การเลี้ยงกุ้งกุลาดำปลอดสารพิษ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 25, 2024, 01:21:44 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเลี้ยงกุ้งกุลาดำปลอดสารพิษ  (อ่าน 5706 ครั้ง)
yongyut
วีไอพี
member
***

คะแนน12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 268


ความลับไม่มีในโลก

baison_yut@hotmail.com
อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 17, 2007, 10:53:17 AM »

                                                                            การเลี้ยงกุ้งกุลาดำปลอดสารพิษ 

 
  ธุรกิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนในหลายสาขาอาชีพ เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศถดถอยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ทำให้ธุรกิจหลาย ๆ ด้านต่างประสบปัญหาการขาดทุน แต่ในทางตรงกันข้ามกุ้งกุลาดำเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดเดียวที่ได้รับความสนใจเนื่องจากเป็นอาชีพที่ยังสามารถทำกำไรและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบ
 
กิจการสูงมากโดยเฉพาะในขณะนี้พืชผลการเกษตรอื่น ๆ ต่างประสบปัญหาราคาตกต่ำอย่างรุนแรงในขณะที่ กุ้งกุลาดำราคากลับสูงขึ้นมากเนื่องผลผลิตจากประเทศอื่น ๆ ลดลง เกษตรกรบางรายอาจมีปัญหาเลี้ยงแล้วเกิดการขาดทุนเนื่องจากการดูแลจัดการฟาร์มกุ้งไม่ดีเท่าที่ควร การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การใช้ยา การใช้ปูน เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกษตรกรควรหันมาศึกษาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบปลอดสารพิษอย่างจริงจัง และในอนาคตคาดว่าการแข่งขันน่าจะเข้มข้นสูงถ้ารัฐบาลของแต่ละประเทศที่เลี้ยงกุ้งทะเลต่างสนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งอย่างจริงจังเมื่อผลผลิตในแต่ละประเทศออกมามากจะมีผลต่อราคากุ้งอย่างแน่นอน ประเทศใดมีต้นทุนในการผลิตสูงจะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า ในปัจจุบันนี้แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกกุ้งทะเลแช่เยือกแข็งมากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ติดต่อกันมานานหลายปีแต่ในช่วงหลัง ๆ มาการส่งออกกุ้งกุลาดำของไทยเริ่มซบเซา ตลาดต่างประเทศไม่ยอมรับกุ้งของไทย เพราะว่ามีสารพิษตกค้างในปริมาณที่เกินกำหนด
การแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่รัฐบาลควรจะช่วยส่งเสริม

          1. ลดต้นทุนในการผลิต โดยใช้ความรู้และวิชาการต่าง ๆ มาพัฒนาการเลี้ยงให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ ในอนาคต ลดการใช้ยาเคมีต่าง ๆ หันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม และผลกระทบระยะยาวในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
          2. พัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพราะทางประเทศทางสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะใช้เป็นข้ออ้างที่จะกีดกันทางการค้า โดยอ้างว่ามีผลกระทบสิ่งแวดล้อม
          3. การผลิตกุ้งกุลาดำมีคุณภาพดี ปลอดสารพิษ ไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อ กำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้า ตั้งแต่การเลี้ยงในฟาร์มกระทั่งจับขายและขั้นตอนต่าง ๆ ในโรงงานที่ผลิตสินค้าเพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณภาพดีปลอดภัยต่อผู้บริโภคของ

ผู้เลี้ยงต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจ ในเรื่องการเลี้ยงกุ้งปลอดสารพิษอย่างถ่องแท้

          1. เลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพดี เท่าที่ผ่านมาผู้เลี้ยงกุ้งมักจะนิยมปล่อยลูกกุ้งอัตราความหนาแน่นที่สูงมากไว้150,000-250,000 ตัว/ไร่ การเลี้ยงจากการไต่ถามผู้เลี้ยงกุ้งที่ปล่อยอย่างนี้ก็เพราะเผื่อลูกกุ้งตาย จำนวนการติดของลูกกุ้งน้อย   ซึ่งสาเหตุอันนี้ เนื่องจากคุณภาพลูกกุ้งที่ผ่านมาไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองอาหารในช่วงเดือนแรกมากไม่มีการสร้างห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติในช่วงเตรียมน้ำก่อนที่จะปล่อยกุ้ง การปล่อยลูกกุ้งหนาแน่นเกินไปมักพบอาการกุ้งแตกไซด์ และมักจะพบว่าอัตรารอดของลูกกุ้งต่ำ การปล่อยลูกกุ้งที่เหมาะสม ที่ 50,000-80,000 ตัวต่อไร่ และเลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีมีขั้นตอนการผลิตที่สามารถลดการติดเชื้อไวรัสดวงขาวได้ ซึ่งหากผู้เลี้ยงเลือกพันธุ์ที่ดี เลี้ยงอาหารธรรมชาติให้กุ้งกินในระยะเริ่มแรก และปล่อยลูกกุ้งตามที่กล่าวมาคือไม่ปล่อยกุ้งเผื่อลูกกุ้งตาย กุ้งไม่เป็นกุ้งจิ๊กโก๋ หรือแตกไซด์ จะสามารถผลิตกุ้งขนาด 30-40 ตัว/กิโลกรัมได้ ซึ่งขนาดดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะปัจจุบันนี้ประเทศไทยผลิตกุ้งขนาดใหญ่ได้ลดลงกว่าในอดีต การเลี้ยงกุ้งจะต้องมีระบบการเลี้ยงที่รัดกุม เช่น ระบบปิดน้ำหมุนเวียนและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาชีพอื่น ๆ ข้างเคียงการเลือก การเลือกลูกกุ้งคุณภาพดี ต้องใช้แม่กุ้งที่ผ่านการตรวจด้วยพีซีอาร์แล้วเท่านั้น มาทำการเพาะลูกกุ้ง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกกุ้งปลอดเชื้อ โดยเฉพาะจากไวรัสดวงขาว (ตัวแดงดวงขาว) นอกจากนั้นก่อนซื้อลูกกุ้งจำเป็นต้องมีการทดสอบความแข็งแรงจะต้องมีการตรวจปริมาณของเอ็มบีวี (MBV) และเอชพีวี ( HPV) ด้วยเพราะไวรัสทั้งสองชนิดนี้อยู่ในเซลล์ตับ ถ้ามีปริมาณมากจะมีผลทำให้กุ้งโตช้าเนื่องจากการดูดซึมอาหาร การย่อยและการสะสมอาหารไม่เป็นปกติ จะทำให้ลูกกุ้งที่ปล่อยมีอัตรารอดต่ำ และมีปริมาณกุ้งแคระหรือกุ้งจิ๊กโก๋มากกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย และระยะเวลาเลี้ยงนานเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตให้สูงตามไปด้วย
         2. เตรียมอาหารธรรมชาติก่อนปล่อยลูกกุ้ง ควรมีการเตรียมน้ำก่อนปล่อยลูกกุ้งให้มีอาหารธรรมชาติและ ปริมาณแพลงก์ตอนพืชแพลงค์ตอนสัตว์ที่เหมาะสม ลูกกุ้งจะมีอัตรารอดสูงขึ้นแข็งแรงและการเจริญเติบดี ประหยัดอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้เยอะแยะ ช่วยลดต้นทุนได้
          3. ใช้อาหารที่มีคุณภาพดี การใช้อาหารที่มีคุณภาพดี หมายถึง ใช้อาหารปริมาณน้อยแต่ได้ " ค่าอัตราการแลกเนื้อ" ดีอาหารที่มีคุณภาพต่ำจะมีผลทำให้กุ้งโตช้ากว่าปกติ และยังต้องเสียเวลาเลี้ยงนานมากกว่าแล้วยังจะทำให้ของเสียที่พื้นบ่อเกิดสะสมขึ้นในบ่อเป็นจำนวนมากมีผลต่อคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมภายในบ่อทำให้กุ้งเครียด ขาดออกซิเจน มีก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ่อเป็นจำนวนมาก ฯลฯ การให้อาหารปรับเพิ่มลดปริมาณอาหารอย่างเหมาะสมตามขนาดและอายุของกุ้ง และตามพฤติกรรมการกินอาหารของกุ้งจึงจะทำให้ได้ผลดีเต็มที่ การจับกุ้งขายในขณะที่กุ้งมีสุขภาพแข็งแรงดีการกินอาหารยังไม่ลดลง จะทำให้ได้กุ้งที่มีคุณภาพดีและอัตราแลกเนื้อต่ำไม่สิ้นเปลืองอาหารมากแต่ในทาง ตรงกันข้ามกุ้งในบ่อหนาแน่นมาก หรือคุณภาพน้ำไม่เหมาะสมพื้นบ่อไม่สะอาดเช่นเลนกระจายทั่วบ่อ จะทำให้
กุ้งโตช้า ถ้าไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำและสภาพในบ่อให้ดีขึ้นได้และเลี้ยงต่อไปเรื่อย ๆ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น จะน้อยมากหรือไม่เพิ่มขึ้นเลยอาจจะไม่คุ้มกับค่าอาหารที่เพิ่มขึ้นด้วย การตัดสินใจวิเคราะห์เหตุการณ์เหล่านี้ได้
อย่างถูกต้องและจับกุ้งขายทันเวลาสามารถลดต้นทุนได้มาก
           4. มีการจัดการที่เหมาะสม การจัดการในด้านคุณภาพน้ำ แพลงก์ตอน การให้ออกซิเจน และการจัดการพื้นบ่อ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ เลี้ยงแบบปลอดสารพิษ เลี้ยงระบบปิด โดยใช้ความเค็มต่ำโดยใช้น้ำที่มีความเค็มสูง 100-250 พีพีที จากการนำเกลือมาผสมกับน้ำจืดจนได้ความเค็มไม่เกิน 10 พีพีทีแล้ว ปล่อยลูกกุ้ง และเติมน้ำจืดในระหว่างการเลี้ยงความเค็มของน้ำจะค่อย ๆ ลดลงจนกระทั่งจับขาย พบว่าการเลี้ยงวิธีดังกล่าวข้างต้นจะมีปัญหาเรื่องโรคต่าง ๆ น้อยกว่าในพื้นที่ที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล

          การใช้อากาศ หากผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำปล่อยกุ้งไม่หนาแน่นเกินไปจากที่เห็นผู้เลี้ยงกุ้งวางใบพัดให้ออกซิเจนในบ่อแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องออกซิเจนในบ่อไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรกุ้ง   แต่ถ้าหากผู้เลี้ยงกุ้งบางรายยังยึดติดกับการเลี้ยงกุ้งแบบเก่าก่อนคือปล่อยกุ้งเผื่อตายอยู่เลี้ยงกุ้งหนาแน่นเกินไป ระบบการให้อากา ศไม่ดี ก็จะทำให้กุ้งขาดออกซิเจน กุ้งเครียด และผลอื่น ๆ จะตามมา การใช้เครื่องให้อากาศแบบใบพัดใต้น้ำเพื่อรวมเลนซึ่งใช้พลังงานต่ำกว่าและรวมเลนได้ดีกว่าเครื่องตีน้ำทั่ว ๆ ไปนอกจากนั้น อาจจะมีการใช้ซุปเปอร์ชาร์จหรือเครื่องอัดอากาศตามสายยางที่เดินไปทั่วบริเวณบ่อเสริมบางส่วน เพื่อลดต้นทุนในด้านพลังงาน และในกรณีที่มีกุ้งหนาแน่นมาก การเสริมซุปเปอร์ชาร์จตอนกลางคืนถึงเช้ามืดซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้ออกซิเจนสูงมากในบ่อกุ้งจะสามารถป้องกันการลดลงของออกซิเจนได้มาก จะทำให้การเจริญเติบโตของกุ้งเป็นปกติผลผลิจะดีตามขึ้นด้วย จุดประสงค์หลักของการใช้เครื่องให้อากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจนและรวมตะกอนต่าง ๆ เข้ากลางบ่อทำให้มีพื้นที่สะอา ดสำหรับกุ้งอาศัยเพิ่มมากขึ้น

การควบคุมพีเอช , อัลคาไลน์

          จากข้อมูลการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ต่าง ๆ พอจะสรุปได้ชัดเจนว่า ถ้าพีเอชต่ำหรือสูงเกินไป จะมีผลต่อการเจริญ เติบโต นอกจากนั้นปริมาณอัลคาไลน์ที่ต่ำและสูงเกินไป ยังมีผลต่ออัตรารอดและการเติบโตของกุ้งด้วย
พีเอชที่เหมาะสมในตอนเช้าประมาณ 7.5-8.0 พีเอชในตอนบ่ายไม่ควรจะสูงเกินกว่าตอนเช้ามากนักไม่ควร เกิน 0.8 ค่าที่แตกต่างเกิน 0.5 แต่ไม่ถึง 1.0 ถ้าเป็นการเลี้ยงกุ้งระบบความเค็มต่ำก็ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก
พีเอชของน้ำในกรณีที่พีเอชตอนเช้าต่ำกว่า 7.5 ถ้าเป็นบ่อที่เพิ่งปล่อยลูกกุ้งและมีน้ำใสอาหารธรรมชาติจะมี น้อยกุ้งจะโตช้าอัตรารอดอาจจะต่ำควรที่จะเติมวัสดุปูนเช่นถ้าพีเอชของน้ำตอนเช้า 7.2 อาจจะเติมโดไลไมท์ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อช่วยสร้างสีน้ำให้เขียวขึ้น ไม่ควรปล่อยให้พีเอชในตอนเช้าต่ำกว่า 7.5 สำหรับบ่อที่กุ้งยังมีขนาดเล็ก บ่อที่กุ้งมีอายุมากขึ้นพีเอชตอนเช้าควรอยู่ระหว่าง 7.5-7.8
พีเอชของน้ำสูงมาก คือ ตอนเช้าเกิน 8.3 ควรลดพีเอชลงมา โดยใช้สารที่เป็นกรด ลดพีเอชทีละน้อยเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง พีเอชภายใน บ่ออย่างรวดเร็วทำให้กุ้งช็อค หรือหยุดการกินอาหาร พีเอชของน้ำตอนเช้าไม่
เกิน 8.0 ถ้าอัลคาไลน์ต่ำไม่เกิน 50 พีพีเอ็ม พีเอชตอนเช้าต้องไม่ต่ำกว่า 7.5 ถ้าปล่อยลูกกุ้งในบ่อที่น้ำมีพีเอชต่ำกว่า 7.5 และอัลคาไลน์ต่ำกว่า 50 ลูกกุ้งจะลอกคราบไม่ออกอัตรารอดจะต่ำมาก ตอนเช้า จะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ส่วนอัลคาไลน์จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อหอยเจดีย์โตเต็มที่ อัลคาไลน์สูงมากเช่น 180-250 พีพีเอ็มและพีเอชของน้ำตอนเช้าเกิน 8.3 จะพบว่าเปลือกกุ้งมีตะกรัน กุ้งเปลือก
สากไม่ลอกคราบ การกินอาหารลดลง กุ้งมุดเลน เหงือกดำ ส่งผลให้กุ้งโตช้ามาก การแก้ไขต้องลดพีเอชลงมาให้ตอนเช้าไม่เกิน 8.0

การควบคุมปริมาณแพลงก์ตอน

          การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในปัจจุบันเน้นการเลี้ยงกุ้งแบบระบบปิดจึงมีการถ่ายเปลี่ยนน้ำน้อยลง เพื่อลดความเสี่ยงในการเติมน้ำใหม่เข้าไปในบ่อซึ่งอาจจะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าไปในบ่อด้วย หลังจากเลี้ยงกุ้งมาได้ประมาณ 60 วัน โดยเฉพาะในช่วงที่ไม่มีฝนตก แสงแดดจัด ติตต่อกันหลายวัน มักจะพบว่าปริมาณแพลงก์ตอนจะเพิ่มขึ้น จนทำให้น้ำมีสีเข้มมากขึ้นจนถึงจุดที่มีผลต่อปริมาณออกซิเจนด้วย เช่น เมื่อใดออกซิเจนตอนเช้าลดต่ำลงมาเรื่อย ๆ ในขณะที่ออกซิเจน ตอนบ่ายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เกินจุดอิ่มตัวจนถึงระดับที่มากกว่าตอนเช้า ซึ่งเป็นผลมาจากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชตอนกลางวัน แต่ในทางกลับกันหลังจากเที่ยงคืนจะพบว่าปริมาณออกซิเจนลดต่ำมากเนื่องจากการหายใจของแพลงก์ตอนตอนกลางคืนในบ่อที่มีการถ่ายน้ำน้อย ถ้าไม่มีการควบคุมและจัดการให้ปริมาณแพลงก์ตอนอยู่ในระดับที่เหมาะสมจะพบว่าในระยะต่อแพลงก์ตอนตายเป็นจำนวนมากในช่วงตอนบ่ายและกลางคืนทำให้ปริมาณออกซิเจนลดต่ำลงมาถึงระดับที่มีกุ้งเกาะขอบบ่อ และบางส่วนอาจจะลอยตามผิวน้ำในเวลาต่อมาเมื่อระดับออกซิเจนต่ำลงน้อยกว่า 2.0 พีพีเอ็ม จะพบว่ากุ้งเกือบทั้งหมดลอยตามผิวน้ำ ถ้าแก้ปัญหาไม่ทันหรือไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดความเสียหายได้มากการแก้ไขที่ต้นเหตุก็คืออย่าปล่อยให้แพลงต์ตอนพืชบูมมากเกินไป ซึ่งการที่แพลงค์ตอนพืชบูมนั้นมีสาเหตุมาจากแอมโมเนียที่ละลายน้ำนั้นมีปริมาณที่เยอะ ซึ่งแอมโมเนียนั้นเป็นปุ๋ยอย่างดีของแพลงค์ตอนพืช ต้องกำจัดแอมโมเนียให้หมดไปโดยการหว่านสเม็คไทต์ หรือไคลน็อพติโลไลท์ ใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยของเสียหมักหมมในบ่อให้น้อยลง หากในบ่อมีปริมาณออกซิเจนน้อยกุ้งเกิดการลอยหัวให้เร่งเครื่องตีน้ำให้แรงขึ้น ให้หว่านไคลน็อพติโลไลท์ในอัตรา 2 กระสอบต่อไร่ พอช่วงบ่ายให้วัดค่าแอมโมเนีย ถ้ายังไม่ลดลงให้หว่านไคลน็อพติโลไลท์ตามไปอีกในอัตราเท่าเดิม และทำการตรวจ ทำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าแอมโมเนียจะหายไป (แอมโมเนียเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหามากมาย เช่น pH ในบ่อเลี้ยงแกว่ง ถ้ามีปริมาณที่มากทำให้กุ้งเครียด กินอาหารน้อยลง กุ้งอ่อนแอ เป็นสาเหตุให้โรคต่าง ๆ เข้าตัวกุ้งได้ง่าย

การจัดการพื้นบ่อให้สะอาด

          พื้นบ่อเป็นแหล่งที่กุ้งอาศัยหากิน การจัดการพื้นบ่อให้สะอาดเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กุ้งเจริญเติบโตได้ดี การวางใบพัดหรือเครื่องให้อากาศที่ดีให้ของเสียต่าง ๆ ไปกองรวมกันอยู่ที่บริเวณกลางบ่อ ทำให้ของเสียในพื้นบ่อมีจำนวนน้อยโดยการใช้จุลินทรีย์บาซิลลัส ซับติลิสลงไปย่อยของเสียที่ก้นบ่อให้มีปริมาณน้อย ใช้สเม็คไทต์ หรือไคลน็อพติโลไลท์หว่านควบคู่กับจุลินทรีย์ เพื่อจับก๊าซต่าง ๆ ในบ่อ บวกกับวางระบบให้อากาศที่ดี พื้นบ่อก็จะสะอาด กุ้งไม่เครียด กินอาหารได้มาก การเจริญเติบโตดี ในทางกลับกันถ้าวางใบพัดตีน้ำไม่ดี ของเสียมีเต็มพื้นบ่อ ไม่มีการย่อยของเสียด้วยจุลินทรีย์ ก๊าซต่าง ๆ ในบ่อมีจำนวนมาก กุ้งไม่มีที่อาศัย ไม่มีอาหารให้กุ้งกิน เพราะให้อาหารเม็ดลงไปก็ตกลงไปจมเลนหมด กุ้งจะลงไปกินก็เจอแต่ก๊าซต่าง ๆ ซึ่งถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้อาจทำให้ผู้เลี้ยงต้องจับกุ้งก่อนกำหนด ประสบกับภาวะขาดทุน
 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!