ทริปเล็กๆ...ตามไปดูเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเช็คระบบไฟก่อนอนุมัติมิเตอร์ -
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 02:41:21 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทริปเล็กๆ...ตามไปดูเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเช็คระบบไฟก่อนอนุมัติมิเตอร์ -  (อ่าน 14353 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2009, 09:57:38 PM »

...วันนี้มีโอกาสได้ติดรถเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าไปดูการปฏิบัติงานเพื่อนำภาพและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าสู่กันฟังดีกว่า หลังจากเงียบหายไปหลายวันในสวนปาล์ม ...  HAPPY2!!

    หากมีโอกาสจะพาไปเที่ยวกับช่างเล็กๆในอ.ปากพนัง เมืองเล็กๆ แต่บางอย่างไม่เล็กครับ อาทิเช่น ทำไมโรงงานทำน้ำแข็งถึงใช้ไฟฟ้าเดือนละ2-3แสน ... บ.CPสาขาปากพนังใช้ไฟฟ้ามากกว่าเดือนละ2ล้านบาท .... สัมภาษณ์ชีวิตช่างซ่อมทีวีที่อ.ปากพนังพิการแต่ตัวแต่หัวใจนักสู้ ซ่อมทีวี 40 กว่าปี มีทรัพย์สินหลายสิบล้าน ... เรียนแค่ป.4รับซ่อมทีวีเพียง7ปีสามารถซื้อบ้านได้หลังละ2ล้าน ... และอีกหลายเรื่องหลายราว ..ที่สำคัญคืออ่านฟรี ครับ ฟรี ไม่ซีเรียสครับ  Shocked

   วันนี้จะพาไปที่โรงประปาหมู่บ้าน ยื่นเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ ..แต่ผลสรุปแล้ววันนี้ไม่อนุมัติให้ครับ เพราะอะไร ติดตามมาครับ  HAPPY2!!



บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2009, 10:02:42 PM »

โรงกรองน้ำราคาเท่าไรกันแน่ เพราะมีงบ2ราคา ..อ่านแล้ว งง จัง  Sad HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2009, 10:06:01 PM »

แท้งค์น้ำสูง18เมตร เพียงพอกับการจ่ายแรงดันน้ำให้แก่หมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ ติดตั้งหม้อแปลงเรียบร้อยแล้ว รอมิเตอร์อย่างเดียว..  HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2009, 10:09:19 PM »

ระบบการผลิตให้น้ำสะอาด ใส่โน่นนิด นี่หน่อย ... เอ...ปูนขาวใส่ทำไมหว่า ใครรู้บ้าง  Sad  HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2009, 10:12:52 PM »

มอเตอร์สูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ขนาด 2แรง x4 1 เฟส ..กินไฟ อาหย่อยย    HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2009, 10:16:36 PM »

ดูดขึ้นมาแล้วก็ส่งน้ำดิบไปตามท่อขึ้นๆลงๆ ... ขี้เกียจไล่วงจรน้ำเพราะไม่ใช่วงจรทีวี  Sad Grin
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2009, 10:20:27 PM »

ตู้คอนโทรลระบบไฟฟ้า เรียบง่ายดี ... แต่วาวล์น้ำหลายตัว กลัวบิดผิดจัง ...  HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2009, 09:13:58 AM »

ปูนขาว คือ วัสดุที่ได้จากการเผาหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) โดยใช้ความร้อนสูง จะได้เป็นปูนสุก (แคลเซียมออกไซด์, CaO, lime) เมื่อเย็นตัวลงแล้วพรมน้ำให้ชุ่ม ปูนสุกจะทําปฏิกิริยากับน้ำได้เป็น แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ส่วนที่เป็นผงแห้งได้เป็น ปูนขาว และส่วนทีเป็นสารแขวนลอยคือ น้ำปูนไลม์
กล้งดิน
   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ทำการศึกษาวิจัยและปรับปรุงดิน โดยวิธีการ "แกล้งดิน" คือ ทำให้ดินเปรี้ยว เป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด กล่าวคือ การทำให้ดินแห้ง และเปียกโดยนำน้ำเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่ง และระบายน้ำออกให้ดินแห้งระยะหนึ่งสลับกัน จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดมากยิ่งขึ้น ด้วยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้เลียนแบบสภาพธรรมชาติ ซึ่งมีฤดูแล้งและฤดูฝนเป็นปกติในแต่ละปี แต่ให้ใช้วิธีการร่นระยะเวลาช่วงแล้ง และช่วงฝนในรอบปีให้สั้นลง โดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป เกิดภาวะดินแห้ง และดินเปียก 4 รอบ ต่อ 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้ง ใน 1 ปี หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดิน ดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้
   แกล้งดินแล้วปรับปรุงดิน
   : วิธีการที่สำคัญ
   เมื่อดำเนินการตามกรรมวิธี "แกล้งดิน" แล้วก็ใช้วิธีการปรับปรุงดิน ซึ่งเปรี้ยวจัดให้สามารถใช้เพาะปลูกได้ โดยมีหลายวิธีการด้วยกันดังนี้

   * ใช้ปูน เช่น ปูนขาว หินปูนฝุ่น ใส่ลงไปในดิน แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปูนจะทำปฏิกริยากับกรดกำมะถันในดิน เกิดสารสะเทิน ปริมาณกรดในดินจะลดลง ซึ่งหากใส่ในปริมาณที่มากพอจะช่วย ให้ดินมีสภาพเป็นกลาง
   * ใช้น้ำจืดล้างกรดและสารพิษออกจากดินโดยตรง วิธีการนี้ใช้เวลานานกว่าวิธีใช้ปูน เนื่องจากกรดจะชะล้างออกไปอย่างช้าๆ แต่ได้ผลเช่นกัน
   *  ยกร่อง เพื่อปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น โดยมีคูน้ำอยู่ด้านข้าง ให้นำหน้าดินจากดินในบริเวณที่เป็นคูมา เสริมหน้าดินเดิมที่เป็นคันร่อง ก็จะได้หน้าดินที่หนาขึ้น ส่วนดินที่มีสารไพไรท์จะใช้เสริมด้านข้าง เมื่อใช้น้ำชะล้างกรดบนสันร่อง กรดจะถูกน้ำชะล้างไปยังคูด้านข้าง แล้วระบายออกไป
   * ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่เหนือชั้นดินเลนตะกอนทะเล ป้องกันไม่ให้สารไพไรท์ทำปฎิกริยากับออกซิเจน กรดกำมะถันจึงไม่ถูกปลดปล่อยเพิ่มขึ้น
   * ใช้พืชพันธุ์ทนทานต่อความเป็นกรด มาปลูกในดินเปรี้ยว
    ปรับph.น้ำให้มีความเป็นกรดด่างกลางๆ
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2009, 06:07:14 AM »

ขอบคุณน้องb.chaiyasithมากครับ ที่มาให้ความรู้เพิ่มเติมครับผม  Cheesy Lips Sealed

... คุณสมนึก เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ผู้ที่รักการทำสวนมะนาวเป็นชีวิตจิตใจ... แต่กลับต้องมาทำงานการไฟฟ้ามากว่า19ปี กำลังตรวจสอบระบบสายไฟภายในอาคาร,เบรคเกอร์,ฯลฯ ว่าจะผ่านกฎของการไฟฟ้าหรือไม่  HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2009, 06:09:17 AM »

ขอหม้อมิเตอร์ใหม่ ในปัจจุบันนี้ต้องเดินสายไฟ3เส้น, ปลั๊กไฟทุกตัวต้องมี 3 รู, และต่อกราวด์ลงดินทุกบ้านครับ  HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2009, 06:18:48 AM »

..หลังจากตรวจสอบเสร็จแล้ว ปรากฏว่าที่นี่ไม่ผ่านการอนุมัติครับ เพราะว่าที่ตู้คอนโทรลไม่ได้ลงสายกราวด์ลงดิน และสายไฟเข้าอาคารเส้นเล็กเกินไป ดังนั้นผู้รับเหมาจึงต้องแก้ไขใหม่ก่อนขอคำร้องมาขอให้มาตรวจสอบใหม่ ซึ่งเป็นการเสียทั้งเวลาและเงินทอง ...หากทำตามกฎของการไฟฟ้าเลย ตรวจสอบครั้งเดียวก็ผ่านครับ    ไม่เอา

..ดังนั้นจึงนำมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อมีบางท่านกำลังสร้างบ้านใหม่ และเดินสายไฟฟ้าระบบเก่าอยู่(2สาย) ให้รีบแก้ไขเป็นระบบใหม่ได้เลยครับ ก่อนที่จะเสียเงินและเสียเวลารื้อสายทิ้งครับ ขอให้มีไฟฟ้าใช้ทั่วกันทุกท่านครับผม  HAPPY2!! THANK!!
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2009, 10:20:12 AM »

1. การเดินสายภายในนี้ใช้เฉพาะอาคารที่อยู่อาศัย และร้านค้าธรรมดาไม่รวมโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานที่ที่อาจจะเกิดอันตราย เนื่องจากวัตถุที่ติดไฟง่าย ซึ่งจะมีกฎเป็นพิเศษ
     2. สายเมนภายในและสายที่เดินไปเต้าเสียบจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มม. 2 ถ้าใช้กระแสเกินกว่า 10 แอมแปร์
     3. อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ติดตั้งในที่ชื้นหรือถูกฝน จะต้องเป็นชนิดกันน้ำได้
     4. เต้าเสียบและกระจุบเสียบหลายทางห้ามใช้ ถ้าหากใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดของสายย่อยของเต้าเสียบและกระจุบเสียบนั้นๆ เต้าเสียบและสวิทซ์ที่ใช้จะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่ากระแสสูงสุดที่ใช้
     5. สายไหมหรือสายคู่ตีเกลียวชนิดที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่โยกย้ายได้ชนิดต่างๆ ห้ามใช้ เดินติดกับฝาเพดานผนังหรือพื้น นอกจากใช้เป็นสายสำหรับห้อยดวงโคม
     6. การเดินภายในอาคารอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
          6.1 การเดินสายในไม้ราง
                 - การเดินสายในไม้รางนี้ให้ใช้เฉพาะในที่แห้ง
          6.2 การเดินสายบนพุกประกับ บนคุ้มหรือบนลูกถ้วย
                - การเดินสายบนพุกประกับ ขนาดสายต้องไม่เกิน 6 มม. 2 และการเดินสายให้ปฏิบัติดังนี้
                       ระยะระหว่างช่วงพุกประกับไม่เกิน 150 ซม.
                       ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 2.50 ซม.
                       ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 0.50 ซม.
                - การเดินสายบนตุ้ม ขนาดสายต้องไม่เกิน 70 มม. 2 และการเดินสายให้ปฏิบัติดังนี้
                      ระยะระหว่างช่วงตุ้มไม่เกิน 250 ซม.
                      ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 10 ซม.
                      ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 2.50 ซม.
                - การเดินสายบนลูกถ้วย การเดินสายให้ปฏิบัติดังนี้
                      ระยะระหว่างช่วงลูกถ้วยไม่เกิน 500 ซม.
                      ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 15 ซม.
                      ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 5 ซม.
       ในข้อ 6.1 และ 6.2 ดังได้กล่าวมาแล้ว สายที่ต้องทะลุผ่านสิ่งก่อสร้าง เช่น ผนัง และพื้นห้อง จะต้องมีการป้องกันมิให้สัมผัสกับสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ได้ โดยใช้ปลอกฉนวนชนิดทนไฟและไม่ดูดความชื้นร้อยสาย โดยมีความยาวของปลอกอย่างน้อยเท่ากับความหนาของสิ่งก่อสร้างไว้ป้องกันสายด้วย
           6.3 การเดินสายเกาะไปกับผนัง
                  สายที่เดินเกาะไปกับผนังจะต้องเป็นสายหุ้มฉนวน ซึ่งมีปลอกตะกั่วปลอกเทอโมพลาสติก (Thermoplastic) หรือปลอกอย่างอื่นที่มีคุณภาพคล้ายคลึงกันหุ้มภายนอก การเข้าสายและการต่อสายปลอกตะกั่วจะต้องระมัดระวังไม่ให้ปลอกตะกั่วตอนที่ตัดออกบาดฉนวนหุ้มสาย การยึดสายติดกับผนังจะต้องใช้ที่จับสาย(clips or straps) ที่ทำไว้โดยเฉพาะซึ่งได้รับการเห็นขอบให้ใช้ได้แล้ว
                  สายที่ทะลุผ่านสิ่งก่อสร้างจะต้องมีปลอกที่เป็นฉนวนไฟฟ้าสวมหรือมิฉะนั้นก็ต้องทำรูให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฉนวนหุ้มสายฉีกขาดหรือเป็นอันตราย
            6.4 การเดินสายฝังในผนังตึก
                   สายที่เดินฝังในผนังตึกจะต้องเป็นสายหุ้มฉนวนที่มีปลอกหุ้มภายนอกชนิดที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้สำหรับฝังในผนังซึ่งได้รับการเห็นชอบให้ใช้ได้แล้ว             6.5 การเดินสายโดยวิธีอื่นได้รับการเห็นชอบให้ใช้ได้ เช่น                    การเดินสายภายในท่อโลหะในรางหรือการเดินสายโดยใช้สายเคเบิลอาจจะทำได้แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการเดินโดยวิธีนั้นๆ
             1. ให้ใช้สายชนิดทนแดดทนฝนที่มีฉนวนหุ้มแบบเทอโมพลาสติค(Thermoplastic) เช่น โพลีวินนิลคลอไรด์(Polyvinylchloride) หรือโพลีทีน(Polythene) หรือนีโอพรีน(Neoprene) เดินบนลูกถ้วยหรือตุ้มห้ามใช้สายหุ้มด้าย(Cotton Braided)
                  1.1  การเดินสายบนตุ้ม
                         ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับ การเดินสายภายในอาคาร ข้อ 6.2 เว้นไว้แต่ถ้าเดินผ่านที่โล่งให้ใช้ช่วงระหว่างตุ้มไม่เกิน 500 ซม. และขนาดสายต้องไม่เล็กกว่า 2 มม. 2
                  1.2  การเดินสายบนลูกถ้วย
                          ถ้าเดินเกาะไปตามสิ่งก่อสร้างต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการเดินสายภายใน ข้อ 6.2 แต่ถ้าเดินผ่านที่โล่งต้องปฏิบัติดังนี้
ช่วงสาย
ระยะระหว่าง
สายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า

ระยะระหว่างสาย ไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้าง
เนื้อที่หน้าตัด
ของสายไม่ต่ำกว่า
ไม่เกิน 20 ม.
10 – 25 ม.
25 – 40 ม.
15 ซม.
20 ซม.
30 ซม.
5 ซม.
5 ซม.
5 ซม.
2 มม.
4 มม.
6 มม.

                  1.3    ระยะสูงจากพื้นดิน
สายไฟฟ้าต้องขึงให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อยที่สุด 2.50 เมตร และในบริเวณที่มียานพาหนะลอด ถ้าเป็นทางที่รถยนต์ผ่านได้ สายไฟฟ้าต้องสูงจากพื้นถนนไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร
                  1.4 ระยะสูงจากหลังคา
สายไฟฟ้าขึงข้ามหลังคาจะต้องมีระยะสูงจากส่วนที่สูงที่สุดของหลังคาอย่างน้อย 1 เมตร ถ้าหลังคานั้นขึ้นไม่เดินได้ จะต้องมีระยะสูงไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร
              2. สายที่เดินในระยะต่ำกว่า 2.50 เมตรจากพื้น จะต้องเดินในท่อโลหะ ท่อพลาสติกอย่างหนาท่อไฟเบอร์(Fiber) หรือครอบด้วยรางโลหะ ห้ามเดินในไม้ราง การเดินด้วยท่อโลหะจะต้องใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม
              3. การเดินสายใต้ดิน จะต้องฝังสายให้ลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และตอนที่สายโผล่จากพื้นดินจะต้องป้องกันโดยใช้ท่อโลหะร้อยหรือใช้ฝาครอบสายที่ใช้เดินใต้ดินจะต้องมีปลอกตะกั่วหรือปลอกเทอโมพลาสติก ชนิดที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้สำหรับฝังใต้ดินห้ามใช้สายปลอกตะกั่วที่มีขนาดเล็กกว่า 6 มม. 2 ฝังดิน การเดินสายใต้ดิน ได้โดยใช้ท่อโลหะ แต่จะต้องเป็นชนิดที่เหมาะกับการใช้ในที่ชื้นแฉะสายหุ้มด้วย(Cotton braided) ไม่ให้ใช้ในการเดินสายใต้ดิน
        การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและการใช้กระแสเกินกำลัง
                  การต่อสายภายในเข้ากับสายของการไฟฟ้านครหลวง จะต้องมีเครื่องตัดไฟฟ้าเมื่อมีการลัดวงจรหรือการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง เช่น สวิทช์ฟิวส์ ตัดตอน อัตโนมัติที่เหมาะสม และสวิทซ์เมน วงจรย่อยทุกวงจรจะต้องมีเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้นด้วย ถ้ามีวงจรย่อยเกินกว่า 2 วงจร จะต้องมีสวิทช์เมนอีก 1 อัน สวิทช์ตัด ตอนอัตโนมัติที่เหมาะสม และสวิทช์เมนจะต้องติดตั้งในที่ซึ่งเข้าไปปฏิบัติงานได้ง่าย ขนาดของฟิวส์หรือตัดตอนอัตโนมัติที่ใช้ป้องกันวงจรใดวงจรหนึ่งจะต้องมีขนาดไม่เกินกระแสสูงสุดที่ยอมให้ใช้สำหรับสายเมนขนาดเล็กที่สุดในวงจรนั้นเว้น เสียแต่ในวงจรสำหรับเครื่องยนต์ไฟฟ้า อาจใช้ฟิวส์ขนาดที่โตขึ้นไปได้อีกขนาดหนึ่ง
        การต่อสาย
                  การต่อสายจะต้องทำโดยการบัดกรีรอยต่อหรือต่อโดยเครื่องมือกล เช่น ใช้เกลียวกวดหรือใช้บีบหรือพันด้วยฉนวน การต่อสายทุกแห่งจะต้องทำในที่ซึ่งตรวจได้ง่าย
        การเข้าสาย (Connection to Terminals)
                  สายไฟฟ้าที่มีขนาดเนื้อที่หน้าตัดเกินกว่า 6 มม. 2 การเข้าสายต้องทำโดยการใช้หูสาย ซึ่งอาจจะเป็นแบบบัดกรี หรือ แบบบีบ นอกจากอุปกรณ์นั้นมีที่สำหรับเข้าสายเหมาะสำหรับสายไฟขนาดที่จะใช้ไว้แล้ว
       การต่อลงดิน
                  1. เปลือกนอกที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าติดตั้งอยู่กับที่จะต้องต่อลงดิน ส่วนเครื่องใช้ที่ใช้ไฟฟ้าที่โยกย้ายได้ ก็ควรต่อลงดินด้วยถ้าสามารถทำได้
                  2. สายดินต้องเป็นสายทองแดง จะเป็นสายเปลือยหรือมีฉนวนหุ้มก็ได้เนื้อที่หน้าตัดของสายจะต้องไม่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของสายไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าให้เครื่องใช้นั้น และต้องมีเนื้อที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 2.5 มม. 3 สายดินไม่จำเป็นต้องโตกว่า 70 มม. 2 ปลายลงดินจะต้องต่อกับอิเลคโตรด โดยใช้ประกับโลหะหรือโดยการเชื่อมบัคกรีห้ามต่อกับท่อประปาหรือท่อน้ำทิ้ง
                  3. อิเล็คโตรดที่ใช้ในการต่อลงดินต้องทำด้วยท่อเหล็กอาบสังกะสีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3/8 นิ้ว ตอกลงไปในดินลึกไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร หรือเป็นอิเล็คโตรดแบบอื่นๆ ที่การไฟฟ้านครหลวงเห็นชอบด้วยแล้วก็ใช้ได้



   http://www.mwtech.ac.th/~phugun/basicelec/ex8.htm
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2009, 10:50:34 AM »

ขอบคุณครับผม  Cheesy Lips Sealed
บันทึกการเข้า
wiratada
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #13 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2009, 11:03:10 PM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Jaaag
Full Member
member
**

คะแนน50
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 475


โจ ครับ...


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2009, 08:23:01 AM »

ขอบคุณคร้าบบ ดูรูปเพลินเลย อิอิ 
บันทึกการเข้า
kokoro
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« ตอบ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2009, 12:54:34 PM »

เป็นความดี อย่างยิ่ง  Wink
บันทึกการเข้า
anuning
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 569


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 08:59:33 PM »

 ขอบคุณ เยี่ยมมาก เอาแน่ขอบคุณมากครับอาจารย์ครับ ผมคอยติดตามบทความของอาจารย์อยู่เสมอครับ อ่านสนุกเข้าใจง่าย นับว่าเป็นคุณาการอนันต์ยิ่งครับ ความดีที่อาจารย์ได้ทำไว้จงดลบรรดาลให้อาจารย์ประสบแต่สิ่งที่ดีๆ และมีแรง มีพลังกาย พลังใจ พลังสติปัญญา  ping!ที่จะรังสรรค์ สิ่งเหล่านี้ต่อไปครับ   
ถามนิดนึงครับ  ปากพนังที่อาจารย์พูดถึง นี่เป็นจังหวัดไหน  เพราะจังหวัดที่ผมอยู่ก็มีอำเภอปากนังครับ อาจารย์ lv!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2009, 10:24:39 PM »

ขอบคุณครับที่ยังมีผู้อ่าน. ..จะได้มีกำลังใจเขียน  Cheesy Shocked
 อ.ปากพนัง อยู่ในจ.นครศรีธรรมราชครับ เป็นอ.บ้านเกิดของผม ซึ่งผมจากไปตั้งแต่เด็กเพราะขึ้นมาเรียนที่ก.ท.ม.แล้วใจแตกไปมีแฟนที่เชียงใหม่ดินแดนสาวงาม ..   lv!

  อ.ปากนังของท่านanuning  ..มีจริงหรือ ..ม่ายเคยได้ยินเหมือนกัน  ฉงน


 ..ไหนๆก็ไหนๆ เพิ่งไปเที่ยวปากนครมา ลมแรงมาก น้ำก็นองตลิ่ง ...ฝนตกไม่ลืมหูลืมตา ..เอารูปถ่ายที่ปากอ่าวนครฯมาฝากแควนๆครับ  HAPPY2!! Smiley
บันทึกการเข้า
anuning
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 569


อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2009, 09:26:22 AM »

อาจารย์ครับ  ผมเป็นคนอำเภอท่าศาลา  จ.นครศรีธรรมราช ครับ   ดีใจจังที่นครศรีไม่สิ้นคนดี  และเป็นเมืองปราชญ์   อาจารย์ ผมฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยนะครับ ตอนนี้ผมเปิดร้านอยู่ที่บ้านเกิด  สนใจงานทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  ครับ ปัจจุบัน ถนัดซ่อมทีวี จอคอม vcd เครื่องเสียง ครับ  แต่อยากฝึกซ่อมพวกเครื่องซักผ้า ตู้เย็น ไมโครเวฟ ระบบทำควาเย็นต่างๆ
ด้วยครับจะได้มีตังไว้ แต่งงานครับ   ping!
ส่วนอ.ปากนัง ผมพิม   พ    ตกไปครับ
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2009, 09:34:59 AM »

..อ้าว นึกว่ามีครอบครัวแล้ว
  เพราะส่วนใหญ่เพื่อนๆในเว็บนี้มีแฟน(สวยๆ)กันแทบทุกคน  Shocked Smiley

บันทึกการเข้า
anuning
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 569


อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2009, 11:02:34 AM »

ผมแค่ ยี่สิบกว่าเองครับ ยังไม่รีบ แต่ก็กำลังมองๆๆหาอยู่ครับ Roll Eyes   ยังไม่เจอเลยครับ Sad
บันทึกการเข้า
lexsa
member
*

คะแนน15
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 161


เพื่อชีวิต....ครับพี่น้อง


« ตอบ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2009, 10:42:34 PM »

ขอบคุณครับผม Cheesy Cheesy Cheesy  จาก...ฅนนาพรุ นครศรีฯ
บันทึกการเข้า

สิ่งที่ผมไม่รู้ยังมีอีกเยอะ ถ้าผิดพลาดโปรดชี้แนะ
  จากช่างมือใหม่
bancha.2518
member
*

คะแนน42
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1066


ลูกสาว ครับ


อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2009, 01:29:06 AM »

 งง กรรม บ้านที่ผมซื้อเป็นบ้านจัดซื้อ ไม่ได้จัดสรร ก็เลยไม่มี สายดิน ต้องมาต่อเอาเอง  cry2!! ระบบบำบัดน้ำเสียก็ไม่มี  cry2!!
บันทึกการเข้า
don ♥1,500
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน288
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 356


งานนี้..ลุยลูกเดียว

donrakna@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2009, 02:02:43 AM »

โห..หายตึงเครียดไปได้เยอะเลยครับพี่เล็ก  และได้อ่านเรื่องช่างซ่อมพิการของพี่เล็กแล้วหัวใจมันรู้สึกมีแรงขึ้นมาอีกเยอะเลยครับ  .... Cheesy    ได้บรรยากาศมากเลย THANK!!
บันทึกการเข้า

ตื่นๆๆๆๆ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!