เรื่องจริงของมัมมี่
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 28, 2024, 10:11:59 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องจริงของมัมมี่  (อ่าน 2954 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13199


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2010, 10:53:48 AM »

นำข้อมูลมาจาก http://www.rakbankerd.com ครับ

 ผู้เขียนเชื่อแน่ว่า คำว่า “คงเป็นที่คุ้นหูหรือเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับท่านผู้อ่าน เกือบทุกคน และเป็นศัพท์ที่พูดแล้วก็นึกภาพออกได้ทันทีว่ารูปร่างหน้าตาของมัมมี่เป็น อย่างไร เมื่อนึกถึงมัมมี่ก็มักจะนึกถึงปิรามิด สถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์ที่ตั้งสูงทมึนอยู่ท่ามกลางทะเล ทรายอันเวิ้งว้างคู่ไปด้วย เพราะว่าสิ่งสองสิ่งนี้มันเป็น- “สิ่งมหัศจรรย์” ที่เป็นสมบัติแห่งความลึกลับของชนชาวอิยิปต์โบราณมัมมี่”

        แม้จะมีการศึกษาเรื่องราวของมัมมี่มาเป็นเวลานานแล้ว  แต่จนถึงปัจจุบันนี้การศึกษาความลับของมัมมี่ก็ยังคงกระทำอยู่ เพราะวิทยาการที่สูงขื้น เครื่องไม้เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพขึ้น ยิ่งทำให้สามารถเจาะลึกเข้าไปสู่ความลับในประวัติศาสตร์นี้ได้มากขึ้น เราสามารถเห็นนักวิทยาศาสตร์ และนักโบราณคดีเป็นจำนวนมากก้มหน้าก้มตาศึกษา -เรื่องราวของมัมมี่อย่างจริงจัง เช่น ที่โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่พิพิธภัณฑ์ศูนย์วิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งโบราณคดี ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย หรือว่า ที่สถาบัน -ศิลปศาสตร์แห่งเมืองดิทรอยท์ เป็นต้น การศึกษานอกจากจะใช้วิธีผ่าศพมัมมี่โดยตรงก็ยังมีการนำเอาระบบการถ่ายภาพจาก แสงเอกซเรย์ 3 มิติ ที่เรียกว่า “Computerized Axial Tomography (CAT)“ มาใช้ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องทำลายมัมมี่ที่ใช้ศึกษาอยู่แล้ว ยังสามารถให้รายละเอียดได้อย่างชัดเจนด้วย

        จากความเชื่อของมนุษย์นับเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปีมาแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของร่างกาย และวิญญาณ โดยที่ เชื่อว่าการตายก็คือการที่วิญญาณได้หลุดลอยออกจากร่างที่เคยอาศัยอยู่ ความเชื่อถือของชาวอียิปต์โบราณ คิดว่าวิญญาณที่ได้หลุดลอยออกจากร่างเมื่อถึงเวลาหนึ่งได้เข้าไปสู่โลกอีก โลกหนึ่งซึ่งอาจจะเรียกว่า “โลกของพระเจ้า” และในวันหนึ่งข้างหน้าวิญญาณนั้นก็จะกลับมา ข้อสำคัญเมื่อวิญญาณกลับมาแล้วก็ต้องอาศัยร่างกายอยู่ และร่างกายที่จะอาศัยอยู่ได้ก็คงจะต้องเป็นร่างกายของตนเองซึ่งครั้งหนึ่งตน ได้เคยอาศัยอยู่แล้ว จากความเชื่อถือนี้ การ รักษาร่างกายให้คงสภาพไว้เพื่อรอการกลับมาของเจ้าของเดิมจึงเป็นสิ่งที่ชาว อียิปต์โบราณหาวิธีการทีจะทำให้ได้

        ทุก สิ่งมีวิวัฒนาการ มัมมี่ก็เช่นกันในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณร่างกายของคนตายได้ ถูกห่อไว้ด้วยผ้าหรือเสื่ออย่างลวก ๆ และถูกฝังไว้ในหลุมแคบ ๆ ภายใต้พื้นทรายลึกลงไปไม่กี่ฟุต หลุมที่ฝังก็อาจจะขุดกันอย่างหยาบ ๆ อาจจะมีการก่ออิฐหรือปูด้วย ไม้กระดานบ้าง แต่ก็ไม่มีศิลปะอะไร การฝังศพแบบนี้ชาวอียิปต์ในยุคนั้นก็ได้พบ-ความจริงข้อหนึ่งว่า ภายใต้ความร้อนระอุของพื้นทรายที่ถูกแสงแดดอันแรงกล้าเผาอยู่ตลอดเวลาศพภาย ในหลุมหยาบ ๆ นั้นมีสภาพเหมือนถูกอบหรือตากแห้ง และมีผลทำให้ศพนั้น ยังคงสภาพอยู่ได้เป็นเวลานาน การที่ศพไม่เน่าเปื่อยและจากความคิดความเชื่อถือที่ว่าวันหนึ่งวิญญาณที่จาก ไปก็จะกลับคืนมาอีก ญาติพี่น้องก็เลยกลัวว่า ถ้าศพฟื้นขึ้นมาเมี่อไรก็อาจจะกลายเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอกไปก็ได้ ก็เลยฝังพวกหม้อข้าวหม้อแกง เพชรพลอยหรือแม้แต่เครื่องใช้เครื่องมือในการทำมาหากินเอาไว้ให้ด้วย



   เมื่อนานวันเข้า  ความตายเป็นสิ่งมนุษย์เริ่มพิถีพิถันกันกับมัน พิธีรีตองเกี่ยวกับคนตายก็ชักจะมีมากขึ้นหลุมฝังศพชนิดที่ว่าสักแต่ขุดให้ มันเป็นรูปเป็นโพรงก็ชักจะไม่เข้าทีเสียแล้ว หลุมศพจึงเริ่มพัฒนาตัวมันเอง เริ่มจากการที่ต้องขุดอย่างมีศิลปะ มีการก่ออิฐทำผนังหลุม และก็พยายามจัดทำให้เหมือนกับเป็นห้องๆ หนึ่ง และเพื่อให้คนตายได้นอน
อย่าง สบาย ๆ เหยียดแข้งเหยียดขาได้เต็มที่แทนที่จะต้องถูกมัดให้คุดคู้อยู่ในหลุมรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งผู้ตายพูดได้ก็คงจะบ่นว่าอึดอัดเหลือทน หลุมที่ฝังก็เลยแปรเปลี่ยนมาเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ศพเลยสามารถที่จะเหยียดร่างได้เต็มที่ ไม่จบเพียงแค่นั้น เพื่อให้คนตายมีความรู้สึกว่าอาศัยอยู่ในบ้านจริง เหนือหลุมฝังศพก็เลยต้องก่อสร้างให้รูป -ทรงคล้ายกับบ้าน มีหลังคามีฝาผนังทำนองนั้น ที่มีฐานะหน่อยก็อาจจะสร้างให้คล้ายๆ กับวังไปเลย เมื่อหลุมศพถูกวิวัฒนาการมาเป็นอย่างนั้น ศพที่เคยถูก “อบแห้ง” โดยธรรมชาติภายใต้ผิวทรายร้อน ๆ ก็เลยเป็นอันว่าจบกัน ปัญหาเรื่องศพเน่าเปื่อยก็เลยตามมา

        ใน ยุคของราชวงศ์อียิปต์แรก ๆ (ก็ราวๆ เกือบ 3000 ปีก่อนคริสตศักราช) ศพจะถูกห่อ และมัดอย่างแน่นหนาด้วยผ้าลินินซึ่งอาบน้ำยา ศพถูกห่อไว้ด้วยผ้าหนามากจนแลดูกลมกะลุกปุ๊ก ถ้าจะเรียกว่ามัมมี่ก็คงเป็นมัมมี่ตุ๊ต๊ะ

        ล่วงเลยมาจนถึงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ (ประมาณ 2800 ปีก่อนคริสตศักราช) ความพยายามที่จะแต่งตัวให้มัมมี่ดูหล่อขึ้นก็เริ่มกันตอนนี้ มีการห่อศพด้วยผ้าลินินชุบน้ำยาอย่างพิถีพิถัน การห่อก็ไม่ใช่สักแต่ว่าห่อ ๆ ไป มีการพัวหัวพันขาแขน หรือพันรอบหน้าอก หน้าท้องเป็นส่วน ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือพันให้เห็นเป็นรูปทรงของคนไม่ใช่พันแบบให้ต้องเดาว่าภายในห่อผ้านั้น เป็นหมูหรือเป็นคน แม้แต่นิ้วมือนิ้วเท้าก็พยายามพันเน้นให้เห็นนิ้วทั้ง 5 (จะได้ไม่เข้าใจผิดว่าก่อนตายอ้ายหมอนี่นิ้วด้วนหรือเปล่า)

        ความพยายามของการศึกษาของนักแต่งศพชาวอียิปต์ ค้นพบว่าสาเหตุของการเน่าเปื่อยของศพ อวัยวะภายในมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาก ดังนั้นการทำความสะอาดภายใน จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ศพถูกรักษาให้คงทนได้ยาวนานขึ้น ดังนั้นในปลายราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์โบราณ (ราว 2600 ปีก่อนคริสตศักราช) การล้วงตับล้วงไส้ ของศพ-ออกมาจึงเป็นกรรมวิธีสำคัญของนักแต่งศพชาวอียิปต์

        ในหลุมฝังศพของราชินีที่สี่แห่งราชวงศ์อียิปต์โบราณ พระนาม “ราชินีเฮเตเฟเรส” (Hetepheres) ซึ่งเป็นพระชายาแห่งสเนฟรู (Snefru) หรือว่าเป็นพระชนนีของกษัตริย์คืออปส์ ได้มีการค้นพบภาชนะหินปูน ซึ่งภายในบรรจุอวัยวะภายในของราชินี แช่ไว้ด้วยของเหลวที่เรียกว่าเนตรอน (Natron) ซึ่งเป็นสารละลายของโซดาชนิดหนึ่ง เป็นที่น่าทึ่งที่ว่าภาชนะนี้มีการปิดผนึกอย่างดีจนของเหลวดังกล่าว อยู่ในนั้นได้เป็นเวลา 4000 ปี “ดอง” เครื่องในของพระราชินีให้คงสภาพไว้ได้อย่างนานแสนนาน

        ในช่วงประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 4-5 (2570-2450 ปีก่อนคริสตศักราช) เทคนิคของการทำมัมมี่ได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ อย่างมัมมี่ของเพตริค (Peric) ซึ่งค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวอังกฤษชื่อ วิลเลี่ยม เอ็ม เอฟ เพตริค (William M.F.Petric) แสดงให้เห็นถึงเทคนิคของการทำมัมมี่ในยุคของราชวงศ์ที่ 5 ศพจะถูกพันมัดด้วยแถบผ้าลินินอย่างประณีต มีการแสดงถึงรูปลักษณะภายนอกด้วยยางสนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความคงทนถาวรมาก ขนาดคิ้ว หรือหนวดของผู้ตายก็ยังแสดงออกให้เห็น สภาพมัมมี่อยู่ในลักษณะเหยียดตรงเต็มส่วนสูง อวัยวะภายในถูกคว้านออก มีการทำความสะอาดแล้วอัดให้แน่นด้วยก้อนผ้าลินินอาบน้ำยา เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ก็มีผลในการรักษาอวัยวะทุกส่วนในร่างกายให้คงสภาพอยู่ได้อย่างถาวร แม้แต่รูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอกก็พยายามจัดทำให้คงสภาพไว้ (มัมมี่ของเพตริคนี้ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่วิทยาลัยศัลกรรมหลวงในกรุงลอนดอน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าถูกทำลายไปในสงครามโลกคราวที่กรุงลอนดอนถูกโจมตีทาง อากาศในปี ค.ศ. 1941)

        หลักฐานมัมมี่มีอีก ชิ้นหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญของวิชาการด้านนี้ในยุคราชวงศ์ที่ 5 ค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวอเมริกันชื่อ ยอร์ช เอ ไรส์เนอร์ ซึ่งขุดเจอที่ปิรามิดแห่งกิซา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ามัมมี่ที่พบนี้เป็นศพของเยนตี้ (Yenty) อัครมหาเสนาบดีในยุคนั้น มัมมี่ได้ถูกประจุไว้ในโลงศพที่ทำด้วยหินแกรนิต ถึงแม้ว่าสภาพของมัมมี่จะถูกทำลายไปโดยฝีมือของคนร้ายที่ทำมาหากินกับการขุด สมบัติในสุสานของอียิปต์โบราณ แต่ก็ยังทิ้งร่องรอยของเทคนิคชั้นสูงในการทำมัมมี่ให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะเค้าหน้าของมัมมี่ถูกรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมได้อย่างน่าทึ่ง

        ที่นี้ก็มาถึงยุคราชวงศ์ที่ 6 บ้าง (ราวปี 2340 ก่อนคริสตศักราช) เริ่มมีการใช้ปูนปลาสเตอร์ฉาบหน้าหรือศีรษะบางทีก็พอกมัมมี่ทั้งตัว ใบหน้าที่พอกฉาบด้วยปลาสเตอร์มีการรเขียนและตกแต่งเป็นรูปใบหน้าอย่างสวยงาม หลังจากพอกหนัก ๆ เข้า สัปเหร่อปัญญาชนก็เลยมองเห็นลู่ทางอื่นในการตกแต่งใบหน้าของมัมมี่ ด้วยการทำเป็นหน้ากากสวม หน้ากากที่ว่านี้ทำ ด้วยสารคาร์ตันเนจ (Cartonnege) ซึ่งเป็นส่วนผสมของกระดาษปาปีรับ (Papyrus) ผ้า และปลาสเตอร์รวมกัน หน้ากากที่ทำนี้มีน้ำหนัก แข็งแรง และความคงทนมากกว่า รวมทั้งสามารถตกแต่งให้สวยงามได้ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าสมัยนั้นจะมีการทำหน้ากากคาร์ตันเนจออกขายหรือเปล่า ใครตายแล้วอยากจะสวมหน้ากากแบบไหนจะได้หาซื้อไว้ ภายหลังไม่ใช่แต่เฉพาะศีรษะหรือใบหน้าเท่านั้นที่ปกปิดไว้ด้วยหน้ากากคา ร์ตันเนจ เทคนิคนี้ลามลงไปจนถึงปิดไปทั่วตัวและนี่คือที่มาของโลงศพรูปคน เทคนิคของมัมมี่ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในช่วงราว 2050-1990 ก่อนคริสตศักราช หรือที่เรียกว่าเป็นช่วงอาณาจักรยุคกลางของอียิปต์โบราณ

        จวบจนถึงยุคอาณาจักรของพระเจ้าทีบส์ (Thebes) ในราว 1550 ปีก่อนคริสตศักราช เทคนิคของมัมมี่พุ่งขึ้น สู่จุดสูงสุด นอกจากอวัยวะการภายในจะถูกนำออกมาแล้ว จัดกลับเข้าไปด้วยผ้าอาบน้ำยายังมีการดูดมันสมองออกจากกะโหลกอีกด้วย เทคนิคของการใช้สารเคมีต่าง ๆ มีมากขึ้น สารเคมีบางอย่างถูกฉีดเข้าไปใต้ผิวหนัง เพื่อที่จะรักษาสภาพของผิวหนังให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลอยู่ได้นาน ๆ

        จากการฝังศพลงไปในหลุมที่ขุดอย่างหยาบ ๆ ภายใต้พื้นทรายอันร้อนระอุค่อยเปลี่ยนแปลงมาเป็นหลุมที่มีการตกแต่งผนังให้ ดูเรียบร้อยเหนือหลุมฝังศพก็มีการก่อสร้างจำลองเป็นรูปบ้าน ลักษณะของหลุมศพในยุคอียิปต์ต้น ๆ ค่อนข้างเล็ก ซึ่งคิดว่าศพคงต้องนอนคุดคู้อยู่ภายใน ต่อมาก็จึงเปลี่ยนมาเป็นหลุมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งกว้างยาวพอที่ศพจะนอน เหยียดได้อย่างเต็มที่ ต่อมาศพก็ค่อยเลื่อน ขั้นขึ้น มีการบรรจุลงในบศพซึ่งมีทั้งบไม้ หินปูน จนถึงหินแข็งอย่างหินแกรนิต

        ความคิดของชาว อียิปต์ ไม่ได้หยุดอยู่กับที่ จากบศพที่เรียบ ๆ  เริ่มมีการตกแต่งจัดทำรอบ ๆ บศพให้ดูมีลักษณะเหมือนพระราชวัง บวกกับความเชื่อถือทางศาสนา บศพบางอันจึงมีการเขียนรูปดวงดาวคู่หนึ่งไว้ด้วย ด้วยเกรงว่าเจ้าของบศพไม่สามารถทัศนาโลกภายนอกอันสดใสได้ ภายหลังบศพไม่เพียงแต่แกะสลักหรือวาดรูปแต่เฉพาะภายนอก แม้แต่ภายในก็มีการตกแต่งประดับประดาด้วยคงจะคิดว่าบ้านจะน่าอยู่ไม่ใช่แต่ จะแต่งเฉพาะภายนอก ภายในก็ต้องหรูด้วย และสิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ คำจารึกเหนือ -บศพ เป็นคำ สวดอ้อนวอนขอให้พระเจ้าได้ช่วยปกป้องคุ้มครองผู้ที่อยู่ในหลุมนั้นด้วย

        แน่นอน ถ้าบศพเปรียบเสมือนบ้านก็คงจะมีแต่ตัวบ้านเฉย ๆ ไม่ได้ ก็มีการวาดภาพเครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนอาวุธที่ใช้ป้องกันตัวบนแผ่นหินข้างบศพด้วย ทั้งนี้เพื่อเอาไว้ให้ผู้ตายได้ใช้สอย

        จะ เห็นว่าความคิดทีจะจัดเตรียมของใช้ต่าง ๆ ไว้ให้สำหรับคนตาย ยังมีอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ในพิธีกงเต๊กของคนจีน บรรดาเครื่องใช้ไม้สอยที่ทำด้วยกระดาษถูกเผาในพิธีเพื่อจัดส่งให้คนตายนำไป ใช้ในภพหน้า และก้าวหน้าจนถึงขั้นในปัจจุบันนี้สิ่งที่เผาส่งไปให้นอกจากบ้านพร้อมที่ดิน แล้วยังมีรถคันใหญ่ ๆ (บางทีก็ระบุยี่ห้อเบนซ์หรือวอลโว่ลงไปด้วย) ที.วี. สีตลอดจนตู้เย็น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า คิดว่าในอนาคตข้างหน้าโรงไฟฟ้าในเมืองผีมีหวังต้องขยายโรงงานแน่ และน้ำมันก็คงจะต้องขึ้นราคาเพราะใช้รถกันเยอะ

        ต่อมาบศพก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมาทำจำลองเป็นรูปคน มีการแกะสลักหน้าตาอวัยวะต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะทำเป็นรูปคนยืนเหยียดตรง มือทั้งสองผสานไว้ที่หน้าอก บศพรูปคนเหล่านี้เก็บไว้ภายในหลุมฝังศพที่ก่อสร้างเป็นรูปอาคารอีกทีหนึ่ง บางทีอาจมีหลาย ๆ บรวมอยู่ในหลุมเดียวกันก็ได้

        ภาย หลังเมื่อมีการคว้านเอาอวัยวะภายในของศพก่อนจะทำเป็นมัมมี่ อวัยวะเหล่านี้ก็ต้องถูกเก็บรักษาด้วย จึงจะต้องมีการจัดทำภาชนะเพื่อที่จะเก็บอวัยวะเครื่องในเหล่านี้ ภาชนะพวกนี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า คาโนปิค (Canopic) มาจากชื่อของคาโนปัส (Canopus) นักรบแห่งเมนาเลียส (Menaleus) ซึ่งศพของเขาถูกเก็บไว้ในภาชนะรูปทรงคล้ายตุ่ม (คือป่องกลาง) มีฝาครอบทำเป็นรูปหัวคน ด้วยเหตุนี้คาโนปิคจึงมีลักษณะคล้ายตุ่มมีฝาครอบ แต่มีทั้งหมด 4 ฝาด้วยกัน เนื่องจากตัวภาชนะบรรจุเครื่องในเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนก็บรรจุอวัยวะสำคัญ 4 อย่าง ด้วยกันคือ ตับ กระเพาะ ปอดและลำไส้ใหญ่ (ถ้าเป็นเครื่องในหมูฟังแล้วชวนให้หิวข้าว) และ แต่ละช่วงที่บรรจุ -เครื่องในเหล่านี้ มี น้ำยาที่เรียกว่าเนตรอน (Natron) อยู่ด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าอวัยวะดังกล่าว 4 อย่างนี้ไม่มีหัวใจอยู่ด้วย เนื่องจากนักแต่ศพชาวอียิปต์ถือว่า ห้ามควักหัวใจ-ออกจากตัวศพ

        ในตอนต้น ๆ ฝาครอบหรือฝาปิดของคาโนปิคทำเหมือนๆ กันหมด ต่อต่อมาฝาครอบเหล่านี้เริ่มมีการแกะสลักเป็นรูปของ “ผู้คุ้มครองทั้ง 4” ซึ่งได้แก่อิมเซตี้ (Imsety) แกะสลักเป็นรูปหัวคน เดวาอุเตฟ (Dewau-mautef) แกะสลักเป็นรูปหัวหมา ฮาปิ (Hapy) แกะสลักเป็นรูปหัวลิงและสุดท้ายเคเบห์สเนเวท (Kebehsnewet) แกะสลักเป็นรูปหัวเหยี่ยว (แต่ละห่านล้วนแต่ออกชื่อยาก ๆ ทั้งนั้น ขออภัยด้วย) ผู้ปกป้องทั้งสี่ก็ดูแลอวัยวะสำคัญแต่ละอย่างไป สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่คนเป็นทำให้คนตายในความเชื่อถือของอียิปต์ โบราณก็คือ “คนใช้” เพราะคิดว่าถึงแม้คนตายจะมีเครื่องใช้ไม้สอยที่จัดทำไว้ให้แล้วมากมาย แต่ถ้าขาดคนรับใช้ชีวิตก็คงไม่สุขสบายเท่าที่ควร ดังนั้นในพิธีศพสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือจัดหาคนใช้ให้กับผู้จากไปด้วย ในตอนแรก ๆ ก็ใช้วิธีการวาดภาพเอาต่อมาก็จัดทำเป็นรูปปั้นซึ่งอาจจะทำด้วยดินเหนียว สีผึ้ง หรือแกะสลักด้วยไม้ ต่อมาในราวยุคราชวงศ์ที่ 12 แห่งอียิปต์โบราณ ตัวแทนที่จะส่งไปเป็นคนรับใช้ของผู้ตาย ก็ทำเป็นรูปมัมมี่ด้วย มีการพันด้วยผ้าลินินและบรรจุไว้ในบศพจำลองขนาดเล็ก ๆ รูปลักษณ์เหล่านี้มีชื่อเรียกว่า “ชาวับติ” (Chawabti) ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ขานรับ” เพื่อที่ว่ายามใดที่ต้องการใช้เมื่อเรียกขึ้นมาแล้ว ผู้รับใช้นี้ก็จะขานรับคำสั่ง ชาววับติมักทำเป็นรูปมัมมี่บางทีมือทั้ง 2 ข้างประสานไว้ที่อกหรือบางทีก็ทำเป็นรูปเครื่องมือต่าง ๆ เช่น จอบ เสียม ตะกร้า ให้ถือเอาไว้และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือคำจารึกคำสวดที่พอจะแปลได้ตามความหมาย ว่า

“โอ..ชาวับติ เจ้าเอ๋ย ถ้านาย..(ออกชื่อคนตาย) เรียกใช้เจ้าเมื่อไรไม่ว่าจะให้ทำไร่ไถนา
 ทดน้ำขนส่งทราย เพื่อเห็นแก่พระเจ้าก็ขอให้เจ้าขานรับว่า..ข้าพร้อมที่จะทำแล้วขอรับ”


      จากความเชื่อของชนชาวอียิปต์โบราณในเรื่องของชีวิตหลังความ ตายว่าวันหนึ่งชีวิตนั้นจะกลับคืนมา เป็นแรงบันดาลใจให้ชาวอียิปต์โบราณคิดค้นหาวิธีจะรักษาร่างกายเอาไว้เพื่อรอ การกลับมาชีวิตอีกครั้งหนึ่ง และชาวอียิปต์โบราณทำได้ด้วยวิทยาการสมัยโบราณ ที่แม้คนสมัยนี้ซึ่งเวลาได้ล่วงเลยมาแล้วสี่ พันปีก็ยังต้องทึ่ง และจากการศึกษาเราทราบว่า กว่ามัมมี่จะวิวัฒนาการจนถึงสูงสุดของมัน มันก็ต้องใช้เวลาในการทำเหมือนกัน และถึงแม้จนถึงขีดสูงสุดของมันก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนาเหมือนกัน และถึงแม้จนถึงปัจจุบันนี้มัมมี่จากหลุมตลอดจนจากปิรามิดต่างๆในอียิปต์ไม่ มีสักร่างเดียวที่จะฟื้นขึ้นมาเพื่อบอกความลับในยุคนี้กับนักวิทยาศาสตร์ของ เรา จากเรือนร่างที่คงทนต่อสู้กับ -ความเน่าเปื่อยมาจนถึงเดี๋ยวนี้ก็พอเพียงแล้ว นักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีของเราพยายามอ่าน ถึงประวัติศาสตร์ในยุคและเดี๋ยวนี้วิทยาการทางด้านการวิเคราะห์ด้วยแสง เอกซเรย์ ทั้งแบบธรรมดา และ axial tomography ถูกนำมาใช้ด้วย ก็ยิ่งทำให้เราศึกษาและรู้เรื่องราว ของชนชาติอียิปต์โบราณได้มากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านโบราณคดีหรือ -นิเวศน์วิทยา เช่น จากการศึกษามัมมี่ของเซเคเนนเรที่ 2 ของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ (Erhard Metnel) โดยการใช้แสงเอกซเรย์พบว่า สมองของเซเคเนเรที่ 2 ได้รับบาดเจ็บจากรอยแผลที่เกิดขวาน ซึ่งตามประวัติศาสตร์ระบุว่าเขาบาดเจ็บจากสนามรบและพบต่อไปว่าแขนข้างหนึ่ง ของเขาเป็นอัมพาตไปซึ่งก็คงเนื่องจากบาดแผลที่สมอง แต่จากการวิเคราะห์ที่ละเอียดพบว่ามีบาดแผลที่เกิดจากหอกปรากฏอยู่ที่หลังใบ หูซ้าย จึงช่วยสงสัยว่าเซเคเนนเรที่ 2 อาจถูกลอบสังหารทางข้างหลังก็ได้

        นอกจากนี้การศึกษาด้วยแสงเอกซเรย์ทำให้เรารู้ว่าฟาโรห์แต่ ละคนในอดีตมีสุขภาพเป็นอย่างไรบ้าง เช่น เราสามารถนึกถึงภาพว่าฟาโรห์ซิบตาห์ (Siphtah) คงจะไม่สามารถเสด็จไปไหนมาไหนด้วย ลำพังพระองค์เองหรือไม่ก็อาจจะต้องมีไม้เท้ายัน เพราะจากแสดงเอ็กเรย์พบว่าฟาโรห์ซิปตาห์เป็นโรคโปลิโอ หรือนึกถึงภาพของฟาโรห์ราเมเสสที่ 2 (Ramessesll) พระองค์ต้องเป็นคนที่แข็งแรงกระฉับกระเฉงเพราะตรวจพบว่าพระองค์มีเส้นโลหิต ที่แข็งแรงมาก แถมฟันก็คงทนถาวร รับกับประวัติศาสตร์ที่ระบุว่าฟาโรห์ราเมเสสที่ 2 มีชีวิตยืนยาวถึง 90 ปีโดยสิ้นพระชนม์ในปี 1216 ก่อนคริสตศักราช

        หรือ จากการวิเคราะห์ซากมัมมี่นิรนามที่เรียกว่า PUM ll (มัมมี่ตัวที่ 2 ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) พบว่ามัมมี่ตัวนี้เป็นโรคปอดซึ่งเกิดจากสารคาร์บอนและซิลิกาที่เกาะแน่น สะสมอยู่ ซึ่งก็พอจะเชื่อได้ว่าชาวอียิปต์โบราณคงจะเป็นโรคปอดกันมากอันเนื่องมาจาก ต้องสูดหายใจเอาละอองทรายและเศษผงของหินเข้าปอดเป็นประจำส่วนคาร์บอนที่ค้น พบในปอด ก็สันนิษฐานว่ามาจากควันของการก่อกองไฟ และจากควันของตะเกียงน้ำมัน

        ใน PUM ll ยังค้นพบไข่ของพยาธิตัวกลมอีกด้วย (บางท่านอาจจะสงสัยว่าไข่ของพยาธิทำไมถึงอยู่อึดนักทนอยู่ได้เป็นเวลาตั้ง หลายพันปี ทั้งนี้เนื่องมาจากยางที่สัปเหร่อปัญญาชนใช้ในการรักษาศพมัมมี่มีผลทำให้ไข่ ของพยาธิเหล่านี้ถูกรักษาเอาไว้ได้ด้วย) ซึ่งพยาธิตัวกลมนี้เป็นพยาธิที่พบได้ทั่วไปในประเทศร้อนซึ่งมีลักษณะดินชื้น และไข่ของมันแพร่หลายได้ดีโดยติดไปกับอุจจาระ แสดงว่าสุขาภิบาลในยุคของอียิปต์โบราณก็ยังไม่ดีนัก

        นอกจากนี้การใช้เทคนิคของแสง เอกซเรย์ ยังเป็นการช่วยลำดับญาติโกโห ติกาของฟาโรห์ในประวัติศาสตร์อีกด้วย อย่างเช่นจากการวิเคราะห์ของอาจารย์เจมส์ อี. แฮร์ริส (James E. Harris) แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนด้วยการใช้เทคนิคการฉายแสงเอกซเรย์เพื่อถ่ายภาพของ กะโหลกศีรษะในรูปของ 3 มิติพบว่ามัมมี่ตัวหนึ่งที่ขุดพบในหลุมฝังศพของฟาโรห์อมุนโฮเตปที่ 2 (Amunhotep ll ) ซึ่งเดิมทีไม่ทราบว่าเป็นมัมมี่ของใคร จากการวิเคราะห์นี้เขาลงความเห็นว่ามัมมี่นี้คือราชินีไทย (Tiye) ก็คือพระชายาของฟาโรห์อมุนโฮเตปที่ 2 เนื่องจากมีการเปรียบเทียบโครงสร้างของกะโหลกศีรษะของพระนางกับพ่อแม่ และเมื่อยิ่งมีการวิเคราะห์สารเคมี ในเส้นผมเปรียบเทียบกับเส้นผมที่เก็บไว้ในล็อคเกตซึ่งฝังไว้ในหลุมศพของตุ ตันคามัน (Tutankhamun) พระญาติของเธอด้วยแล้ว ยิ่งแน่ใจเข้าไปใหญ่

        มัมมี่ในสุสานแห่งอียิปต์โบราณไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ สำหรับนักโบราณคดีเท่านั้น แต่ยังเป็นยอดสนใจของเหล่ามิจฉาชีพที่ต้องการจะค้นหาสมบัติจากมัมมี่และ สุสานที่ฝังอีกด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือพวกเหล่านี้หากินกับผีทั้ง ๆ ที่สถานที่เหล่านั้นวังเวง ลึกลับ น่าสะพรึงกลัว แต่ความโลภซะอย่างสามารถทำอะไรต่อมิอะไรก็ได้ แม้แต่จะเลื่อยเศียรพระพุทธรูปแบบที่เราเคยเห็นมาแล้วหลายรายโดยไม่เกรงกลัว ต่อบาปต่อกรรม

 ping!


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!