คุณประโยชน์ของ EM
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 02:37:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณประโยชน์ของ EM  (อ่าน 30379 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2012, 10:18:45 AM »

1.ด้านระบบในการกำจัดน้ำเสีย ในบริเวณบ้าน ในโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ คู คลอง หนองบึง

2.กำจัดกลิ่นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ

3.ปรับสภาพของเสียจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ ต่อสัตว์เลี้ยง และการเพาะปลูก

4.กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนที่ลดน้อยลงนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ได้

5..ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าทำให้การใช้ไฟฟ้าลดน้อยลง

6.ใช้ล้างผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ได้ และสามารถล้างเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นเหม็นให้ดีได้

7.ใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดในห้องในที่ทำงานได้แทนการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง ช่วยปรับสภาพอากาศเสียให้สะอาดขึ้นและลดเชื้อแบคทีเรียได้ดี

8.ใช้อาบน้ำสุนัขได้ดีไม่มี เห็บ หมัด และกลิ่นสุนัขไม่เหม็นสาบ และสามารถใส่ผสมกับน้ำให้สุนัขกินได้มูลสุนัขจะไม่มีกลิ่นเหม็น และทำให้สุนัข เจริญอาหาร

9.ใช้ทำเป็นน้ำยาผสมล้างจาน ชามได้ดี

10.ใช้ทำความสะอาดถูบ้านได้

11.ใช้ลาดในห้องน้ำ ตามท่อระบายน้ำ ห้องส้วมจะไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่ทำให้ห้องส้วมอุดตัน บ่อเกรอะ ส้วม ห้องน้ำ ตามบ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนี่ยม โรงพยาบาล โรงแรม จากตลาดสด ร้านอาหาร

12.ใช้EMผสมกับ แฟ๊บ น้ำยาซักผ้าเพื่อทำให้เสื้อผ้านิ่มรีดผ้าได้ง่ายขึ้น

13.ใช้ EM ล้างทำความสะอาดตู้เย็น แทน แฟ๊บ และน้ำยาล้างจาน

14.ใช้ล้างรถยนตร์ได้ ไม่ทำให้สีของรถเสียหาย ช่วยดักฝุ่นละอองที่มาเกาะรถได้ดี และ
เช็ดที่เบาะในข้างในรถได้ดีด้วย

15.ใช้ทำความสะอาดแผลสดได้ดี นำEMสดทาบริเวณที่เป็นบาดแผล เวลาโดนของมีคมบาด เช่น มีด

16.หรือโดนน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ ทำ EM สด ได้จะทำให้แผลเย็น แล้วไปพบแพทย์

17.ทาEM สด ในกรณี โดนยุงกัด รักษาอาการคัน ผื่น ผด ลมพิษ ขึ้นตามผิวหนัง เพราะทาบริเวณ แขน หรือตามผิวหนังจะทำให้เย็น และหายคันได้ ผื่นก็จะหายไป

18.ใช้สระผมหมักก่อนสระผม จะทำให้ผมนิ่มสลวย และไม่มีรังแค

19.ใช้เช็ดหน้าล้างเครื่องสำอางให้สะอาด แทนการใช้สารเคมี

20.ประหยัดค่าใช้จ่าย - ลดต้นทุนการผลิต -เพิ่มรายได้

21.บำบัดน้ำเสีย กำจัดคราบไขมัน กำจัดขี้เลนก้นบ่อ เพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ

22.ช่วยให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อแข็งแรง

23.ย่อยสลายกากของเสีย ที่เป็นอินทรีย์ในบ่อเกาะ-บ่อบำบัดน้ำเสีย อย่างได้ผล

24.ปลอดภัยต่อชีวิต และลดสภาวะโลกร้อนด้วยค่ะ

25.วิธีการใช้จุลินทรีย์ กำจัดกลิ่นเน่าเสีย กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว กลิ่นสาบ ฯลฯ จากสิ่งปฏิกูลต่างๆ



คุณสมบัติพิเศษของน้ำจุลินทรีย์

1. ใช้ล้างห้องน้ำ – ห้องครัว

2. ดับกลิ่นห้องน้ำ – ราดโถปัสสาวะขจัดคราบ

3. ราดโถส้วมทำให้ไม่เต็มเร็ว ประหยัดค่าดูดส้วมอย่างเห็นได้ชัด

4. ราดที่อ่างล้างหน้า- ล้างจาน บริเวณที่เตรียมอาหารจะช่วยไล่แมลงวัน แมลงสาปและหนู

5. ราดท่อน้ำร่องน้ำช่วยลดการอุดตัน ช่วยกำจัดกลิ่นในท่อน้ำทิ้ง

6. ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ ช่วยบำรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน

7. ผสมน้ำอาบน้ำสัตว์เลี้ยงในน้ำสุดท้ายช่วยลดกลิ่นสาปอันเนื่องมาจากไขมันใต ้ขุมขน (สุนัขขี้เรื้อน อาบแล้วขนจะขึ้น) ทำให้แมลงวันไม่มารบกวนสัตว์เลี้ยง

8. สเปรย์เข้าในบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง จะช่วยปรับสภาพน้ำไม่เน่าเสีย สัตว์น้ำจะแข็งแรงไม่มีโรค

9. ใช้ทาหน้ายางพาราหลังกรีดยาง จะช่วยให้หน้ายางขึ้นมาเรียบเสมอและผิวนิ่ม เพราะจุลินทรีย์จะช่วยป้องกันเชื้อราได้

10. ตัดวงจรชีวิตของแมลงวัน (ทำให้แมลงวันเป็นหมัน)

11. ใช้ล้างเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นคาวก่อนการประกอบอาหาร

ประโยชน์โดยทั่วไปของจุลินทรีย์

ด้านการเกษตร
12. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ

13. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นอาหารแก่พืช พืชจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่สูญเสียพลังงานมาก

14. ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสม

15. ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ

16 ช่วยสร้างฮอร์โมนแก่พืช เพื่อให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น

17. ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานมีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ

18. ช่วยให้ระบบนิเวศวิทยา หรือวงจรธรรมชาติ กลับคืนมา

ด้านปศุสัตว์

19. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ เช่น ไก่ และ สุกร
20. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์

21.ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์ แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้

22. ช่วยกำจัดแมลงวันด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเ ป็นแมลงวัน

23.ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูงและอัตราการตายต่ำ

ด้านการประมง

24. ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

25.ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อ กุ้ง ปลา หรือสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่เลี้ยงได้

26. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

ด้านสิ่งแวดล้อม

27. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร การปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชมและสถานประกอบการ ทั่วไป

28 ช่วยกำจัดกลิ่นขยะ ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ

29. ปรับสภาพของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก

30. กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนน้อยลง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้

31. ช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดใส และมีสภาพดีขึ้น


----หากทุกครัวเรือน ทุกสถานประกอบการ เช่น ร้านอาหาร หอพัก ภัตตาคารต่าง ๆ ใช้น้ำจุลินทรีย์นี้แทนเคมี ก็จะช่วยการบำบัดน้ำเน่าเสียได้

จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข-แมวและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ

น้ำจุลินทรีย์ สามารถนำไปประยุกต์ในการดับกลิ่นสัตว์เลี้ยงได้หลากหลาย เช่น ดับกลิ่นสาบ กลิ่นคาวของสุนัขและแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ


EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

EM กลุ่มจุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและให้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้รับคัด และเลือกสรรเป็นอย่างดีจากธรรมชาติที่มัประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมารวมกัน

EM คืออะไร

EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่ม จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา
ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง "ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498)

บิดาแห่งเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และค้นพบ
EM เมื่อปี พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเทการทำวิจัยพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้น
ศาสตราจารย์ วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านประธาน มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี


จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโรคทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10 %

2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมี ประมาณ 10%

3.กลุ่มกลางมีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดินก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวน มากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโคลงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีก หลังจากที่ถูกทำลาย

สารเคมีจนตายไป จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกัยได้ จากการค้นคว้าดังกล่าวได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรร อย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์

ต่อพืชสัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Famillies) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนมีคุณสมบัติต้านมานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 2

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สงเคราะห์
สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins)
ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ 3

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic หรือ Fermented Microorganisms)

ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ต้านทานโรค (DiseasesResistant) เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี
ช่วยลดการพังทลายของดินป้องกัน โรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

กลุ่มที่ 4

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae)
และพวกแบคทรีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต
เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch หรือ Carbohydrates)
ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins)ฯลฯ

กลุ่มที่ 5

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทรีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปลื่อยและดินก่อโรค ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสนหรือทำให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพืช
ช่วยให้เมล็ดงอกงาม และแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์หรือเรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้นจะใช้

EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็นสิ่งที่มีชีวิต และมีลักษณะดังนี้

1. ต้องการที่อยู่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปอยู่ในอุณภูมิปกติ

2. ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอัตรายต่อสิ่งมีชีวิต

3. เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี และยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้

4. เป็นต้นเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

5. EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวันเป็นตัวทำลาย ความสกปรกทั้งหลาย

การดูแลรักษา

1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท

2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้นตู้เย็นเก็บรัษาไว้ในอุณภูมิปกติ

3. ทุกครั้งที่แบงไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษเข้าไปปะปน

4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ

1. หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกให้นำ

EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้

2. กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเข่ยาภาชนะฝ้าขาวจะสลายตัว
กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้

3. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอม และเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิท

แสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์อย่างไร

จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ EM มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดจากสารเคมี
จุลินทรีย์จะมีบทบาทที่ช่วยจทดแทน การใช้สารเคมีได้มาก

การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมาบถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้แปลสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ของ EM สด

1. ใช้กับพืช (ปุ๋ยน้ำ)

- ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10
ลิตร) ใช้ฉีดพ่น รด ราด พืชต่างๆ ให้ทั่วพื้นดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม

- พืช ผัก ฉีดพ่น รด ราด ทุก 3 วัน

- ไม้ดอกไม้ประดับเดือนละ1ครั้งการใช้จุลินทรีย์สดในดินควรมีอินทรียวัตถุปก คลุมด้วยเช่นฟางแห้งใบไม้แห้ง

เป็นต้นเพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป

2. ใช้ในการทำ EM ขยายปุ๋ยแห้ง

3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)

- ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตรให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง

- ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตรใช้พ่นคอกให้สะอาดกำจัดกลิ่น

- หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะผสมกับอาหารให้ สัตว์กินฯลฯ

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

- ใส่ห้องน้ำห้องส้อมและในโถส้อมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์1/2แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลายไม่มีกากทำให้ส้อมไม่เต็ม

- ใช้กำจัดกลิ่นด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาลในอัตราส่วน1:1 1000(EM1ช้อนโต๊ะ:น้ำ1ลิตร)ฉีดพ่นทุก3วัน

- บำบัดน้ำเสีย 1:100หรือEM2ช้อนโต๊ะ:น้ำ200ลิตร

- ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร

- แก้ไขท่ออุดตันEM1ช้อนโต๊ะใส่5-7วัน/ครั้ง

- ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน

- กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำใช้ฉีดพ่น หรือ ราดลงไปใน

แหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม. กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำแล้วแต่สภาพความแห้ง หรือความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วนขยะแห้งประเภทกระดาษใบตอง เศษอาหาร ใช้ฉีดพ่น อัตรา

EM ขยาย 1ส่วยผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

วีธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย

1.ใช้กับพืชเหมือน EM สด

2.ใช้กับสัตว์

-ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
-ผสมน้ำ 1 : 1000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
-ผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้งเป็นอาหารสัตว์

3.ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง เหมือนใช้ EM สด








การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)คืออะไร

การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งคือ การนำ EM มาหมักกับอินทรีย์วัตถุเป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพให้มีจ ำนวนมากขึ้นแข็งแรงขึ้น และฟักตัวอยู่ในอินทรีย์วัตถุเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก และยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย

ส่วนผสม

1. มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ
2. แกลบดิบ หรือฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง หรือผักตบชวาแห้ง หรือขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือมันสำปะหลังป่น หรือคายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM+กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน

วิธีทำ



1. คลุกรำละเอียดกับมูลสัตว์ที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
2. นำแกลบดิบหรือวัสดุที่ใช้แทนจุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM+กากน้ำตาลไว้ ช้อนเอามาคลุกกับรำและมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้วคลุกส่วนผสม ทั้งหมดให้เข้ากัน
3. ความชื้นให้ได้ 40-50% สังเกตจากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกตามง่ามนิ้วมือ และแตกเมื่อคลายมือออก หรือ แตกออกเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
4. นำส่วนผสมใส่ลงในกระสอบ หรือถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ที่อากาศถ่ายเทได้ ปริมาณ 3/4 ของกระสอบแล้วมัดปากกระสอบให้แน่น พลิกกระสอบทุกวันครบ 6 ด้าน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อนอุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส วันที่ 4-5 จะค่อย ๆ เย็นลงจนอุณภูมิปกติ เปิดกระสอบดูจะได้ปุ๋ยแห้งร่วนนำไปใช้ได้

5. หากไม่มีกระสอบหรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้วให้นำไปกองบนกระสอบป่านหรือฟางแห้งที่ใช้รองพื้นหนาประม าณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบหรือสแลนกันแดดกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง ให้อากาศถ่ายเททั่วถึงทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติปุ๋ยแห้งร่วนดี ให้เก็บใส่ถุงไว้ใช้ต่อไป


ประโยชน์ของการกลับกองปุ๋ยหมัก



1. เพื่อให้การหมักทั่วถึง
2. ทำให้แห้งเร็ว
3. ไม่จับเป็นก้อนแข็ง ง่ายต่อการนำไปใช้

การเก็บรักษา



เก็บปุ๋ยแห้งไว้ในที่ร่ม ไม่ให้ถูกแสงแดด หรือฝน หรือที่มีความชื้น เก็บรักษาได้ประมาณ 1 ปี

วิธีใช้

1. ปุ๋ยแห้งที่หมักด้วย EM จะร่วนและมีกลิ่นหอมเหมือนเชื้อเห็ด
2. ใช้ในการเตรียมดินปลูกพืชดังนี้
2.1 รองก้นหลุมปลูกประมาณ 2 กำมือ
2.2 คลุกผสมดินในหลุมปลูก 2 กำมือ
2.3 รองก้นแปลง (แหวะท้องหมู) ตารางเมตรละ 1 กำมือ
2.4 หว่านในแปลงพืชหรือนาข้าวตารางเมตรละ 1 กำมือแล้วใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพอชุ่ม
3. ใช้หลังการเพาะปลูกแล้ว
3.1 แปลงผักใส่ระหว่างแนวผักตารางเมตรละ 1 กำมือ
3.2 ไม้ต้นใส่ใต้ทรงพุ่มตารางเมตรละ 1 กำมือ
3.3 ไม้กระถางโรยใส่ลงในกระถางประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
4. ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
4.1 ผสมอาหารสัตว์ เช่น ไก่ หมู วัว ฯลฯ
4.2 บำบัดน้ำเสียและสร้างอาหารในน้ำ ในบ่อปลา ในบ่อกุ้ง บ่อตะพาบน้ำ ฯลฯ
5. ใช้กับสิ่งแวดล้อม ใช้บำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่น
หมายเหตุ หลังจากการใส่ปุ๋ยแห้งแล้วควรฉีดพ่น รด ราด ด้วย EM ผสมน้ำ+กากน้ำตาล (ยกเว้น ที่ใช้กับสัตว์ให้ใช้วัสดุแทน) และไม่ควร ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง สารเคมีทุกชนิด ยาฆ่าเชื้อใด ๆ ทุกชนิด

การทำปุ๋ยเม็ด


1. นำปุ๋ยหมัก(โบกาฉิ)ที่ผสมเสร็จแล้วมาบดให้ละเอียด
2. นำแป้งเปียกมาผสมให้เข้ากัน
3. นำเข้าเครื่องอัดเม็ด
4. ผึ่งลมให้แห้งแล้วเก็บใส่ถุงหรือภาชนะหรือนำไปใช้


การทำจุลินทรีย์ขยาย(EM ขยาย)

EM ขยายคืออะไร
การขยายจำนวนจุลินทรีย์สด(EM สด)ที่มีอยู่ให้ได้จำนวนปริมาณมากขึ้น หรือการทำให้จุลินทรีย์ที่แข็งแรงมีประสิทธิภาพและเพิ่มจำนวนขึ้น เป็นการลดต้นทุน และมีคุณภาพเทียบเท่าจุลินทรีย์สด(EM สด) โดยสามารถทำได้ 3 รุ่น(จาก EM สด(รุ่นแม่) ไปสู่ รุ่นลูก-รุ่นหลาน-รุ่นเหลน)

ส่วนผสม


1. EM สด 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร

วิธีทำ


1. ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่ต้องการ เช่น ขวดพลาสติกที่มีฝาเกลียวตามส่วน(ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเพราะเมื่อจุลิ นทรีย์เพิ่มจำนวน จะเกิดแก๊สทำให้แตกได้)
2. ใส่ EM สดและกากน้ำตาลลงในน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ปิดฝาให้สนิท
3. เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักทิ้งไว้ 3 วัน และนำไปใช้ได้

วิธีใช้


1. นำไปใช้เหมือน EM สด (ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่นเพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาล)

ข้อสังเกต

1. ควรคลายฝาเกลียวทุก ๆ 3 วันเพื่อระบายแก๊สออกจากภาชนะ
2. ควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
3. เมื่อครบ 3 วันหรือสังเกตว่า EM แข็งแรง(เขย่าและมีฟองอากาศหรือฟองแก๊ส)ให้นำไปขยายได้อีก 2 รุ่น(รุ่นหลาน-รุ่นเหลน)
4. ถ้าใช้ EM กับสัตว์ทุกชนิดควรผสมกับวัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล(รายละเอียดตามข้างล่างน ี้)

วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล (1 ช้อนโต๊ะ)


- น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำซาวข้าว น้ำตาลทรายแดงผสมน้ำเข้มข้น น้ำผลไม้คั้นสด ๆ เช่น น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ที่ไม่ใส่สารกันบูด อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาลปริมาณ 1/4 แก้ว
- นมข้นหวาน หรือนมเปรี้ยว 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปัสสาวะ 1/2 แก้ว



การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)



การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)คืออะไร
การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งคือ การนำ EM มาหมักกับอินทรีย์วัตถุเป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพให้มีจ ำนวนมากขึ้นแข็งแรงขึ้น และฟักตัวอยู่ในอินทรีย์วัตถุเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก และยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย

ส่วนผสม



1. มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ
2. แกลบดิบ หรือฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง หรือผักตบชวาแห้ง หรือขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือมันสำปะหลังป่น หรือคายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM+กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน

วิธีทำ



1. คลุกรำละเอียดกับมูลสัตว์ที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
2. นำแกลบดิบหรือวัสดุที่ใช้แทนจุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM+กากน้ำตาลไว้ ช้อนเอามาคลุกกับรำและมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้วคลุกส่วนผสม ทั้งหมดให้เข้ากัน
3. ความชื้นให้ได้ 40-50% สังเกตจากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกตามง่ามนิ้วมือ และแตกเมื่อคลายมือออก หรือ แตกออกเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
4. นำส่วนผสมใส่ลงในกระสอบ หรือถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ที่อากาศถ่ายเทได้ ปริมาณ 3/4 ของกระสอบแล้วมัดปากกระสอบให้แน่น พลิกกระสอบทุกวันครบ 6 ด้าน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อนอุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส วันที่ 4-5 จะค่อย ๆ เย็นลงจนอุณภูมิปกติ เปิดกระสอบดูจะได้ปุ๋ยแห้งร่วนนำไปใช้ได้
5. หากไม่มีกระสอบหรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้วให้นำไปกองบนกระสอบป่านหรือฟางแห้งที่ใช้รองพื้นหนาประม าณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบหรือสแลนกันแดดกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง ให้อากาศถ่ายเททั่วถึงทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติปุ๋ยแห้งร่วนดี ให้เก็บใส่ถุงไว้ใช้ต่อไป

ประโยชน์ของการกลับกองปุ๋ยหมัก


1. เพื่อให้การหมักทั่วถึง
2. ทำให้แห้งเร็ว
3. ไม่จับเป็นก้อนแข็ง ง่ายต่อการนำไปใช้

การเก็บรักษา


เก็บปุ๋ยแห้งไว้ในที่ร่ม ไม่ให้ถูกแสงแดด หรือฝน หรือที่มีความชื้น เก็บรักษาได้ประมาณ 1 ปี

วิธีใช้


1. ปุ๋ยแห้งที่หมักด้วย EM จะร่วนและมีกลิ่นหอมเหมือนเชื้อเห็ด
2. ใช้ในการเตรียมดินปลูกพืชดังนี้
2.1 รองก้นหลุมปลูกประมาณ 2 กำมือ
2.2 คลุกผสมดินในหลุมปลูก 2 กำมือ
2.3 รองก้นแปลง (แหวะท้องหมู) ตารางเมตรละ 1 กำมือ
2.4 หว่านในแปลงพืชหรือนาข้าวตารางเมตรละ 1 กำมือแล้วใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพอชุ่ม
3. ใช้หลังการเพาะปลูกแล้ว
3.1 แปลงผักใส่ระหว่างแนวผักตารางเมตรละ 1 กำมือ
3.2 ไม้ต้นใส่ใต้ทรงพุ่มตารางเมตรละ 1 กำมือ
3.3 ไม้กระถางโรยใส่ลงในกระถางประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
4. ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
4.1 ผสมอาหารสัตว์ เช่น ไก่ หมู วัว ฯลฯ
4.2 บำบัดน้ำเสียและสร้างอาหารในน้ำ ในบ่อปลา ในบ่อกุ้ง บ่อตะพาบน้ำ ฯลฯ
5. ใช้กับสิ่งแวดล้อม ใช้บำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่น
หมายเหตุ หลังจากการใส่ปุ๋ยแห้งแล้วควรฉีดพ่น รด ราด ด้วย EM ผสมน้ำ+กากน้ำตาล (ยกเว้น ที่ใช้กับสัตว์ให้ใช้วัสดุแทน) และไม่ควร ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง สารเคมีทุกชนิด ยาฆ่าเชื้อใด ๆ ทุกชนิด

การทำปุ๋ยเม็ด

1. นำปุ๋ยหมัก(โบกาฉิ)ที่ผสมเสร็จแล้วมาบดให้ละเอียด
2. นำแป้งเปียกมาผสมให้เข้ากัน
3. นำเข้าเครื่องอัดเม็ด
4. ผึ่งลมให้แห้งแล้วเก็บใส่ถุงหรือภาชนะหรือนำไปใช้


การทำซุปเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์


ส่วนผสม

1. เปลือกหอยป่น 2 ขีด
2. กระดองปูม้า, ปูทะเลป่น 2 ขีด
3. กระดูกสัตว์ป่น 2 ขีด
4. แกลบเผา 2 ขีด
5. ปลาป่น 6 กก.
6. กากถั่ว 6 กก.
7. รำละเอียด 20 กก.
8. EM 1 ช้อนโต๊ะ
9. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
10. น้ำสะอาด 5 ลิตร
11. กระสอบป่าน 1 ใบ
12. ถุงพลาสติกดำ 1 ใบ

วิธีทำ


1. ผสมวัสดุทั้งหมดให้เข้ากันดี (1)
2. ละลาย EM+กากน้ำตาล น้ำให้เข้ากัน นำไปพ่นฝอย ๆ บนส่วนผสมในข้อ (1) แล้วคลุกให้เข้ากันให้ความชื้นไม่เกิน 40%
3. นำส่วนผสมบรรจุลงในกระสอบป่านผูกปากให้แน่น จากนั้นใส่ลงในถุงพลาสติกดำอีกชั้นหนึ่งมัดปากถุงให้แน่นหมักทิ้งไว้ 3 วัน
4. ครบ 3 วันแล้ว นำกระสอบป่านออกจากถุงพลาสติกดำแล้วตั้งทิ้งไว้ในที่ร่มอีก 3 วัน สังเกตจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและเย็นลง ให้กลับกระสอบทุกวันเพื่อไม่ให้ความชื้นในกระสอบลงไปกองด้านใดด้านหนึ่งจะ จับเป็นก้อนแข็งได้

วิธีใช้


1. ใช้ผสมอาหารสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลา กุ้ง กบ ฯลฯ ในอัตรา 2 % ของอาหารที่ให้แต่ละครั้ง หรือ 2 กก.ต่ออาหารสัตว์ 100 กก.
2. นำใส่ถุงผ้าละลายน้ำในอัตราส่วน 1/2 กก.ต่อน้ำ 100 ลิตร ทำเป็นน้ำ "โบกาฉิ" หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำไปรดพืช ผักต่าง ๆ จะทำให้พืชผักที่ปลูกใหม่ ๆ ฟื้นตัวและโตเร็ว
3. นำใส่แปลงพืชตารางเมตรละ 1 กำมือ (100 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร)
4. ใช้หว่านในบ่อน้ำเพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสียให้กลับดีขึ้น หรือช่วยทำให้น้ำที่ดีอยู่แล้วไม่เน่าเสียได้

การทำฮอร์โมนผลไม้

ส่วนผสม


1. มะละกอสุก 2 กก.
2. ฟักทองแก่จัด 2 กก.
3. กล้วยน้ำว้าสุก 2 กก.
4. EM 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ
5. กากน้ำตาล 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ

1. หั่นมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกันใส่ในถังพิทักษ์โลก (ดูรายละเอียดในวิธีทำ) หรือถังพลาสติก หรือภาชนะดินเคลือบ
2. ผสม EM กากน้ำตาลลงในภาชนะ ใส่น้ำให้ท่วมผลไม้ คลุกให้เข้ากันปิดฝา หมักไว้ 7-10 วัน
3. เมื่อเปิดฝาออก ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองด้านบน นำไปใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ ฯลฯ ช่วยเร่งรากดีมาก
4. กรองน้ำหรือรินใส่ขวดพลาสติกฝาเกลียว เก็บไว้ใช้ได้นาน 3 เดือน

วิธีใช้

1. นำฮอร์โมน 4-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตรฉีด พ่น รด ราด ไม้ผลช่วงติดดอก ก่อนดอกบานทำให้ติดผลดี หรือฉีดเร่งการออกดอก บำรุงรากเดือนละครั้ง
2. ใช้กับพืชผักสวนครัว สัปดาห์ละครั้งสลับกับปุ๋ยน้ำ
3. นำกากที่เหลือในถังหรือภาชนะที่ใช้หมักไปใส่ต้นไม้บำรุงดิน หรือทิ้งไว้ให้แห้งทำปุ๋ยแห้งได้อีก

การทำสารไล่ศัตรูพืช(สุโตจูหรือ EM 5)

ส่วนผสม

1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 แก้ว
2. น้ำส้มสายชูกลั่น 5 % 1 แก้ว
3. EM 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ


1. นำกากน้ำตาลผสมเขย่าให้เข้ากันใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชูกลั่น
2. ใส่ EM คนให้เข้ากัน ปิดฝาเกลียวให้มิดชิด หมักไว้ 10-15 วัน
3. ให้เขย่าภาชนะทุกวันเพื่อไม่ให้นอนก้น เปิดฝาระบายแก๊สหลังจากเขย่าภาชนะ ครบกำหนดนำไปใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืช บางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ

วิธีใช้


1. นำน้ำหมักที่ได้ 1-5 ช้อนโต๊ะ(10-50 ซีซี) ผสมน้ำ 5-10 ลิตร
2. ฉีดพ่น ให้ชุ่มและทั่วถึงนอกและในทรงพุ่ม
3. ใช้กับพืชผักทุก 3 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
4. พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
5. ผสมกับกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ


สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร

ส่วนผสม


1. EM 1 ลิตร
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. ตะไคร้หอม 2 กก.
4. ข่าแก่ 2 กก.
5. ใบและเมล็ดสะเดา 2 กก.

วิธีทำ


1. นำตะไคร้หอม ข่า สะเดา ปั่นหรือโขลกให้ละเอียดใส่น้ำพอคั้นได้ คั้นเอาแต่น้ำจะได้น้ำสมุนไพรประมาณ 3 กก.
2. นำ EM ผสมกากน้ำตาล ผสมลงในน้ำสมุนไพร
3. ปิดฝาภาชนะหมักไว้ 3 วัน
4. เก็บไว้ได้นานประมาณ 3 เดือน


วิธีใช้



ใช้ 1/2 ลิตร ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่น ต้นไม้ทุก 3 วัน

สารสมุนไพรชลอการเติบโตของเชื้อรา เอ็นแท็กโน๊ต(หมายเลข 07)



ส่วนผสม


1. ว่านน้ำ(ต้น ใบ ราก) 1 กก.
2. แอลกอฮอล์ 1 ขวด(เหล้าแม่โขง)
3. เปลือกมังคุด 1 กก.
4. หมากดิบ(สด)กะเทาะเปลือกออกแล้ว 1/2 กก.
5. ตะไคร้หอม 1 กก.
6. กากน้ำตาล 100 ซีซี
7. EM 100 ซีซี
8. น้ำสะอาด 5 ลิตร


วิธีทำ


1. นำว่านน้ำล้างให้สะอาดมัดเป็นก้อนทุบผิวให้แตกแล้วแช่ในแอลกอฮอล์ 1 คืน
2. นำเปลือกมังคุดมาต้มในน้ำจำนวน 2 ลิตร ให้งวดเหลือน้ำ 1 ลิตร
3. นำหมากดิบมาหั่นซอยเป็นแผ่นบาง ๆ ต้มน้ำร้อนเทใส่ทิ้งไว้ 1 คืน
4. นำตะไคร้หอมทุบเล็กน้อยและกากน้ำตาลแช่น้ำ 5 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน
5. หลังจากผ่านไป 1 คืน ให้นำส่วนผสมทั้งหมดมาแช่รวมกัน หมักต่อไปอีก 15 วัน


วิธีใช้


นำน้ำหมักสมุนไพรอัตราส่วน 150 ซีซี(หรือ 15 ช้อนโต๊ะ) ผสมจุลินทรีย์(EM) 100 ซีซี(หรือ 10 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นไม้ประมาณ 5-6 วันต่อครั้ง



สตรไล่แมลง


ส่วนผสม


1. เปลือกมังคุดสด 2 กก.
2. น้ำสะอาด 5 ลิตร หรือพอท่วมเปลือกมังคุด
3. EM 200 ซีซี หรือ 2 ช้อนโต๊ะ
4. กากน้ำตาล 300 ซีซี หรือ 3 ช้อนโต๊ะ
5. ถุงพลาสติกดำ 1 ถุง


วิธีทำ



1. นำเปลือกมังคุดมาทุบให้พอแหลกใส่ลงในภาชนะถังพลาสติก
2. ผสม EM กากน้ำตาลและน้ำให้เข้ากันและเทลงใส่ถังพลาสติกพอให้ท่วมเปลือกมังคุด และคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
3. นำถุงดำปิดฝาถังพลาสติกรัดด้วยเชือกให้แน่นไม่ให้อากาศเข้าแล้วปิดฝาถัง (หรือปิดฝาแล้วนำถังพลาสติกใส่ถุงดำแล้วรัดปากถุงก็ได้)
4. เก็บไว้ในที่อุณหภูมิปกติไม่ให้ถูกแสงแดดหมักไว้ 7-10 วัน
5. ครบกำหนด ใช้ผ้ากรองน้ำสกัดใส่ขวดพลาสติกฝาเกลียวเก็บไว้ใช้

8. เก็บไว้ได้ 3 เดือนขึ้นไป

วิธีใช้


ใช้ อัตราส่วน 1 ต่อ 1,000 กับน้ำ (หรือ 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่น รด ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผลในตอนเย็น 3-5 วัน/ครั้ง
หมายเหตุ อาจแช่ยาฉุนกับน้ำแล้วกรองน้ำมาผสมฉีดพ่นก็ได้ หรือผสมกับ EM 5 (สุโตจู)ผสมฉีดก็ได้ จะไล่แมลงได้ดีมาก



การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ(ใช้ทันที)

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ(ใช้ทันที)คืออะไร
การผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพและเป็นปุ๋ยน้ำใช้ได้ทันที


ส่วนผสม



1. EM สด หรือ EM ขยาย 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน

2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1,000 ส่วน


วิธีทำ

นำ EM และกากน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน
กรณีมีพื้นที่ที่ต้องใช้ปุ๋ยน้ำมากให้ผสมเพิ่มตามสัดส่วน


วิธีใช้



1. ใช้ฉีด รด พ่น ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใบและดอกจะดก บานทน
2. ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ฉีดพ่น รด ราด เดือนละ 1 ครั้งจะได้ผลโต รสชาดดี
3. วันอื่น ๆ ให้รดน้ำพืชตามปกติ
4. ควรใช้ EM ในช่วงเย็นก่อนพระอาทิตย์ตกหรือแสงแดดอ่อนจะใช้ได้ผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน



การทำปุ๋ย 24 ชั่วโมง (การขยายปุ๋ยแห้ง)



การทำปุ๋ย 24 ชั่วโมง (การขยายปุ๋ยแห้ง)คืออะไร
การนำปุ๋ยแห้ง(โบกาฉิ)มาขยายภายใน 1 วัน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและประหยัด

ส่วนผสม



1. ปุ๋ยแห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
2. แกลบดิบ หรือฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง หรือผักตบชวาแห้ง หรือขี้เลื่อย 10 ส่วน หรือ 10 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือมันสำปะหลังป่น หรือคายข้าว 1/2 ส่วน หรือ 1/2 กระสอบ
4. EM+กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 ถัง คนให้เข้ากันเตรียมไว้
5. ถ้าทำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน


วิธีทำ



1. นำรำละเอียดผสมปุ๋ยแห้งให้เข้ากัน
2. นำแกลบดิบหรือวัสดุที่ใช้แทนจุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM+กากน้ำตาลที่เตรียมไว้บีบพอหมาด(เหมือนทำปุ๋ยแห้งวางกองกับพื้นที่ปูลา ดด้วย กระสอบหรือฟางแห้งประมาณ 3 นิ้ว)
3. นำส่วนผสมของรำกับปุ๋ยแห้งโรยให้ทั่วทำเป็นชั้น ๆ จะใช้พื้นที่เท่าใดก็ได้ แต่ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต หรือ 1 ศอก หรือ ไม่เกินหัวเข่า เสร็จแล้วให้นำเอากระสอบหรือสแลนกันแดด หรือถุงปุ๋ย หรือฟางแห้งคลุมไว้
4. หมักไว้ 18 ชั่วโมง กลับปุ๋ยข้างล่างขึ้นข้างบนให้อากาศผ่านได้ทั่วถึง และแห้งง่าย คลุมทิ้งไว้อีก 6 ชั่วโมง ก็จะได้ปุ๋ยแห้ง 24 ชั่วโมง (1 วัน) นำไปใช้ได้

วิธีใช้





1. ใช้เหมือนปุ๋ยแห้ง แต่จะประหยัดและลดต้นทุนได้มาก
2. เก็บรักษาในที่ร่ม ไม่ให้โดนแสงแดด โดนฝนได้ประมาณ 1 ปี
3. ใช้ทำปุ๋ยแห้ง 24 ชั่วโมง ขยายได้อีก (วิธีทำเหมือนเดิม)


หมายเหตุ



พื้นที่ที่มีใบไม้แห้งกองอยู่มากสามารถทำกับพื้นที่ได้ โดยตัดหรือย่อยให้เล็กลง ใช้น้ำผสม EM+กากน้ำตาล ฉีด พ่น รดให้ทั่ว(ความชื้นตามสูตร) นำรำผสมปุ๋ยแห้ง โรยให้ทั่วแล้วคลุมไว้กลับกองปุ๋ยทุกวันครบกำหนดนำไปใช้ได้
วัสดุที่ใช้แทนรำละเอียด เช่น ฝุ่นซังข้าวโพด มันสำปะหลังบด กากมะพร้าวขูดคั้นน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง คายข้าว ฯลฯ

วัสดุที่ใช้แทนแกลบดิบ เช่น ใบไม้แห้งทุกชนิด หญ้าแห้ง ผักตบชวาแห้ง ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าวแห้ง ฟางข้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ


การทำฮอร์โมนยอดพืช


ส่วนผสม


1. ยอดสะเดาทั้งใบและเมล็ด 1/2 ถัง(ขนาด 10 ลิตร)
2. ยอด/ใบยูคาลิปตัส 1/2 ถัง(ขนาด 10 ลิตร)
3. EM 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
หมายเหตุ ใช้ยอดพืช ยอดผักหลาย ๆ ชนิดก็ได้ อาทิ ชมพู่ มะม่วง ตะไคร้หอม ฯลฯ ให้เก็บยอดตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น



วิธีทำ

1. สับยอดพืชให้สั้นประมาณ 1 นิ้ว ใส่ในถังพลาสติกหรือโอ่ง
2. ผสม EM กากน้ำตาลลงในภาชนะให้ท่วมพอดี คลุกให้เข้ากัน ปิดฝาให้ปิดชิด หมักไว้ 7-10 วัน
3. กรองน้ำหรือรินใส่ขวดพลาสติกฝาเกลียว เก็บไว้ใช้ได้นาน 3 เดือน


วิธีใช้


1. นำน้ำหมักที่ได้ 4-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีด พ่น รด ราด ตอนเช้าหรือหลังฝนตก ป้องกันแมลงรบกวน พืชจะแข็งแรงเติบโตดี
2. ใช้ผสมกับสารไล่แมลง(สุโตจูหรือ EM 5)จะได้ผลดียิ่งขึ้น



การทำปุ๋ยน้ำจากปุ๋ยแห้ง(ใช้ใน 1 วัน)



ส่วนผสม

1. ปุ๋ยแห้ง(โบกาฉิ) 2 กก.
2. กากน้ำตาล 1/2 แก้ว
3. น้ำ 200 ลิตร

วิธีทำ


1. นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากันแช่ไว้ในช่วงเย็น
2. นำไปรด พืช ผัก ผลไม้ ในไร่ นาได้ในช่วงเช้า



การทำสารไล่ศัตรูพืชสูตรเข้มข้น(ซุปเปอร์สุโตจู)


ส่วนผสม


1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 แก้ว หรือ 2 ส่วน
2. น้ำส้มสายชูกลั่น 5 % 1 แก้ว หรือ 1 ส่วน
3. EM 1 แก้ว หรือ 1 ส่วน
4. กากน้ำตาล 1 แก้ว 1 ส่วน

วิธีทำ


1. นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ภาชนะเขย่าหรือคนให้เข้ากัน
2. ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 1 วัน

วิธีใช้


1. ใช้ในกรณีที่ผสมสารไล่ศัตรูพืชธรรมดาไม่ทันกาล
2. ใช้ 5-10 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง ฉีดพ่นปราบหนอน แมลงศัตรูพืช ที่ปราบได้ยาก เช่น หนองหลอดหอม หนองชอนใบ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยผลไม้
3. กรณีมีพื้นที่เพาะปลูกมาก ใช้ 20-300 ซีซี. หรือ 2 แก้ว ผสมน้ำ 100-200 ลิตร มากน้อยแล้วแต่ความเหมาะสม
4. ผสมน้ำ 50 เท่า กำจัด เหา เห็บหมัด โรคขี้เรื้อนในสัตว์เลี้ยง ใช้ราดให้ทั่วตัวหมักทิ้งไว้ 20-30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
5. ใช้ป้องกันแก้โรคในสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ตะพาบน้ำ ปลา ฯลฯ (ดูรายละเอียดการใช้การประมง)


หมายเหตุ



หมั่นสังเกตชนิดของแมลงที่เป็นศัตรูพืช หากการใช้สารไล่ หรือสารป้องกันศตรูพืชได้ผลต่ำให้ผสม ข่าแก่ หรือบอระเพ็ด หรือตะไคร้หอม หรือ ดีปลี ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างโขลกให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ หรือแช่ยาฉุนทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ ผสมลงในสารไล่แมลงที่ทำไว้จะช่วยไล่แมลงวัน มด ปลวก เพลี้ยต่าง ๆ กำจัดหนองที่กินพืชผัก


พืชใบอ่อนผสมน้ำให้เจือจาง พืชใบแข็งผสมน้ำน้อยลงได้
ใช้ร่วมกับฮอร์โมนยอดพืชได้



สูตรไล่หอยหรือเพลี้ยไฟป้องกันใบข้าวไหม้


ส่วนผสม

1. ยอดยูคาลิปตัส 2 กก.
2. ยอดสะเดา 20 ยอด(1 ปิ๊บ)
3. ข่าแก่ 2 กก.
4. บอระเพ็ด 2 กก.
5. EM 1 แก้ว
6. กากน้ำตาล 1 แก้ว

วิธีทำ

นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกันใส่ปิ๊บใส่น้ำให้เต็ม ต้มให้เหลือน้ำอย่างละครึ่งปิ๊บทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทรวมกันในถังใหญ่ หรือโอ่ง ใส่ EM 1 แก้ว กากน้ำตาล 1 แก้ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 3 วัน

วิธีใช้



ใช้ 1/2 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น ราดในนาข้าวหรือในไร่


ข้อสังเกต



หากมีแมลงศัตรูพืชระบาดรบกวนมาก จะใช้น้ำสมุนไพรต่าง ๆ อาทิ บอระเพ็ด เมล็ดสะเดา ตะไคร้หอม ฯลฯ ผสมร่วมกันเป็นสารไล่ ศัตรูพืชที่เดียวก็ได้


การทำสารสกัดชีวภาพ (Fermented Plant Extract)


สารสกัดชีวภาพ (Fermented Plant Extract) คืออะไร ?



สารสกัดที่ได้จากการหมักยอดพืช วัชพืช ผัก ผลไม้ และ EM โดยมีส่วนประกอบของกรดอินทรีย์ (Organic Acids) สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ แร่ธาตุและสารที่มีประโยชน์ ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตต่ำ

ส่วนผสม



1. ยอดพืชเก็บในตอนเช้าตรู่จะอุดมไปด้วยธาตุอาหาร เช่น ยอดพร้อมเมล็ดของสะเดา ยอดขี้เหล็ก ยอดยูคาลิปตัส ยอดพริก ใบสะระแหน่ กระถินไมยราพยักษ์ หญ้า ยอดผักต่าง ๆ รวมทั้ง ผลไม้ เช่น ชมพู่ ส้มที่ติดผลดกเกินไป เป็นต้น ปริมาณ 1 ถัง หรือ 15 ลิตร
2. น้ำสะอาด 15 ลิตร หรือพอท่วมพืช ผัก ผลไม้
3. EM 1/2 ลิตร หรือ 500 ซีซี
4. กากน้ำตาล 1/2 ลิตร หรือ 500 ซีซี (ถ้าไม่มีกากน้ำตาลให้ใช้น้ำตาลทรายแดงปริมาณ 2 กก. ผสมน้ำข้น ๆ)
5. ถุงพลาสติกดำ 1 ถุง

วิธีทำ



1. สับพืช ผัก ผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2 ซม.
2. บรรจุพืช ผัก ผลไม้ที่สับแล้วลงในถังพลาสติก หรือโอ่ง
3. ผสม EM และกากน้ำตาลลงในน้ำสะอาดที่เตรียมไว้คนให้เข้ากันและเทลงในถังพลาสติกหรื อโอ่ง และคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
4. ปิดถังหรือโอ่งด้วยพลาสติกดำเอาเชือกหรือยางมัดไว้แล้วปิดฝาถังหรือโอ่งเอ าของหนักทับไว้ไม่ให้อากาศเข้า
5. เก็บไว้ในที่อุณหภูมิปกติไม่ให้ถูกแสงแดดหมักไว้ 5-7 วัน
6. 2-3 วัน เขย่าถังเบา ๆ เพื่อระบายแก๊ส
7. ใช้ผ้ากรองน้ำสกัดใส่ขวดพลาสติก
8. เก็บไว้ได้ 3 เดือนขึ้นไป


วิธีใช้



1. ใช้ อัตราส่วน 1 ต่อ 1,000 กับน้ำ (หรือ 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่น รด ราด พืชในตอนเช้าหรือหลังฝนตกได้ทุกวัน
2. ใช้รดบนดิน บัวรดน้ำ สปริงเกอร์ หรือระบบให้น้ำอัตโนมัติก็ได้
3. ใช้รดพืช ผัก ลงบนเมล็ดที่กำลังงอก จะต้านทานโรคได้ดีใช้ร่วมกับ EM5(สุโตจู) จะเห็นผลเร็วยิ่งขึ้น




สูตรไล่มด


ส่วนผสม

1. พริกขี้หนูแดงสด 1/2 กก.
2. น้ำสะอาด 2 ลิตร

วิธีทำ


1. นำพริกขี้หนูแดงสดมาโขลกหรือปั่นให้ละเอียดแล้วใส่น้ำสะอาดลงไปคนให้เข้าก ัน
2. นำเอาส่วนผสมกรองเอาแต่น้ำเก็บใส่ภาชนะ

วิธีใช้

ใช้ อัตราส่วน 2 ต่อ 1,000 กับน้ำ (หรือ 2 ช้อนโต๊ะกับน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่น รด ราด พืช ผักเพื่อไล่มด 3-5 วัน/ครั้ง

อาจผสมกับสูตรไล่แมลงหรือ EM 5 (สุโตจู) ก็ได้

Credit  http://www.vcharkarn.com/vcafe/139477


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 07:56:59 PM »

.เพราะนำมาต่อเชื้อเรื่อยๆโดยผสมกับกากน้ำตาล ..ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าเชื้อจุลินทรีย์ยังมีชีวิตอยู่ไหม ... 
   ท่านใดพอทราบวิธีเช็ค EM ว่าเสื่อมสภาพหรือยังใช้ได้อยู่... .ขอบคุณมากครับ  THANK!!

บันทึกการเข้า
e21fnw-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน863
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2225


สนับสนุนคนดีให้ปกครองบ้านเมือง


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 09:09:12 PM »

อ.มีกล้องจุลทรรศ์ ไหมครับ เห็นแว๊ป ๆ ว่าตอนอยู่เชียงใหม่เห็นมี
บันทึกการเข้า

สมาธิมี  ปัญญาเกิด
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 09:27:05 PM »

..ให้เพื่อนยืม ...ไปแล้วครับ  งง
บันทึกการเข้า
e21fnw-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน863
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2225


สนับสนุนคนดีให้ปกครองบ้านเมือง


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 09:51:51 PM »

เอาตามหลักที่ผมรู้ ๆ มานะครับ คือมันมีขนาดเล็กมาก  ระดับจุลชีพ

พี่มนูญเคยบอกไว้ ถ้าต่อเชื้อจุลินทรีย์บางตัวจะลดปริมาณไป   ก็ทำให้กระบวนการย่อยสลายไม่สมบูรณ์ หรือล่าช้า

อย่าง อ.เชาว์วัชก็ เช่นปุ๋ยอินทรีย์ก็นำมาละลายน้ำ  , EM ก็เอามาขยาย ให้อาหารกากน้ำตาล และ น้ำ  ภายใน 24 ชั่วโมงจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยส่องกล้อง ดูอัตราหนาแน่น ของจุลินทรีย์  วิธีนี้ใช้ในการวัดคร่าว ๆ 

แต่สำหรับผมไม่มีเครื่องมือ ก็ทดลองครับอย่างผมจะหมักผลไม้ ก็แบ่งมาใส่ขวดโหลแก้ว แล้วใส่ EM  อีกโหล ใส่  EM ที่ขยายแล้ว หรือ ที่เราต้องการทดสอบ ปิดฝาให้สนิท แล้วทิ้งไว้ในที่ร่ม ดูผลการทดลองทุก 7 , 14  วัน ดูด้วยสายตาก็พอเห็นครับถึงความแตกต่าง อีกอย่างกลิ่นด้วยครับ

ตอนนี้ก็หมักใช้อยู่ครับ แรก ๆ ก็ยังมือใหม่ กว่าจะย่อยสลายนาน เพราะทำสะอาดมากเกินไป
ก็ทดลองเรื่อย ๆ บางถังจุลินทรีย์ที่ใส่ไปทำงานดีมาก ย่อยซะป่นเลย

ลองพิสูจน์แปลงผักกระถางหลังบ้าน ตอนแรกก็ไม่เชื่อครับ แต่ก็ต้องเชื่อ

 
บันทึกการเข้า

สมาธิมี  ปัญญาเกิด
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!