น่าสนใจระหว่างR32/R410a
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 07:53:11 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น่าสนใจระหว่างR32/R410a  (อ่าน 1619 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 24, 2015, 02:37:54 PM »

ศึกชิงบัลลังค์ Air Conditioning Refrigerant ระหว่าง R32 กับ R410a
03/07/2014
เป็น ISSUE ใหญ่ครับเมื่อ Japanese air-conditioning OEMs เริ่มให้ความสนใจกับ HFC32 เพื่อใช้ทดแทน HFC410a เบื้องต้นเราได้ยินว่าจะมีการใช้ R32 ทดแทน R410a นั้นยอมรับว่าค่อนข้าง
แปลกใจทีเดียวเพราะ R32 นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม A2 ติดไฟได้ง่ายกว่าและมีแรงดันไอที่สูงกว่า R410a ที่ ambient ราว 40 psig สิ่งที่น่าสนใจสำหรับ R32 ก็คือมันเป็น Single Substance ครับด้วยความสามารถ
ในการติดไฟของมันนั้นมีมากกว่า R22 ในขณะที่ R290 นั้นอยู่ในกลุ่ม A3 ที่ติดไฟได้ง่ายที่สุดเมื่อ R22, R410a คือกลุ่ม A1

การที่ R32 มี HGWP ต่ำกว่า R410a เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ในการช่วยลดภาวะเรือนกระจกของเรา แต่สิ่งที่น่าห่วงกว่าก็ยังมีนั่นหมายถึง "การลุกติดไฟ" หากช่างแอร์หรือผู้ให้บริการขาดความระมัดระวังก็อาจ
มีอันตรายได้โดยต้องไม่ลืมว่า "มันสามารถติดไฟได้ง่ายกว่า R22" คือเขาคงพยายามทดลอง R290 มาก่อนแต่เนื่องจากมันติดไฟง่ายมากจึงหันมาให้การทดลองกับ R32 กระมัง ตรงนี้คือสิ่งที่ผมสังเกตเห็น"
สิ่งที่น่ากลัวในลำดับต่อมาก็คือเรื่องของ "แรงดันไอที่สูงมาก" ครับ ผมยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ แบบนี้นะครับ

ที่อุณหภูมิห้อง
R22 ประมาณ 150 psig
R410a ประมาณ 250 psig
R32 ประมาณ 290 psig

การบ้านของเพื่อนช่างอยู่ตรงนี้นะครับ ..
1.มันลุกติดไฟได้ง่ายดังนั้น "เ่ลี่ยงการเชื่อมท่อ" ในขณะที่ระบบมีสารทำความเย็นเหล่านี้คงค้างอยู่
2.เลี่ยงการ "สูบบุหรี่" ทุกครั้งที่คุณปล่อยน้ำยาเพื่อ Vacuum
3.ห้าม!! ใช้ถัง R22 นำมาบรรจุ R32 โดยเด็ดขาด ถ้าจะนำมาบรรจุให้ใส่เพียง 40% ของฉลากเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย อาทิคุณมีถัง 13.6 กก.แล้วคุณจะนำมาเติม R32 คุณจะบรรจุได้เพียง
ไม่เกิน 6 กก.เท่านั้น ถ้าคุณบรรจุเกินคือเติมเต็มไปเลย 13.6 กก. (ซึ่งอาจจะบังเอิญเติมเข้าไปได้) แล้วนำไปตากแดดหรืออยู่ในที่ร้อนจัดมันก็คือ "ลูกระเบิด" ดีดีนี่เองนะครับ
4.อย่าประหยัดใช้ท่อบางเด็ดขาด ท่อของ R410a ผมก็ยังไม่การันตีว่าจะใช้กับ R32 ได้ ถ้าคิดว่า R410a แรงดันสูงแล้วล่ะก็ให้บวกไปอีก 20% ในใจครับนั่นล่ะแรงดัน R32

สิ่งที่ห่วงมาก ๆ นับจากทศวรรษนี้ไป ..
1.ถัง R22 มีเป็นจำนวนมากซึ่งความหนาไม่พอครับ
2.ช่างแอร์จำนวนมากจะไม่ยอมลงทุนซื้อถังใหม่แต่จะเอาัถังนั้นล่ะไปเติม R32 หรือ R410a และโอกาสพลาดพลั้งมีสูง
3.วาล์วที่ใช้กันอยู่อาจไม่สามารถรับแรงดันของ R32 ได้หากมีการขยายตัวของแรงดันอันเนื่องจากการถูกกระตุ้นด้วยความร้อนสูง โดยเฉพาะในหน้าร้อน
4.จะมีถังน้ำยาแอร์ "ระเบิด" กันอีกเยอะถ้ามีผู้ประกอบการหรือพนักงานคนใดมักง่ายในย่าน Medium Temp เขามี Vapor Pressure สูงที่สุดในกลุ่มครับ
5.ถ้าจะเอาไว้หลังรถต้องเป็นรถกระบะที่มีการระบายอากาศถ่ายเทได้สะดวก ห้ามวางไว้ในแค๊ปกระบะที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศและปิดหน้าต่าง อันตรายมาก ๆ หากจอดตากแดดทิ้งไว้นาน ๆ
6.R22 กับ R32 เขียนคล้าย ๆ กันช่างแอร์บางคนอาจทึกทักเอาว่า "มันก็คงเหมือน ๆ กับ R22 แค่เพิ่มเลข 3 มาแทนเลข 2 (ฮา)"

ข้อดีมันก็มีอยู่ครับ
HGWP ต่ำกว่า R410a
Handling ง่ายกว่าเพราะเป็นสารประกอบจุดเดือดเดียวคล้าย ๆ R22

และนี่เป็นเรื่องราวที่ผมนำมาฝากให้อ่านกันครับ สารทำความเย็นรุ่นใหม่ ๆ ขณะนี้ทยอยตบเท้าเข้าตลาดกันเป็นแถวหากขาดความรู้ความเข้าใจ "อัีนตราย" ก็อยู่ใกล้่แค่เอื้อมหากเรามีการ "เรียนรู้"
อุบัติเหตุก็จะลดลง เห็นแล้วก็อดห่วงไม่ได้ครับขนาด R22 นี่ไม่ติดไฟวางไว้ผิดที่ผิดทางยังเคยระเบิดตูมตามกันมามากแล้ว ก็คงฝากไว้ให้พิจารณากันนะครับ ส่วนใครต้องการข้อมูลของ R32, R410a
เขียนจดหมายมาคุยกับเราได้ที่ blueplanet2002@gmail.com ก็ได้เราพร้อมตอบคำถามที่ท่านต้องการรู้หรือเข้าเยี่ยมชมใน www.blueplanet.co.t h ในหน้าต่าง Work Shop ได้ครับ

ฤาศึกชิงบัลลังค์ Air Conditioning Refrigerant ยุคหน้าระหว่าง R32 กับ R410a จะยังไม่จบลงง่าย ๆ เสียแล้วกระมัง .. คงอีกไม่นานแล้ว R22 ที่รับใช้ประชากรชาวโลกมานานก็ต้องถึงเวลาก้าวลง
จากบัลลังค์นี้เสียที
ขอขอบคุณBluplanet.com


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!