ฑีฆายุโก โหตุ สังฆราชา
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฑีฆายุโก โหตุ สังฆราชา  (อ่าน 1538 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13229


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2013, 08:40:45 AM »

ในวาระวันคล้ายวันประสูติในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศฯ ครบ 100 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2556 นี้
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาพระอริยสงฆ์พระองค์นี้ ผู้ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐ
และเป็นประจักษ์พยานหลักฐานแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังมีตัวตนอยู่ในปัจจุบันนี้


                                      สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระฉายาว่า"สุวัฑฒโน"
พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล "คชวัตร"
ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคมพ.ศ.2456เวลาประมาณ10ทุ่ม
หรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน










ร่วมลงนามถวายพระพรได้ที่นี่ ครับ


http://sangharaja.org/

................... ................... ................... ...................

บรรพชาเป็นสามเณร

...........เมื่อ พ.ศ.2469มีน้าของท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามโยมป้าจึงชักชวนให้บวชเณรแก้บน จึงบรรชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 14 ปีมีพระครูอดุลสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาทวัดเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเพราะคุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระเณรเพราะทรงเรียนหนังสืออยู่ในวัดมาตั้งแต่เล็ก ทรงศึกษาธรรมสวดมนต์ จนเมื่อออกพรรษาหลวงพ่อชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เพื่อต่อไปจะได้กลับไปช่วยสอนที่วัด ในปี พ.ศ.2470
ทรงศึกษาไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา โดยมีพระสังวรวินัย(อาจ) เจ้าอาวาสขณะนั้นและมีอาจารย์ถวายการสอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ทรงเรียนแปลธรรมบท ใน พ.ศ.2472 อีกพรรษาหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปประทับที่วัดเทวสังฆาราม
............เมื่อเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัยหลวงพ่อวัดเหนือ
ได้นำสมเด็จฯ มาฝากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์โดยได้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา ได้รับประทานฉายาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า " สุวัฑฒโน" ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของวัด สวดมนต์
ศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสามารถสอบได้ดังนี้
- พ.ศ.2472 พระชนมายุ 17 ปี สอบได้นักธรรมตรี
- พ.ศ.2473 พระชนมายุ 18 ปี สอบได้นักธรรมโท และเปรียญ 3 ประโยค
- พ.ศ.2475 พระชนมายุ 20 ปี สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค
  เมื่อ พ.ศ.2474 เป็นสามเณรองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดกฐิน ณ วัดบวรนิเวศฯ


ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ

..........เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท จึงเสด็จฯ มาอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนพ.ศ.2476 โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินฐสมาจารย์ ( เหรียญ ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปราราม ( วัดหนองบัว )เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
...........เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆารามจนออกพรรษาจึงเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และเสด็จกลับมาอยู่วัดเหนืออีก 2 ปี ทรงสอบปริยัติธรรมได้ทุกปีดังนี้

- พ.ศ.2476 พระชนมายุ 21 ปี สอบได้เปรียญ 5 ประโยค
- พ.ศ.2477 พระชนมายุ 22 ปี สอบได้เปรียญ 6 ประโยค
- พ.ศ.2478 พระชนมายุ 23 ปี สอบได้เปรียญ 7 ประโยค
- พ.ศ.2481 พระชนมายุ 26 ปี สอบได้เปรียญ 8 ประโยค
- พ.ศ.2484 พระชนมายุ 29 ปี สอบได้เปรียญ 9 ประโยค

...........สมเด็จพระญาณสังวรฯ มีภารทางการงานและการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตรีเปรียญโท และเมื่อ มีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมและบาลีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวงเรื่อยมา คือตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก ประโยค ป.ธ.3 - ป.ธ.9
............นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ เสด็จฯประเทศต่างๆ มากมายหลายประเทศ
การหนังสือสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงหนังสือต่างๆไว้มาก ทั้งประเภทตำราทางการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอื่นๆ

............ สมณศักดิ์
- พ.ศ. 2490 ทรงเป็นพระราชาคณะสามัญที่พระโสภณคณาจารย์
- พ.ศ. 2495 ทรงเป็นพระราชาคณะในพระราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2498 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2499 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
- พ.ศ. 2504 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระศาสนโสภณ
- พ.ศ. 2515 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ
- พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19

...........นับเป็นความภูมิใจของชาวกาญจนบุรีอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้รับพระราชทานดำรงตำแหน่งเป็น
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ของประเทศไทย ขอให้ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน............

Credit  : PAKAVAKORN


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: