รู้จักกับ คลาวด์คอมพิวติ้ง ที่คนไทยไม่มีทางเลี่ยง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 02:12:14 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักกับ คลาวด์คอมพิวติ้ง ที่คนไทยไม่มีทางเลี่ยง  (อ่าน 4437 ครั้ง)
หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2015, 08:20:11 AM »


คลาวด์คอมพิวติ้ง Cloud computing

        แนวความคิดของคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) เป็นการเข้าใช้บริการจากระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางการออนไลน์ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีทรัพยาการมากน้อยแค่ไหน หรือคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ที่ใด ไม่ต้องสนใจเรื่องการจัดการทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure) นั้นๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบอีเมลฟรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Mail (gmail) หรือ Yahoo Mail เป็นต้น

      นิยามของคลาวด์คอมพิวติ้ง
     คลาวด์คอมพิวติ้ง เป็นลักษณะของระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูปแบบของการ กระจายตามพื้นที่ต่างๆ มีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบคลัสเตอร์ (Cluster Network) ผ่านการจัดสรรทรัพยากรด้วยเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization) เพื่อให้ตอบสนองงานบริการต่างๆ ให้รองรับกับจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีระบบการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้บริการประเภทต่างๆได้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Software as a service (SaaS) 



ลักษณะเด่นของระบบคลาวด์
-Capital expenditure: ประหยัดงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
-Device and location independence: ไม่จำกัดสถานที่ในการใช้งานและอุปกรณ์ แค่สามารถออนไลน์เข้าอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้เลย
-Multi-tenancy: กลุ่มผู้ใช้งานมีความต้องการการใช้งานไม่เท่ากัน ทำให้ประหยัดในการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการใช้งานในคลาวด์คอมพิวติ้ง
-สามารถจัดการหรือปรับเปลี่ยนระบบได้ง่าย (Sustainability) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน (Performance) หรือประหยัดการใช้งานทรัพยกรต่างๆ โดยไม่ต้องใช้วิศวกรที่มีความสามารถสูง ลดภาระด้านการจ้างบุคคล
-ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งจะทำให้ตัวเองกลายเป็นระบบการทำงานต่อเนื่องได้ตลอดเวลา แม้เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะล่มไปบ้าง
-Scalability: ระบบคลาวด์ออกแบบให้รองรับการขยายตัวของระบบได้ง่าย เพื่อรองรับปริมาณและความต้องการของผู้รับบริการ
-Security: มีระบบการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจในการใช้งาน
-Maintainability: สามารถปรับปรุงระบบหรือซ่อมแซมได้ง่าย เพราะใช้จัดการจากส่วนกลางทั้งหมด




ส่วนประกอบของคลาวด์คอมพิวติ้ง

Client: อุปกรณ์สำหรับเข้าใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง เช่น Mobile, Thin Client
Services: บริการต่างๆที่เปิดให้บริการบนคลาวด์คอมพิวติ้ง เช่น Web service
Application: บริการ Software ต่างๆ ที่เปิดให้ใช้งานบนคลาวด์ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลง Software ไว้บนเครื่องของตัวเอง อาจมีการใช้งานรวมกับ Services ด้วย
Infrastructure: โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับกับระบบคลาวด์ โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization)
Platform: เลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งาน โดยอาจจะเลือกจาก Open Source หรือ Open System ที่มีหลากหลายในท้องตลาด
Storage: เป็นปัจจัยหลักในการให้บริการ โดยอาจจะให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือรวมไปถึงการให้บริการด้านระบบฐานข้อมูลด้วย
Standard: ระบบคลาวด์เป็นระบบที่สร้างจาก Open Source หรือ Open System เป็นหลัก ควรเลือก standard ต่างๆที่สามารถปรับเปลี่ยน หรือโยกย้ายได้ง่าย


ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง
      จำแนกตามบทบาทและหน้าที่
Provider (ผู้ให้บริการ): ผู้ดูแลและจัดการระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง จัดสรรทรัพยากรต่างๆในระบบให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า รวมถึงคาดเดาความต้องการต่างๆในอนาคตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Amazon.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรก โดยมีจุดเด่นที่ระบบมีความง่ายและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว และเก็บค่าใช้งานตามจริง

User (ผู้ที่เข้ามาใช้การบริการ): เป็นผู้เช่าใช้ระบบอย่างเดียว ไม่ต้องกำหนดหรือวางแผนเรื่องการลงทุนด้านทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลทรัพยากร เพียงวางแผนและจัดสรรการใช้งานให้เพียงพอกับความต้องการหรือจำเป็นต้องใช้งานจริงๆ ทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องไอทีได้มาก
Vendor (เจ้าของผลิตภัณฑ์): ผู้ที่จำหน่ายระบบโครงสร้างต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคลาวด์คอมพิวติ้งโดยเฉพาะ เช่น
o Computer Hardware เช่น Dell, HP, IBM, SUN Microsystems
o Storage เช่น SUN Microsystems, EMC, IBM
o Network Infrastructure เช่น CISCO system
o Computer Software เช่น 3tera, Hadoop, Q-layer
o Operating Systems เช่น Solaris, Linux, AIX
o Platform Virtualization เช่น SUN xVM, Citrix, VMware, Microsoft




บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2015, 08:28:09 AM »


กล่าวโดยสรุป


การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคต่อไปไม่ใช่รูปแบบเดิม ๆ ที่ต้องเก็บไฟล์ทุกอย่างไว้ในฮาร์ดดิสก์ แต่ขยับไปสู่เทคโนโลยีที่เรียกว่า "คลาวด์คอมพิวติ้ง"

"เว็บไซต์เดอะการ์เดี้ยน" รายงานว่า ในอดีตเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊ก หากต้องการทำไฟล์เอกสาร, ตาราง หรือเขียนอีเมล์ ต้องทำผ่านโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง ข้อมูลทั้งหลายจะเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ แม้คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต แต่การทำงานยังเกิดเฉพาะในตัวเครื่อง

ปัจจุบันเริ่มมีคนใช้วิธีให้คอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตามาก่อนประมวลผล หรือทำงานแทน โดยเครื่องเหล่านั้นอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต "คลาวด์" (ตั้งชื่อตามลักษณะแผนภาพเน็ตเวิร์กที่วาดเป็นรูปก้อนเมฆ) เมื่อวิธีการดังกล่าวเริ่มแพร่หลาย ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนไม่น้อยจึงกลายเป็นผู้ใช้ "คลาวด์คอมพิวติ้ง" โดยไม่รู้ตัว

  ..ขณะนี้การใช้งานยังขยายไปถึงการทำงานบนสมาร์ทโฟน, ไอแพด หรือคอมพิวเตอร์พกพาอย่างเน็ตบุ๊ก ข้อมูลส่วนใหญ่บนอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้เก็บเอาไว้ในเครื่อง แต่เก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของ ผู้ให้บริการอย่างกูเกิล, ยาฮู, เฟซบุ๊ก, อะเมซอน และไมโครซอฟท์ หากต้องการมากกว่าเช่าคอมพิวเตอร์ หรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนบนคลาวด์ เช่น บริการของอะเมซอนในขณะนี้

   บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่หันมาใช้ "คลาวด์คอมพิวติ้ง" เพราะความประหยัดเป็นหลัก ทำให้ไม่ต้องตั้งแผนกงานไอทีซึ่งเป็นทั้งส่วนที่มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่ทำให้เกิดกำไร พวกเขายังมีทางออกอื่นด้วยการใช้เทคโนโลยีคลาวด์เปิดโอกาสให้บริษัทไอทีดูแลระบบไอทีพื้นฐานแทน สิ่งที่องค์กรเหล่านี้ต้องทำมีแค่จ่ายค่าเช่าการใช้งานคลาวด์เท่านั้น

   สำหรับผู้บริโภคทั่วไปหันมาใช้ "คลาวด์คอมพิวติ้ง" เพราะฝีมือของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ อาทิ ไมโครซอฟท์, กูเกิล หรือยาฮู ที่เสนอรูปแบบบริการที่เป็นประโยชน์ โดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่านี่คือเทคโนโลยีคลาวด์แบบหนึ่ง

   ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ เสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิล หรือบิง, เว็บเมล์"ฮอตเมล์" หรือ "จีเมล์", เว็บโพสต์รูป"ฟลิกเกอร์" หรือ "พิคาซ่า" และ โซเชียลเน็ตเวิร์ก "เฟซบุ๊ก" เป็นต้น

   บริการเหล่านี้คือ "คลาวด์คอมพิวติ้ง" ที่ให้ใช้งานได้ฟรี แต่อาจหารายได้ผ่านโฆษณาทั้งไม่ต้องการซอฟต์แวร์พิเศษเพื่อเปิดใช้ เว้นแต่เว็บบราวเซอร์สักตัวในเครื่อง

"คลาวด์คอมพิวติ้ง" ยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์หลายด้าน กลุ่มที่ชอบถ่ายรูป ข้อดีของการเก็บภาพไว้บนคลาวด์ คือทำให้เผยแพร่ภาพให้คนอื่นเห็นได้สะดวก ใช้เป็นคลังภาพสำรองกรณีฮาร์ดดิสก์เสีย โดย "ฟลิกเกอร์" เป็นเว็บไซต์ด้านรูปภาพที่ขึ้นชื่อที่สุด แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเริ่มตีตื้นขึ้นมา เนื่องจากทั้งคู่ทำให้ผู้ใช้นำภาพไปแชร์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กได้โดยสะดวก

ผู้ที่นิยมเสียงเพลง "คลาวด์คอมพิวติ้ง" เปิดโอกาสให้ฟังเพลงจากที่ไหน เวลาใด ผ่านอุปกรณ์ใดก็ได้ ทำให้ค่ายเพลงเก็บข้อมูลเพลงที่ซื้อไว้แบบออนไลน์ ข้อมูลลำดับการเล่นของลูกค้าแต่ละคน

"แอปเปิล" ไอ-คลาวด์ เป็นเจ้าตลาดเพลงออนไลน์ แต่เซอร์วิสของแอปเปิลก็ต้องพบกับคู่แข่งสำคัญ "โซนี่ มิวสิก อันลิมิเต็ด" ที่มีจุดเด่นเรื่องการมีคลังเพลงที่โดดเด่น ฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ หรือเกมเพลย์สเตชั่น 3 ได้

คลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับ "นักเล่นเกม" ต่างออกไป ไม่ได้ใช้ระบบให้ลูกค้าอัพโหลดไฟล์เกมไว้บนเซิร์ฟเวอร์ ผู้เล่นไม่ได้เป็นเจ้าของเกมโดยตรง แต่เล่นเกมของผู้ให้บริการผ่านวิดีโอสตรีมมิ่ง

ผู้ให้บริการเกมผ่านคลาวด์รายใหญ่บริษัท "ออนไลฟ์" คิดค่าบริการเป็นรายเดือน จากนั้นจะถ่ายทอดสดภาพเกมไปสู่หน้าจออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่ลูกค้ารายนั้นใช้ ทั้งจอคอมพิวเตอร์, จอเครื่องแมค, จอทีวี หรือแม้แต่แท็บเลต

นอกจากคลาวด์จะเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์และเว็บไซต์แล้ว ยังเริ่มมีอิทธิพลไปสู่ฮาร์ดแวร์แบบใหม่ด้วย

"กูเกิล" ออกแล็ปทอปชื่อ "โครมบุ๊ก" ให้การทำงานของเครื่องส่วนใหญ่พึ่งคลาวด์เซอร์วิสจาก "กูเกิล"

"โครมบุ๊ก" จะต่อไปยังเว็บบราวเซอร์ทันทีที่เปิดเครื่อง เช่นเดียวกับ "แท็บเลต" ของอะเมซอน "คินเดิ้ล ไฟร์" ที่ใช้กับคลาวด์เซอร์วิสของบริษัทได้


http://www.1009seo.com/
บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!