น้ำมันเครื่อง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 23, 2024, 08:20:51 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำมันเครื่อง  (อ่าน 6197 ครั้ง)
santipp
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน180
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 631


« เมื่อ: เมษายน 02, 2009, 09:51:02 PM »

บทความในกระทู้นี้ ขอยกความดีให้กับคุณปู่ประสงค์ครับ
น้ำมันเครื่อง
   เมื่อเครื่องยนต์ มีความจำเป็นต้องการหล่อลื่น  เพื่อป้องกันไม่ให้ ชิ้นส่วนเสียดสีกัน  น้ำมันเครื่องจึงมีความจำเป็นต่อเครื่องยนต์ และ ก่อนที่น้ำมันเครื่อง  จะได้พัฒนามาถึงในปัจจุบัน ในประเทศไทย  การใช้น้ำมันเครื่องจะเลือกใช้   ความ ข้น ใส ให้เหมาะกับ เคลียแร้นซ์ คือ ระยะห่างของชิ้นส่วน เช่น ระหว่าง เพลาข้อเหวี่ยง กับ ชาฟอก ชาฟ ก้าน เพราะจุดนี้เป็นจุดเดียวที่เป็นการหล่อลื่น สมบูรณ์ 100%  ซึ่งต่างกับจุดที่ต้องการหล่อลื่นทั้งหมดภายในเครื่อง น้ำมันหล่อลื่น เครื่องยนต์ในปัจจุบัน ในวงการน้ำมันเครื่องจะเรียกความ ข้น ใส นี้ว่า ค่าความหนืด ( Viscosity )  หนืดมาก คือข้น  หนืดน้อย คือใส
   ในประเทศไทย เมื่อ 50 ปี ที่ผ่านมามีแต่น้ำมันเครื่อง มีค่าความข้น ใส เพียงค่าเดียว ในแต่ละเบอร์ หรือเกรดเดี่ยว ( Monograde )
มีตั้งแต่  SAE  10 – 20 – 30 – 40 – 50 – 60   SAE ( The Society of Automobile Engineers ) (สถาบัน วิศวกรรมยานยนต์ )  เป็น สถาบัน ที่กำหนดมาตรฐาน ค่าความหนืด ออกมาเป็นเบอร์ เช่น ค่าความหนืด น้อย เบอร์ 10  ค่าความหนืด มากสุดเบอร์ 50ที่ต้องมีเบอร์ เพื่อการเรียกขาน ให้รู้ว่าถ้า เบอร์ต่ำ ความหนืดน้อย คือ ใส  ถ้าเบอร์ สูงความหนืดมาก คือ ข้น แต่ส่วนมากเราจะเรียกกันว่า เบอร์  10 –เบอร์ 20  จะไม่พูดกันว่า SAE  10  SAE 20  SAE  30  เป็นต้น  
   เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย  น้ำมันเครื่อง เบอร์ 10 ในเวลานั้นใช้ผสมกับเบนซิน  ที่ใช้กับ
จักรยานยนต์  ที่ใช้เครื่องยนต์  2  จังหวะ ในอัตราส่วน  201  คือ น้ำมัน เบนซิน 20 ส่วน น้ำมันเครื่อง เบอร์ 10 * 1 ส่วน ในเวลานั้นยังไม่มี  น้ำมัน โอโต็ลูป  จึงต้องใช้น้ำมันเครื่อง เบอร์ 10 มาผสม กับน้ำมันเบนซิน เพื่อหล่อลื่น  ในเครื่องยนต์ 2 จังหวะ
          ที่มาของน้ำมันเครื่องในสมัยนั้น
   ที่มาของน้ำมันเครื่อง  ในสมัยนั้น ก่อน ปี พ.ศ.2500 ในประเทศ ไทย น้ำมันเครื่อง มีชนิดเดียว ที่ได้มาจากการสกัดน้ำมันดิบ หรือ ปิโตรเลี่ยม เป็นน้ำมันชนิดเดียวที่ใช้ในการหล่อลื่นเครื่องยนต์ ทั้ง ดีเซล และ เบนซิน เป็นน้ำมันเดี่ยวๆไม่มี สารเพิ่มคุณภาพ  (ADDITIVE )เลย ในสมัยนั้นคงยังคิด สารเพิ่มคุณภาพไม่ได้
        การเลือกใช้น้ำมันเครื่อง  เบอร์ อะไร ระยะทางการเปลี่ยนถ่าย เมื่อไร
   การสร้างเครื่อง  การฟิตเครื่อง ในสมัยนั้น ระยะ เคลียแรนซ์ หรือ ระยะ ห่าง ของชิ้นส่วนสองชิ้นเช่น เพลาข้อเหวี่ยงกับ ชาฟ อก ชาฟ ก้าน ค่อนข้างชิด  เพื่อจะให้เครื่องยนต์ใช้งานได้ยาวนาน  น้ำมันเครื่องจึงต้องใช้เบอร์ต่ำ คือ ใส เช่น เบอร์ 20 ในเครื่องของรถใหม่  เมื่อฟิตเครื่องใหม่ ( โอเวอร์ฮอล ) และจะเปลี่ยนให้ น้ำมันเครื่องข้นมากขึ้นเป็น เบอร์ 30 เมื่อรู้สึกว่าเครื่องเริ่ม,มีเสียงดัง เนื่องจากมีเสียงดังที่เกิดจาก ระยะห่างของ ชาฟ อก  ชาฟก้าน กับข้อเหวี่ยงมากขึ้น เนื่องจากการสึกของ ตะกั่ว ชาฟอก ชาฟก้าน เมื่อมีเสียงดังมากขึ้น จะเปลี่ยน  น้ำมันเครื่องให้ เบอร์ สูงมากขึ้น ข้นมากขึ้นเพื่อทดแทน ตะกั่วที่สึกไป  และจะเปลี่ยนไปตามลำดับจนถึง เบอร์ 50 หรือเบอร์ 60 เป็นอันสิ้นสุด  ถึงคราวต้องยกเครื่องออกมาฟิตใหม่  (อายุของเครื่องยนต์ในสมัยนั้น  มีอายุการใช้งาน คงไม่เกิน 200.000 ก.ม.)
   แต่ก่อนที่จะถึงต้องฟิตเครื่อง  อายุเครื่องประมาณ 7-80.000 ก.ม. เครื่องยนต์จะกินน้ำมันเครื่อง เนื่องจาก แหวนลูกสูบ  สึก อันเป็นเหตุทำให้น้ำมันเครื่อง ผ่านแหวนลูกสูบ  ขึ้นหัวลูกสูบ เมื่อเกิดการเผาไหม้  น้ำมันเครื่องที่ขึ้นบนหัวลูกสูบ  จึงถูกเผาไหม้ไปด้วย  เกิดเป็นควันขาวออกท่อไอเสีย   น้ำมันเครื่อง ขึ้นบนหัวลูกสูบมาก  ส่วนหนึ่งในเครื่องยนต์ เบนซินอาจไปเปียกหัวเทียนทำให้หัวเทียนบอด  ทำให้เครื่องยนต์ เดินไม่ครบ สี่ สูบ  เหลือการทำงานเพียงเดินสามสูบ มีศัพท์ เรียกว่า เดินไม่เต็มสูบ เครื่องยนต์  จึงมีอาการเดินเบาไม่เรียบ  เครื่องยนต์ สั่น  เร่งไม่ขึ้น เร่งไม่มีกำลัง
   เปลี่ยน แหวน บดวาล์ว แล้วยังมีอีกส่วนที่ต้องทำ คือ การปรับ ชาฟ อก  ชาฟก้าน  ที่หลวมให้ตึงขึ้น  เหมาะกับการใช้งานต่อไป
   ส่วนหนึ่งที่ต้องเก็บสิ่งสกปรก แปลกปลอม ที่ปนในน้ำมันเครื่อง  คือ
    กรองน้ำมันเครื่อง ในสมัยนั้น  จะเรียกว่า  หม้อกรองน้ำมันเครื่อง  มีหน้าที่กรอง ผงเขม่าเศษโลหะที่สึกออกมาจะเปลี่ยนแต่ไส้กรอง ซึ่งมีทั้งที่เป็น กระดาษ และ ผ้าสักหราด  กรองได้ดีบ้าง กรองไม่ได้ดีบ้าง   กรองได้ดี กรองก็จะตันเร็ว  เมื่อกรองตันน้ำมันที่จะไปหล่อลื่นก็น้อยลง ทำให้ชิ้นส่วนสึก  ถ้ากรองไม่ได้ดี ผงเขม่า เศษโลหะ หลุดเข้าไปในระบบหล่อลื่น  ไปทำให้ ชาฟที่ทำมาจากตะกั่วเสียหายก่อนกำหนด เช่น ชาฟ ละลาย
       แต่เครื่องยนต์ในสมัยนี้  หมดอายุการใช้งานคงจะริมๆ ล้าน ก.ม.แต่ เมื่อใช้งานไปได้ ประมาณ 300.000 ก.ม.อาจจะ 30.000 ก.ม.เครื่องยนต์จะเกิดการกินน้ำมันเครื่อง
อันเป็นเรื่องธรรมดา  ที่แหวนลูกสูบ  เคลื่อนที่ขึ้นลง กวาด ถู เสียดสี  กับกระบอกสูบ  การหล่อลื่นตรงจุดนี้เป็นแบบ  ไม่สมบูรณ์  ในเครื่องยนต์ เบนซิน  อาศัยข้อเหวี่ยงหมุน เหวี่ยงสลัดน้ำมันไปหล่อลื่นกระบอกสูบ  ในเครื่องยนต์ ดีเซล  จะมีหัวฉีด  ฉีดน้ำมันเครื่อง หล่อลื่นกระบอกสูบ  เมื่อแหวนลูกสูบสึกหมดอายุการใช้งาน จึงเกิดการกินน้ำมันเครื่อง  เออทำไม ?เครื่องยนต์ในสมัยนี้ จึงสึกแต่แหวนลูกสูบ ทำไม กระบอกสูบจึงไม่สึก  วิศวกร คงคิดว่า  ชิ้นส่วนสองชิ้น เสียดสี ถูกัน  ชิ้นส่วนชิ้นที่ใหญ่ เปลี่ยนยากราคาแพงจะต้องให้มีความแข็งแรงทนทาน มากกว่า ชิ้นส่วนที่เล็กกว่า เปลี่ยนง่ายกว่า ราคาถูกกว่า แหวนลูกสูบจึงเป็นชิ้นส่วนที่สึกและหมดอายุก่อน  จึงต้องเปลี่ยน
        เมื่อเครื่องยนต์กินน้ำมันเครื่อง  ในสมัยก่อนจะทำเพียง เปลี่ยน แหวน บดวาล์ว ปรับแต่ง ชาฟ อก ชาฟ ก้าน  แต่ทำยากกว่าสมัยนี้ มาก เพราะกระบอกสูบ จะสึกพร้อมกับแหวน  กระบอกสูบสึกจนเป็นบ่า ส่วนบนที่ แหวนลูกสูบขึ้นไม่ถึง  จึงไม่สึก  ต้องขูดขัดส่วนที่ไม่สึกนี้จนเท่ากับส่วนที่สึกไป  ถ้าไม่ขูดจะใส่แหวนที่ขนาดโตกว่าไม่ได้ แหวนลูกสูบ ต้องใช้แหวนลูกสูบ ( Oversize ) โอเวอร์ไซร์ มาปรับแต่งปากแหวน ให้พอดีกับกระบอกสูบ ที่สึกไป โดยไม่ต้องคำนึงถึงความกลมของกระบอกสูบ  เพราะเมื่อใช้งานไป  กระบอกสูบ กับ แหวนลูกสูบ จะถูเสียดสีกันจนเข้ารูปไปเอง
       สาเหตุที่ต้องบดวาล์ว เครื่องยนต์เมื่อใช้งานไปจนถึงเวลาต้องเปลี่ยนแหวน  ต้องเปิดฝาสูบ ไหน ๆ ถอดฝาสูบออกมาแล้ว ก็ทำชุดวาล์วเสียเลย บ่าวาล์ว ปากวาล์ว ก็มีการสึกจนเป็นบ่า วาล์วจึงปิดไม่สนิท เป็นเหตุให้กำลังอัดรั่วไหล ส่วนที่ทำงานร่วม กับวาล์ว คือ ไกด์วาล์ว ก็สึกไปด้วย ไกด์วาล์วสึกจะเป็นเหตุให้น้ำมันเครื่องลงทางไกด์วาล์ว (ในยุคนั้นยางตีนวาล์วยังไม่มี ) เข้าไปในห้องเผาไหม้ ชุดฝาสูบนี้ต้องส่งไป โรงกลึง เปลี่ยนไกด์วาล์ว เจียร บ่าวาล์ว เจียร วาล์ว กลับมาต้องเอามาบดวาล์ว เพราะเครื่องมือ เจียรบ่าวาล์ว เจียร วาล์ว ยังไม่ดีพอ เอียงบ้าง เบี้ยวบ้าง ตามอัธยาศัย  จึงต้องกลับมานั่งบดวาล์ว คือการเอากากเพชร  แต้มจุดที่หน้าวาล์ว สัมผัศกับบ่าวาล์วเพื่อปรับหน้าสัมผัส  บ่าวาล์ว วาล์ว ให้ปิดสนิท ไม่เกิดการรั่วไหล ของกำลังอัด   อันเป็นเหตุทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ  และ อายุการใช้งานของ วาล์ว จะใช้งานได้สั้นลง                                                                                                                                                                   สมัยนี้เมื่อเครื่องยนต์ กินน้ำมันเครื่อง เนื่องจากแหวนลูกสูบหมดอายุ                      ก็คงจะเป็นเช่นเดียวกัน คือ เปลี่ยนแหวน บดวาล์ว แต่ในสมัยนี้เปลี่ยนแหวน ใช้ขนาด มาตรฐาน (Standard ) เดิม เพราะกระบอกสูบไม่สึก ไม่มีบ่า  รอยหินขัด กระบอกสูบยังพอมองเห็น  แสดงว่ากระบอกสูบยังไม่สึก  ส่ง ฝาสูบ ชุดวาล์ว ไปโรงกลึง เมื่อเอากลับมาล้างประกอบได้เลย เดียวนี้มียางตีนวาล์ว หรือ ซีลแกนวาล์ว วาล์วที่ใช้ชิม เป็นตัวปรับตั้งระยะห่าง โรงกลึงจะปรับแต่งมาให้เรียบร้อยเลย
   ลักษณะการทำงานของ แหวนลูกสูบ  เครื่องยนต์ เบนซิน 1 สูบ มีแหวนลูกสูบ3ตัว  แต่ละตัวทำหน้าที่ต่างกัน  ตัวบนสุดตัวที่ 1 เป็นแหวนกำลังอัด  มีหน้าที่  สร้างกำลังอัด  ป้องกันกำลังอัดรั่วผ่าน  แหวนตัวที่ 2 เป็นแหวนกวาดน้ำมัน  มีหน้าที่  กวาดน้ำมันเครื่องจากกระบอกสูบ  ส่วนบนให้ลงส่วนล่าง  แหวนตัวที่ 3 แหวนน้ำมัน  ตรงกลางตัวแหวน จะเป็นร่อง  มีหน้าที่ ให้น้ำมันเครื่อง ผ่านร่องแหวนไปหล่อลื่น กระบอกสูบ
   ขนาดของแหวนลูกสูบ โตเท่ากับกระบอกสูบ   มีปากแหวน  ปากแหวน  คือ วงกลมที่ส่วนหนึ่งขาดจากกัน  ตรงนี้จะเรียกว่า ปากแหวน  เมื่อวงกลมขาด จึงทำให้แหวนขยายตัวเป็น สปริงให้โตขึ้นกว่ากระบอกสูบได้  เวลาประกอบลูกสูบพร้อมแหวนใส่เข้ากระบอกสูบ  ต้องใช้เครื่องมือรัดแหวน เพราะแหวนที่ขยายตัวโตกว่ากระบอกสูบ เพื่อให้แหวนหดตัวเท่ากับ กระบอกสูบ  เมื่อแหวนอยู่ในกระบอกสูบ  จึงมีแรงสปริงเบ่งให้ แหวนเบียดชิด กับกระบอกสูบ เพื่อไม่ให้กำลังรั่ว  ถ้าจะเปรียบเทียบให้มองเห็น แหวนลูกสูบถูกับกระบอกสูบ  จะดูให้ใกล้เคียงคงเหมือนกระจกบังลมหน้า  เมื่อฝนตกต้องเปิดปัดน้ำฝน  ใบปัดน้ำฝนจะกวาดน้ำที่เกาะติดกระจก  ให้น้ำที่เกาะติดกระจกนั้นหมดไป   ใบปัดน้ำฝนที่ใหม่ยางใบปัดยังนิ่ม เรียบ  สปริงดึงให้ใบปัดให้แนบแน่นกับกระจก  แน่นอนฝนตกน้ำฝนจะเกาะติดกระจกบังลม จะถูกใบปัดกวาดน้ำจนเกลี่ยง  แต่เมื่อใช้งานไปนานๆ ใบปัดน้ำฝน แข้งใบไม่เรียบ  สปริง อ่อนตัวลง  การกวาดน้ำที่เกาะติดกระจกก็จะไม่เกลี้ยง มีน้ำฝนบางส่วนจะค้างเกาะติดอยู่กับกระจกก็คงเช่นเดียวกัน  ถ้าแหวนลูกสูบ  เสียหายจากการใช้งาน  แหวนลูกสูบ ตัวเดียวจริงๆที่เกิดความเสียหาย  คือ แหวนน้ำมัน  เมื่อแหวนน้ำมันสึกหมดแรงสปริง ทำให้น้ำมันเครื่อง  ขึ้นหัวสูบ   ถูกเผาไหม้เป็นควันขาวออกท่อไอเสีย  ทำให้น้ำมันเครื่องขาดหาย  ที่เรียกว่ากินน้ำมันเครื่อง  แต่มีเจ้าของรถส่วนมากจะบอกว่า รถผมยังมีแรง วิ่งความเร็วได้เป็น 100 จะว่าแหวน สึกได้อย่างไร  ถูกต้อง ครับ  การที่เครื่องยนต์ กินน้ำมันเครื่อง  เนื่องจาก แหวน ตัวที่ 3แหวนน้ำมัน หมดอายุ แต่แหวน ตัวที่ 1 ซึ่งเป็นแหวน  กำลังอัด  ยังมีแรงสปริง และ ในร่องแหวน และผนังกระบอกสูบ ที่ได้น้ำมันเครื่องที่มากกว่าปกติ  ทำให้ป้องกันกำลังอัดรั่ว ได้ดี  มากขึ้น เครื่องยนต์ จึงยังมีกำลัง ทำความเร็วได้เป็น 100
      แต่เพื่อนช่างที่หากินทางซ่อมรถ ส่วนหนึ่ง พอมีรถที่กินน้ำมันเครื่องเข้ามา  พูดได้คำเดียวว่า เครื่องหลวม  อยากถามว่า มันหลวมตรงไหน ว๊ะ
   ความเป็นจริง  ถ้าพูดถึงเครื่องหลวมมันก็เป็น สัจธรรม  ย่อมเป็นไปตามกาลเวลา (ที่ใช้งาน)  แต่ในเครื่องยนต์ สิ่งที่หลวม  จะมีเสียง  มีอาการ   แหวนหลวม ไม่มีเสียง แต่มีอาการ คือการกินน้ำมันเครื่อง  ควันขาว โดยปกติต้องเกี่ยวกับระยะทางที่ใช้งาน อีกหนึ่ง ระยะห่างระหว่าง ชาฟ กับ ข้อเหวี่ยง  ห่างเกินพิกัด  เกิดจากหน้า ชาฟ สึก  ข้อเหวี่ยง สึก จะมีเสียงดังผิดปกติ  ครกๆ โครกๆ  ในเวลาเครื่องยนต์เดินเบาจะได้ยินชัดมาก  จะมีแต่เสียงไม่มีอาการ  เมื่อมีเสียงดังและ พิสูจน์ได้ว่าเสียงดังนั้นเกิดจาก ชาฟ แน่นอน ถ้าจะทำก็ต้องยกเครื่อง ที่ต้องฟิต เครื่อง โอเวอร์ฮอล เครื่องก็อยู่ตรงนี้ ถ้ามีอาการสองอย่างรวมกันจึงจะเรียกว่า เครื่อง หลวม  ในสมัยนี้กว่าจะได้มีอาการ เครื่องหลวม อายุการใช้งานคงจะเกิน  6-7 แสน ก.ม.ไปแล้ว
ในสมัยก่อน ในประเทศไทยการเปลี่ยนถ่าย น้ำมันเครื่อง เปลี่ยนถ่ายตามระยะทาง 3.000 – 5.000  ก.ม. ไม่มีการเปลี่ยนถ่ายตาม ฤดู กาล เช่นใน ยุโรป  อเมริกา แถม ญี่ปุ่น จีน เมื่อถึง ฤดู หนาว อุณหภูมิต่ำติดลบ  ต้องเปลี่ยนให้น้ำมันเครื่องค่า ความหนืดต่ำ พอหมด ฤดู หนาว อุณหภูมิ สูงกว่า 0C  ก็ต้องเปลี่ยนให้น้ำมันเครื่องมีความ หนืดสูงขึ้น  นี่เป็นความยุ่งยาก และเป็นการสิ้นเปลือง
   ประมาณ ปี พ.ศ.2504  ในประเทศไทย ได้มีน้ำมันเครื่อง เข้ามาเป็น      ประเภทเกรดรวม ( Multigrade )  คือ น้ำมันหล่อลื่น  ที่มีค่าความหนืด 2 ค่า ในตัวเดียวกัน  เช่น 10 W 30  หรือ 10 W40 จะมีการบอกถึง สรรพคุณ ว่า ปรับความข้น ใส ไปตาม อุณหภูมิ  ในเวลานั้นมีความเข้าใจว่า  จะปรับความ ข้น ใส ไปตาม อุณหภูมิของเครื่องยนต์  อันเป็นการเข้าใจที่ผิด  และความเข้าใจผิดนี้ก็ได้ยืนยาวมาจนถึงในปัจจุบันนี้   ในช่างและเถ้าแก่บางคน  ซึ่งความจริงน้ำมันจะปรับความข้น ใส ที่ถูกต้องไปตาม อุณหภูมิ อากาศ ที่ต่ำจนถึงลบ เช่น 0W –30C ถึง-35C   20W -5C ถึง -10C
   การทดสอบ  ค่าความหนืด  น้ำมันตัวเดียวที่มี สองค่าความหนืด
   ค่าความหนืดตัวหน้า  0W-5W-10W-15W-20W-25W   Wที่ตามหลังตัวเลข หมายถึง Winter  ฤดู หนาว ของฝรั่งไมใช่ฤดูหนาวของไทย การทดสอบค่าความหนืด จะทดสอบที่อุณหภูมิ ติดลบตั้งแต่ –0C ลงไป ถึง  20C 30C
   เกรดเดี่ยว  เลขที่ตัวหลัง W การทดสอบ ค่าความหนืด  จะทดสอบที่ อุณหภูมิ สูงสุดถึง อุณหภูมิ  100C ค่าความหนืดเริ่มตั้งแต่ เบอร์20 –30 –40 -50 
   เมื่อทดสอบก็จะบอกถึง ว่าเมื่อ อุณหภูมิ 100C ความหนืด ข้นใสประจำตัวจะอยู่ที่เท่าไร  มาตรฐานที่ SAE ใช้ เป็น เซ็นติสโตก (cSt ) และ เซ็นติพอยซ์  ( cP )
                  ค่าความหนืด cSt  จาก OMEGA
   เบอร์                   40C                           100C
SAE 5-10          15                                   3.2
SAE 10-10W                 34                                  5.4
SAE 20-20W                 70                                  8.6
SAE 20W-40               115                                14.5
SAE 30                          93                                10.6
SAE 40                        150                                14
SAE 50                        235                                19
   ดูจากตารางนี้  ตัวเลขค่าความหนืดที่ 40C  คือ เริ่มติดเครื่อง  และตัวเลขค่าความหนืดที่ 100C  เป็นตัวเลขค่าความหนืดที่เครื่องยนต์ใช้งาน

   น้ำมันเครื่อง เกรดรวม  เมื่อ  อุณหภูมิ ต่ำ ติดลบ – น้ำมันเครื่องจะปรับตัวให้เป็นค่าความหนืด ของเลขตัวหน้า ที่มี W ตามหลัง  ซึ่งมีความหนืดต่ำไม่ข้นจนเป็นไข ประโยชน์เมื่ออุณหภูมิ ต่ำติดลบ ทำให้เวลา สตาร์ทเครื่องยนต์ เครื่องยนต์หมุนได้เป็นปกติ  เพราะไม่ถูกเหนียวรั้งด้วยความหนืดของเลขตัวหลังที่เป็นตัวเลขหลัก  ที่ถูกต้องตรงกับความต้องการของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ ทำงาน อุณหภูมิ เครื่องยนต์ จะค่อยๆสูงขึ้น แม้ อุณหภูมิ อากาศจะต่ำติดลบ  แต่เมื่ออุณหภูมิ เครื่องยนต์ เริ่มสูงขึ้น  น้ำมันเครื่องจะปรับตัวใช้ค่าความหนืด ของเลขตัวหลังที่ค่าความหนืดสูงกว่า และค่าความหนืดจะลดลงเมื่อ อุณหภูมิ  เครื่องยนต์ สูงขึ้น ถึงระดับการทำงานปกติของ เครื่องยนต์  ประมาณ 90C
เลขตัวหน้าที่มี W ตามหลัง มีความสำคัญในอุณหภูมิต่ำติด ลบ (อุณหภูมิ นี้หมายถึงอุณหภูมิ อากาศ )ไม่ได้หมายรวมถึง ประเทศ ที่ไม่เคยมี  อุณหภูมิ ต่ำ ถึง 0C เช่น ประเทศ ไทย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะใช้น้ำมันเครื่อง เกรดรวม  แต่จะใช้น้ำมันเครื่อง เกรดรวม กันก็ห้ามไม่ได้  แต่ควรจะเลือกใช้จะบอกให้รู้ว่า  0W .ใสมากที่สุดในกลุ่ม ข้นที่สุดในกลุ่ม 20W  เหตุผลเมื่อเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ อุณหภูมิ อากาศ อุณหภูมิเครื่องยนต์ 30C  ชิ้นส่วนที่เป็นโลหะยังไม่มีความร้อน ที่มาทำให้เกิดการขยายตัวของชิ้นส่วนที่เป็น โลหะ  ชิ้นส่วนสองชิ้นที่ทำงานร่วมกัน จึงมีเคลียแร้นซ์ ระยะห่างมาก  น้ำมันเครื่องที่ใสไม่พอดีกับระยะห่าง  การรองรับการเสียดสีจึงไม่พอดี ความเสียหายที่ใครก็บอกไม่ได้ ว่าจะเกิดความเสียมากหรือน้อย  แต่ถ้าใช้ให้พอเหมาะพอดีจะไม่ดีกว่าหรือ
น้ำมันเครื่อง จะปรับตัวไปตามอุณหภูมิของเครื่องยนต์  อันเป็นธรรมดาเมื่อเครื่องยนต์  เริ่มทำงาน น้ำมันเครื่อง มีความหนืดหนึ่ง แล้ว ค่าความหนืด จะค่อยๆลดลง สวนทางกับ อุณหภูมิ ของเครื่องยนต์ ที่สูงขึ้น จนถึง อุณหภูมิ การทำงานของเครื่องยนต์ อุณหภูมิ ประมาณ 90C   และในปัจจุบันยังมีความเข้าใจว่า เมื่อสตาร์ท เครื่องยนต์ครั้งแรก น้ำมันเครื่อง เกรดรวม จะเข้าไปทำการหล่อลื่นชิ้นส่วนได้อย่างรวดเร็ว  เพราะยังมีความเชื่ออยู่ว่า เมื่อจอดรถค้างคืน น้ำมันเครื่องที่อยู่ส่วนบนของเครื่อง ไหลจากที่สูงลงต่ำ จะไหลกลับลงอ่างน้ำมันเครื่องจนหมด จริงน้ำมันเครื่องจะไหลลงอ่างน้ำมันเครื่อง  แต่เฉพาะในส่วนที่อยู่นอกท่อทางเดินของน้ำมันเครื่อง   เมื่อสตาร์ท เครื่องยนต์หมุน ปั๊มน้ำมันเครื่อง ทำงานน้ำมันเครื่อง ที่อยู่ในท่อทางที่ไม่ได้ไหลกลับ จะถูกดันขึ้นไปเลี้ยงชิ้นส่วนทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว  นี่คือความเป็นจริง
     มีความเข้าใจว่าเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งแรก  กลัวว่าน้ำมันเครื่อง ข้นจะขึ้นไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆได้ช้า ทำให้ชิ้นส่วนเกิดการสึกหลอ นี่เป็นการเข้าใจของคนที่ไม่รู้จักชิ้นส่วนของเครื่องยนต์   เมื่อเครื่องยนต์หมุน ปั๊มน้ำมันเครื่องทำงานสร้างแรงดันเข้าท่อทาง  เข้ากรองน้ำมันเครื่อง  ผ่านวาล์วกันกลับ ผ่านไส้กรองเพื่อกรองสิ่งสกปรก เข้าท่อทาง เพื่อไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆทั่วทั้งเครื่อง  แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดแรงดันจะอัดเข้า  ชาฟอก หรือ เมนแบริ่ง เมื่อเพลาข้อเหวี่ยงหมุนจะลอยตัวอยู่บนน้ำมัน ส่วนหนึ่งของแรงดัน จะเข้าท่อทางของเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อหล่อลื่น ชาฟ ก้าน   กรองน้ำมันเครื่องในปัจจุบันนี้  เป็นแบบสำเร็จรูปมีทั้งกระดาษกรอง มีทั้งวาล์วกันกลับ ที่อยู่ในกรองน้ำมันเครื่องหมายความว่า วาล์ว ชิ้นนี้เป็นยาง เมื่อน้ำมันผ่านเข้าทางรูเล็กๆ ผ่านเข้าไปได้แต่จะไหลกลับไม่ได้ ผ่านกระดาษกรองออกทางรูใหญ่ที่ตรงกลาง  อัดเข้าท่อทางต่อไป น้ำมันเครื่องที่อยู่ส่วนบน  ถึงแม้จะจอดรถ 10 วัน 10คืน น้ำมันเครื่องที่อยู่ในท่อทาง ส่วนบนจะไม่ไหลกลับลงมาในอ่างน้ำมันเครื่องทั้งหมด   น้ำมันจะค้างอยู่ในส่วนที่เป็นท่อทางแต่มีข้อแม้ว่าจะต้องใช้กรองน้ำมันเครื่องของแท้เท่านั้น
ความแตกต่างของแรงดันน้ำมันเครื่อง ระหว่าง น้ำมันเครื่องที่ข้น กับ น้ำมันเครื่องที่ใส ปั๊มน้ำมันเครื่องจะทำแรงดัน น้ำมันเครื่องที่ข้น ได้มากกว่า  น้ำมันเครื่องที่ใส  ยกตัวอย่าง เมื่อติดเครื่องครั้งแรกในรอบเดินเบาน้ำมันเครื่องยังข้น แรงดันจะสูง แต่พอเครื่องร้อนน้ำมันเครื่องใสขึ้นแรงดันจะต่ำลง
      กรองน้ำมันเครื่องแท้เท่านั้น  ที่มีประสิทธิภาพกักเก็บน้ำมันเครื่องไม่ให้ไหลกลับลงอ่างน้ำมัรเครื่อง ได้ 100%  ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ในเครื่องยนต์สมัยนี้ทำงานเบากว่าเครื่องยนต์ ในสมัยก่อน เพราะชิ้นส่วนที่เสียดสีกันเกือบไม่มีการสึกหลอ จึงไม่มีเศษที่สึกหลอมาติดที่ไส้กรอง   และใน น้ำมันเครื่อง ยังมีสาร ชะล้างเขม่า  สาร ละลาย-ย่อยเขม่า  สารเหล่านี้ช่วยให้ไส้กรองทำงานน้อยลง
   เมื่อเกรดรวม เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ประมาณ ปี พ.ศ. 2504 จะมีความเข้าใจว่าจะปรับความข้นใสไปตาม อุณหภูมิ เครื่องยนต์   FIAT 1500 ใช้น้ำมันเครื่องเกรดรวม แล้วมีความเสียหายกับเครื่องยนต์ จน บ.กรรณสูต สั่งห้ามใช้ และก็ยังมีความเข้าใจอย่างนี้ ในน้ำมันเกรดรวมในบางคนจนถึงในปัจจุบันนี้  แถมในเวลานี้ยังคิดว่าจะให้ประโยชน์ ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งแรก น้ำมันเครื่อง เบอร์ที่อยู่ตัวหน้าจะถูกปั๊ม ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว  เพราะเป็นน้ำมันเครื่องที่ ใสกว่า
   เขต ภูมิประเทศ เป็นตัวบ่งชี้การใช้ น้ำมันเครื่อง
   1. เขตภูมิประเทศที่มีอากาศร้อน  มีอุณหภูมิ สูง  ค่าความหนืด  จะเริ่มจาก 20 ถึง 60 การทดสอบ  ค่าความหนืดจะทดสอบที่ อุณหภูมิ 100C จะบอกถึงค่าความหนืดที่น้อยลงของแต่ละเบอร์  หมายความว่า 100Cเป็นองศา ที่น้ำในระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์  ฮีท น้ำเดือด  การทำงานปกติของเครื่องยนต์ อุณหภูมิ  ต่ำกว่า 100C
ค่าความหนืด จึงพอดีกับการใช้งานของเครื่องยนต์
   2. เขตภูมิประเทศ  ที่มีอากาศหนาว อุณหภูมิ ต่ำ -  ค่าความหนืดจะเริ่มตั้งแต่
0W ถึง 25W  อักษรภาษาอังกฤษ  W ที่ตามหลังตัวเลข หมายถึง Winter  การทดสอบค่าความหนืดจะทดสอบที่ อุณหภูมิต่ำติดลบ ตั้งแต่ - 0C ไป  --5 –10 – 15- 20 – 25 –30  หมายความว่าแต่ละเบอร์  จะใช้ได้ในอุณหภูมิติดลบที่ต่างกัน  เช่น  0w -30C  25W - 5C  เป็นต้น
   ต่อมามีน้ำมันเครื่องชนิดใหม่เข้ามาจะเป็นปีไหนจำไม่ได้  จะเรียกกันว่า น้ำมันสังเคราะห์  Synthetic  เมื่อมีข้อสงสัยว่าน้ำมัน สังเคราะห์  เข้ามาเมื่อใด   จึงต้องเป็นภาระของ คุณธเนศ  ที่มาแก้ข้อสงสัยให้  บอกว่าน้ำมัน สังเคราะห์ นี้เข้ามาในประมาณปี   บอกแล้วเราก็ไม่ได้จำๆได้แต่ว่า  น้ำมันสังเคราะห์ นี้เกิดขึ้นครั้งแรกเพื่อใช้กับ  เครื่องไอพ่น  ที่หมุนรอบเกิน หมื่น รอบต่อนาที  ฟังแล้วก็พอมองออกว่า  น้ำมันสังเคราะห์นี้เกิดขึ้นเพื่อรับกับการที่เครื่องหมุนเป็น หมื่นๆรอบ  และบ.ตราดาว ที่นำน้ำมันสังเคราะห์ เข้ามาจำหน่ายเป็นน้ำมันเครื่องรถยนต์
   เมื่อรู้ที่เกิดที่มาของน้ำมันเครื่อง สังเคราะห์ แล้ว ก็น่าจะต้องรู้ที่เกิดที่มาของน้ำมันเครื่อง  ที่ใช้ใส่เพื่อให้การหล่อลื่นเครื่องยนต์
   ส่วนประกอบของน้ำมันเครื่อง
   น้ำมันพื้นฐาน+สารเพิ่มคุณภาพ=น้ำมันเครื่องสำเร็จรูป
   น้ำมันพื้นฐาน  ที่สกัดจากน้ำมันดิบ หรือ ปิโตรเลี่ยม น้ำมันพื้นฐาน ประเภทนี้มีอยู่หลลายชนิด  แต่ส่วนมากจะนิยมใช้น้ำมันดิบจาก ฐาน พาราฟินิก ซึ่งมีคุณสมบัติที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำมันเครื่องมากที่สุด  เนื่องจากมีคุณสมบัติให้การหล่อลื่นเพียงพอในการปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์  มิให้เกิดการ ชำรุด เสียหาย  แม้เครื่องยนต์จะทำงานในที่มี อุณหภูมิสูง หรือ ต่ำ ก็ตาม
   น้ำมันพื้นฐาน สังเคราะห์ (Synthetic Base oil) น้ำมันพื้นฐานประเภทนี้  นิยมใช้ผลิตเป็นน้ำมันหล่อลื่นในงานพิเศษ  ผลิตขึ้นจากการสังเคราะห์ ด้วยขบวนการทางเคมี ทำให้มีคุณสมบัติในการหล่อลื่น และการปกป้องเครื่องยนต์เหนือกว่า  น้ำมันพื้นฐาน ที่สกัดจากน้ำมันดิบ  น้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์  ยังมีอีก 4 ชนิด แต่จะยกตัวอย่างเพียงชนิดเดียว
   น้ำมันพื้นฐานจาก โพลิอัลฟ่าโอลิฟิน ( Polyalphaolefins ) คือ ชนิดที่นิยมมากที่สุดในการนำมาผลิตเป็นน้ำมันเครื่อง  เนื่องจากมีคุณสมบัติ พิเศษ มีค่าดัชนีความหนืดสูง  มีจุดไหลเทต่ำ   มีการระเหยตัวต่ำ  มีคุณสมบัติป้องกัน  การแปรสภาพของน้ำมันกลายเป็นยางเหนียว หรือ มีความข้นมากขึ้น
   จะเห็นที่มาของน้ำมันพื้นฐาน เห็นคุณสมบัติ ที่แตกต่างกัน  เหนือกว่ากัน  แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้เป็นน้ำมันเครื่อง  จะเป็นน้ำมันเครื่องได้ก็ต้อง+ด้วย สารเพิ่มคุณภาพ
ปรุงแต่ง  น้ำมันพื้นฐานที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ผ่านการทดสอบด้วยมาตรฐานเดียวกัน  จึงจะเป็นน้ำมันเครื่อง สำเร็จรูป ที่มีAPI เดียวกัน คือ
SJ หรือ SL มาตรฐานการปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ และอายุการใช้งานก็ต้องเท่ากัน
   สารเพิ่มคุณภาพ ( Additive )
   น้ำมันพื้นฐาน  ใช้งานจริงคุณสมบัติในตัวเอง  อาจไม่เพียงพอในการใช้งานสารเคมีเพิ่มคุณภาพจึงมีความจำเป็น  ผสมลงไปในน้ำมันพื้นฐาน ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน  เพื่อให้ได้คุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น  เหนือกว่าน้ำมันพื้นฐานธรรมดา
   ใส่สารเพิ่มคุณภาพเพื่อ
   1 เพื่อปรับค่าความหนืด ตามอุณหภุมิทำงานที่แตกต่างกัน
   2 เพื่อให้มีคุณสมบัติหล่อลื่น สมบูรณ์ตลอดอายุการใช้งาน ของน้ำมันเครื่อง
   3 เพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น 
   4 เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษเหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภทเครื่องยนต์
   5 เพื่อลดการสึกหลอ
   6 เพื่อให้เครื่องยนต์มีสมรรถนะในการทำงานสูงขึ้น
   ชนิดของสารเพิ่มคุณภาพ และหน้าที่
   1 สารชะล้างเขม่า  ทำหน้าที่ ชะล้างคราบตะกอนเขม่าออกจากชิ้นส่วนของเครื่องยนต์
   2 สารย่อย สลาย สิ่งสกปรก ทำหน้าที่  ย่อย สลาย  คราบตะกอน เขม่า ที่ถูกชะล้าง ออกมา จากสารชะล้างให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อป้องกับไม่ให้กรองน้ำมันเครื่องอุดตัน  แขวนลอย  เพื่อรอการเปลี่ยนถ่ายต่อไป
   3 สารปรับปรุงค่าดัชนีความหนืด  ทำหน้าที่  ช่วยรักษาค่าความหนืด ของน้ำมันให้คงที่  ถึงแม้ว่า อุณหภูมิ  การทำงานของเครื่องยนต์จะเปลี่ยนแปลงไป
    4 สารป้องกันการสึกหรอ  ทำหน้าที่  ช่วยลดการสึกหรอของชิ้นส่วน และ ช่วยป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วน เสียดสีกันแล้วโลหะละลายติดกัน  ในบางครั้งที่ขาดน้ำมันหล่อลื่นชั่วขณะ
   5 สารป้องกันการเกิดปฏิกิริยา กับ อ็อกซิเจน ทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้น้ำมันแปรสภาพ เป็นยางเหนียว  น้ำมันกลายสภาพเป็นโคลน  เมื่อเครื่องยนต์ ร้อนจัด ทำงานใน อุณหภูมิ สูงมากเป็นเวลานานๆ
   6 สารป้องกันการเกิดฟอง  ทำหน้าที่  ป้องกันไม่ให้เกิดฟองอากาศในน้ำมัน
ในขณะเครื่องยนต์ทำงาน
   7 สารป้องกันสนิม  ทำหน้าที่ ป้องกันสนิมไม่ให้เกิดขึ้นบนผิวหน้าของชิ้นส่วนที่ทำด้วยเหล็ก  เมื่อเครื่องยนต์หยุดทำงานเป็นเวลานานๆ
   8 สารป้องกันการกัดกร่อนจากกรด ทำหน้าที่  ป้องกันการกัดกร่อนของกรดกำมะถัน  ที่เกิดจากการเผาไหม้  ของกำมะถันที่มีอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง
   9 สารรับแรงกดอัด และแรงกระแทก  ทำหน้าที่  เพิ่มความแข็งแรงให้ฟิล์มน้ำมัน ให้สามารถรับภาระน้ำหนัก แรงกระแทกได้มากขึ้น  ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่เปียดเสียดสีกันอย่างรุนแรง  ฟิล์มน้ำมันไม่แตกตัวได้ง่าย  เช่นการทำงานของ เกียร์ และเฟืองท้าย
   10 สารลดจุดไหลเทของน้ำมัน  ทำหน้าที่  เป็นตัวทำให้น้ำมันมีจุดไหลเทที่ อุณหภูมิต่ำลงไปกว่าเดิมอีก หรือ ทำให้น้ำมันสามารถใช้กับ ภูมิประเทศที่มี อุณหภูมิ ต่ำ มาก ไม่ทำให้น้ำมันข้น แข็งตัว แม้จะมี อุณหภูมิต่ำ ติดลบ นานๆ
   11 สารลดแรงเสียดทาน  ทำหน้าที่  ช่วยลดแรงเสียดทานของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่เสียดสีกัน   โดยการเปลี่ยนแปลงค่าสัมประสิทธิ์ความฝืดของผิวชิ้นส่วนที่สัมผัสกับ
น้ำมัน
   12 สารช่วยให้เกาะติดชิ้นส่วนได้ดี  ทำหน้าที่  เพิ่มคุณสมบัติการยึดเกาะของฟิล์มน้ำมัน กับชิ้นส่วนไม่ให้หลุดลอกออกได้ง่าย เมื่อถูกเสียดสี เช่น  การหล่อลื่นในเกียร์  ในเฟืองท้าย ซึ่งต้องอาศัย การเกาะยึดกับเฟือง  ขณะที่เฟืองหมุน
 
   



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!