เห็ดพิษ
LSVคลังสมองออนไลน์
 
*
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน มีนาคม 28, 2024, 03:22:07 PM


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เห็ดพิษ  (อ่าน 3280 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18612


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2011, 05:38:18 PM »


 “เห็ด” ในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิด บางอย่างมีรูปร่างสีสดงดงาม แต่ใช้เป็นอาหารไม่ได้ เพราะมีสารพิษที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ความรู้รอบตัวแบบชาวบ้านนั้น บางครั้งก็มีประโยชน์อย่างมาก เพราะไม่อาจค้นหาจากตำราได้

ในบรรดาพืชพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ มีทั้งประโยชน์และโทษต่อชีวิตมนุษย์ “เห็ด” เป็นพืชชั้นต่ำจำพวกเห็ดรา (Fungi) ดอกเห็ดมีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด มนุษย์รู้จักนำมาใช้ทำเป็นอาหารนานนับร้อยๆ ปีมาแล้ว เป็นที่นิยมกันทั่วโลก เห็ดหลายชนิดที่มองดูงดงามนั้น ก็อาจมีสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายถึงสิ้นชีวิตได้อย่างไม่น่าเชื่อ เห็ดบางชนิดอาจมีกลิ่นหอมชวนกิน แต่บางชนิดก็กลิ่นเหม็น ทำให้เวียนศีรษะหรือรุนแรงถึงอาเจียนได้

⇒ ส่วนประกอบของเห็ดพิษตามตำรา
ลักษณะตามตำราต่างประเทศ ซึ่งพอจะนำมาประกอบการวินิจฉัยร่วมกับอาการของคนที่ได้รับพิษจากเห็ดคือ เห็ดที่กินนั้นควรจะมี
- ถ้วยเห็ด
- เศษเปลือกเห็ด ปรากฏอยู่บนหมวก
- สีของหมวกสวยงาม และมีสปอร์สีขาว
- วงแหวนชัดเจน


                 

⇒ การเลือกเห็ดที่นำมาประกอบอาหารตามวิธีของชาวบ้าน
ในบ้านเราผู้ที่จะบอกได้ว่าเห็ดชนิดใด เป็นเห็ดไม่มีพิษ สามารถนำมาประกอบอาหารได้ ก็คือ ชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีวิธีการแตกต่างกันออกไป ความรู้เหล่านี้หาอ่านจากตำราไม่ได้ เพราะเป็นความรู้ที่ได้รับการสั่งสอนและถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ร่วมกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคลแต่ถ้านำความรู้เหล่านี้มารวมกันและพิจารณาให้ดีจะเป็นหลักที่เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

1. เห็ดพิษจะต้องมีหมวกเห็ด ซึ่งลักษณะสกปรก มีผงคล้ายแป้ง หรือมีเศษเนื้อเยื่อบาง ๆ ติดอยู่บนหมวก

2. หมวกของเห็ดพิษ อาจมีสีขาวหรือสีอื่นใดก็ได้ แต่ถ้าเป็นเห็ดพิษแล้ว หมวกเห็ดจะมีลักษณะแตกง่าย เพียงแต่แตะต้องเบา ๆ ก็จะหักหรือฉีกขาด

3. ถ้าดมดูจะได้กลิ่นเหม็น ชวนให้ปวดศีรษะ

4. ถ้าหักก้านเห็ดส่วนที่อยู่ติดดินดู จะพบลักษณะคล้ายมียางเหนียว ๆ อยู่ที่ก้านเห็ด

⇒ วิธีกินเห็ดให้ปลอดภัย

ถ้าท่านชอบกินอาหารที่มีเห็ดเป็นส่วนประกอบหรือมีความจำเป็นต้องกินเห็ดด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม
ความรู้รอบตัวต่อไปนี้อาจจะเป็นประโยชน์บ้าง
1. เลือกกินเห็ดที่ท่านรู้จัก ไม่ควรลองกินเห็ดที่มีรูปร่างลักษณะแปลก ๆ สีสดงดงาม และไม่มีใคร
รู้จัก

2. ควรทำเห็ดให้สุกก่อนกิน เพราะพิษบางอย่างในเห็ดถูกทำลายด้วยความร้อน

3. ไม่ควรเก็บอาหารที่มีเห็ดเป็นส่วนประกอบ ไว้นานเกินควร

4. ไม่ควรดื่มสุราเมื่อกินอาหารที่มีเห็ดเป็นส่วนประกอบ และไม่ใช้อาหารที่ประกอบด้วยเห็ดเป็น
กับแกล้ม หากท่านไม่มีความรู้เรื่อง “เห็ด” เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะเห็ดบางชนิดเป็นเห็ดกินได้ แต่จะแสดงพิษรุนแรงหากดื่มสุราด้วยเหตุที่เห็ดเหล่านี้มีสารเคมีจำพวก “เตตระเอธิลไธยูแรมไดซัลไฟด์”
 (tetraethylthiuram disulfide) อยู่ด้วย สารนี้ไปยังยั้งการเปลี่ยนแปลงของสุราในร่างกาย มีการคั่งของสารพวก “อะเซตาลดีฮัยด์” (acetaldehyde) แล้วเกิดอาการพาขึ้น

5. ถ้าสงสัยว่าอาการป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เนื่องจากเห็ดที่กินเข้าไป ต้องรีบทำให้อาเจียนเอา
เศษอาหารที่เหลือตกค้างในกระเพาะอาหารออกทันที แล้วรีบปรึกษาแพทย์

⇒ ความรู้เกี่ยวกับเห็ดในทางยาแผนโบราณ
มีผู้ค้นคว้าศึกษาและรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับเห็ดไว้เป็นจำนวนมาก เพราะเห็ดมีประโยชน์ในแง่มุมคุณค่าทางอาหาร แต่ก็มีเห็ดบางชนิดเหมือนกันที่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคตามแผนโบราณ

เห็ดร่างแห:
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dictyophora indusiata (pers.) Fisch. จัดว่าเป็นเห็ดพิษ พบขึ้นทั่วไป ที่ที่ใบไม้เน่าเปื่อย ขณะบานจะมีกลิ่นเหม็น ชวนเวียนศีรษะ เมื่อเห็ดร่างแหยังอ่อนอยู่ จะมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาวคล้ายฟองไข่นก เมื่อดอกบานจะมีหมวกสีขาว แต่ลักษณะบนหมวกไม่สะอาดมีร่างแหคุมไว้ ดูสวยงามแปลกตา มีน้ำเมือก กลิ่นเหม็น เนื่องจากลักษณะร่างแหเวลาถูกลมพัดจะแกว่งไปมา จึงมีบางคนเรียกว่า เห็ดเต้นรำ (Dancing mush room)

พิษของเห็ดร่างแห : ทำให้เกิดอาการท้องเดิน และปวดท้องอย่างรุนแรงบางรายมีอาเจียนรวมด้วย ชาวบ้านถือว่าเป็นเห็ดเมา

คุณสมบัติทางยาแผนโบราณ : สมัยก่อนใช้ผสมเป็นยาจำพวกน้ำมันทานวด แก้ปวดข้อ นอกจากนั้น ใช้ทาภายนอกจากฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ เคยมีผู้นำไปบดรวมกับจันทร์หอมทำเป็นธูป จุดไฟรมควันในห้อง ทำให้ผู้ได้รับควันถึงกับหลับหมดสติ ในฝรั่งเศสและเยอรมันใช้เป็นยากระตุ้นเพศของสัตว์เลี้ยง

การศึกษาในแง่วิทยาศาสตร์ : ยังไม่มีรายงานว่าสารสำคัญที่ทำให้เกิดพิษของเห็ดร่างแห เป็นสารชนิดใด

เห็ดกระถินพิมาน : มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Fomes rimosus (Berk.) Cooke. เป็นเห็ดในตระกูล olyporaceae ซึ่งมีลักษณะแข็งเหมือนเนื้อไม้ ดอกเห็ดไม่มีก้านและเจริญออกมาจากลำต้นไม้ในลักษณะเป็นก้อนครึ่งวงกลม ดร.วิเชียร จีรวงศ์ ได้ทำการศึกษาเห็ดนี้ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะเป็นเห็ดสมุนไพร ซึ่งมีคุณสมบัติบำบัดอาการปวดหูและเริม

เห็ดนมเสือ : มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Polyporus sacer Fr. มีหมวกเห็ดบาง เมื่อเป็นเห็ดสดพบว่า เนื้อเห็ดค่อนข้างเหนียว เวลาแห้งแล้วจึงมีลักษณะเหมือนหนังสัตว์แห้ง จัดเป็นเห็ดสมุนไพรชนิดหนึ่ง สามารถนำไปใช้ในการบำบัดโรคหืด แก้อาการปวดแสบ ปวดร้อน และอาการปวดหู วิธีใช้แตกต่างกันไปเล็กน้อย คือใช้ฝนกับน้ำฝนกินแก้หืด หรือทาบำบัดอาการปวดแสบปวดร้อน หรือใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้

⇒ อาการพิษเนื่องจากเห็ด
อาการพิษที่เกิดจากการกินเห็ดนั้น อาจมีได้ตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนกระทั่งอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ขึ้นกับสารพิษที่มีอยู่ในเห็ดพิษแต่ละอย่าง ซึ่งพอจะสรุปง่าย ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. เห็ดซึ่งกินปกติได้ แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดพิษทั้งนี้เพราะ
ก. ทำเป็นอาหารแล้วเก็บไว้นานเกินไป เป็นเหตุให้อาหารเสีย จึงเกิดเป็นพิษขึ้น

ข. เห็ดบางชนิดขึ้นในบริเวณที่มีสารพิษอยู่เมื่อนำมากิน ก็เกิดอาการพิษขึ้น สุดแท้แต่ว่าสารพิษที่มีอยู่ในดินนั้นเป็นอะไร

2. เห็ดพิษที่ทำให้เกิดอาการขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายหลังกินเข้าไป ประมาณภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งแบ่งออกได้เป็นหลายพวก
ก. มีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อาการต่าง ๆ ดังกล่าวไม่รุนแรงมาก เมื่อเห็ดพิษถูกขับถ่ายออกจากร่างกายหมดแล้ว และได้รับการรักษาตามอาการ ก็ปลอดภัย

ข. ภายหลังกินเข้าไปประมาณครึ่งชั่วโมง รู้สึกร้อน เหงื่อออก แน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่สะดวก วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม รูม่านตาเล็กลง อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วยในบางราย

ค. ภายหลังกินเข้าไปประมาณ 1 ชั่วโมง เริ่มมีอาการคล้ายบ้าลำโพง คือ หูอื้อ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ต่อมาจะตื่นเต้น เอะอะ ร้องตะโกนเสียงดัง ผิวหนังแดง รูม่านตาขยายเต็มที่ แต่บางคนที่มีภูมิคุ้มกันก็สามารถกินเห็ดกลุ่มนี้ได้ โดไม่มีอาการพิษเกิดขึ้น

ง. จะเกิดเป็นพิษต่อเมื่อกินเห็ดแล้วดื่มเหล้าเข้าไป เพราะในเห็ดจำพวกนี้ มีสารจำพวก เตตระเอธิลไธยูแรมไดซัลไฟด์ (tetraethylthiuram disulfide) ซึ่งไปยังยั้งการเปลี่ยนแปลงของเหล้าในร่างกาย เป็นเหตุให้เกิดการคั่งของสารพวก อะเซตาลดีฮัยด์ (acetaldehyde) แล้วเกิดอาการพิษ คือวิงเวียน ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

3. เห็ดพิษที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงภายหลังกินเข้าไปแล้วประมาณ 8-24 ชั่วโมง เป็นเห็ดพิษที่มีอันตรายมาก อาจมีอาเจียน ท้องเดินอย่างรุนแรง เป็นเวลาหลายวัน ขณะเดียวกัน อาจเกิดตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะไม่ออก ถ้าอาการรุนแรงมาก ก็ถึงตายได้

4 . เห็ดพิษจำพวกที่ไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงนัก เช่น
ก. ทำให้เกิดประสาทหลอนภายหลังกินเข้าไป จะมีอาการอยู่ 2-3 ชั่วโมง แล้วหายไปเอง ชาวเม็กซิกันบางพวกนิยมใช้ประกอบอาหารในงานฉลอง เพื่อความรื่นเริง

ข. เห็ดที่พิษถูกทำลายโดยความร้อน พวกนี้ถ้าทำให้สุกดีก็กินได้ แต่ถ้ากินดิบๆ อาจวิงเวียน เป็นลม ซีด และปัสสาวะเป็นสีเลือด

⇒ การช่วยเหลือคนที่กินเห็ดพิษ
เมื่อท่านรู้ตัวว่ากินเห็ดพิษ หรือพบคนที่กินเห็ดแล้วมีอาการพิษเกิดขึ้น การช่วยเหลือขั้นต้นเพื่อบรรเทาอาการพิษไม่ให้รุนแรงก็คือ รีบทำให้อาเจียน เอาเศษเห็ดที่ยังตกค้างในกระเพาะอาหารออกให้หมด เพื่อป้องกันการดูดซึมจากเห็ดในกระเพาะอาหาร
วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยอาเจียนก็คือ ให้กินไข่ขาว หรือน้ำเกลือ หรือให้ดื่มน้ำสะอาดเข้าไปหลายมากๆ ก็สามารถอาเจียนออกมาได้ในที่สุด
หลังจากนั้น จึงรีบนำคนที่กินเห็ดพิษส่งโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.doctor.or.th


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media Free Web Counter
Valid XHTML 1.0! Valid CSS! Dilber MC Theme by HarzeM