มารวมข้อมูล สตรอเบอรี่ กันเถอะ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 28, 2024, 06:26:56 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มารวมข้อมูล สตรอเบอรี่ กันเถอะ  (อ่าน 4505 ครั้ง)
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 01:17:26 PM »

               
         
สตรอเบอรี่
 
   
   


สตรอเบอรี่ จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกระจายกันมากที่สุดในโลก สามารถพบได้แทบทุกประเทศตั้งแต่ แถบขั้วโลกลงมาถึงพื้นที่ในเขตร้อน ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งสภาพภูมิอากาศและชนิดดินที่ใช้ปลูก บางพันธุ์จะพบว่าสามารถปลูก ในทางเหนือของโลก เช่น รัฐ Alaska ได้ดีเท่ากับปลูกในทางใต้ลงมาเช่นแถบ Equator 
 
 
 
สตรอเบอรี่เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมาหลายร้อยปีมาแล้ว ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้พบว่าผลผลิต ที่ใช้สำหรับบริโภคเป็นผลสด และใช้ในเชิงอุตสาหกรรมแปรรูปได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ เป็นสาเหตุมาจากการผสมพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตยาวนานขึ้น การนำระบบปลูกแบบดูแลอย่างใกล้ชิดมาใช้ ตลอดจนการเลือกพื้นที่ปลูก ที่มีความเหมาะสมมากกว่าแต่ก่อน ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการทดลองวิจัยที่จะหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้การปลูก สตรอเบอรี่นั้นง่ายขึ้น โดยเน้นการให้ผลผลิตสูงและสามารถทำรายได้ตอบแทนเป็นที่พอใจแก่เกษตรกรผู้ปลูก
ในประเทศไทยแม้ว่าจะมีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ เช่น บางอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย และในพื้นที่ บางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่ยังมีแนวโน้มที่สามารถปลูกได้ผลพอสมควร ในพื้นที่สูงของภาคกลาง เช่น แถบบนภูเขาของจังหวัดกาญจนบุรี เนื่องมาจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ขณะนี้ สตรอเบอรี่จึงถูกพิจารณาจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ซึ่งสามารถช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกนับเป็นพันครอบครัว ให้ดีขึ้นทั้งพื้นที่ราบและบนที่สูง นอกจากนี้ยังพบว่ามีศักยภาพสูงมาก สำหรับการผลิตสตรอเบอรี่เพื่อจุดประสงค์ในการขยายช่วงของ การเก็บเกี่ยวหรือผลิตให้ผลออกนอกฤดูกาลบนพื้นที่สูงของประเทศไทยซึ่งมีสภาพอากาศหนาวเย็นพอเหมาะตลอดทั้งปีและมีอนาคต สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสามารถผลิตได้ในช่วงดังกล่าวอีกด้วย
 
 
 
 
พันธุ์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 จนถึง พ.ศ. 2541 ได้มีการนำสตรอเบอรี่พันธุ์ต่าง ๆ จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกมากมาย จากปี พ.ศ. 2515 ปรากฎว่าพันธุ์ Cambridge Favorite, Tioga และ Sequoia (โดยรู้จักกันในนามพันธุ์พระราชทานเบอร์ 13, 16 และ 20 ตามลำดับ) ได้ถูกพิจารณาว่าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ต่อมาพบว่า พันธุ์ Tioga สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตรและพื้นที่ราบของทั้งสองจังหวัด เกษตรกรขณะนั้นเกือบ ทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปโดยไม่มีพันธุ์อื่นมาแทนที่ พ.ศ. 2528 ได้มีการนำพันธุ์ Akio Pajaro และ Douglas จากอเมริกาทดลองปลูกในสถานีโครงการหลวงที่ดอยอินทนนท์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาอีกหนึ่งปีได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aiberry จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก ผลปรากฎว่าสองพันธุ์แรกสามารถปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง หลังจากนั้น มาเริ่มมีผู้นำพันธุ์อื่น ๆ เข้ามาปลูกทดสอบมากมาย จนกระทั่งมีการตั้งพันธุ์ Toyonoka เป็นพันธุ์พระราชทาน 70 (ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา) และพันธุ์ B5 เป็นพันธุ์พระราชทาน 50 ปี (ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี) ปัจจุบันพันธุ์สตรอเบอรี่ที่นับว่าปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 20, 50 และ 70 นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ Nyoho, Dover และ Selva บ้าง ในบางพื้นที่
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงขณะนี้ทางศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตที่สูง และสถานีวิจัยดอยปุยของสำนักงานโครงการ จัดตั้งสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตวิกฤต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็กำลังดำเนินการวิจัยศึกษาหาข้อมูลของ สตรอเบอรี่เพิ่มเติมมาโดยตลอด รวมทั้งเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลแบบสมัยใหม่เหมือนในต่างประเทศที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม การค้า โดยจะนำผลงานที่ได้เหล่านี้ทำการส่งเสริมเผยแพร่หรือจัดฝึกอบรมให้เกษตรกรผู้ปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป
 
 
 
 
พื้นที่การผลิต
พื้นที่การปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา เนื่องมาจากการขยายตัวของตลาด ทั้งภายในและภายนอกประเทศโดยเฉพาะในด้านการนำมาแปรรูปพื้นที่การผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เพราะมีอากาศเย็นที่สตรอเบอรี่สามารถให้ผลผลิตได้ในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมรวมพื้นที่การผลิตทั้งประเทศประมาณ 2,600-3,000 ไร่ต่อปี
1. เชียงใหม่ สามารถแบ่งพื้นที่ปลูกออกมาตามอำเภอต่าง ๆ ได้ดังนี้คือ ฝาง แม่ริม สะเมิง จอมทอง (บนดอยอินทนนท์) และพื้นที่รอบ ๆ ตัวเมือง ผลผลิตส่วนใหญ่ของพื้นที่ปลูกในอำเภอแม่ริม ดอยอินทนนท์และพื้นที่รอบ ๆ เมืองเชียงใหม่จะทำการจำหน่าย เป็นผลรับประทานสดแก่นักท่องเที่ยว และขนส่งเข้าตลาดที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก ส่วนผลผลิตที่อำเภอสะเมิงและฝางจะส่งจำหน่าย ให้แก่โรงงานใกล้เคียงเพื่อทำการแปรรูป ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2539-41 พื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ในอำเภอสะเมิงมีประมาณ 2,000-2,500 ไร่ ในขณะที่อำเภอฝางมีประมาณ 200 ไร่
2. เชียงราย พื้นที่หลักในการผลิตสตรอเบอรี่อยู่ที่อำเภอแม่สาย และอาจมีกระจายบ้างอยู่ทั่วไป ๆ บริเวณใกล้เคียง ผลผลิต ส่วนใหญ่ประมาณ 60% จะส่งเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อจำหน่ายเป็นผลรับประทานสด นอกนั้นจะทำการส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป ประมาณ 20% และเกษตรกรจะจำหน่ายเองให้กับนักท่องเที่ยวอีก 20% เนื่องจากมีโรคระบาดและต้นตายมากหลังปลูกจึงทำให้ พื้นที่ปลูกในปี พ.ศ. 2535 ประมาณ 800 ไร่ ลดลงเหลือ 350 ไร่ ใน พ.ศ. 2537 และ 250 ไร่ใน พ.ศ. 2540 นอกจากนี้เกษตรกร บางรายได้ขายที่ดินหรือเปลี่ยนไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น จึงทำให้พื้นที่ปลูกลดลงด้วย ปัจจุบันเกษตรกรในอำเภอแม่สายสามารถผลิต สตรอเบอรี่ได้เพียง 60% ของความต้องการของตลาดเท่านั้น
3. บนที่สูงสตรอเบอรี่ยังถูกปลุกกันโดยทั่วไปบนที่สูงในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ทางตะวันตก เช่น เทือกเขาในอำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญต่อไปในอนาคตสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทย
 
 
 
 
ประเทศไทยการตลาดและเศรษฐกิจ
มีการส่งออกผลสตรอเบอรี่ ในเชิงอุตสาหกรรมไปยังต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และสามารถทำรายได้หลายร้อย ล้านบาทต่อปี ประเทศหลักที่ส่งไปจำหน่ายได้แก่ ญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีปริมาณการส่งออกในระยะสองสามปีที่ผ่านมาลดลงเนื่องมาจากมี ประเทศคู่แข่งคือ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลี การที่ไม่ได้มีพัฒนาทางด้านการปลูกแบบสมัยใหม่เพื่อให้ผลผลิตมากขึ้น หรือไม่มี การเปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่ที่ตลาดต้องการรวมทั้งภายในประเทศเองก็มีการใช้บริโภคทั้งผลสดและแปรรูปมากขึ้นก็นับว่าเป็นหลาย ๆ สาเหตุประกอบกัน
ในอำเภอแม่สายและพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่นั้นมูลค่าต้นทุนของการผลิตต่อไร่ตกประมาณ 25,000-30,000 บาทและรายได้ ตอบแทนต่อไร่ 62,500 บาท (คิดจากค่าเฉลี่ย 2,500 กก. ต่อไร่และ 25 บาทต่อ กก.) ขณะที่เกษตรกรบนดอยอินทนนท์ใช้ต้นทุน การผลิตไร่ละ 30,000-35,000 บาท และมีรายได้ไร่ละ 72,500 บาท เนื่องจากสามารถขายเป็นผลรับประทานสดแก่นักท่องเที่ยว และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานกว่าพื้นราบ ปกติแล้วผลผลิตจะออกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคมในพื้นที่ปลูกบนที่สูง และระหว่างเดือนธันวาคมถึงเมษายนในพื้นที่ปลูกบนพื้นราบ ผลผลิตที่ออกก่อนในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมจะมีคุณภาพดีและ ขนาดใหญ่ ทำให้จำหน่ายได้ในราคาสูงประมาณ 70-80 บาทต่อกิโลกรัมในท้องตลาดทั่วไป หลังจากนั้นขนาดผลจะเล็กลง และ จำหน่ายได้ในราคา 20-30 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงเดือนมกราคมถึงกลางเดือนมีนาคม
ปัจจุบันยังมีความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อใช้ผลิตของสตรอเบอรี่ในเชิงอุตสาหกรรมเป็นปริมาณมากมายต่อปี และกำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนประชากร ประเทศญี่ปุ่นเป็นแหล่งใหญ่ของไทยในการนำเข้าผลสตรอเบอรี่ เพื่อใช้ ในการแปรรูปมากที่สุด (ที่ผ่านมาประมาณ 1,000-3,000 ตันต่อปี) นอกจากนี้ยังเคยมีการขนส่งผลรับประทานสดไปจำหน่ายยัง ประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ และบางประเทศในแถบยุโรปบ้างเล็กน้อยโดยมูลนิธิโครงการหลวงอีกด้วย
 
 
 
 
การปลูก
ด้วยระบบการปลูกสตรอเบอรี่ในปัจจุบันของประเทศไทย ต้นไหลจะถูกบังคับให้เกิดการพัฒนาของตาดอกและเพื่อความแข็งแรง ก่อนปลูก โดยการปล่อยให้ได้รับอุณหภูมิเย็นในเวลากลางคืนบนที่สูด ซึ่งจะทำให้ ออกดอกได้เร็วกว่าต้นไหลที่ผลิตบนพื้นราบ
การปลูกบนพื้นราบ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ตอนปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ต้นไหลทั้งหมด ที่ออกมาจะถูกปลูกลงในถุงพลาสติกเล็กที่บรรจุดินแล้วขนาด 3 x 5 ซม. และปล่อยให้เจริญเติบโตในแปลงจนกระทั่งเดือนมิถุนายน จึงขนขึ้นไปปลูกบนที่สูงประมาณ 1,200-1,400 เมตร เพื่อผลิตต้นไหลต่อไปซึ่งจะตรงกับช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) หลังจากที่ ปล่อยให้ต้นไหลที่เจริญอยู่ในถุงพลาสติก และได้รับความหนาวเย็นบนที่สูงจนเพียงพอแล้วจะนำลงไปปลูกในแปลงที่พื้นราบไม่เกิน ต้นเดือนตุลาคม เพราะถ้าหากปลูกช้าเกินไปจะทำให้ผลผลิตออกช้าตามไปด้วย ต้นไหลที่ผลิตได้จากบนที่สูงนี้จะสามารถตั้งตัวและ ออกดอกได้เร็วกว่า (ประมาณเดือนธันวาคม) ปกติเกษตรกรจะใช้ระยะปลูก 30 x 40 ซม. สำหรับการปลูกแบบสองแถว และระยะปลูก 25 x 30 ซม. สำหรับการปลูกแบบสี่แถว ดังนี้จะใช้จำนวนต้นไหลทั้งหมดประมาณ 8,000-10,000 ต้นต่อไร่ การคลุมแปลงนั้นจะใช้ ฟางข้าว ใบตองเหียง หรือใบตองตึง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือร่วมกันก็ได้คลุมระหว่างแถวในแปลงยกร่อง (โดยจะทำการคลุมก่อนหรือ หลังจากปลูกได้ 1-2 สัปดาห์แล้วแต่พื้นที่) ดอกแรกจะบานได้ในราวต้นเดือนพฤศจิกายน และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนมีนาคมในพื้นที่ปลูกของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดเชียงรายซึ่งมีสภาพอากาศที่เย็นกว่าจะเก็บเกี่ยวต่อไปได้อีกจนถึงเดือน เมษายน
เมื่อถึงปลายฤดูการเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้น ต้นไหลที่เจริญออกมาก็จะถูกบังคับให้เจริญในถุงพลาสติกขนาดเล็กใส่ดิน เหมือนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และเตรียมไว้ใช้เป็นต้นแม่สำหรับการขนขึ้นไปขยายต้นไหลบนที่สูงต่อไปเป็นวงจรเหมือนกันทุก ๆ ปี
การปลูกบนที่สูง เมื่ออากาศร้อนขึ้นในปลายช่วงของการเก็บเกี่ยวคือประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ต้นสตรอเบอรี่จะมี การสร้างไหลและต้นไหลออกมา ต้นไหลเหล่านี้จะถูกขุดขึ้นมาปลูกลงในถุงพลาสติกเหมือนในพื้นที่ราบราวกลางเดือนสิงหาคม (มีเกษตรกรบางรายที่ปล่อยให้ต้นไหลเจริญในแปลงโดยตรงซึ่งไม่ได้ชำลงในถุงพลาสติก) และปล่อยให้เจริญอยู่ในแปลง จนกระทั่ง ปลายเดือนกันยายนเพื่อให้แน่ใจว่าต้นไหลเหล่านี้ได้รับความหนาวเย็นจนเพียงพอต่อการเกิดตาดอกสำหรับเป็นต้นที่ใช้ปลูกในคราว ต่อไป ก่อนปลูกนั้นเกษตกรบนที่สูงซึ่งส่วนมากเป็นชาวไทยภูเขาจะทำการยกแปลงปลูก และคลุมแปลงด้วยใบตองเหียงหรือใบตองตึง ต่อจากนั้นจึงเจาะรูโดยใช้กระป๋องนมที่ทำการเปิดปากออกแล้วกดลงไปบนวัสดุคลุมแปลงให้เป็นรูช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมเพื่อให้ ได้รับผลผลิตสูงที่สุดคือก่อนปลายเดือนกันยายนเป็นอย่างช้าปกติจะปลูกเป็นแบบแถวเดี่ยว หรือแถวคู่โดยใช้ระยะปลูก 25 x 30 ซม. บางพื้นที่จะทำการปลูกเป็นแบบขั้นบันไดจึงทำให้แถวแคบกว่าการปลูกในพื้นราบ ผลผลิตจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ระหว่างต้นเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยในระหว่างกลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม ต้นสตรอเบอรี่อาจจะชะงักการเจริญเติบโต เล็กน้อยและไม่ให้ผลผลิตเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นเกินไปในเวลากลางคืน (ต่ำกว่า 10 ํC) เป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง
การปลูกทั้งในพื้นที่ราบและบนที่สูงจะให้น้ำโดยปล่อยให้ไหลผ่านไปตามร่องของแปลงปลูก (Furrow irrigation) แหล่งน้ำที่ได้อาจมา จากบ่อ สระ หรือคลองเล็ก ๆ ซึ่งไม่จัดว่าเป็นน้ำที่สะอาดและอาจมีเชื้อโรคต่าง ๆ สะสมอยู่ในน้ำนั้น อย่างไรก็ดีมีบางพื้นที่มีการให้น้ำ แบบสปิงเกอร์ (Sprinkle system) โดยใช้น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมาซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ดีกว่าที่กล่าวข้างต้น เพราะทำให้ลดการแพร่ระบาด ของเชื้อโรคที่จะไหลไปยังแปลงอื่น ๆ โดยมีน้ำเป็นตัวพา
ปกติเกษตรกรจะทำแปลงปลูกต้นสตรอเบอรี่ให้อยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ต้นได้รับแสงเต็มที่เป็นการเพิ่มการเจริญเติบโต และสี ของผลก็จะพัฒนาได้ดีขึ้น สภาพพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่โดยทั่วไปจะอยู่ใกล้ตลาดหรือโรงงานแปรรูป หรือเป็นพื้นที่เดิมที่ใช้ต่อเนื่องกันมา ทุก ๆ ปี โดยมีการปลูกพืชอื่นหมุนเวียนเป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปก่อนทำการปลูกสตรอเบอรี่นั้นเกษตรกรไม่ได้ทำการอบดินในแปลงปลูก ด้วยสารเคมีเพื่อควบคุมโรคในดิน ไส้เดือนฝอย หรือวัชพืชแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการ ปลูกสตรอเบอรี่ที่ถูกต้อง ตลอดจนถึงการดูแลรักษา และการควบคุมศัตรูพืชด้วย
เนื่องมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดที่ใช้ผลผลิตสตรอเบอรี่ในเชิงอุตสาหกรรมทำให้มีความต้องการต้นไหลในปัจจุบันมาก กว่า 25-30 ล้านต้นต่อปี ราคาของต้นไหลที่จำหน่ายจะขึ้นกับปริมาณมากน้อยของแต่ละปี รวมทั้งขนาดของต้นไหลเองอีกด้วย ซึ่ง ส่วนใหญ่จะจำหน่ายกันในราคา 1-1.50 บาทต่อต้น
 
 
 
 
การเก็บเกี่ยว
ผลผลิตรวมทั้งประเทศนั้นส่วนใหญ่ประมาณ 40% จะถูกขนส่งเข้าสู่ตลาดกรุงเทพมหานครเพื่อจำหน่ายเป็นผลสดอีก 40% จะส่งเข้า โรงงานเพื่อทำการแปรรูปสำหรับใช้ภายในและส่งออกต่างประเทศ จะส่งเข้าโรงงานเพื่อทำการแปรรูปสำหรับใช้ภายในและส่งออก ต่างประเทศ และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20% จะจำหน่ายเป็นผลสดและแปรรูปในอุตสาหกรรมแบบครัวเรือนให้กับนักท่องเที่ยว ภายในท้องถิ่นนั้น ๆ
ผลที่ใช้รับประทานสดจะถูกเก็บเกี่ยวและแบ่งเกรดโดยเกษตรกรเองในโรงเรียนชั่วคราวใกล้แปลงปลูก ผลจะถูกแบ่งเกรดตาม การพัฒนาของสีออกเป็น 3 กลุ่มคือ 61-80 % สำหรับจำหน่ายในท้องถิ่น 41-60 % สำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวและ 21-40 % สำหรับขนส่งเข้ากรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งจากพื้นที่ปลูกบนที่สูงสู่ตลาดพื้นราบ ทำให้เกษตรกรบางราย เก็บเกี่ยวขณะที่สีของผลพัฒนาเพียง 10-15 % ตามร้านขายผลไม้ในตลาดสดและร้านจำหน่ายข้างทางจะจำหน่ายโดยชั่งน้ำหนักเป็น กิโลกรัมแล้วบรรจุลงในถุงพลาสติก สำหรับการจำหน่ายเป็นผลรับประทานรับประทานสดของมูลนิธิโครงการหลวงนั้นผลจะถูกแบ่งเกรด ตามน้ำหนักและคุณภาพแล้วบรรจุวางเรียงสองชั้นในถาดพลาสติกใส (แต่เดิมใช้ถาดโฟมบรรจุชั้นเดียว) หุ้มด้วยพลาสติกบางเพื่อไม่ให้ ผลเคลื่อนที่ในขณะเวลาขนส่งและใส่รวมกันชั้นเดียวในกล่องกระดาษแข็งสำหรับใส่ผลไม้ ปกติจะบรรจุถาดละ 250-260 กรัม เพื่อขาย ตามซุปเปอร์มาเกตหรือร้านค้าทั่วไป
ผลสตรอเบอรี่ที่ใช้ในการแปรรูปจะถูกเก็บมาจากแปลงปลูกและขนส่งมาที่โรงงาน (ผลอาจจะจะถูกตัดขั้วออกก่อนนำมาส่งหรือตัดที่ โรงงาน) แบ่งคัดตามเกรดล้างด้วยน้ำที่สะอาด หลังจากนั้นผลบางส่วนจะถูกแช่แข็งเลยทันที และบางส่วนจะนำมาใส่ถุงพลาสติกที่บรรจุ อยู่ในภาชนะเช่น ปี๊บแบบที่ใส่น้ำมันก๊าด และใส่น้ำตาลบนผลสตรอเบอรี่ตามสัดส่วนที่ตลาดเป็นผู้กำหนดมาเช่น น้ำหนักผล 14 กก. ต่อน้ำตาลทรายขาว 1.2 กก. เป็นต้น หลังจากนั้นจะทำการปิดฝาและรีบนำเข้าห้องเย็นแบบแช่แข็งเตรียมขนส่งไปยังต่างประเทศต่อไป
ปัญหา
 
 
 
 
ปัญหา
1. พันธุ์ Tioga ได้ถูกปลูกมาเป็นเวลานานเกือบ 30 ปีแล้ว โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่า ขณะนี้เกษตรกรกำลังต้องการ พันธุ์ใหม่ที่ตลาดต้องการมาทดแทน เนื่องจากพันธุ์นี้มีช่วงการเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างสั้น ผลมีขนาดเล็กซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของตลาด รับประทานผลสด รวมทั้งรสชาติที่ค่อนข้างเปรี้ยวไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
2. เนื่องมาจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีการคัดเลือกต้นแม่ที่มีคุณภาพในการขยายต้นไหล ขาดวิธีจัดการที่ดีทางเขตกรรมในแปลงก่อน และหลังการปลูก รวมทั้งการใช้ต้นแม่พันธุ์เก่าขยายต้นไหลอย่างสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานหลายสิบปี โดยไม่ได้มีการใช้ต้นแม่พันธุ์ ที่ผ่านการรับรองซึ่งได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญและปลอดโรค จึงทำให้ต้นไหลที่ได้อ่อนแอให้ผลผลิตต่ำในช่วงของฤดูกาลปลูก ผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพที่ไม่ดีตามไปด้วย ขนาดของผลเล็กลงมากในช่วงกลางและปลายฤดูจนไม่สามารถจำหน่ายได้ ซึ่งถือว่าเป็น การสูญเสียอย่างมาก
3. ผลที่เก็บเกี่ยวมาไม่มีการพัฒนาของสีหรือความสุกที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (ซึ่งโดยทั่วไปควรจะให้มีการพัฒนาของสีอยู่ระหว่าง 50-70 % บนผิวผล) ในประเทศไทยเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่จะเก็บเกี่ยวผลหลายช่วงของการพัฒนาของสีโดยขึ้นอยู่กับตลาด ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความไม่มีรสชาติของผลที่สุกไม่เต็มที่ เนื่องจากสตรอเบอรี่จัดเป็นผลไม้พวก Non-climacteric ซึ่งต้องเก็บเกี่ยว ตอนผลสุกจึงจะให้รสชาติที่ดี นอกจากนี้ผลมีความชอกช้ำง่ายในขณะขนส่ง ทำให้กลายเป็นผลเกรดต่ำอย่างรวดเร็ว เมื่อไปถึงตลาด ในสภาพอากาศร้อน การพิจารณาช่วงเก็บเกี่ยวที่เป็นมาตรฐานและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพ ควรนำมาใช้ใน การปลูกสตรอเบอรี่ที่เป็นการค้าอย่างจริงจัง
4. เนื่องมาจากการเข้าทำลายของโรคทางราก และลำต้นในช่วงสามปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่การปลูกสตรอเบอรี่บางแห่งลดปริมาณลงไป กว่าครึ่ง เช่น ที่อำเภอแม่สายและฝาง ปัจจุบันก็ยังเป็นปัญหาอยู่โดยเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการแก้ไข หรือการควบคุม ป้องกันเรื่องโรคแมลงที่เป็นศัตรูต่าง ๆ รวมทั้งยังขาดการประสานงานและความช่วยเหลืออย่างทันเหตุการณ์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกด้วย
5. ราคาผลผลิตต่อกิโลกรัมที่ค่อนข้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเช่น ผลผลิตส่งโรงงานกิโลกรัมละ 8-13 บาท และผลรับประทานสดเฉลี่ย กิโลกรัมละ 20-30 บาท
 
 
 
 
   
   
 
 
 
 
 


บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!