ถามเรื่องแหล่งจ่ายไฟทำป้าย LED 150 ดวง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 29, 2024, 08:57:33 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถามเรื่องแหล่งจ่ายไฟทำป้าย LED 150 ดวง  (อ่าน 21607 ครั้ง)
ohm1122
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24


« เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 10:49:31 PM »

คือผม ทำเสร็จแล้วครับ ขาดอย่างเดียวก็ภาคจ่ายไฟ
ผมแบ่งเป็น 2 ชุด ทำให้มันกระพริบติดดับสลับ กัน
ตอนนี้วงจรเสร็จแล้ว พอดีที่บ้านมีหม้อแปล ลูกใหญ่ 5 A กับลูกเล็ก 3 A
ทีแรกลองๆทำแหล่งจ่ายไฟ 12V 3 A แล้วเอามาต่อดู LED มันติดอ่อนมากๆเหมือนกระแสไม่พอ
ต่อมาลองทำแหล่งจ่าย เป็น 5 A ติดดีสวยมากๆ
แต่หม้อแปลง 5 A ลูกมันใหญ่มากเท่าๆกับ กระป๋องน้ำอัดลม 3 กระป๋องเลยแถมหนักแบบสุดๆอีก
เลยอยากจะถามว่าพอจะมีวิธีทำแหล่งจ่ายไฟที่ให้กระแสสูงๆ แต่มีขนาดเล็กและก็เบาๆบ้างไหมครับ
LED อนุกรมกัน 4 ตัว แล้วก็เอามาขนานกันกลายๆแถวโดยใช้วงจรไฟกระพริบจากด้านล่างนี้ครับ



บันทึกการเข้า

ohm1122
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 10:56:40 PM »

 ขอบคุณ พิมพ์ผิดหลายคำเลยแต่ ไม่ทราบว่ากดแก้ไขกระทู้อยู้ตรงไหน ขอโทษด้วยนะครับ

เพิ่มเติมแค่ขนาดของหม้อแปลง 3 A ที่ผมมี ก็ถือว่าใหญ่ แล้วก็หนักมากด้วยไม่เหมาะมาทำเป็นป้ายเลยจะมันจะทำให่ป้าย
ใหญ่และต้องรับน้ำหนักมากด้วย
แทนที่โครงสร้างจะทำจาก ฟิวเจอร์บอร์ดได้ ก็ทำไม่ได้ซะงัน รบกวนด้วยครับ(เด็กอิเล็กมือสมัตรเล่น)ที่ที่จริงแก่แล้ว 555+
บันทึกการเข้า
kiano♥
kiano555@gmail.com
กลุ่มสนับสนุนLSV+มีน้ำใจ
member
****

คะแนน337
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 570


การให้น่าภูมิใจกว่าได้รับ Line ID : Tech64

kiano555@windowslive.com kiano555@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 01:57:23 AM »



ลองดูวงจรจากรูปด้านบนนะครับ หลอด LED 150 หลอดแบ่งเป็น 2 ซีกซึ่งแต่ละซีกทำงานไม่พร้อมกัน
ซีกหนึ่งกินกระแส 570mA แล้วลองคิดตามนะครับ ว่าควรใช้แหล่งจ่ายกี่แอมป์จึงจะเหมาะกับวงจรนี้
ถ้าอยากได้เบา เล็กแต่จ่ายกระแสได้เยอะ แนะนำให้ดูอะแดปเตอร์สวิทชิ่งของร้านอมรตัวละไม่เกินสามร้อยบาท
บันทึกการเข้า
ohm1122
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24


« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 11:01:51 AM »

ขอโทษนะครับ พอดีเคยมีคนบอกมาเหมือนกันว่าแถวละ 30 mA
แต่ไม่ทราบว่าคิดจากอะไรหรือครับจะได้เอาเก็บไว้ใช้ ฉงน
บันทึกการเข้า
kiano♥
kiano555@gmail.com
กลุ่มสนับสนุนLSV+มีน้ำใจ
member
****

คะแนน337
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 570


การให้น่าภูมิใจกว่าได้รับ Line ID : Tech64

kiano555@windowslive.com kiano555@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 01:26:01 PM »



จากรูปด้านบนคือต้องการหาว่าหลอด LED สว่างได้เต็มที่และไม่ขาด
ต้องจ่ายกระแสประมาณ 25-30mA ที่แรงดัน 2.8-3 V

ทดลองโดยการค่อยๆปรับแรงดันขึ้นเรื่อยๆ ให้ดูด้วยสายตาว่าจะสว่างที่สุดด้วยระดับไหน
สังเกตได้จากถ้าหลอดสีแดง สีจะแดงจ้าที่สุดและไม่เปลี่ยนเป็นสีส้ม ถ้าเปลี่ยนเป็นส้มคือหลอดจะขาดแล้ว
ซึ่งค่ากระแส และแรงดันที่อ่านได้จะขึ้นอยู่กับหลอด LED แต่ละชนิดแต่จะไม่แตกต่างกันมาก
จะอยู่ที่ 30mA แรงดัน 3V ถ้าให้ชัวร์ต้องเปิดอ่านดาต้าชีทของหลอด LED ชนิดนั้นๆเลย

หลังจากรู้ค่ากระแสและแรงดันที่ต้องจ่ายให้กับหลอดแล้ว ก็ต้องมาคิดต่อว่าเราจะต่อหลอดหลายๆหลอดเข้าด้วยกันอย่างไร
ถ้าต่อแบบอนุกรม กระแสที่ไหลในวงจรจะมีค่าเท่ากันนั่นคือ 30mA


หลอด LED สามารถทนแรงดันได้ถึงหลอดละ 3 โวลต์ถ้าต่ออนุกรมกัน 4 หลอดจะได้ 3x4 = 12V
เราสามารถต่อเข้าตรงๆกับไฟ 12V เลยก็ได้แต่โอกาสที่หลอดจะขาดเร็วมีมาก สาเหตุคือ
1. แหล่งจ่ายแรงดันอาจมีค่าไม่คงที่ ขึ้น-ลงได้
2. รอยต่อระหว่าง A-K ของหลอดรับแรงดันที่สูงมากทำงานเต็มประสิทธิภาพเกินไปทำใ้ห้อายุหลอดสั้นลง

ดังนั้นจึงต้องต่ออาร์เพื่อจำกัดกระแสให้กับหลอดไว้ จากตัวอย่างใช้ค่า 68โอห์ม ซึ่งจะจำกัดกระแสและแรงดัน
ที่จ่ายให้แต่ละหลอดไม่เกินค่าที่หลอดรับได้ และหลอดให้แสงสว่างได้เต็มที่ ดังนั้นการนำไปใช้งานจริง
ค่าของอาร์ที่จะนำมาต่อเพื่อจำกัดกระแสในวงจรควรคำนึงถึง
1. ความสว่างของหลอด LED แต่ละชนิด
2. จำกัดกระแสที่จ่ายให้กับหลอดไม่เกินที่หลอดจะรับได้
3. หลอด LED ขนาดเล็ก (3mm) จะขาดเร็วมาก อาจจะเนื่องจากสินค่าผลิตไม่ดี หรือรอยต่อของ A-K มีพื้นที่น้อย
    ดังนั้นควรใส่อาร์ค่าเยอะเอาไว้กว่าหลอดขนาดใหญ่

ให้ลองเปลี่ยนค่าของอาร์ แล้ววัดกระแส วัดแรงดันตกคร่อมหลอดดู ถ้าไม่เกินที่หลอดรับได้
และแสงสว่างได้เต็มที่ ก็ให้ใช้อา์ร์ค่านั้น ส่วนมากที่เคยทำคือ 50 - 150 โอห์ม

ไม่ต้องขอโทษครับ ถามได้ไม่ต้องเกรงใจ พี่ๆบอร์ดนี้ใจดีทุกคน
ผมผ่านมาเจอผมก็ตอบ ถ้าตอบไม่ได้ผมก็ผ่าน
บันทึกการเข้า
ohm1122
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24


« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 07:07:50 PM »

เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณอย่างสูง lv!

แล้วที่ทำมาให้ดูนั้นใช้โปรแกรมอะไรครับ ฉงน
บันทึกการเข้า
kiano♥
kiano555@gmail.com
กลุ่มสนับสนุนLSV+มีน้ำใจ
member
****

คะแนน337
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 570


การให้น่าภูมิใจกว่าได้รับ Line ID : Tech64

kiano555@windowslive.com kiano555@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 07:41:17 AM »

รูปวงจรวาดด้วยโปรแกรม AutoCAD2007 ครับผม
บันทึกการเข้า
PR-TRAFFIC
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 41


« ตอบ #7 เมื่อ: มีนาคม 19, 2011, 04:38:54 PM »

ดาต้าชีทของหลอดแต่ละสีจะไม่เหมือนกันนะครับ ระวังด้วย
ตามที่ผมใช้อยู่ประจำ  มาตรฐานกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ( ไฟจราจร,แดง,เหลืง,เขียว)
แดง  2.2 ถึง 2.4 V.   กระแส  20 mA.
เหลือง  2.2 ถึง 2.4 V.  กระแส  20 mA.  (เหมือนกัน )
เขียว  3.0 ถึง 3.2 V.  กระแส  25mA.
สมมุติว่าต่อสีแดง   อนุกรมกัน  4 หลอด
V(led) = 2.2+2.2+2.2+2.2  =  8.8 V.  (คือวงจรอนุกรม ถ้าเป็นขนานจะอีกแบบหนึ่ง)
V(input) = 12 V.  (แหล่งจ่ายไฟ  หม้อแปลงก็ได้หรือว่าวงจรขับไฟกระพริบของคุณก็ได้)
V(r) = 12 - 8.8  = 3.2 V.  (แรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทาน)
หาค่าตัวต้านทาน  จากกฎของโอมห์  R = V/I  ( เด็กอิเล็กครับผมอ้างอิงสูตรสักนิดหนึ่ง)
แทนค่า  R = 3.2 V. /20 mA.(20 mA.มาจากดาต้าชีทของหลอดและในวงจรอนุกรมกระแสมีค่าเท่ากัน)
                 = 160 Ohm

สีเหลืองและสีเขียวก็ใช้วิธีการเหมือนกันครับผม

แต่ว่าในกรณีที่เราไม่ทราบ ข้อมูลหรือดาต้าชีทของหลอด
ให้เราใช้วิธีเหมือนของคุณ Kiano  ก็ไม่ผิดครับผม 
บันทึกการเข้า
mor_re
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 08:13:47 PM »

พี่แล้วผมจะทำป้ายเชียร์ ใช้หลอดประมาณ 200กว่าหลอด จะให้ไฟวิ่ง สลับกัน ต่อหลอดอย่างไรดี แล้วอุปกรณ์ ที่ใช้ อะไรบ้าง ครับผม
บันทึกการเข้า
PR-TRAFFIC
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 41


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2011, 10:02:04 PM »

จะทำป้ายเชียร์  ใช้หลอด 200 กว่า
หลอดเป็นสีเดียวกันหรือเปล่า  ขนาดเท่ากันไหมครับ(5mm)
เพราะถ้าสีเดียวกัน แรงดันตกคร่อมหลอดจะเท่ากัน  ทำให้ออกแบบวงจรได้ง่าย
ส่วนการทำให้กระพริบ  ถ้าคุณต้องการแบบติด-ดับ ก็ไม่มีอุปกรณ์มาก
แต่ถ้าต้องการกระพริบแบบมีจังหวะ  หลายแบบกระพริบ
ก็คงต้องใช้ ไมโครคอนโทรเลอร์  เข้ามาช่วย
บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 08:28:32 AM »

หาสวิทชิ่งมาใช้สิ ตัวมันไม่ใหญ่อย่างที่ต้องการ
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!