Maria Goeppert-Mayer สุภาพสตรีที่ไม่รู้ว่าจะแนะนำอย่างไรให้สมเกียรติ(นักฟิสิกส์)
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 01:31:15 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Maria Goeppert-Mayer สุภาพสตรีที่ไม่รู้ว่าจะแนะนำอย่างไรให้สมเกียรติ(นักฟิสิกส์)  (อ่าน 2534 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 01, 2009, 10:46:41 AM »

Maria Goeppert-Mayer (28 มิถุนายน ค.ศ. 1906 – 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972)  เป็นนักวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) ชาวอเมริกัน ที่เกิดในประเทศเยอรมนี ท่านเป็นสุภาพสตรีคนที่สองของโลก ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศชั้นสูงโนเบล ในสาขาฟิสิกส์ ต่อจากนาง Marie Curie

           ครอบครัวของท่านย้ายไปตั้งรกรากที่เมืองก๊อตท์ทิงเจน (Göttingen ) ในปี ค.ศ. 1910 เนื่องจากคุณพ่อของท่าน (Friedrich Goeppert-Mayer) ได้รับการบรรจุเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยใน Gottingen (The University of Göttingen)

            ชีวิต ของท่านตั้งแต่ในวัยเด็กจนโตนั้น คลุกคลีอยู่แต่กับกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ดังนั้น ท่านจึงได้สัมผัสและใกล้ชิดกับบุคคนที่ชาญฉลาดและมีความสามารถมากมายอยู่ ตลอดเวลา จนกระทั้งในปี ค.ศ. 1924 ท่านก็สามารถสอบผ่านเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย The University of Göttingen ได้และในระหว่างการศึกษา ท่านก็ยังได้รับการสอนจากศาสตราจารย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลถึงสามท่าน (Max Born, James Franck และ Adolf Otto Reinhold Windaus)

           ใน ปี ค.ศ. 1930 ท่านได้สมรสกับด๊อกเตอร์ Joseph Edward Mayer (1904 – 1983) นักวิทยาศาสตร์เคมีซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์ James Franck และห้าปีหลังจากนั้นท่านและสามีก็ย้ายมาอยูที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึงเป็น บ้านเกิดของท่านเอง


ในช่วงแรกของการกลับมาใช้ชีวิตใน อเมริกา ท่านได้ทำงานในตำแหน่งอาสาสมัครตามมหาวิทยาลัยที่สามีของท่านสอนอยู่ เริ่มจาก Johns Hopkins University ใน Baltimore (1931 – 1939) ต่อด้วย Columbia University (1940 – 1946) และ University of Chicago ในระหว่างนั้นท่านไม่ได้รับการบรรจุเป็นศาสตราจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเลย ด้วยเหตุผลของการกีดกันทางเพศของคนในยุคสมัยนั้น

           อย่าง ไรก็ตามด้วยความสามารถอันมากล้น ทำให้ท่านได้รับงานเป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัย Sarah Lawrence รวมทั้งการทำงานเป็นนักวิจัยในมหาวิทยาลัย และห้องทดลองต่างๆ

            ใน ระหว่างการทำงานในมหาวิทยาลัย ซิคาโก้ (University of Chicago) ท่านได้ทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์อาสาสมัครของภาควิชาฟิสิกส์ จนกระทั่ง ศูนย์การวิจัยแห่งชาติ อาร์กอน (Argonne National Laboratory) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1946 และรับเชิญท่านเข้าทำงานเป็นพนักงานชั่วคราว ในตำแหน่งผู้อาวุโส แผนกฟิสิกส์ทฤษฏี ในช่วงเวลานี้เองที่ท่านได้ทำการพัฒนาตัวแบบสำหรับองค์ ประกอบนิวเคลียร์ ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นผลงานที่ทำให้ท่านได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1963 นั่นเอง (ผลงานชิ้นนี้ท่านได้ทำร่วมกับ Eugene Paul Wigner และ J. Hans D. Jensen)

           ตัว แบบนิวเคลียร์ของท่านสามารถอธิบายว่า “ทำไมจำนวนที่แน่นอนของ โปรตอน หรือนิวตรอน ในนิวเคลียส (nucleus)  ของอะตอม ทำให้อะตอมมีความมั่นคงสูง” จำนวนนี้เรียกว่า เมจิกนำเบอร์ (magic number) ถ้าหากว่าท่านผู้ อ่านท่านไดยังไม่เข้าใจเรื่องเมจิกนำเบอร์ก็ไม่เป็นไรหรอกนะครับอ่านต่อไป ได้เลย แต่ไม่ต้องมาถามผมนะครับเพราะผมเองก็ไม่รู้เหมือนกัน “อ่านต่อเลยนะครับ” ท่านอธิบายองค์ประกอบของนิวเคลียสในอะตอมว่า มันเป็นเหมือนชุดของคู่โปรตอน และนิวตรอนที่ยึดติดกันแล้วหมุนไปตามวงโคจร คล้ายๆ กับที่โลกหมุนรอบตัวเองและก็หมุนรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อมๆกัน

ท่าน Maria ยังยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีกแบบเก๋ๆว่า

           “ให้ นึกถึงห้องห้องหนึ่งที่เต็มไปด้วยนักเต้นลีลาศจังหวะวอลทซ์ และสมมุติให้นักเต้นทุกท่านเต้นรอบห้องเป็นวงกลม โดยแต่ละวงอยู่ภายในหรือล้อมวงอื่นอยู่ จากนั้น จินตนาการว่าในแต่ละวง สามารถจุนักเต้นได้สองคู่โดยให้ คู่หนึ่งเต้นวนไปตามเข็มนาฬิกาและอีกคู่หนึ่งเต้นวนมาทวนเข็มนาฬิกา เสร็จแล้วใส่ตัวแปรเข้าไปอีกหนึ่งตัว ตอนนี้นักเต้นลีลาศทุกท่านเริงระบำหมุนตัว เป็นเหมือนลูกข่างวนไปรอบๆ ห้อง โดยแต่ละคู่นั้นหมุนกันเป็นวง จะมีก็แค่บางคู่ที่เต้นวนรอบห้องทวนเข็มนาฬิกาเทำนั้นที่หมุนตัวทวนเข็ม นาฬิกา คู่ที่เหลือนั้นหมุนตัวไปตามเข็มนาฬิกาขณะที่วนไปรอบห้องทวนเข็มนาฬิกา เป็นเช่นเดียวกับวงที่วนไปรอบห้องตามเข็มนาฬิกาที่บางคู่ก็หมุนตัวไปตามเข็ม นาฬิกาในขณะที่บ้างก็หมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา”

           ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองก็มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่กำลังศึกษาและทำงานชิ้นเดียวกันนี้อยู่ ซึ่งภาย หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันกลุ่มนี้นำเสนอข้อมูลของเขาสู่สาธารณชน ท่าน Maria ก็ได้ไปพบพวกเขา และร่วมทำงานด้วยกันในปี ค.ศ. 1950 และหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Jensen ก็ได้ทำงานร่วมกับท่าน เพื่อเขียนหนังขึ้นมาฉบับหนึ่งชื่อ Elementary Theory of Nuclear Shell Structure

           ใน ปี 1963 ทั้งท่าน และ Jensen ก็ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์สำหรับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ้ง ใหญ่นี้ในครั้งนั้นท่านยังพูดอีกด้วยว่า “การได้รับรางวัลโนเบลในครั้งนี้ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นไม่ได้ครึ่งหนึ่งของตอนทำงานเลย”

           ใน ระหว่างปี ค.ศ. 1940 – 1950 ท่านได้เป็นส่วนช่วยในการคำนวนหาสมการเกี่ยวกับภาวะทึบแสงให้กับ ท่าน Edward Teller จนนำไปสู่การใช้งานในการหาความเป็นไปได้สำหรับการสร้างระเบิดไฮโดรเจน

            ใน ระหว่างปี ค.ศ. 1931 ซึ่งเป็นช่วงที่ท่านกำลังทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ท่านได้ทำการ สำรวจพบทฤษฎีความเป็นไปได้ของปรากฎการณ์ธรรมชาติของการดูดซึมโฟตอนสองตัว (two-photon absorption) ซึ่งในเวลานั้นทฤษฎีนี้ยังไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นความจริง จนกระทั่งมีการค้นพบเลเซอร์ในปี ค.ศ. 1960 และเพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวท่านนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังจึงใช้ชื่อสกุลของท่าน (Goeppert-Mayer หรือ GM Unit) แทนหน่วยวัดของหน้าตัดสองโฟตอน (two-photon cross-section)

           ภาย หลังในปี 1960  ท่านได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ซานดิอาโก (University of California, San Diego) ให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยอย่างเต็มตัว แต่หลังจากที่ท่านเข้าทำงานเพียงไม่นาน ท่านก็ปวยเป็นโรคปัจจุบัน อย่างไรก็ตามท่านยังคงทำงานสอนและวิจัยอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี

            สุดท้ายแล้วท่านก็จบชีวิตอันทรงเกียรติลงด้วยวัยเพียง 66 ปี ใน ค.ศ. 1972 ด้วยโรคหัวใจวาย และ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่ท่าน Maria Goeppert-Mayer หลังจากการเสียชีวิตของท่านทางสมาคมฟิสิกส์อเมริกา (American Physical Society) ได้ทำการลงนามของท่านใว้เป็นชื่อของใบประกาศเกียรติคุณ ที่ใช้มอบให้แก่นักฟิสิกส์สตรีรุ่นใหม่ไฟแรง ที่ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (PhD) และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัล Maria Goeppert-Mayer จะได้รับการเรียนเชิญให้เป็นผู้บรรยาย ในหัวข้อของการวิจัยของแต่ละท่าน ให้กับสถานศึกษาชั้นนำ คือ Goeppert-Mayer's former universities ,The University of Chicago และ University of California, San Diego

           ชื่อ Maria Goeppert-Mayer เป็นอีกหนึ่งอนุสรณ์แห่งความดีงามของมวลมนุษย์ ดั่งฟ้าต้องการประกาศให้โลกรู้ไปทั่วกันว่า มนุษย์ทั้งหลายในโลกนั้น เมื่อสิ้นชีพลงไปแล้วก็จักเอาทรัพย์สมบัติไดๆ ที่เคยมีติดวิญญานไปด้วยมิได้หรอก ท่านทั้งหลายจักต้องทิ้งมันไป ยกเว้นเกียรติคุณอันงามและความดีหากท่านเคยมีมันก็จะยังอยู่เป็นของท่านนิ รันดร์
 
                               ด้วยความเคารพอย่างสูง แด่ ท่าน Maria Goeppert-Mayer


http://www.uni-goettingen.de/

ขอขอบคุณ  ผักกระถิน และวิชาการดอทคอม


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!