าง อย่างเครื่องยนต์เอฟ414จีที่ทรงพลังมากกว่าเดิม[41]
อินเดีย
กริพเพนได้เข้าร่วมแข่งขันในอินเดียน เอ็มอาร์ซีเอ คอมเพทิชั่นที่ต้องการเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทจำนวน 126 ลำ กริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลได้ยื่นข้อเสนอให้กับอินเดียในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 บริษัทกำลังเสนอกริพเพน ไอเอ็นและเอ็นจีให้กับอินเดีย[42]และได้ทำการเปิดที่ทำงานในกรุงนิวเดลีเพื่อที่ให้กับสนับสนุนในตลาดของอินเดีย[43] ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการประกาศว่าซ้าบได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับทาทา กรุ๊ปเพื่อพัฒนากริพเพนรุ่นใหม่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของอินเดีย[44][45]
เนเธอแลนด์
ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ดาเจนส์ อินดัสทรี (Dagens Industri) ได้รายงานว่าเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศว่าพวกเขาจะทำการประเมินยาส 39 กริพเพน เอ็นจีพร้อมกับเครื่องบินอีกสี่ลำที่ร่วมแข่งขันและได้ประกาศผลเมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2551[46] ซ้าบตอบกลับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 251 เพื่อร่วมในโครงการหาเครื่องบินทดแทนของกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์ ด้วยการเสนอเครื่องบิน 85 ลำให้กับกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์[47] เนเธอร์แลนด์ยังทำการประเมินระหว่างกริพเพน เอ็นจีกับเอฟ-35 อีกด้วย[48] ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สื่อได้รายงานว่าเนเธอร์แลนด์ได้ทำการประเทินเอฟ-35 ว่าเหนือกว่ากริพเพน โดยกล่าวว่าเอฟ-35 นั้นมีการทำงานที่ดีและราคาที่ถูกกว่า[49][50][51] ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เอ็นอาร์ซี แฮนเดลส์บลาด (NRC Handelsblad) อ้างว่าซ้าบได้ทำข้อเสนอให้กับเนเธอร์แลนด์ด้วยการส่งมองกริพเพน 85 ลำในราคา 4,800 ล้านยูโร ซึ่งถูกกว่าเอฟ-35 1 พันล้านยูโร[52] ราคานี้ยังรวมทั้งค่าฝึกนักบินและการบำรุงรักษาไปอีก 30 ปี[53]
สวิตเซอร์แลนด์
ในวันที่ 17 มการาคม พ.ศ. 2551 คณะบริหารการป้องกันของสวิตเซอร์แลนด์ได้เชิญกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลเพื่อหาเครื่องบินมาทดแทนเอฟ-5[54] ซ้าบได้ตอบรับด้วยการยื่นข้อเสนอในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยจำนวนที่แท้จริงของเครื่องบินยังเป็นความลับอยู่[55]
ประเทศอื่นๆ
บัลแกเรียได้ประกาศว่าพวกเขาต้องการแทนที่มิโคยัน มิก-21 ของพวกเขาด้วยยาส 39ซี/ดี 16 ลำ[56]หรือใช้เอฟ-16 16 ลำแทน
กองทัพอากาศโรมาเนียได้ประกาศว่าพวกเขาจะแทนที่มิก-21 แลนเซอร์ของพวกเขาในปี พ.ศ. 2551 โดยอาจเป็นยาส 39 กริพเพน เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน หรือยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูน[57][58]
ทางการเซอร์เบียเองก็ได้หารือเรื่องเครื่องบินที่จะเข้ามาแทนที่มิก-21 ของพวกเขาใน พ.ศ. 2553 พวกเขาต้องการเครื่องบิน 24 ลำและกริพเพนก็อยู่ในทางเลือกของพวกเขา
ประเทศอื่นๆ ที่แสดงความสนใจในกริพเพนยังรวมทั้งสโลวาเกียอีกด้วย[59][60]
ประเทศที่จัดซื้อเข้าประจำการและกำลังพิจารณา[แก้]

ประเทศผู้ใช้งานยาส 39
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538 ซ้าบและบริติช แอโรสเปซ (British Aerospace) (BAE Systems) ตกลงร่วมมือกันในด้านการตลาดของกริพเพนในชื่อกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) และต่อมาได้ยุติความร่วมมือลง หลังจากมีผลประโยชน์ขัดกันในกรณีการเสนอกริพเพนและยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่นเข้าแข่งขันพร้อมกันในออสเตรีย ทำให้ ซ้าบ กลับมาถือหุ้นทั้งหมดในกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล
ณ ปัจจุบัน มีผู้ใช้ Gripen อันประกอบไปด้วย
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน
สั่งซื้อเข้าประจำการจำนวนกว่า 200 ลำ ทั้งรุ่น เอ/บี และ ซี/ดี แต่เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้มีการลดจำนวนการประจำการลงเหลือ 100 ลำ โดยจะปรับปรุงรุ่น เอ/บี จำนวน 31 ลำให้เป็นมาตรฐาน ซี/ดี และขายเครื่องที่เหลือให้กับลูกค้าต่างประเทศที่สนใจ [61]
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
สั่งซื้อเข้าประจำการจำนวน 28 ลำในปี พ.ศ. 2542 โดยแอฟริกาใต้ร่วมทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องร่วมกับสวีเดน และจะเริ่มรับเครื่องในปี พ.ศ. 2551 นี้
ธงของประเทศฮังการี ฮังการี
เช่าซื้อจำนวน 14 ลำในปี พ.ศ. 2544 โดยเมื่อหมดสัญญาเช่า 10 ปีแล้ว เครื่องบินจะเป็นกรรมสิทธิของฮังการีโดยถาวร
ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย
เช่า 14 ลำในปี พ.ศ. 2547 และเช็กกำลังตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องเป็นกรรมสิทธิหลังจากหมดสัญญาเช่าในเวลา 10 ปีหรือไม่
ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
Empire's Test Pilot School ทำการฝึกนักบินทดสอบจากทั่วโลกในกริเพน

ยาส39 ของกองทัพอากาศไทย
 ไทย
กองทัพอากาศไทยประจำการด้วย JAS 39 C/D ทั้งสิ้น 12 ลำ ที่กองบิน 7
ประเทศที่ได้อนุมัติการสั่งซื้อ
ธงของประเทศบราซิล บราซิล
ได้สั่งซื้อกริพเพน รุ่น E จำนวน 28 ลำ และรุ่น F จำนวน 8 ลำ
สำหรับประเทศอื่น ๆ ที่สนใจนั้นมีดังนี้
บัลแกเรีย สนใจที่จะจัดหาจำนวน 20 เครื่องทดแทน MiG-29
อินเดีย มีโครงการจัดหาเครื่องบินรบ 126 ลำ แต่คาดว่ากริพเพนไม่น่าจะได้รับการคัดเลือก
กลุ่มประเทศบอลติก สนใจจะเช่าใช้งานจำนวน 12 เครื่อง
บราซิล เริ่มต้นโครงการ F-X ใหม่อีกครั้ง และคาดว่ากริพเพนจะเข้าร่วมแข่งขันด้วย
โครเอเซีย ต้องการเครื่องบิน 12 เครื่องตามโครงการปรับปรุงกองทัพ โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งขันกับ เอฟ-16 มือสองจากสหรัฐ
กรีซ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดซื้อเครื่องบินรบอีก 30 - 40 เครื่อง
โรมาเนีย ต้องการเครื่องบินขับไล่ 40 เครื่อง โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งกันกับ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น ของยุโรป
สโลวาเกีย ต้องการเครื่องบิน 14 เครื่องเพื่อทดแทน MiG-29 แต่ยังไม่มีการประกาศโครงการออกมาอย่างเป็นทางการ
สวิสเซอร์แลนด์ ต้องการเครื่องบินทดแทน F-5 จำนวน 20 - 33 เครื่อง โดยสวิสเซอร์แลนด์ได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่นขันทั้ง 4 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ/เอ-18อี/เอฟ, ราฟาล, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริเพน ส่งข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว และคาดว่าจะทำการตัดสินใจได้ในปี 2552
นอร์เวย์ ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ โดยได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่งขันทั้ง 3 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ-35, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริเพน ส่งข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว และคาดว่าจะทำการตัดสินใจได้ในปี 2552
เดนมาร์ก ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ
รุ่นต่าง ๆ[แก้]

ยาส 39 กริพเพนกำลังเคลื่อนตัวหลังจากทำการแสดงในงานฟาร์นโบโรห์เมื่อปีพ.ศ. 2549
ยาส 39เอ
เป็นแบบเครื่องบินขับไล่ที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนเมื่อปีพ.ศ. 2539 โครงการดัดแปลงได้เริ่มขึ้นและมี 31 ลำที่ถูกพัฒนาเป็นรุ่นซีและดี[62]
ยาส 39บี
เป็นรุ่นที่มีสองที่นั่ง มันยาวกว่ารุ่นปกติ 2 ฟุต 2 นิ้ว
ยาส 39ซี
เป็นรุ่นตามมาตรฐานนาโต้ที่มีความสามารถด้านอาวุธ อิเลคทรอนิก และอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้น รุ่นนี้สามารถทำการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้
ยาส 39ดี
เป็นรุ่นสองที่นั่งของรุ่นซี
กริพเพน เดโม
เป็นรุ่นทดสอบเทคโนโลยีสองที่นั่งสำหรับการพัฒนาเป็นกริพเพน เอ็นจี
กริพเพน เอ็นจี/ไอเอ็น
รุ่นเอ็นจี (NG, Next Generation) เป็นรุ่นข้อเสนอสำหรับเครื่องยนต์ใหม่เพื่อเพิ่มความจุเชื้อเพลิง น้ำหนักบรรทุก ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ และการพัฒนาอื่นๆ รุ่นไอเอ็น (IN) เป็นรุ่นที่คาดว่าจะส่งเข้าแข่งกันในอินเดียที่หาเครื่องบินทดแทน[42]
ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

สีน้ำเงินคือผู้ใช้กริพเพน สีเขียวเป็นผู้สั่งซื้อ
ผู้ใช้ในปัจจุบัน[แก้]
ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย
กองทัพอากาศเช็ก มีกริพเพนอย่างน้อย 14 ลำ รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 2 ลำ
ธงของประเทศฮังการี ฮังการี
กองทัพอากาศฮังการี มีกริพเพน 14 ลำ รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 2 ลำ (รุ่นซีและดี) เครื่องบินสามลำสุดท้ายถูกส่งมอบในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550[63]
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
กองทัพแอฟริกาใต้ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน 26 ลำ (ลดลงจาก 28 ลำ) โดยมีรุ่นซีหนึ่งที่นั่ง 17 ลำและรุ่นดีสองที่นั่ง 9 ลำ[64] การส่งมอบครั้งแรกของแบบสองที่นั่งเกิดขึ้นในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551[32][65]
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน
กองทัพอากาศสวีเดน เดิมทีสั่งซื้อเครื่องบินไว้ทั้งหมด 204 ลำ รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 28 ลำ (138 ลำในประจำการ) สวีเดนให้เช็กและฮังการีเช่าเครื่องบินรวมกัน 28 ลำ ในปีพ.ศ. 2550 รัฐบาลสวีเดนได้ตัดสินใจว่าในอนาคตจะไม่มีการใช้ยาส 39ซี/ดี กริพเพนเกิน 100 ลำอีกต่อไป[66] โครงการพัฒนาเครื่องบิน 31 ลำจากรุ่นเอและบีเป็นซีและดีก็เริ่มขึ้น[67]
 สหราชอาณาจักร
Empire Test Pilots' School มีครูฝึกและนักเรียนที่ฝึกการจำลองการบินกับกองทัพอากาศสวีเดน และกำลังจะใช้กริพเพนแบบสองที่นั่งที่สำนักงานใหญ่ของซ้าบ โดยมีสองโครงการต่อปี ข้อตกลงถูกเปลี่ยนแปลงในปีพ.ศ. 2551[68]
 ไทย
กองทัพอากาศไทย ได้สั่งซื้อเครื่องบิน 6 ลำ โดย 4 ลำเป็นแบบสองที่นั่ง[69] โดยจะทำการส่งมอบในปีพ.ศ. 2554 โดยมีอีก 6 ลำที่จะถูกส่งให้ทีหลัง[70][71][72][73] กริเพนจะเข้ามาทำหน้าที่แทนเอฟ-5อี/เอฟ ที่ฐานทัพอากาศสุราษฎร์ธานี[74] ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของไทยได้อนุมัติเครื่องบินอีกหกลำ[75]
รายละเอียด[แก้]

สันดาปท้ายของกริพเพน
ลูกเรือ 1 นาย (2นายสำหรับรุ่นบีและดี)
ความยาว 14.1 เมตร (14.8 เมตรสำหรับสองที่นั่ง)
ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 8.4 เมตร
ความสูง 4.5 เมตร
พื้นที่ปีก 30 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า 5,700 กิโลกรัม
น้ำหนักพร้อมอาวุธ 8,500 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 14,000 กิโลกรัม
ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้าย วอลโว แอโร อาร์เอ็ม12
แรงขับปกติ 12,100 ปอนด์
แรงขับเมื่อใช้สันดาปท้าย 18,100 ปอนด์
ความเร็วสูงสุด 2 มัค (2,130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในทุกระดับความสูง
พิสัยการรบ 800 กิโลเมตร
ระยะสำหรับการขนส่ง 3,200 กิโลเมตรพร้อมถังเชื้อเพลิงที่ปลดได้
เพดานบินทำการ 50,000 ฟุต
น้ำหนักบรรทุกที่ปีก 336 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.97
อาวุธ
ปืนกลอากาศเมาเซอร์ บีเค-27 ขนาด 1×27 ม.ม.พร้อมกระสุน 120 นัด หนึ่งกระบอก
อาร์บี.74 (เอไอเอ็ม-9)หรืออาร์บี 98 หกลูก
อาร์บี.99 (เอไอเอ็ม-120)หรือไมกา 4 ลูก
อาร์บี.71 (สกายแฟลช)หรือเมเทโอร์ 4 ลูก
อาร์บี.75 4 ลูก
เคอีพีดี.350 2 ลูก
ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์จีบียู-12 เพฟเวย์ 2 4 ลูก
กระเปาะจรวดขนาด 13.5 ซ.ม. 4 กระเปาะ
ขีปนาวุธต่อต้านเรืออาร์บีเอส.15เอฟ 2 ลูก
ชุดระเบิดพวงบีเค.90 2 ลูก
ระเบิด มาร์ก 82 8 ลูก
กระเปาะอีซีเอ็มรุ่นเอแอลคิว-ทีแอลเอส 1 กระเปาะ
[76][77][78][79][80][81][82]
ไทยและสวีเดนลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อยาส 39[แก้]
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้อำนวยการ นายพลกุนนาร์ โฮล์มเกรน (อังกฤษ: Gunnar Holmgren) แห่งศูนย์อำนวยการยุทโธปกรณ์ทางทหารแห่งสวีเดน (FMV) และพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ลงนามข้อตกลงในการจัดซื้อ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์กริเพนรุ่นล่าสุดจำนวน 6 ลำและระบบเรด้าร์อิรี่อาย
ในข้อตกลงนี้ กองทัพอากาศไทยจะสามารถจัดหาเครื่องบินได้ทันการปลดประจำการเครื่องบินเอฟ-5 ได้ในต้นปี พ.ศ. 2554 กองทัพอากาศไทยจะได้รับเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์กริพเพนรุ่นซีและดีซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด จำนวน 6 ลำ (ยาส 39 กริพเพน ดีแบบสองที่นั่งจำนวน 4 ลำ และยาส 39 กริพเพน ซีแบบ 1 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ) และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนซ้าบ 340 อีรี่อายจำนวน 1 ลำ พร้อมทั้งเครื่องบินซ้าบ 340 อีก 1 ลำสำหรับการฝึกและขนส่ง[83]
ดูเพิ่ม[แก้]
อากาศยานที่เทียบเท่า
เฉิงตู เจ-10
มิโคยัน มิก-29เอ็ม
ดัซโซลท์ ราฟาเอล
ยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูน
เอฟ-16อี/เอฟ ไฟท์ติ้งฟอลคอน บล็อก 60
มิตซูบิชิ เอฟ-2

บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!