ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้หน่อยนะครับ...ขอบใบขนุนไหม้เป็นสีน้ำตาล ..
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 04:02:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้หน่อยนะครับ...ขอบใบขนุนไหม้เป็นสีน้ำตาล ..  (อ่าน 4440 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 12:00:41 PM »

ปลูกไว้ประมาณ2เดือนแล้วครับ ซื้อมา2ต้น ..ตายไป1ต้นอาการขอบใบไหม้เป็นสีน้ำตาล  ..ต้นที่2ท่าทางเจออาการเดียวกัน ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไรครับ ท่านใดทราบบ้างครับ  Cheesy HAPPY2!!


บันทึกการเข้า

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 04:00:06 PM »

ดูตามรูปน่าจะเป็นดินมีกรดมากไป หรือเพลี้ยไฟคล้ายกัน ถ้าเพลี้ยไฟต้องให้น้ำมากๆและพ่นยา
ใช้ปูนขาวโรยรอบต้นดูครับ
ขนุนเพาะเมล็ดในถุงแล้วเอาต้นทาบกิ่งให้ผลเร็วและไม่กลายพันธุ์
จากสปการณ์ขนุนพันธุ์ใบกลางๆเนื้อจะอร่อยกว่าพันธ์ใบใหญ่ นิยมมากที่ระยอง คือทองประเสริฐ ต้นพันธุ์
ไม่แพงหาซื้อง่าย แกะได้เนื้อ ข้อเสียลูกที่ติดโคนต้นมักเป็นสนิม ping!

การปลูกขนุน
ขนุนเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ของประเทศสภาพของดินที่ใช้ปลูกที่เหมาะสมควรมี สภาพความเป็นกรดและด่างอยู่ระหว่าง 5.5--7.5 ดินควรเป็นดินร่วนหรือร่วนปนทราบมีการระบายน้ำดี อายุการให้ผลจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 4 ปีสามารถให้ผลต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 25 ปีอายุตั้งแต่เริ่มออกดอกถึงดอกบาน 20-25 วัน ผลจะก่เมื่ออายุ 120-150 วันผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นเมื่ออายุประมาร 10 ปี อยู่ระหว่าง 25-30 ผลน้ำหนักต่อผลมีตั้งแต่ 5-50 กิโลกรัม ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตถ้าเป็นขนุนในฤดูจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคมและถ้าเป็นขนุนนอกฤดูจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม
พันธุ์ทองสุดใจ จำปากรอบ ทองประเสริฐ เหรียญทอง และเหลืองพิชัย
การปลูก
วิธีการปลูก
1.ใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการทาบกิ่ง ติดตา หรือเสียบยอด
2.ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
3.ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
4.ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคเฟสเฟตจำนวน 500 กรัมเข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของกลุ่ม
5.ยกถุงต้นพันธุ์วางในหลุมโดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
6.ใช้มีดที่คมกรคดถุงก้นถุงขึ้นมาถึงปลายถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
7.ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
8.กลบดินที่เหลือลงในหลุมอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
9.กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
10.ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดกันลมพัดดยก
11.หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้นเช่น ฟางข้า หญ้าแห่ง
12.รดน้ำให้ชุ่ม
13.ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
14.แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอด หรือยอยทาบเมื่อปลูกไปแล้วประมาณครึ่งเดือน
ระยะปลูก 8x๘ เมตร
จำนวนต้นต่อไร่ ประมาณ 25 ต้น/ไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย ควรพรวนดินรอบบริเวณรัศมีทรงพุ่มการใส่ปุ๋ยเคมีพร้อมกับปุ๋ยอินทรีย์ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ย ดังนี้
1.บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
2.สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24
3.บำรุงผล ใช้ปุ๋ยสูตร หรือ 15-15-15- หรือ 16-16-16
4.ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21
ส่วนปริมาณการให้ปุ๋ยประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง สำหรับต้นขนุนที่มีอายุประมาณ 8 ปีและเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามอายุ และขนาดทรงพุ่ม
การให้น้ำ
หลังการปลูกถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวัน จากนั้นถ้าฝนไม่ตกอีกควรรดน้ำประมาณ 3-4 วัน/ครั้ง จนเห็นว่าตั้งตัวดีจึงเว้นการรดน้ำให้ห่างออกไปในฤดูแล้งนั้นควรให้ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1.เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอม ป้องกันโดยใช้สารโมโนโครโตฟอส มาลาไธออน
2.โรคราดำ ป้องกันโดยใช้สารเบโนมิลหรือกำมะถันผง
3.แมลงวันผลไม้ป้องกันโดยการห่อผลหรือใช้สารไดเมทโธเอทหรือโมโนโครโตฟอส
4.ด้วงเจาะลำต้นป้องกันโดยใช้สำลีจุ่มสารเคมีฆ่าแมลงชนิดดูดซึมอุดเข้าไปในรูที่ถูกทำลายแล้วปิดรูด้วยดินน้ำมันหรือดินเหนียว
นอกจากนี้ควรดูแลรักษาความสะอาดของชาวสาวและควรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคอยู่เสมอเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช
การเก็บเกี่ยวมีวิธีสังเกตได้ ดังนี้
-สังเกตจากตาหนามของผลที่ขยายห่าง
-ผลขนุนที่สุกจะมีสีผิวเหลืองเข้มมากขึ้น
-ใช้การทดสอบโดยเอามีดกรีดบริเวณขั้วของผลถ้าผลแก่จะมียางไหลออกมาน้อยและน้ำยางจะใส
-ใช้การนับอายุของผลตั้งแต่ดอกเริ่มผสมติด จนผลแก่ประมาณ 120-150 วัน
2.การเก็บเกี่ยวสามารถเก็บโดยใช้เชือกไนล่อนขนาด 0.2 นิ้วขมวดเป็นปมเพื่อใช้เป็นตัวดึงส่วนปลายอีกด้านหนึ่งรัดกับส่วนขั้วของผลขนุนให้แน่นใช้กรรไกรตั้ดขั้วผลแล้วค่อยๆหย่อนลงมาผลเริ่มแก่แล้วมันจะแตกเนื่องจากได้รับน้ำในช่วงนั้นมาก try!!
ที่มาบ้านสวนจงเพียร
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2009, 06:50:27 AM »

ดินเป็นกรด ..ดินทางใต้น่าเป็นด่างมากกว่านะครับ เพราะเป็นดินติดชายทะเล บ่อกุ้งน้ำเค็มเก่าครับ  Sad
  ..เพลี้ย หาไม่เจอตัวครับ

  แต่วันนี้จะลองลงปูนขาวครับ ขอบคุณมากครับ  Cheesy Smiley
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2009, 09:42:10 AM »

เพลี้ยไฟมองไม่ค่อยเห็นตัว เกิดตอนอากาศแห้ง ขนุนที่เห็นน่าจะเป็นพันธุ์มาเลเซียครับ
ถ้าเป็นเพลี้ยไฟ ตัดแต่งใบออกก็หาย แต่ถ้าเกี่ยวกับดินจะเป็นอีกครับ

-เก็บตก ตามปกติแล้วขนุนและ มะกรูดไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค
แมลง ที่สำคัญ คือ หนอนชอนใบ หนอนแก้ว หนอนม้วนใบ เพลี้ยไฟ ต้องป้องกันกำจัดโดยการพ่นสารเคมี อะมาเม็กติน พอส์ซ ไซเปอร์เมทริน

-อาจจะเกิดจากดินบริเวณนั้นมีเชื้อราตอนเริ่มปลูกใหม่ลองใช้สารจำพวกไตรโคเดอร์ม่ามาคลุกดินก่อนปลูกดูอาจจะช่วยด้วยได้

-ภูมิปัญญาไทย
 ping!ปัญหาน่าจะเกิดจากโรครากเน่า โคนเน่า เกิดจากเชื้อราครับ ส่วนต้นอื่นที่เหลือ แนะนำอย่างนี้ครับ

แนะนำวิธีการขยายเชื้อ พ.ด. 3 เพื่อควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดกับพืชไว้ดังนี้

**วิธีการขยายเชื้อ พ.ด.3 เพื่อควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของพืช**

วัสดุ-อุปกรณ์ :

1. ใช้ขี้วัว 5 กก.

2. รำละเอียด 2 กก

3. พ.ด.3 1 ซอง

4. น้ำเปล่า 5 ลิตร

5. ถุงพลาสติก หรือกระสอบ

6. ปุ๋ยหมัก

IDF494 ส.นครศรีธรรมราช - นายมานะชัย



วิธีทำจุลินทรีย์ควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่า :

ใช้ขี้วัว 5 กก.ผสมกับรำละเอียด 2 กก. ใส่ในถุงพลาสติกคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลาย พ.ด.3 (1 ซอง) ในน้ำ 5 ลิตร คนนาน 5 นาที แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุให้ได้ความชื้น 60% รัดปากถุงไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นปูน ไม่ให้ถูกแดดและฝนนาน 7-10 วัน จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ นำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บใส่ถุงมัดปากใส่ถังพลาสติกเก็บไว้ใช้

การนำหัวเชื้อไปใช้งาน :

ใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ 2 ขีด ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 กก. นำไปใส่โคนต้นไม้ จะช่วยป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าของพืชได้
 ping! THANK!!
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!