เรื่องน่ารู้ของกะเม็ง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 09:39:11 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องน่ารู้ของกะเม็ง  (อ่าน 10704 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2009, 09:49:26 AM »



เรื่องราวของกะเม็ง...ฮ่อมเกี่ยว ยาดี ของหมอยาพื้นบ้าน
ความที่เป็นลูกชาวนาจึงรู้จักกะเม็งตั้งแต่เด็กๆ มันชอบขึ้นตามริมคันนา แต่น่าเสียดายว่าชาวนาจังหวัดนครนายกในแถบอำเภอเมืองไม่มีใครรู้จักชื่อของ กะเม็ง รู้แต่ว่ามันเป็นยาเพราะเขาเคยเห็นหมอยาสมัยก่อนเก็บไปใช้ แต่เมื่อได้ไปถามหมอยา คุณตาส่วน สีมะพริก ท่านเรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า ฮ่อมเกี่ยว และได้อ่านในตำรายา พบว่า ฮ่อมเกี่ยว ซึ่งบางครั้งก็เรียกเพี้ยนเป็นฮ่อมแก่วอยู่บ้างนั้น ใช้เข้ายาอยู่หลายตำรับ เรียกว่าเป็นสมุนไพรยอดฮิตตัวหนึ่งทีเดียว เรื่องน่าสนใจก็คือ หมอยาตระกูลไทย-ลาว ทั้งหมอยาล้านนา หมอยาอีสาน หมอยาไทยใหญ่ หมอยาไทยเลย หมอยาไทยพวน ต่างเรียกกะเม็งว่า ฮ่อมเกี่ยว เหมือนกันทั้งนั้น

กะเม็ง…ยาแก้เกี่ยว อาการทางประสาท อาการชัก ไข้

หมอยาอีสาน หมอยาไทยใหญ่ หมอยาล้านนา มักจะเรียกกะเม็งว่า “ฮ่อมเกี่ยว” ใช้รักษาอาการ “เกี่ยว” อาการเกี่ยวนั้นน่าจะเป็นอาการทางประสาท เป็นลมวิงเวียน ชักเกร็ง มือเกร็งและเกี่ยวกัน ซึ่งอาการเช่นนี้คล้ายๆ กับโรค Hyperventilation ในแผนปัจจุบัน วิธีใช้นั้นจะใช้ฮ่อมเกี่ยวเป็นตัวหลักตำคั้นน้ำผสมกับสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ตัวอื่นๆ เช่น ขิง ว่านเปราะหอม เป็นต้น แล้วใช้น้ำคั้นที่ได้ให้ผู้ป่วยจิบ และใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำคั้นสมุนไพรเหล่านั้นเช็ดหน้า คลุมหัวผู้ป่วยไว้

การศึกษาวิจัยสมัยใหม่เกี่ยวกับกะเม็ง พบว่ามีฤทธิ์คลายเครียด ช่วยทำให้นอนหลับ โดยกะเม็งไปมีฤทธิ์เพิ่มระดับ Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาตอนกลางคืน ซึ่งสารนี้จะช่วยปรับสภาพร่างกายให้เหมาะแก่การนอนหลับ

กะเม็ง...รักษาตับ

กะเม็งเป็นสมุนไพรที่มีการกล่าวขวัญถึงในหมู่หมอยาสมัยก่อนทั้ง ไทย จีน พม่า อินเดีย โดยใช้เป็นยารักษาตับ หมอยาไทยมักจะบอกว่ากะเม็งรักษาอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง เคยมีหมอพม่าและหมออินเดียมาดูงานที่โรงพยาบาลต่างพูดตรงกันว่า กะเม็งเป็นสมุนไพรที่บ้านเขาใช้รักษาตับ มีทั้งใช้กะเม็งเดี่ยวๆ หรือบางครั้งก็ใช้เป็นตำรับร่วมกับต้นลูกใต้ใบ ผักหวานบ้าน มะขามป้อม เป็นต้น สอดคล้องกับการค้นคว้าทางเอกสาร พบว่าหมอยาพื้นบ้านในประเทศต่างๆ ก็มีการใช้กะเม็งรักษาโรคตับเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์จากทางบ้านคือ ใช้ต้นกะเม็งสดๆ ๓-๔ ต้น ล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๑๐ นาที แล้วดื่มน้ำโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปผสมพอมีรสหวาน ดื่มกินไม่เกิน ๒ วัน ช่วยแก้อักเสบ บวมช้ำ (พระจีรพันธ์ ธัมมกาโม วัดพบพระใต้ จ.ตาก)

ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากถึงผลของกะเม็งต่อตับ คือกะเม็งสามารถป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษรวมทั้งจากแอลกอฮอล์ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส แถมยังช่วยในการฟื้นตัวของตับที่ถูกทำลายได้อีกด้วย

กะเม็ง…ยาอายุวัฒนะ

กะเม็งยังเข้ายาอายุวัฒนะหลายตำรับ มีทั้งใช้เดี่ยวๆ และใช้เข้ายาตำรับร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยทำเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน เป็นยาชงกินแทนน้ำชาทุกวันก็ได้ และมีตำรับที่ใช้การตำคั้นกะเม็งผสมน้ำผึ้งกินทุกวันเดือนดับก็มี จากการศึกษาสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์เพิ่ม T-lymphocyte และมีการศึกษาตำรับยาจีนชนิดหนึ่งเรียกว่า AFE ซึ่งมีกะเม็งเป็นส่วนประกอบ พบว่าสูตรยาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ lymphocyte และ IgG ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้กะเม็งยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งยืนยันการใช้เป็นยาอายุวัฒนะของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และอาจมีประโยชน์ต่อการใช้เป็นยาเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า กะเม็งลดการกดภูมิคุ้มกันซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ใรักษาความเป็นปกติ ของร่างกายขณะได้รับเคมีบำบัด

นอกจากเป็นยาอายุวัฒนะแล้ว หมอยาพื้นบ้านยังบอกว่ากะเม็งเหมาะที่จะทำเป็นชาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบา หวาน โดยนำต้นกะเม็งตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปคั่วให้พอหอม ชงน้ำร้อนดื่มเป็นน้ำชารับประทานดียิ่งนัก

กะเม็ง...รักษาแผล โรคติดเชื้อทางผิวหนัง แก้อักเสบ

หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพรทำแผล ช่วยห้ามเลือดและป้องกันการติดเชื้อ มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ว่า สมัยสงครามเวียดนาม กะเม็งเป็นยาคู่สนามรบมีการนำมาใช้ทั้งสดและแห้งเพื่อห้ามเลือด นอกจากนำมาใช้รักษาแผลให้คนแล้ว กะเม็งยังเป็นยารักษาแผลในสุนัขตัวโปรดได้ด้วย

กะเม็งยังใช้ตำพอกแก้อักเสบเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ต้มอมบ้วนปากรักษาอาการปากและเหงือกเป็นแผล แก้ปวดฟันหรือจะใช้ต้นสดผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผงทาที่เหงือกแก้ปวดฟันก็ได้ และกะเม็งยังใช้รักษาอาการปากเปื่อย-ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อราในเด็ก โดยใช้น้ำคั้นจากใบ ๒ หยดผสมน้ำผึ้ง ๘ หยด ทาบ่อยๆ

กะเม็งยังสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้อย่างดี โดยบดตำเอามาพอกที่บาดแผล ลดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อาการอักเสบจะดีขึ้น ให้พอกไปเรื่อยๆ และคอยเปลี่ยนยาบ่อย ๆ

กะเม็งยังช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า ชาวนาสมัยก่อนจะนำใบกะเม็งขยี้ทาเท้าทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงนา การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อทั้งราและแบคทีเรีย และเป็นสมุนไพรที่ขึ้นได้ดีในหน้าน้ำ เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะดูเหมือนว่า ธรรมชาติจะได้ประทานสมุนไพรชนิดนี้มาให้กับชาวนาใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า ในหน้าลงนาได้พอดิบพอดี

สอบถามข้อมูลสมุนไพร โทร (๐๓๗) ๒๑๑๒๘๙
www.abhaibhubejhr.o rg

  http://thrai.sci.ku.ac.th/node/936  *
ะเม็งตัวเมีย

   ชื่อวิทย์   Eclipta  prostrata  Linn.
   ชื่อวงศ์   COMPOSITAE
   ชื่ออื่น    ห้อมเกี่ยว หญ้าสับ                   ล้อม(เหนือ)   แป๊ะปัวกี่เช้า                ใบลบ(ใต้) บั้งกี่เช้า

 

สรรพคุณ

ต้น






ใบ



ราก



ดอก


ลูก
   



ขมเฝื่อยเย็น ขับลมให้กระจาย แก้จุกเสียดแน่น เฟ้อ ห้ามเลือด บำรุงโลหิต ทำให้เลือดเย็น แก้ ไอ อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด แก้ไอกรน แก้ริดสีดวงทวาร แก้เจ็บตา แก้เจ็บ คอ ใช้ทาพอก แก้ผื่นคัน แก้ฝีพุพอง รักษาแผล ตกเลือด

รสขมเฝื่อน เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน แก้อา เจียนเป็นเลือด แก้จุกเสียดแน่น แก้พิษโลหิต ทำให้ร้อน

รสขมเฝื่อน ขับลมในลำไส้ แก้อาเจียนเป็นเลือด บำรุงร่างกาย แก้โรคตับ และม้ามพิการ เป็น ยาถ่าย ใช้ทาแผลฆ่าเชื้อโรค ทำให้อาเจียน

รสขมเฝื่อน แก้ดีซ๋าน เป็นยาชาเฉพาะที่ ระงับ ปวด แก้ปวดฟัน

รสขมเฝื่อน ขับผายลม

 
http://www.geocities.com/thaimedicinecm/sansilpayathai41kameng.htm

*



บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2009, 10:28:09 AM »

กะเม็ง หรือกะเม็งตัวเมีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ ขึ้นกับแต่ละท้องถิ่น เช่น ทางภาคเหนือ เรียกว่า ฮ่อมเกี้ยว ทางพายับ เรียก หญ้าสับ จีน เรียก บั้งกีเช้า ทางภาคกลาง เรียก กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Eclipta prostrata Linn. ในวงศ์ Compositae ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ทานตะวัน และดาวเรือง

กะเม็ง เป็นพืชขนาดเล็ก เป็นพืชที่ขึ้นเองตามริมทาง ที่ชื้นแฉะ และที่รกร้างทั่วไป อาจมีการเพาะปลูกไว้เพื่อใช้เป็นยา กระเม็งมีลำต้นอวบ เลื้อยแผ่บนดิน ปลายยอดมักตั้งขึ้นตรง ใบออกตรงข้าม มีลักษณะเรียว ยาวประมาณ 4-10 ซม. และกว้าง 0.8-2 ซม. ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้น มีน้ำมากใบก็ใหญ่ เกิดในที่แห้งแล้ง ใบจะเล็ก ฐานใบมีลักษณะเป็นรอยเว้าเข้า และบานออกเล็กน้อยทั้งสองด้าน ปลายค่อนข้างแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้น ๆ ทั้งสองด้าน มีขนสั้น ๆ สีขาว กะเม็ง ออกดอกเป็นช่อ จากซอกใบ หรือที่ยอดเป็นกลุ่มแน่นสีขาว ขอบของช่อดอก มีดอกย่อยคล้ายลิ้นเรียงตัวเป็นรัศมีสีขาวชั้นเดียว มีกลีบเลี้ยงสีเขียวรองรับช่อดอก 5-6 กลีบ ผลมีสีเหลืองปนดำ เมื่อขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา

การเก็บกะเม็งมาใช้เป็นยานั้น จะเก็บมาใช้ทั้งต้นในขณะที่ต้นเจริญเต็มที่ กำลังออกดอก เมื่อเก็บมาแล้ว ควรล้างดินออกให้สะอาด หั่นเป็นท่อนหรือชิ้นเล็ก ๆ ตากหรือผึ่งให้แห้ง เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น เพื่อใช้เป็นยา ลักษณะของยาแห้งที่ดี ควรมีสีเขียว ไม่มีเชื้อรา และสิ่งอื่นเจือปน

สำหรับสรรพคุณทางยาของกะเม็งนั้น มีหลายประการด้วยกัน กะเม็งมีรสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้เป็นยาห้ามเลือด บำรุงไต แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบเรื้อรัง โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา และรักษาผมหงอกก่อนวัย

วิธีและปริมาณที่ใช้ของกะเม็งนั้น จะใช้ทั้งต้นแห้ง 10-30 กรัม ต้มเอาน้ำกิน หรือจะนำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน หรือกินเป็นผงก็ได้

รายละเอียดของวิธี และปริมาณที่ใช้ของกะเม็ง ในการนำมารักษาโรคต่าง ๆ จะเป็นดังนี้
1. ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใช้ต้นสด ตำพอก หรือใช้ต้นแห้ง บดเป็นผง โรยที่แผล
2. แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม หรือ ต้นสด 120 กรัม ต้มน้ำกินติดต่อกัน 3-4 วัน
3. แก้โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา ใช้น้ำคั้นจากใบสดทาบริเวณมือและเท้า
ปล่อยให้แห้งก่อนและหลังการลงไปทำนา เป็นการป้องกันมือและเท้าเปื่อย แต่ถ้ามือและเท้าเปื่อย จากการทำนาแล้ว ก็สามารถใช้น้ำคั้นจากใบทารักษาได้ โดยทาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
4. แก้ผมหงอกก่อนวัย ใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าวทา
ศีรษะจะทำให้ผมดกดำ และแก้ผมหงอกก่อนวัย

มีรายงานการวิจัยพบว่า กะเม็ง สามารถแก้ความเป็นพิษที่ตับ ที่เกิดจากการทำให้เซลล์ตับเป็นพิษ ด้วยสารพิษบางชนิดได้ผลดี มีรายงานว่า กะเม็ง มีฤทธิ์แก้ไข้ และแก้แพ้ในหนูถีบจักร และหนูขาวอีกด้วย ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า กะเม็ง สามารถนำมาใช้ในการรักษาตับอักเสบ และโรคผิวหนังผื่นคันได้เป็นอย่างดี

ชาวจีนได้นำกะเม็งมาใช้ในการแก้ผมหงอกก่อนวัย และทำให้ผมดกดำมาเป็นเวลานาน และยังใช้จนมาถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้แพทย์แผนไทยในชนบท ยังได้นำกะเม็งมาใช้เป็นยาบำรุงเลือดอีกด้วย จะเห็นได้ว่า กะเม็ง จัดเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย

สรุป

กะเม็ง เป็นพืชล้มลุก พบขึ้นตามที่รกร้าง และที่ชื้นแฉะทั่วไป กะเม็งเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันมานาน มีประโยชน์ทางยามากมาย สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคตับอักเสบ โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา และรักษาผมหงอกก่อนวัย ทำให้ผมดกดำ มีรายงานการวิจัยพบว่า กะเม็งสามารถแก้ความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากสารพิษได้ดี มีฤทธิ์แก้ไข้และแก้แพ้ในหนูถีบจักร และหนูขาว ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนในการใช้กะเม็ง เพื่อรักษาโรคตับอักเสบและโรคผิวหนังผื่นคัน
จาก http://herbal.pharmacy.psu.ac.th/Article/10-44/Eclipta.htm
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=50625
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2009, 06:57:09 PM »

เอารูปมาให้ดูครับ       
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!