ปลูกปาล์มน้ำมัน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 24, 2024, 03:46:57 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกปาล์มน้ำมัน  (อ่าน 1526 ครั้ง)
คนเกษตร
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2016, 11:51:25 AM »




สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน

          ปริมาณน้ำฝน ปาล์มน้ำมันชอบสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกและสม่ำเสมอตลอดปี ความชื้นสูง แสงแดดจัด พื้นที่ทางภาคใต้ส่วนใหญ่จึงเหมาะสมเนื่องจากมีการกระจายของน้ำฝนสม่ำเสมอ ประมาณ ๑,๘๐๐ - ๒,๐๐๐ มม./ ปี และจะต้องไม่มีสภาพแล้งเกิน ๓ เดือน ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกพื้นที่ปลูกต้องคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ สภาพดิน และการขนส่งด้วย

          อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง ๒๕ -๒๘0 ปริมาณแสงแดดอย่างน้อย วันละ ๕ ชั่วโมง และมีความชื้นสัมพันธ์ของอากาศในรอบปี ไม่ต่ำกว่า ๗๕%

          สภาพดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียว มีความลึกของชั้นหน้าดินมากกว่า ๗๕ ซม. อุ้มน้ำได้ดี มีธาตุอาหารสูงมีความเป็นกรดอ่อน pH๔.๐ – ๖.๕ สูงกว่า ระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๕๐๐ เมตรมีความลาดชันไม่เกิน ๑๒%

          ปริมาณแสงแดด โดยทั่วไปปาล์มน้ำมันต้องการแสงแดดอย่างน้อย ๕ ชั่วโมง หรือประมาณ ๑๘,๐๐๐ ชั่วโมงต่อปีถ้าปลูกปาล์มในสถานที่มีร่มเงา หรือปลูกในสภาพชิดกันเกินไป จะทำให้การสะสมน้ำหนักและการผลิตช่อดอกเพศเมียลดลง ทำให้ผลผลิตลดลง

          การขนส่ง การขนส่งผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันสู่โรงงานมีความสำคัญไม่น้อย ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันอย่างรวดเร็ว (ไม่ควรเกิน ๒๔ ซม.) ควรมีพื้นที่ปลูกปาล์มห่างจากโรงงานสกัดไม่เกิน ๑๒๐ กม. และมีพื้นที่ทำการขนส่งได้สะดวก

          สภาพแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การปลูกปาล์มน้ำมันได้รับผลสำเร็จ เมื่อพิจารณาสภาพภูมิอากาศข้างต้นแล้ว เกษตรกรควรพิจารณาศักยภาพของพื้นที่เหมาะสม โดยการตรวจสอบพื้นที่ก่อนปลูก ปาล์มน้ำมันเสียก่อนโดยสอบถามจากสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ ในพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันว่าเหมาะสมหรือไม่ เมื่อพื้นที่เหมาะสมควรปลูกปาล์มน้ำมันทันที หากพื้นที่ไม่เหมาะสมควรปลูกปาล์มน้ำมันทันที หากพื้นที่ไม่เหมาะสมควรปลูกพืชชนิดอื่น หากปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือเปลี่ยนชนิดของพืชในลำต้นต่อไป

พันธุ์ปาล์มน้ำมัน

          พันธุ์ดูร่า (Dura) มีชั้นนอกของเปลือกให้น้ำมันร้อยละ ๓๕ - ๖๐ ของน้ำหนักผลปาล์มทั้งหมด พันธุ์ปาล์มน้ำมันดูร่าที่ดีพบในแถบตะวันออกไกลซึ่งน้ำมันต่อทะลายประมาณ ร้อยละ ๑๘ - ๑๙.๕ กะลาหนาปานกลาง ๒ - ๘ มิลลิเมตร หรือร้อยละ ๒๕ - ๓๐ ของน้ำหนักผล และมีเปลือกชั้นนอกหนา ๒๐ - ๖๐ มิลลิเมตร ปาล์มน้ำมันดูร่าที่มีกะลาหนามาก ๆ ๔ - ๘.๕ มิลลิเมตร หรือร้อยละ ๕๐ ของน้ำหนักผล มีส่วนเปลือกนอกบาง พันธุ์ดูร่านี้ใช้เป็นแม่พันธุ์สำหรับผลิตลูกผสมพันธ์เทเนอร่า

          พันธุ์พิสิเฟอร่า (Pisifera) มีกะลาบางมาก เปลือกหนากว่าพันธุ์ดูร่าประมาณ ๕ - ๑๐ มิลลิเมตร) เมล็ดในเล็ก มีข้อเสียคือ ขนาดของผลเล็ก ช่อดอกตัวเมียเป็นหมัน และมีการผลิตทะลายต่อต้นจำนวนต่ำ ดังนั้นจึงเป็นพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมที่จะปลูกเป็นการค้า ปัจจุบันใช้พันธุ์นี้เป็น พ่อพันธุ์สำหรับผลิตพันธุ์ผสมเทเนอร่า

          พันธุ์เทเนอร่า (Tenera) คือพันธุ์ที่แนะนำให้ปลูกเป็นพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์ดูร่ากับพันธุ์พิลิเฟอ ร่าใช้พันธุ์ดูร่าเป็นพันธุ์แม่ และพันธุ์พิสิเฟอร่าเป็นพันธุ์พ่อเข้าด้วยกัน (DXP) พันธุ์เทเนอร่ามีกะลาบาง (๐๕ - ๔ มิลลิเมตร) และมีน้ำหนักต่อทะลายประมาณร้อยละ ๒๒ - ๒๕ มีทะลายดกกว่าพันธุ์ดูร่า เนื่องจากพันธุ์เทเนอร่ามีคุณสมบัติดีคือมีกะลาบางได้น้ำมันจากส่วน เปลือกชั้นกลางมากกว่าพันธุ์ดูร่าประมาณ้ร้อยละ ๒๕ จึงมักนิยมปลูกเป็นการค้า ลักษณะผลผลิตสีดำ เมื่อสุกเปลือกนอกมีสีส้มแดง กะลาบาง ให้น้ำมันปาล์มสูง

การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

          ก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน ต้องมีดารเตรียมพื้นที่ก่อนปลูกอย่างน้อย ๑ ปี และควรทำให้ช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนธันวาคม – เมษายน ควรแบ่งพื้นที่ให้เป็นแปลงย่อย เพื่อให้ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวก แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่และแรงงานด้วย การโค่นต้นไม่หรือถางป่า โดยใช้เครื่องมือตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ตามความเหมาะสม เคลื่อนย้ายต้นไม้ออกหรือเผา แล้วปรับสภาพพื้นที่ และพิจารณาการทำถนน การระบายน้ำ รวมถึงการวางแนวระยะปลูกด้วย

          เมื่อพิจารณาพื้นที่ส่วนต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จึงไถครั้งแรกด้วยไถแบบ ๓ จานจำนวน ๓ ครั้ง ห่างกันประมาณ ๒ สัปดาห์ แล้วไถด้วยไถแบบ ๗ จาน จำนวน ๑ ครั้ง หลังจากนั้นฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น ราวอัพ เพื่อกำจัดวัชพืชครั้งสุดท้ายก่อนปลูก

การสร้างถนนและทางระบายน้ำ

          ถนนในสวนปาล์มน้ำมันเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเข้าปฏิบัติงานการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว และควรมีทิ้ง ๒ ประเภท คือ

          ๑.ถนนใหญ่ ความกว้างประมาณ ๖ เมตร และควรมี ๒ สาย ต่อ ๑ แปลงใหญ่คือด้านหน้าและด้านหลังแปลง ควรอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร

          ๒.ถนนเข้าแปลง เชื่อมจากถนนใหญ่ เพื่อขนส่งวัสดุการเกษตรและผลผลิตในสวนปาล์มน้ำมัน ความกว้างประมาณ ๔ เมตร ควรห่างกันประมาณ ๕๐๐ เมตร

          ๓.ทางระบายน้ำ จำเป็นสำหรับพื้นที่ปลูกซึ่งมีสภาพเป็นลุ่มและมีน้ำท่วมควรทำพร้อมกับการตัดถนน ร่องน้ำมี ๓ ประเภท คือ

          -ร่องระบายน้ำในแปลง

          -ร่องระบายน้ำรวม

          -ร่องระบายน้ำใหญ่

การปลูกปาล์มน้ำมัน

          การวางแนว

          หลังจากเตรียมพื้นที่ ตัดถนนและทางระบายน้ำแล้ว จึงวางแนวการปลูกโดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับการทำงาน การระบายน้ำ ความลาดเทของพื้นที่ ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมัน ได้รับแสงแดมากที่สุด เพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยม ด้านเท่า แถวหลักเป็นฐานอยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ แถวที่ใกล้กันจะปลูกกึ่ง กลางเป็นระยะยอดของสามเหลี่ยมด้านเท่า และการจัดระยะการปลูก ๙x๙ เมตร เป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่อง จากทำให้ต้นได้รับแสงมากที่สุด

          หลุมปลูก เมื่อวางแนวปลูกและปักไม้เป็นเครื่องหมายแล้ว ขุดหลุมขนาดกว้าง ๔๕ ซม. ยาว ๔๕ ซม. ลึก ๓๕ ซม. เป็นรูปตัวยู โดยให้จุดที่ปักไม้เป็นจุดกลางหลุม ใช้เสียมแซะดินให้หลุมตั้งตรงขุดดินชั้นบนและชั้นล่างแยกกัน ตากไว้ประมาณ ๑๐ วัน ก่อนนำต้นกล้ามาปลูก

          ฤดูปลูก ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน คือ ต้นฤดูฝน ประมาณ เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ควรปลูกเมื่อฝนเริ่มตกแล้ว เพราะดินจะมีความชื้นเพื่อให้ต้นกล้าได้มีเวลาตั้งตัวในแปลงได้นาน

          การปลูก การปลูกอย่างถูกวิธี จะทำให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันดีและให้ผลผลิตสูง อายุต้นกล้าที่เหมาะสมประมาณ ๑๐ - ๑๒ เดือน ต้นกล้าที่มีอายุน้อยเกินไป จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ สำหรับต้นกล้าที่มีอายุมากเกินไปผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและตกผลช้าและไม่ สะดวกในการขนย้าย บางครั้งไม่สามารถใช้ต้นกล้าที่มีอายุเท่าที่กำหนดได้เราสามารถแก้ไขได้โดย ตัดใบบางส่วนทิ้งบ้าง และระวังอย่าให้รากบอกบซ้ำจากการขนย้ายมากนัก

          การขนย้ายต้นกล้า ควรขนย้ายต้นกล้าปาล์มน้ำมันด้วยความประณีต ไม่ให้กระทบกระเทือนมาก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน

          การปลูก ก่อนปลูกปาล์มน้ำมันควรใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตรองก้นหลุม เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน ในอัตรา ๒๕๐ กรัมต่อหลุม คลุกเหคล้าดินกับปุ๋ยให้กระจายถือต้นกล้าด้วยมือทั้งสองข้างอย่างระมัดระวัง แล้ววางลงหลุมให้ตรงจุดที่ต้องการ ใส่ดินชั้นบนที่ตากไว้ไปก่อนแล้วตามด้วยดินชั้นล่าง อัดดินให้แน่น ใช้ไม้ปักผูกไว้ป้องกันการล้ม หรือเมื่อลมพัดแรง

          การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่นปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิมสภาพภูมิอากาศ ความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆ ชนิดของปุ๋ย อัตราการใส่ และราคาปุ๋ย สำหรับการขาดธาตุอาหารที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ก็เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่งสำหรับการใส่ปุ๋ย

          วิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน แต่มีหลักสำคัญคือ

          ๑.ใส่ในช่วงที่ปาล์มน้ำมันต้องการ

          ๒.ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด

          ระยะเวลา ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเหลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย ๔ - ๕ ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ ๒ เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย ๓ ครั้ง/ปี ช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝนตั้งแต่ปี่ ๕ ขึ้นไป พิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ ๒ ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม

          การแบ่งใส่ปุ๋ย (อัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส่ ๓ ครั้ง / ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน ๕๐:๒๕:๒๕% สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ ๒ ครั้ง / ปี ใช้สัดส่วน ๖๐:๔๐% ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝน ตามลำดับ

          ช่วงต้นฝน คือ       ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

          ช่วงกลางฝน คือ     ประมาณเดือนกรกฎาคม – กันยายน

          ช่วงปลายฝน คือ     ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน

          วิธีการใส่ปุ๋ยควรใส่ครั้งแรกเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันโดยใส่ร็อกฟอสเฟต อัตรา ๒๕๐ กรัม / ต้น รองก้นหลุมต่อจากนั้นจะใช้ปุ๋ย ดังนี้

อายุปาล์ม (ปี)
 ปุ๋ย N K และ Mg
 ปุ๋ย P
 
๑ - ๔
 ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว
 ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว
 
๕ - ๙
 ใส่บริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น ๕๐ ซม. ถึงบริเวณปลายทางใบ
 ใส่บริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น ๒ เมตร ถึงบริเวณปลายทางใบ
 
๑๐ ปีขึ้นไป
 หว่านบริเวณระหว่าแถวปาล์มน้ำมัน หรือบนกองทางใบที่ถูกต้องตัดแต่งที่ได้กำจัดวัชพืชแล้ว
 กองทางใบที่ถูกตัดแต่งที่ได้กำจัดวัชพืชแล้ว
 


วิธีการใส่ปุ๋ย

          ปีที่ ๑ : เมื่อย้ายกล้าปลูก (กล้าปาล์มอายุ ๑๐ - ๑๒ เดือน) ใส่ร็อกฟอสเฟตรองก้นหลุมประมาณ ๒๕๐ กรัมต่อหลุม เนื่องจากปุ๋ยนี้จะตกค้างเป็นประโยชน์ได้ ๒ - ๓ ปี จึงไม่จำเป็นต้องใส่ทุกปี

          หลังจากปลูกแล้วทุก ๓ เดือน ใส่ปุ๋ย ๒๑ -๑๑ - ๑๑+ ๑.๒ Mgo ต้นละ ๒๐๐ - ๓๐๐ กรัมและใส่อีกครั้งเมื่อปลูกได้ ๖ เดือน ในอัตราเดิม และใส่อีกครั้งเมื่ออายุได้ ๙ เดือน ในอัตราเดิม

          ปีที่ ๒ : เมื่ออายุได้ ๑๘ เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ + ๒ Mgo อัตราต้นละ ๔๐๐ - ๕๐๐ กรัม เมื่ออายุได้ ๒๔ เดือนเต็ม ใช้ปุ๋ยเดิม คือ ๑๔ - ๙ - ๒๐ + ๒ Mgo อัตราต้นละ ๐.๕ ก.ก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร ๐ - ๐ - ๖๐) อัตราต้นละ ๐.๕ กก.

          ปีที่ ๓ : เมื่ออายุปาล์มได้ ๓๐ เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ + ๒ Mgo อัตราต้นละ ๘๐๐ กรัม และเมื่อปาล์มอายุได้ ๓๖ เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร๑๔ - ๑๔ - ๒๑ อัตราต้นละ ๑ กก.

          ปีที่ ๔ : เมื่ออายุปาล์มได้ ๔๒ เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ + ๒ Mgo อัตราต้นละ ๑.๕ กก. ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟต อีกอัตราต้นละ ๑ กก. (สูตร ๐ - ๓ - ๐) และปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์อัตราต้นละ ๑.๕ กก. (สูตร ๐– ๐ - ๖๐)

          ปีที่ ๕ : ใปุ๋ยปีละ ๒ ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ - ๒ Mgo อัตราต้นละ ๒ กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร ๐ - ๐ - ๖๐) อัตราต้นละ ๑.๕ กก.

                    ครั้งที่ ๒ ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๑๔ - ๒๑ อัตราต้นละ ๒ กก.

          ปีที่ ๖ : ใส่ปุ๋ยปีละ ๒ ครั้ง ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ ครั้งแรกปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๑๙ - ๒๐ - ๒ Mgo อัตราต้นละ ๒ กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร ๐ - ๐ - ๖๐) อัตราต้นละ ๑.๕ กก.

                    ครั้งที่ ๒ ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๑๔ - ๒๑ อัตราต้นละ ๒ กก.

          ปีที่ ๗ : ใส่ปุ๋ยปีละ ๒ ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ + ๒ Mgo อัตราต้นละ ๒ กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร ๐ - ๐ - ๖๐) อัตราต้นละ ๑.๕ กก.

                    ครั้งที่ ๒ ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๑๔ - ๒๑ อัตราต้นละ ๒.๕ กก.

          ปีที่ ๘ : ใส่ปุ๋ยปีละ ๒ ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ + ๒ Mgo อัตราต้นละ ๒.๕ กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (สูตร ๐ - ๐ - ๖๐) อัตราต้นละ ๒ กก.และปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอัตราต้นละ ๒ กก.

                    ครั้งที่ ๒ ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๑๔ - ๒๑ อัตราต้นละ ๒.๕ กก.

          ปีที่ ๙ : การใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปีที่ ๙ เป็นต้นไป ต้องใช้ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต เพราะปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ ๓ ปี ต่อครั้ง ไม่ต้องใส่ทุกปีส่วนปุ๋ยสูตรอื่น ๆ ยังคงใส่เหมือนเดิมทุกปี

          ๑.ปุ๋ยสูตร ๒๐ - ๑๑ - ๑๑ + ๑.๒ Mgo เป็นปุ๋ยหลักที่ใส่ให้กับปาล์มที่ปลูกในปีแรก

          ๒.ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ + ๒๐ Mgo เป็นสูตรปุ๋ยที่ใช้ใส่ต้นปาล์มทุกปี

          ๓.ปุ๋ยสูตร ๐ - ๐ - ๖๐ หรือ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ + ๒ Mgo ปุ๋ยทั้ง ๒ สูตรนี้ ใส่ให้ต้นปาล์มครั้งแรกของทุกปี

          ๔.ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๑๔ - ๒๑ (หรือปุ๋ยสูตรตัวท้ายอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน) เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นปาล์มทุกปี ๆ ละ ๑ ครั้ง (ใส่ปุ๋ยครั้งที่ ๒)

          ๕.ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ทุก ๆ ๒ ปี ทุก ๆ ๓ ปี ก็ได้ ประมาณ ๒ กก. / ต้น

การ ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรแบ่งใส่ ๒ ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร ๑๔ - ๙ - ๒๐ +๒ Mgo ผสมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร ๐ - ๐ - ๖๐) หรือบางปีอาจร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟตด้วย เมื่อจำเป็น

          เมื่อผสมทั้ง ๓ สูตรนี้เข้าด้วยกันแล้วต้องรีบใส่ให้ต้นปาล์มทันที ในสวนปาล์มส่วนใหญ่ ค่าปุ๋ยจะเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด แต่ในบางครั้งอาจจะได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า หรือเกิดการสูญเปล่า ดังนั้นในสวนปาล์มขนาดใหญ่ จึงควรตระหนักเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต การใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะพิจารณาผลการวิเคราะห์ดินใบปาล์มน้ำมัน อัตราปุ๋ยและชนิดปุ๋ย ทั้งนี้เพื่อจะลดการสูญเสีย เนื่องจากขาดความเอาใจใส่ในการใส่ปุ๋ยให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดต่างๆ ที่มักพบโดยทั่วไป คือ

          -ใส่ปุ๋ยผิดวิธี การใส่ปุ๋ยเป็นบริเวณแคบๆ หรือกองไว้เป็นจุด ๆ แทนที่จะหว่านให้ทั่วนั้น อาจจะเป็นอันตรายกับราก และทำให้เกิดการสูญเสียเนื่องจากการชะล้างและไหลบ่าได้

          -เวลาใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสม การใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินแห้ง หรือเปียกเกินไป จะมีผลต่อการสูญเสียไนโตรเจนมากที่สุด

          -ปริมาณใส่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในปาล์มเล็ก

          -ความไม่สมดุลระหว่างธาตุอาหารที่ใส่

          -ใส่ไม่ถูกต้อง (ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือไม่เหมาะสม)

การปลูกพืชคลุมดิน

          การปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีการป้องกันและแก้ปัญหาเรื่องวัชพืชกับการชะล้าง พังทลายของดิน นอกจากนี้พืชคลุมดินยังช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินด้วย เกษตรกรนิยมปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันกันมาก เพราะไม่ต้องใช้แรงงานและเวลาในการดูแลรักษาพืชคลุมดินมาก เหมือนการปลูกพืชแซมปาล์มน้ำมัน

          ประโยชน์และข้อจำกัดบางประการของพืชคลุมดิน

          พืชคลุมดินจะให้ประโยชน์มาก แต่ถ้าเกษตรกรขาดการดูแลรักษาที่ดี ก็อาจเกิดโทษได้เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการปลูกพืชคลุมดินจึงควรตระหนักถึงข้อจำกัดบางประการของ พืชคลุมดินและปฏิบัติให้ถูกต้องก็จะเกิดประโยชน์หลายประการ ดังนี้

          ๑.พืชคลุมดินจะช่วยป้องกันผิวหน้าดินเมื่อเกิดการถูกแดดเผาอย่างรุนแรง

          ๒.ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดินเมื่อเกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความลาดชันสูง

          ๓.เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการเพิ่มและสะสมธาตุอาหารจำพวกไนโตรเจนของพืชคลุมดินตระกูลถั่ว

          ๔.ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น เช่น ช่วยทำให้ดินทรายอุ้มน้ำได้มากขึ้นดินเกาะตัวกันดีขึ้น และรากของพืชคลุมดช่วยทำให้ดินโปร่งมีช่องว่างของ อากาศมากขึ้นสามารถระบายน้ำได้ดี

          ๕.ลดปัญหาวัชพืชขึ้นแข่งขัน

          ๖.สามารถเก็บเมล็ดพืชคลุมตระกูลถั่วไปขายได้ราคาดี

อาการขาดธาตุอาหาร

          อาการผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารมักจะแสดงออกให้เห็น เมื่อพืชขาดธาตุอาหารในขั้นรุนแรง และผลผลิตอาจจะลดลงแล้วด้วย ซึ่งอาการขาดธาตุอาหารต่างๆ สามารถมองเห็นได้โดยสายตา และสังเกตได้ดังนี้

          ไนโตรเจน (N) ลักษณะอาการใบมีสีเหลืองซีดเกิดที่ทางใบแก่ก่อน แก้ไขโดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต อัตรา ๑ - ๒ กก. ต่อสำหรับต้นปาล์มที่มีอายุ ๑ - ๒ ปี และ อัตรา ๓ - ๔ กก. ต่อต้นสำหรับต้นปาล์มที่มีอายุ ๕ - ๑๐ ปี

          ฟอสฟอรัส (P) ลักษณะอาการจะชะงักการเจริญเติบโต ใบมีสีเขียวเข้มแก้ไขโดยใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต อัตรา ๑.๒๕ - ๑.๕ กก. ต่อต้น

          โปแตสเซียม (K) ลักษณะอาการ คือ จะมีจุดสีเหลืองส้มเป็นจ้ำ ๆ บริเวณทางใบตอนล่าง ขนาดเล็กไปหาใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน เมื่อเป็นมาก ๆ เนื้อใบส่วนที่มีสีเหลืองจะแห้ง และอาจเกิดเฉพาะต้นได้แทนที่จะเป็นบริเวณกว้าง อาจทำให้เข้าใจผิดกว่าเนื่องมาจากพันธุกรรม ลักษณะเด่นชัดในปาล์มน้ำมันที่ขาดธาตุโปแตสเซียม คือ ทางใบล่างซีดและแห้งก่อนกำหนด

          แมกนีเซียม (Mg) ลักษณะอาการทางใบล่างจะมีสีเหลืองเริ่มจากปลายใบและขอบใบย่อย บริเวณที่มีสีเหลืองจะเห็นชัดเจนเมื่อถูกแสงแดด ส่วนที่ไม่ถูกแสงแดดจะคงมีสีเขียว อาการขาดแมกนีเซียมต่ำและมีความเป็นกรดจัด ในบางกรณีเกิดจากธาตุอาหารในดินไม่สมดุลย์ระหว่างแมกนีเซียมกับโปแตสเซียม หรือแมกนีเซียมกับแคลเซียม ทำให้พืชไม่สามารถดูดแมกนีเซียมไปใช้ได้ดีเท่าที่ควร เช่น ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน หรือปุ๋ยโปแตสเซียม หรือปุ๋ยที่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบที่มากเกินไป เป็นต้น วิธีการแก้ไขสำหรับอาการที่เกิดจุดปะสีส้มบนใบที่แก่ หรือ รุนแรงจนหลายใบและขอบใบแห้ง ให้ใส่โปแตสเซียมคลอไรด์ อัตรา ๒.๕ – ๓.๕ กก. ต่อต้นปี สำหรับต้นปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว ในบางกรณีให้ใส่กีเซอร์ไร้ท์ ๑ - ๒ กก. ต่อต้น จะช่วยให้อาการขาดแมกนีเซียมดีขึ้น

          โบรอน (B) มีลักษณะผิดปกติแสดงให้เห็นหลายชนิด เช่น ปลายใบย่อยหักงอเป็นรูปตะขอ อาจเกิดเฉพาะทางหรือทุกทางได้ ทางและใบย่อยสั้นผิดปกติในกรณีที่ขาดรุนแรง หรือเกิดแถบยาวใสโปร่งแสงขนานกับแถบทางใบย่อยย่นหรือหยิกแก้ไขโดยใส่โบแรกซ์ อัตรา ๕๐ - ๑๐๐ กรัม / ต้น / ปี เมื่ออายุ ๒ - ๓ ปี และ อัตรา ๑๕๐ - ๒๐๐ กรัม / ต้น / ปี เมื่อมีอายุ ๔ ปีขึ้นไป

โรคปาล์มน้ำมัน

          ๑.โรคใบไหม้ (Curvularia Seedling Blight)

          เป็นโรคที่พบมากในระยะกล้าโดยจะทำความเสียหายมากในแปลงเพาะกล้าโดยทั่วๆ ไปจะเกิดอาการกับใบอ่อนส่วนมาก นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถ จะเกิดกับต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกในแปลงในช่วงระยะปีแรก ๆ

          -ลักษณะอาการ พบอาการของโรคบนใบอ่อนโดยเฉพาะใบยอดที่ยังไม่คลี่โดยในระยะแรกจะเกิดจุดเล็ก ๆ ลักษณะโปร่งใสกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อแผลขยายเต็มที่จะมีลักษณะบุ๋มสีน้ำตาลแดง มีลักษณะบาง ขอบแผนนูน ลักษณะฉ่ำน้ำ มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล แผลมีลักษณะรูปร่างกลมรี ความยาวของแผลอาจถึง ๗ - ๘ ซม. เมื่อเกิดระบาดรุนแรงแผล ขยายตัวร่วมกันทำให้ใบไหม้ม้วนงอและฉีกขาด การเจริญเติบโตของต้นกล้าชะงักไม่เหมาะในการนำไปปลูก ในกรณีระบาดรุนแรงต้นกล้าถึงตายได้

          -สาเหตุ เชื้อรา Curvularia sp

          การป้องกันกำจัด เผาทำลายใบและต้นที่เป็นโรค พ่นด้วยสารเคมีที่ไม่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น ไทแรม แคปแทน อัตรา ๕๐ กรัม / น้ำ ๒๐ ลิตร ทุก ๆ ๕ - ๗ วัน ในระยะที่เริ่มมีการระบาด

          ๒.โรคใบจุด (Helminthosporium Leaf Spot)

          เป็นโรคในระยะกล้าที่พบในช่วงอายุตั้งแต่ ๕ เดือนขึ้นไป โรคนี้พบว่ามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคใบไหม้ และพบมาก ในสภาพที่มีอากาศแล้งจัดและความชื้นน้อย

          -ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลสีเหลืองจำนวนมากบนใบอ่อนที่เริ่มคลี่ โดยมากจะเกิดในลักษณะเป็นกลุ่มบริเวณปลายฝน ต่อมาจุดแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาดำเมื่อใบที่เกิดกลุ่มแผลจะมีสีเหลืองรวม เป็นบริเวณกว้าง โรคจะระบาดโดยเริ่มจากแผลเหล่านี้ขยายกว้างออกไป ปลายฝนเริ่มแห้งและตายไปในที่สุด

          -สาเหตุ Drechslera halodes

          -การป้องกันกำจัด แยกต้นที่เป็นโรคและเผาทำลาย พ่นด้วยสารเคมีฆ่าเชื้อรา เช่น แคปแทน หรือไทแรม การพ่นสารเคมีต้องพ่นทั้งบนใบและใต้ใบ

          ๓.โรคก้านทางใบบิด (Crown Disease)

          พบมากกับปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกอายุ ๑ - ๓ ปี เป็นโรคที่พบเสมอ

          -ลักษณะอาการ เกิดแผลเน่าบริเวณใบยอด เมื่อยอดเจริญทางยอดคลี่ออกบริเวณที่เคยเป็นแผล เน่าใบย่อยจะแห้งฉีกขาดไป ก้านทางบริเวณนี้จะเหลือแต่ตอก้านทางส่วนนี้จะหักโค้งลง เมื่อต้นปาล์มน้ำมัน สร้างดอกใหม่ก็จะแสดงอาการเช่นนี้จนเป็นทั้งคราว (Crown) บางครั้งทางจะหักล้มโดยไม่แสดงอาการเน่าก่อน

          -สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัดเข้าใจว่าเกิดจากความไม่สมดุลย์ของธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน และแมกนีเซียม

          ๔.โรคก้นทางใบเน่า

          พบครั้งแรกกับต้นปาล์มน้ำมันอายุประมาณ ๒ ปี

          -ลักษณะอาการ ใบย่อยจะมีสีเขียวเข้มลักษณะผิวใบจะด้าน ไม่มันปลายทางใบจะบิด เมื่อเป็นมากก้านทางจะเกิดรอยแตกสีน้ำตาลอมม่วง ตามความยาวของทาง เมื่อฉีกดูจะพบภายในเน่าสีน้ำตาล เริ่มจาก ปลายทางไปหาโคนทางใบ

          -สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด

          -การป้องกันกำจัด ตัดส่วนที่เป็นโรคออกเผาทำลาย และราดบริเวณรอยตัดด้วยสารเคมี

          ๕.โรคยอดเน่า (Spere Rot)

ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ส่วนมากจะพบกับปาล์มน้ำมัน อายุ ๑ - ๓ ปี ในสภาพน้ำขังจะพบโรคนี้มาก

          -ลักษณะอาการ โคนยอดจะเกิดเน่า ระยะแรกแผลมีสีน้ำตาลต่อมาแผลจะขยายทำให้ใบยอดเน่าแห้งสามารถดึงหลุดออกได้

          -สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการแยกหาเชื้อ สาเหตุจะพบเชื้อรา Fusarium sp. และแบคทีเรีย Erwinia sp.

          -การป้องกันกำจัด ป้องกันแมลงอย่าให้มากัดกินบริเวณยอด ถ้าพบโรคในระยะแรกตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วฉีดพ่นด้วยยาฆ่าเชื้อรา เช่น ไทแรม อาลีแอท

          ๖.โรคตาเน่า – ใบเล็ก (Bud Rot – Little Leaf Disease)

          เป็นโรคที่พบกับปาล์มน้ำมันอายุตั้งแต่ ๔ ปีขึ้นไประบาดมากในช่วงฤดูฝน

          -ลักษณะอาการ ใบยอดจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและเกิดการเน่าบริเวณกลางใบยอด จนกระทั่งเน่าแห้งทั้งใบสามารถดึงหลุดออกมาได้ ทางใบถัดไปจะเริ่มเหลืองอาการเน่าลุกลามถึงตาทำให้ตาเน่าไม่มีการแทงยอดใหม่ ต้นปาล์มน้ำมันจะตาย แต่ถ้าสภาพไม่เหมาะสมเชื้อทำลายไม่ถึงตา จะมีการแทงยอดมใหม่ออกมา แต่จะมีลักษณะผิดปกติ คือทางใบสั้น ปลายกุด มักจะพบลักษณะ ๑ - ๔ ทาง แล้วจึงเกิดทางปกติ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

          -สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด

          -การป้องกันกำจัด ทำเช่นเดียวกับโรคยอดเน่า

          ๗.โรคทะลายเน่า (Marasmius Bunch Rot)

          -ลักษณะอาการ บนละลายปาล์มน้ำมันก่อนจะสุกตะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อขึ้นระหว่าง ผลจะเจริญเข้าไปในผลทำให้เปอร์เซ็นต์กรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ผลเน่าเป็นสีน้ำตาลดำมีลักษณะนุ่มถ้ามีสภาพเหมาะสมความชื้น มากเชื้อจะสร้างดอกเห็ดบนทะลาย

          -สาเหตุ เชื้อเห็ด Marasmius sp.

          -การป้องกันกำจัด ตัดทะลายที่แสดงอาการออกให้หมดรวมทั้งช่อดอกตัวเมียที่ผสมไม่ดี เศษซากเกสรตัวผู้ที่แห้ง ฉีดพ่นด้วยสารเคมีหลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคแล้วด้วยสารเคมีเช่น antigro terzan,vitavax หรือ antracol

          ๘.โรคผลเน่า (Fruit Rot)

          -ลักษณะอาการ เปลือกนอกของผลจะอ่อนนุ่มสีดำ โดยจะเริ่มจากโคนหรือปลายผลเข้ามา โดยมากจะเกิดกับผลที่สุกแก่

          -สาเหตุ เชื้อรา Fusaium sp., Collecioirichum sp., Peniclitlium sp., Votryodiplodia sp.

          ๙.โรคเหี่ยว (Sudden wil)

          -ลักษณะอาการ ต้นปาล์มน้ำมันอายุประมาณ ๕ ปี จะแสดงอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากทางใบแก่

ก่อนในเวลา ๑ เดือน เมื่อดูลักษณะภายในของก้านทางพบว่าแสดงอาการเน่าจากปลาย ใบเข้าหาโคนและเจริญเข้าตาทำให้ตาเน่าและต้นตายไปในที่สุด

          -สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด

          -การป้องกันกำจัดโรค ตัดทางใบและส่วนที่แสดงอาการให้หมด แล้วฉีดพ่นด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อ เผาทำลายต้นที่เป็นโรค

          ๑๐.โรคลำต้นส่วนบนเน่า

          -ลักษณะอาการ พบว่าส่วนบนของลำต้นจากยอดประมาณ ๐.๕ เมตร จะหัก พบครั้งแรกกับต้นอายุ ๙ ปี เมื่อผ่าดูพบว่าเชื้อจะเข้าทางฐานของก้านทางทำให้เกิดอาการเน่าบริเวณลำต้น ในขณะที่ตาดและรากแสดงอาการปกติ

          -สาเหตุ รายงานจากต่างประเทศว่าเกิดจากเชื้อเห็ด Phillinus sp. ร่วมกับ Ganedema sp.

          -การป้องกันและกำจัดโรค เผาทำลายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค อย่าเคลื่อนย้ายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็น โรคผ่านไปในแปลงที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในกรณีที่พบอาการใหม่ ๆ ถากส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาบริเวณแผล ด้วยสารป้องกันและกำจัดโรคพืช

          -สาเหตุ ศัตรูปาล์มน้ำมันที่ทำความเสียหายให้กับชาวสวนปาล์มน้ำมันในแต่ละพื้นที่ ส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กันหรือชนิดเดียวกัน แต่มีศัตรูปาล์มน้ำมันบางชนิดอาจเกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ ฉะนั้นวิทยากรประจำพื้นที่ ควรที่จะเน้นศัตรูปาล์มน้ำมันชนิดนั้นๆ ตลอดจนวิธีการป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธีด้วย

ศัตรูปาล์มน้ำมันและการป้องกันกำจัด

          สัตว์ที่ทำความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมัน ส่วนมากเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยในป่าธรรมชาติ มาก่อนสัตว์ที่เป็นศัตรูปาล์มน้ำมันและที่พบมาก เช่น หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาวเม่น กระแตธรรมดา นกเอี้ยง นกขุนทอง หมูป่า และ อีเห็น

          การป้องกันกำจัด

          ๑.โดยไม่ใช้สารเคมี

          -การล้อมรั้วกับปาล์มที่มีอายุ ๑ - ๓ ปี ที่มีปัญหาจากเม่น ควรล้อมดคนต้นประมาณ ๑๕ ซม.

          -การล้อมดี ใช้คนหลายคนช่วยกัน วิธีนี้ช่วยลดปริมาณหนูลงระยะหนึ่ง ถ้าจะให้ผลดีจะต้องทำบ่อย ๆ ครั้ง

          -การดัก เช่น กรงดัก กับกัด หรือเครื่องมือดักหนูจะให้ผลดีในเนื้อที่จำกัดเหยื่อดักควรคำนึงสัตว์ชนิด ที่ต้องการดักมีความคุ้นเคยหรือต้องการอาหารชนิดใดมีมากน้อยเพียงใด

          -การเขตกรรม โดยหมั่นถางหย้าบริเวณต้นปาล์มอย่าให้มีหญ้าขึ้นรกเพราะเป็นที่หลบอาศัยที่ดีของสัตว์ศัตรูปาล์ม

          -การยิง ใช้ในกรณีสัตว์ศัตรูปาล์มเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น หมูป่า เม่น ช้างป่า

          -การอนุรักษ์สัตว์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ศัตรูธรรมชาติของหนู คือ งูสิง งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ งูเห่า งูหางมะพร้าว พังพอน เหยี่ยว จำเป็นต้องสงวนปริมาณให้สมดุลย์กับธรรมชาติ

          ๒.โดยใช้สารเคมี

          การใช้สารฆ่าหนูเป้นวิธีการลดจำนวนประชากรหนูอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สารฆ่าหนูที่ออกฤทธิ์เฉียบพลัน ได้แก่

          -ชิงค์ฟอสไฟด์ เป็นผงสีดำ กลิ่นฉุนคล้ายกระเทียม ความเข้มพอเหมาะ หนู เดินเข้าไปจะตายภายใน ๑๒ ชั่วโมง โดยใช้อัตรา ๑ : ๑๐๐ ส่วนโดยน้ำหนัก นำไปวางไว้ตามรอยทางเดิน

          -ซัลมูริน ในท้องตลาดจำหน่ายในรูปซัลมูริน ๑% ผสมกับเหยื่ออัตรา ๑ : ๑๙ ส่วน ยานี้จะทำลายระบบประสาท ทำให้หนูเป็นอัมพาตและตายภายใน ๑ วัน

          นอกจากนี้ การกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้แก่ หนอนหน้าแมว หนอน ดราน่า ด้วงกุหลาบ หนอนเขาสัตว์ หนอนกินใบ หนอนร่านโพนีตา ให้ใช้สารเคมี ประเภทคาร์บาริล เซฟวิน ๘๐ % และวิธีจับทำลายโดยตรง

การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน

          การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดรวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน มีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้

          ๑.ก่อนอื่นจะต้องแต่งช่อทางลำเลียงแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อยสะดวกกับ การลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัดแล้ว เพื่อรวบรวมต่อไป

          ๒.คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ ๑๐ – ๑๒ ผล ผลให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้

          ๓.หากปรากฏว่าทะลายปาล์มสุกที่จะตัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นนกับลำต้นมากไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำ ให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแชะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น

          ๔.ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรลุลงในถังต้นลูกปาล์มได้สะดวก

          ๕.รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้น เก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง กรณีต้นปาล์มมีอายุน้อย ทางใบปาล์มอาจรบกวนทำให้เก็บยาก

          ๖.สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน

          ๗.รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในการกระบะบรรทุกที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น

          ๘.การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน ๒ คนคนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์มอีกคนเก็บรวมรวมผลปาล์ม

          ๙.การเก็บรวมรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำมี บาดแผลปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวนควรมีการตรวจสอบลงทะเบียนมีตาข่าย คลุมเพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง

          ข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน มีดังนี้

          ๑.ตัดทะลายปาล์มน้ำมันที่สุดที่พอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง ไม่ควรตัดทะลายยังดิยอยู่เพราะใน ผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไปจะมีกรดไขมัน อิสระสุก และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่ อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้

          ๒.รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุกควรจะอยู่ในช่วง ๗ - ๑๐ วัน

          ๓.ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด

          ๔.ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย

          ๕.พยายามให้ทะลายปาล์มชอกช้ำน้อยที่สุด

          ข้อควรคำนึง

          ๑.ผลปาล์มที่ตัดแล้วควรส่งถึงโรงงานภายใน ๒๔ ชั่วโมง

          ๒.ทะลายปาล์มสุกที่มีมาตรฐานคือลูกปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย

          ๓.ลูกปาล์มเต็มทะลายและเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี

          ๔.ไม่มีทะลายที่ชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง

          ๕.ไม่มีทะลายเป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย

          ๖.ไม่มีทะลายที่สัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม

          ๗.ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลาย เป็นต้น

          ๘.ไม่มีทะลายเปล่าเจือปน

          ๙.ความยาวของก้านทะลายควรไว้เก็บประมาณ ๒ นิ้ว

มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน

          ๑.จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขายเพราะจะถูกตัดราคา

          ๒.จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป

          ๓.ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด

          ๔.ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล

          ๕.ต้องคัดเลือกทะลายปาล์มหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป

          ๖.ตัดขั้วทะลายให้สั้นเท่าที่จะทำได้

          ๗.ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน

          ๘.ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงาน ภายใน ๒๔ ชั่วโมง    http://www.108kaset.com/




บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!