ซ่อมทีวี PANASONIC (OneChip) เชิงวิเคราะห์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 02:44:57 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมทีวี PANASONIC (OneChip) เชิงวิเคราะห์  (อ่าน 3374 ครั้ง)
sak2007
Full Member
member
**

คะแนน46
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


รู้ไว้ไช่ว่าใส่บ่าแบกหาม


« เมื่อ: กันยายน 18, 2009, 09:40:00 PM »

ซ่อมทีวี PANASONIC (OneChip) เชิงวิเคราะห์
ตอนแรกผมคิดว่า การซ่อมทีวีที่ใช้ IC วันชิพอย่าง #TDA-9381 ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
แต่พอเอาเข้าจริงๆ จับหลักการให้ถูก ไล่วงจรให้เป็น กลับกลายเป็นเรื่องง่ายมากสำหรับการซ่อม
ช่างส่วนมากก็รู้ๆกันอยู่ว่า.. ทีวี PANASONIC มีอยู่อาการเดียวที่ซ่อมยากสุด ก็คืออาการ..' เปิดแล้วตัด '..
------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมขอยกตัวอย่าง หลักการซ่อมด้วยทีวี PANASONIC รุ่น TC-21V30B อาการ เปิดแล้วตัด
แต่เครื่องนี้พิเศษหน่อย ก็คือ บางครั้งเปิดแล้วตัดเลย, บางครั้งก็สักครู่ตัด, บางครั้งดูได้ทั้งวันไม่ตัด
เช็คและเปลี่ยน R-Overload Current ขาประจำ ที่ช่างเขารู้กันแล้ว ก็ยังตัดเหมือนเดิม
สรุปสุดท้าย ยังไงก็ยังตัดอยู่ดี ไม่ช้าก็เร็ว ..ผมรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักการ โปรเทค มาวิเคราะห์
และเริ่มดำเนินการตรวจซ่อม ดังนี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------
จากการศึกษาข้อมูลโปรเทค ทราบมาว่า..ที่ขาIC OneChip ขาที่36 เป็นจุดศูนย์รวมโปรเทคหลัก
และถ้าไม่จำเป็นจริงๆแล้ว ไม่ควรถอดขานี้ลอยไว้ เพราะอาจเสี่ยงกับการทำให้เครื่องหายมากขึ้นได้
ถ้าโหลดมีการซ๊อตอย่างรุนแรง ทางที่ดีควรไล่ปลดโปรเทคย่อย เพื่อค้นหาจุดเสียจะดีกว่า
ปกติที่ขา36 มีไฟอยู่ที่ขานี้ประมาณ1.6v ..ถ้าปรากฏว่า ณ.ขณะใด? ไฟเกิดมีน้อยหรือมากกว่านี้ไปมาก
นั่นก็อาจหมายถึง..เครื่องอาจเกิดโปรเทค ตัดดับได้
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ทีนี้เรามาดูกันว่า..'โปรเทคย่อย' ที่ว่านี้มีอยู่ตรงไหน?กันบ้าง ..ทำหน้าที่อะไร?!?
และโปรเทคย่อยแต่ละโปรเทค มีตัวอาหลั่ยที่คาดว่าน่าจะมีปัญหา! .. คือตัวไหน?กันบ้าง
 (ตามรูปวงจรเลยครับ ..ในวงกลมสีแดง)
มีสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตุ ของตัวอาหลั่ยในวงจรโปรเทค ก็คือ..
1.R ต่างๆที่ต่อจากไฟไปลงกราวด์ (R-Drop) มักจะรับภาระทำงานหนัก มีโอกาสยืดค่าได้เสมอ
2.Rที่มีค่าคลาดเคลื่อนน้อย เช่น 1% เป็นต้น ..แม้ยืดเพียงเล็กน้อยก็มีผล
--------------------------------------------------------------------------------------------
1.Over load Voltage Current Protect (B+140V)



หลักการโปรเทค
ถ้าไฟB+สูงเกิน140vไปมาก หรือ R520 , R521 เกิดยืดค่าขึ้นมา หรือเกิดการดึงกระแสจากโหลดปลายทางมากเกินไป จะทำให้เกิดกระแสไฟตกคร่อมที่Rสองตัวนี้มากเกินไป จนเป็นเหตุให้มีกระแสไฟ พอที่จะทำให้ Q520 เกิดการทำงาน ..จะมีไฟออกทางขาคอลเล็คเตอร์ ซึ่งปกติต้องเป็น 0V
ซึ่งก็เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่า ระบบโปรเทคกำลังจะเริ่มขึ้น
--------------------------------------------------------------------------------------------
2.Overload Voltage Heater Current Protect ( ไฟจุดไส้หลอดภาพ)



หลักการโปรเทค
ถ้าไฟจุดใส้หลอดเกิดขึ้นสูงเกินพิกัด หรือถ้าR511เกิดยืดค่าขึ้นมา เป็นเหตุให้มีแรงไฟออกมาเกิน
จนทำให้D511 รับรู้ได้ถึงความผิดปกติของแรงไฟนั้น ..ก็จะมีแรงไฟบางส่วน
รั่วออกมาที่ขาแอโหนดของD511 ..ซึ่งนั่นก็หมายถึง ระบบโปรเทคกำลังจะเริ่มขึ้น
---------------------------------------------------------------------------
3.Overload Voltage Beam Current Protect (ABL)



----------------------------------------------------------------------------------------
ทีนี้คงพอจะเข้าใจกันบ้างแล้วนะครับ สรุปแล้ว ..ตัวอาหลั่ยที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว ก็คือ R-Chip
(R511 ค่าประมาณ 1.9K / 1%) ..ยืดค่านั่นเอง


บันทึกการเข้า

"อนิสงค์ของการเป็นผู้ให้ ย่อมได้มากกว่าผู้รับ"

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!