Airbone Gas Detector สำรวจก๊าซรั่วทางอากาศ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 19, 2024, 05:30:56 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Airbone Gas Detector สำรวจก๊าซรั่วทางอากาศ  (อ่าน 3376 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 06:17:31 PM »

ภารกิจที่สำคัญของการบำรุงรักษาส่งก๊าซฯ ให้เกิดความมั่นคง และความปลอดภัยของชุมชน นอกจากจะต้องทำการซ่อมบำรุงอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังต้องทำการตรวจสอบสภาพของท่อส่งก๊าซฯ อยู่อย่างสม่ำเสมอ หากเกิดการั่วไหลของก๊าซธรรมชาติแล้ว อาจก่อให้เกิดมหันตภัยร้ายแรงต่อชุมชนโดยรอบแนวท่อ


        ปตท. ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของชุมชนเป็นอันดับแรก จึงกำหนดให้ต้องมีการตรวจตรวจสอบโดยทั่วไปของท่อส่งก๊าซฯ อยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยจะส่งพนักงานสำรวจพื้นที่แนวท่อส่งก๊าซฯ ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อบันทึกสภาพและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น หากพบว่ามีกิจกรรมที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตราย จะดำเนินการป้องกันและแก้ไขอย่างทันท่วงที นอกจากนั้น พนักงานจะต้องทำการเดินเท้าสำรวจแนวท่อส่งก๊าซฯ โดยละเอียดตลอดแนวท่อ   ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่ภูเขาสูงก็ตาม โดยจะนำเอาเครื่องสำรวจก๊าซฯ รั่ว (Gas  Detector) ติดตัวไปตลอดการสำรวจ เพื่อตรวจหาหารรั่วของก๊าซ และหากว่าบริเวณใดมีก๊าซฯ รั่วซึมออกมาจะได้เร่งดำเนินการแก้ไขต่อไป


         นอกจากการสำรวจแนวท่อส่งก๊าซฯ บนบกโดยใช้คนเดินเท้าและรถยนต์แล้ว ปตท. ยังใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์เพื่อสำรวจแนวท่อทางอากาซอีกด้วย เพื่อที่จะให้เห็นสภาพความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โดยรอบแนวท่อส่งก๊าซฯ ในมุมกว้าง โดยจะทำการสำรวจแนวท่อก๊าซฯ ทุกเส้นเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง การสำรวจด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์นี้จะให้พนักงานที่มีความชำนาญในพื้นที่ ทำการเก็บข้อมูลสภาพโดยทั่วไป ถ่ายภาพ นอกจากนั้น เครื่องบินจะทำการติดตั้งเครื่องสำรวจก๊าซฯ รั่วทางอากาศ (Airbone Gas Detector) ไว้บริเวณใต้ท้องเครื่องบิน เพื่อใช้ตรวจจับก๊าซมีเทน (Methane) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของก๊าซธรรมชาติที่ปะปนอยู่ในบรรยากาศและบันทึกค่า ความเข้มข้นของก๊าซมีเทนนั้นพร้อมกับตำแหน่งเส้นทางการบินที่บันทึกได้จาก GPS หากพบว่าค่าความเข้มข้นของก๊าซมีเทนมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ แสดงว่าอาจเกิดการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติที่จุดที่พบนี้ ผู้สำรวจจะทำการบันทึกตำแหน่งของจุดที่พบแล้วจึงแจ้งให้ทีมภาคพื้นดินทำการ สำรวจโดยละเอียดอีกครั้งต่อไป



ครื่องบินที่ทาง ปตท. ใช้สำรวจแนวท่อเป็นประจำ ได้แก่ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ Bell รุ่น Jet Ranger ซึ่งเช่าใช้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีจำนวนที่นั่ง 6 ที่นั่ง เป็นนักบินและช่างเครื่อง 2 ที่นั่งและพนักงานผู้ทำการสำรวจ 4 ที่นั่ง ติดตั้งเครื่องสำรวจก๊าซฯ  รั่วทางอากาศซึ่งเป็นแบบ Laser  Gas  Detector ซึ่งผลิตจากประเทศแคนนาดา


       หลักการทำงานของเครื่องสำรวจก๊าซฯ รั่วทางอากาศ คือ เครื่องจะสร้างลำแสง Laser แล้ว ยิงไปสะท้อนกระจกเงากลับไปตกกระทบที่ Detector เมื่อมีกลุ่มก๊าซฯ ลอยมาตัดลำแสง Laser นี้ พลังงานแสงที่ Detector รับได้จะมีค่าลดลง เครื่องจะคำนวณพลังงานนั้นออกมาเป็นค่าความเข้มข้นของก๊าซมีเทนที่มีอยู่ในบรรยากาศแล้วบันทึกค่านั้นไว้ใน Data Logger ซึ่งจะทำการบันทึกตำแหน่งของการสำรวจจากเครื่อง GPS ไปพร้อมๆ กัน ค่าความละเอียด (Resolution) ของการวัดสามารถวัดค่าความเข้มข้นที่แตกต่างกันได้ถึง 1 ppm เลยทีเดียว




 เครื่อง Airbone  Gas  Detector นี้เป็นเพียง 1 ในหลายๆ เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาความมั่นคงของท่อส่งก๊าซฯ ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ เกิดความปลอดภัยต่อชุมชนโดยรอบนั่นเอง

ขอขอบคุณวิชาการดอดคอม


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!