เลือกซื้อกล้องอย่างไรให้โดนใจ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 18, 2024, 07:39:14 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เลือกซื้อกล้องอย่างไรให้โดนใจ  (อ่าน 10723 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2007, 06:48:22 PM »

กล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นมีหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมาให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้กัน บางยี่ห้อก็เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี บางยี่ห้อก็เป็นแบบ OEM บางยี่ห้อก็มีการนำเข้ามาขายในบ้านเราได้พักหนึ่งแล้วก็หายไป หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็เลยนำยี่ห้อต่างๆ ที่มีอยู่มาให้ดูกัน Agfa
Aiptek
Archos
Argus
Avermedia
Bell & Howell
Benq
Buslink
Canon
Casio
Concord
Contax
Cool-Icam
Creative Labs
D-link
Dakota
 DXG
Epson
Ezonics
FUJI
Gateway
Hawking
HP
IBM
Intel
IXLA
Jazz
JVC
Kb Gear
Kensington
Kicker
Kodak
 Konica Minolta
Kyocera
Labtec
LARGAN
Leica
Lifeview
Logitech
Mattel
Meade
MERCURY
Micro Innovations
Microtek
Minox
Mustek
Nexian
 Nikon
Nokia
Olympus
Oregon Scientific
palmOne
Panasonic
Pentax
PictureTel
Polaroid
RCA
Relisys
Ricoh
Samsung
Sanyo
Sea Life
 Sealife
Sharp
Sigma
Sipix
SNAP
Sony
Sprint
Toshiba
Unibrain
VEO
Visio
Visioneer
Vivitar
Zoom
 

หลายคนอาจจะแปลกใจ โอ้ว...พระเจ้ากล้องมียี่ห้อมากมายขนาดนี้เลยหรือ ซึ่งก็เป็นความจริงครับ แต่บางยี่ห้อก็ไม่มีจำหน่ายในบ้านเรานะครับ

กล้องดิจิตอลนั้นเริ่มมีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นและก็ทำการแพรหลายไปยังอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งที่เห็นและรับรู้ได้มากที่สุดก็คือ ในเครื่องโทรศัพท์ แม้ว่าจะมีความละเอียดที่ไม่สูงนักแต่นั่นก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่จะได้มีการพัฒนาความสามารถต่อยอดให้ดีมากยิ่งขึ้น
มาเข้าเรื่องกล้องดิจิตอลของเราต่อ กล้องดิจิตอลที่เป็นกล้องดิจิตอลเพรียวนั้นได้รับการพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้นและในอนาคตอาจจะมาแทนกล้องฟิล์มเลยก็ได้ เนื่องจากมีต้นทุนในระยาวที่ต่ำและมีความสะดวกในการใช้งาน กอปรกับสามารถที่จะนำภาพที่ถ่ายไปใช้งานยังส่วนอื่นๆ ได้ทันทีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการส่งอีเมลล์, การนำภาพมาประกอบรายงาน เป็นต้น

ประเภทของกล้องดิจิตอล

ก่อนอื่นเรามารู้จักประเภทของกล้องดิจิตอลกัน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กล้องแบบคอมแพค (Compact) เป็นกล้องที่พร้อมใช้แบบสำเร็จรูป ใช้งานได้ง่ายไม่จำเป็นต้องปรับแต่งหรือเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เนื่องจากมีฟังก์ชันให้ใช้ง่ายๆ โดยสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น P/A/S/M หรือ Auto (อัตโนมัติ), Portrait (ถ่ายภาพบุคคล), Landscape (ถ่ายภาพวิว), Sports (ถ่ายภาพกีฬา), Night scene (ถ่ายภาพกลางคืน) เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้งานกล้องดิจิตอล อีกแบบหนึ่งก็คือกล้องแบบดิจิตอล SLR โดยกล้องแบบนี้จะมีลักษณะที่คล้ายกับกล้องฟิล์มก็คือสามารถที่จะถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และมีฟังก์ชันในการใช้งานที่มากกว่ากล้องแบบคอมแพค แต่จะมีข้อดีที่สามารถถ่ายภาพได้ความคมชัดที่ดีกว่า ส่วนในเรื่องของราคานั้นกล้องแบบคอมแพคจะมีราคาที่ถูกกว่ากล้องแบบดิจิตอล SLR

ในท้องตลาดก็ไม่ได้มีเพียงกล้องแบบคอมแพคและกล้องดิจิตอล SLR เพียงเท่านั้น แต่ยังมีกล้องอีกประเภทที่เข้ามาแทรกตรงกลางระหว่างกล้องแบบ Compact กับกล้องดิจิตอล SLR ซึ่งหลาย ๆ คนมักเรียกกว่ากล้องแบบ Semi-Pro หรือ SLR-like หรือกึ่งมืออาชีพนั่นเอง โดยกล้องประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีหน้าตาเหมือนกับกล้องถ่ายรูปแบบ SLR แต่ว่าเลนส์ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ แต่ว่าเลนส์ที่ใช้จะมีคุณภาพและคุณสมบัติของการใช้งานได้ดีกว่ากล้องแบบคอมแพค ซึ่งกล้องแบบนี้ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะราคาไม่สูงจนเกินไป (อาจจะสูงกว่ากล้องแบบคอมแพคแต่ไม่แพงถึง SLR)

ดูไรบ้างก่อนซื้อ?
กล้องดิจิตอลนั้นก็จะมีรายละเอียดหรือคุณสมบัติมากมายในแต่ละตัว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ก็จะเหมือนหรือแตกต่างกันบ้าง เราก็มาดูกันว่ากล้องนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง

Format (ประเภทของกล้อง)
ประเภทของกล้องส่วนใหญ่แล้วก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ Compact กับ SLR ส่วนอื่นๆ ก็เป็นรูปแบบที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยใช้การประยุกต์จากกล้องแบบ Compact กับ SLR นั่นก็คือ SLR-like, Compact swivel, Ultra Compact และ Ultra Compact swivel

Also known as (ชื่อเรียกอื่นๆ)
กล้องบ้างรุ่นนั้นมีการผลิตขึ้นมาแล้วมีการจำหน่ายในประเทศต่างๆ ก็จะมีการใช้ชื่อที่จำหน่ายในประเทศนั้นๆ ไม่เหมือนกัน แต่เป็นกล้องรุ่นเดียวกัน โดยยี่ห้อที่พบปล่อยที่สุดก็คือ Canon กับ Olympus

Camera body (วัสดุของตัวกล้อง)
วัสดุของตัวกล้องนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้กล้องนั้นมีความทนทานแข็งแรง ซึ่งในการเลือกซื้อนั้นต้องสังเกตจากตรงนี้ด้วย โดยในส่วนนี้กล้องส่วนใหญ่จะทำมาจากแมกนิเซียมอัลลอยด์หรือพลาสติกผสมหรือกึ่งโลหะกึ่งพลาสติกเพื่อให้มีความทนทานและมีน้ำหนักเบา ซึ่งถ้าเป็นโลหะอย่างเดียวก็จะมีน้ำหนักที่มากเกินไป

Resolution (ขนาดของภาพ)
จะเป็นตัวบอกความสามารถของกล้องอีกส่วนหนึ่งแม้ว่าจะไม่ส่วนที่สำคัญมากนักก็ตาม เนื่องจากขนาดของภาพที่ตัวกล้องทำได้ในหลายๆ ขนาดในกล้องแต่ละรุ่นอาจจะไม่เหมือนกัน ซึ่งตรงนี้ผู้ใช้งานอาจจะมองที่ตัวกล้องไม่เห็นต้องอาศัยอ่านจากคู่มือหรือทดลองถ่ายภาพด้วนตนเอง เช่น กล้อง 2 รุ่นมีความละเอียดในการถ่ายภาพที่ 8 ล้านพิกเซลเหมือนกัน แต่ขนาดของภาพที่สามารถเลือกได้จากกล้องไม่เหมือนกัน คือ บางรุ่นอาจจะเลือกได้ที่ 3264 x 2448, 2592 x 1944, 2048 x 1536, 1600 x 1200, 1280 x 960, 1024 x 768, 640 x 480 พิกเซล แต่บางรุ่นอาจจะเลือกได้ที่ 3264 x 2448, 2592 x 1944, 2288 x 1712, 2048 x 1536, 1600 x 1200, 1280 x 960, 1024 x 768, 640 x 480 พิกเซล (แต่ขนาดสูงสุดจะเท่ากัน 3264 x 2448 = 7990272) ซึ่งถ้าผู้ใช้งานที่จะเลือกซื้อต้องการขนาดภาพที่หลากหลายก็ให้เลือกกล้องที่สามารถให้ขนาดภาพได้มากๆ ก็ไม่ผิดอะไร

Effective pixels (ความละเอียดที่ใช้งานจริง)
ความละเอียดที่ใช้งานจริง เป็นความละเอียดของตัวเซ็นเซอร์ที่สามารถในการบันทึกภาพได้ ซึ่งกล้องแต่ละยี่ห้อนั้นก็จะมี Effective pixels (ความละเอียดที่ใช้งานจริง) แตกต่างกัน ยิ่งยี่ห้อใดที่มี Effective pixels มากก็จะทำให้สามารถถ่ายภาพได้ที่ขนาดมาก สำหรับความละเอียดตรงนี้ก็เป็นส่วนที่บอกถึงประสิทธิภาพของกล้องได้ และในการเลือกซื้อก็ควรที่จะดูตรง Effective pixels นี้ โดยกล้องที่มี Effective pixels ต่างกันก็จะมีราคาที่ต่างกันด้วย ซึ่ง Effective pixels ที่ระดับ 3.0 ล้านพิกเซล ราคาของกล้องก็จะอยู่ในช่วง ต่ำกว่า 10,000 ถึง 12,000 บาท ส่วนกล้องที่มี Effective pixels ที่ 4.0 ล้านพิกเซล ราคาของกล้องก็จะอยู่ในช่วง 12,000 ถึง 15,000 บาท ส่วนกล้องในระดับ 5.0 ล้านพิกเซล ราคาก็จะอยู่ในช่วง 15,000 ถึง 20,000 บาท ส่วนกล้องที่มีความละเอียดในระดับ 6.0 - 8.0 ล้านพิกเซล ราคาจะอยู่ในช่วง 25,000 - 40,000 บาท อีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่สังเกตก็คือ กล้องที่มีความละเอียดต่ำกว่า 8.0 ล้านพิกเซลที่สามารถจะต่อแฟลชภายนอกราคาก็จะแพงกว่าปกติประมาณ 3,000 บาท

ในการเลือกพิจารณาความละเอียดของกล้องมาใช้งานก็ให้ดูลักษณะของการใช้งานเป็นหลัก ถ้าผู้ใช้งานต้องการที่จะถ่ายภาพเพื่อที่จะทำการส่งอีเมลล์ไปให้เพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปดูความละเอียดในระดับ 3 ล้านพิกเซลก็สามารถที่จะถ่ายได้ดี และราคาก็ไม่แพงจนเกินไป ถ้าต้องการนำไปอัดเป็นภาพ 4x6 นิ้ว หรือพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ Photo น่าจะใช้กล้องที่มีความละเอียดในระดับ 5 ล้านพิกเซลดีกว่า ส่วนกล้องในระดับ 8.0 ล้านพิกเซลนั้นก็ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของงานสูงๆ หรือไม่ก็ใช้กล้องดิจิตอลแบบ SLR ไปเลยก็จะได้ภาพที่สวยงามและมีความหลากหลายของงานที่ดีกว่า แต่กล้องดิจิตอลแบบ SLR นั้นที่ความละเอียดเท่ากับหรือใกล้เคียงกับกล้องแบบคอมแพคจะมีราคาแพงกว่ากันอยู่ประมาณ 2-3 เท่าตัวเลย

Sensor photo detectors (ความละเอียดของเซ็นเซอร์)
เป็นความสามารถของตัวเซ็นเซอร์ของตัวกล้องที่รับภาพได้ โดยความละเอียดนี้จะเป็นความละเอียดที่ผลิตออกมาจากโรงงาน และส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นเป็นความละเอียดที่ติดอยู่ข้างกล่อง เช่น 17.2 ล้านพิกเซล (16.6 ล้านพิกเซล - Effective pixels), 3.3 ล้านพิกเซล (3.2 ล้านพิกเซล - effective pixels) เป็นต้น

Sensor type (ประเภทของเซ็นเซอร์)
เซ็นเซอร์ เป็นส่วนที่มีความสำคัญสำหรับกล้องถ่ายภาพเป็นอย่างมากหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจหลักเลยก็ได้ เนื่องจากเซ็นเซอร์นี้จะเป็นตัวรับภาพและทำการแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลไปประมวลผลเก็บลงสื่อบันทึกข้อมูล โดยเซ็นเซอร์ก็จะเป็นตัวบอกถึงความละเอียดในการถ่ายภาพของตัวกล้องว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดเท่าไร สำหรับเซ็นเซอร์ที่นิยมใช้กันก็จะมีอยู่ 2 แบบคือ CCD และ CMOS ซึ่งก็มีข้อแตกต่างกันที่ว่า CCD จะกินไฟมากกว่า CMOS แต่ก็ให้ความละเอียดมากกว่า CMOS ถึงอย่างไรก็ตาม CMOS ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีความละเอียดมากขึ้นแต่ก็ยังมีใช้ในกล้องไม่มากนัก นอกจากของทาง Canon

Sensor size (ขนาดของเซ็นเซอร์)
เป็นขนาดของตัวรับภาพ ซึ่งจะมีการวัดตามแนวของเส้นทแยงมุม เช่น 1/3.2 นิ้ว (4.54 x 3.42 มม.), 1/1.8 นิ้ว (7.18 x 5.32 มม.) เป็นต้น ซึ่งจากตัวอย่างนั้น ขนาดของเซ็นเซอร์ 1/1.8 นิ้ว จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า 1/3.2 นิ้ว

Sensor manufacturer (เซ็นเซอร์ที่ใช้งาน)
ส่วนมากแล้ว เซ็นเซอร์ที่ใช้งานของกล้องยี่ห้อไหนก็จะเป็นเซ็นเซอร์ของยี่ห้อนั้นๆ ไปเลย เนื่องจากจะได้มีการรองรับการทำงานที่ดี เช่น กล้องของ Canon ก็ใช้เซ็นเซอร์ของ Canon, กล้องของ Nikon ก็ใช้เซ็นเซอร์ของ Nikon เป็นต้น แต่ก็อาจจะมีบางยี่ห้อที่ใช้เซ็นเซอร์ของยี่ห้ออื่นโดยส่วนมากนั้นก็จะเป็นกล้องแบบ OEM สะส่วนมาก

ISO rating (ความไวแสง)
ความไวแสงเป็นตัววัดประสิทธิภาพของกล้องอีกตัวหนึ่ง โดยในการเลือกซื้อก็ให้เลือกซื้อช่วงของ ISO ที่มีค่าให้ห่างกันพอสมควร เช่น 50 กับ 400 หรือ 100 กับ 800 เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วกล้องแบบคอมแพคนั้นจะมีค่าไวแสงอยู่ที่ Auto, 50, 100, 200, 400 ส่วนกล้องแบบ SLR นั้นค่าความไวแสงจะสามารถปรับได้ตามความต้องการ เช่น 100 - 1600 ครั้งละ 1/3 stops เป็นต้น ข้อดีของค่า ISO น้อยก็คือ จะทำให้สามารถถ่ายภาพได้คมชัดดีกว่า ISO สูงแต่ถ่ายภาพในที่มืดไม่ค่อยดีนัก ส่วนค่า ISO สูงก็จะมีส่วนดีที่ทำให้สามารถถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยได้ดีแต่ความคมชัดของภาพนั้นจะลดลงไป แต่กล้องในปัจจุบันนั้นก็ได้ทำการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Noise Reduction ขึ้นมาเพื่อที่จะแก้ปัญหาในส่วนนี้ แต่ระบบนี้ของกล้องแต่ละตัวก็จะมีการทำงานที่ไม่เหมือนกันแล้วแต่เทคโนโลยีที่คิดค้นกันขึ้นมา

Zoom wide - tele (W) - (T), Digital zoom (อัตราการซูม, ดิจิตอลซูม)

การซูมของเลนส์ นั้นก็จะมีการซูมอยู่ 2 แบบ ก็คือการซูมแบบออฟติคอล และการซูมแบบดิจิตอล โดยการซูมแบบออฟติคอลนั้นก็จะเป็นการซูมจริงของตัวกล้องที่เกิดจากกระบวนของเลนส์ ยิ่งกล้องที่มีความสามารถในการซูมออฟติคอลมากเท่าไรตัวกล้องก็จะมีราคาที่สูงขึ้นมากไปด้วย ส่วนการซูมแบบดิจิตอลนั้นเป็นการซูมโดยใช้ตัวซอฟต์แวร์ขยายขึ้นมาอีกทีหนึ่งซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมานั้นไม่ชัดเท่าไรนัก อาจจะไม่มีความจำเป็นมากนักโดยถ้าจะเลือกซื้อก็ให้เลือกซื้อการซูมแบบดิจิตอลน้อยๆ เอากล้องที่มีการซูมแบบดิจิตอลมากๆ จะเป็นการดี แต่ในการเลือกอัตราการซูมของกล้องก็จะต้องดูด้วยเนื่องเหล่าบรรดาผู้ผลิตนั้นอาจจะมีการแสดงค่าของการซูมรวมกันมาก็ได้ เช่น 30x ซึ่งอาจจะหมายถึง ซูมแบบออฟติคอลได้ 10x และซูมดิจิตอลได้ 3x หรืออาจจะเป็นซูมแบบออฟตอคอลได้ 6x และซูมดิจิตอลได้ 5x โดยทั้งสองกรณีนี้ก็สามารถที่จะรวมได้ 30x เหมือนกันแล้วเราจะเลือกอย่างไรล่ะ? ก็บอกได้เลยว่าให้เลือกกล้องที่มีความสามารถในการซูมแบบออฟติคอลให้มากๆ เข้าไว้ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกกล้องที่ซูมแบบออฟตอคอลได้ 10x และซูมดิจิตอลได้ 3x เนื่องจากการซูมแบบออฟติคอลนั้นก็จะทำให้ผู้ใช้งานนั้นจับภาพได้ความละเอียดที่ชัดเจนกว่ารวมถึงสามารถจับภาพวัตถุที่อยู่ไกลๆ ได้ดีกว่าด้วย

Image stabilization (ระบบป้องกันภาพสั่นไหว)

เป็นระบบที่ช่วยในการถ่ายภาพเพื่อให้ภาพที่ออกมานั้นนิ่งและมีความแม่ยำในการถ่ายมากยิ่งขึ้นซึ่งระบบนี้ก็เป็นระบบที่คล้ายๆ กับกล้องวิดีโอ โดยถ้าเลือกซื้อกล้องที่มีระบบนี้ก็จะทำให้การถ่ายภาพง่ายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย
จากรูปเป็นระบบ Anti Shake ของกล้อง DiMAGE A2 ที่มีการวาง CCD ให้เคลื่อนไหวได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน

Auto Focus, Manual Focus (โฟกัสอัตโนมัติ, แมนนวลโฟกัส)

เป็นระบบที่ที่ช่วยให้ผู้ใช้กล้องสามารถถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น เนื่องจากตัวกล้องนั้นจะทำการค้นหาตำแหน่งของวัตถุและจับภาพเอง ซึ่งถ้าเป็นระบบโฟกัสอัตโนมัติก็จะเป็นการดีสำหรับผู้ใช้งานกล้องมือใหม่หรือผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการใช้งาน และโดยส่วนมากแล้วกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นก็จะมีระบบ โฟกัสอัตโนมัติอยู่ด้วยแล้วทุกตัว ส่วนระบบแมนนวลโฟกัสนั้นก็จะเหมาะสำรับผู้ใช้งานที่ต้องการปรับการทำงานของกล้องที่มากกว่าปกติเพื่อให้ได้ภาพออกมาตามความต้องการ โดยระบบแมนนวลโฟกัสนั้นจะไม่มีมากับกล้องทุกรุ่นโดยเฉพาะกล้องราคาถูก ฉะนั้นในการเลือกซื้อก็จะต้องดูตามความเหมาะสมของการใช้งานด้วย

Auto focus type (ประเภทของการโฟกัส)

ส่วนนี้จะเป็นระบบของตัวกล้องที่จะเป็นส่วนช่วยให้การทำงานของโฟกัส ซึ่งเป็นระบบเชิงเทคนิคผู้ใช้งานอาจจะไม่ต้องสนใจมากก็ได้ในส่วนอีก แต่ถ้าคนที่เป็นมืออาชีพจะต้องให้ความสนใจเพราะจะหมายถึงคุณภาพและความแม่นยำของภาพที่ออกมาด้วย

Focus range (ระยะโฟกัส)

ระยะโฟกัสนั้นส่วนมากแล้วจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ระยะการทำงานปกติ (Normal focus range) กับ ระยะมาโคร (Macro focus range) โดยระยะนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวเลนส์และระบบการทำงานของกล้อง โดยตรงนี้อาจจะไม่ต้องให้ความสนใจมากนักก็ได้ในส่วนของกล้องแบบคอมแพค แต่สำหรับกล้องแบบ SLR หรือ SLR-Like ก็ให้มามองในส่วนของมาโครแทนเนื่องจากจะทำให้สามารถ่ายภาพในระยะใกล้ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกล้องแบบ SLR ที่มีการถ่ายภาพแบบมาโครก็จะมีภาพแปลกๆ มาให้เห็นอยู่เสมอ

White balance (ไวท์บาลานส์ หรือการปรับแสงขาว)

ไวท์บาลานส์ นั้นเป็นส่วนช่วยให้ความถูกต้องของภาพมีมากยิ่งขึ้น โดยค่าไวท์บาลานส์ของกล้องแต่ล่ะรุ่นนั้นอาจจะให้มาไม่เหมือนกันซึ่งจะต้องไปลองที่ร้านเองหรือดูจากคู่มือก็ได้ ซึ่งถ้าไปดูที่ร้านก็ให้ดูจากเมนูของตัวกล้องว่ามีอะไรบ้าง เช่น Auto, Daylight, Incandescent, Fluorescent, Cloudy, Speedlight, Shade หรือ Manual preset อะไรแบบนี้ซึ่งกล้องที่มีค่าของไวท์บาลานส์ให้เลือกมากๆ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในการถ่ายภาพ ณ สถานที่ต่างๆ มากขึ้น

Aperture range (รูรับแสง)

เป็นช่องของตัวเลนส์ที่สามารถให้แสงผ่านเข้าไปในตัวกล้องได้ โดยค่ายิ่งมากก็จะรูรับแสงก็จะแคบ ในการเลือกซื้อก็ให้เลือกดูกล้องที่มีช่วงของรูรับแสงห่างกันสักหน่อย เช่น F2.4 - F8.0 กับ F3.5 - F8.0 ให้เลือกกล้องที่มี F2.4 - F8.0 จะดีกว่าเพราะให้ค่าของรูรับแสงที่กว้างกว่าคือ F2.4

Shutter Speed (ความเร็วชัตเตอร์)

ความเร็วชัตเตอร์ เป็นความเร็วในการเปิด-ปิดรูรับแสงตามช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 15 วินาที - 1/4000 วินาที หมายถึงมีช่วงระยะเวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์รับแสงนานสุดที่ 15 วินาที และมีช่วงระยะเวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์รับแสงเร็วที่สุดที่ 1/4000 วินาที สำหรับกล้องบางรุ่นจะมีฟังก์ชัน Bulb ซึ่งก็หมายถึงให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะกดชัตเตอร์ค้างไว้ตามความต้องการของตนเองได้ซึ่งถ้ากล้องมีฟังก์ชันนี้ก็จะเป็นประโยชน์มากสำรับการถ่ายภาพในเวลากลางคืน โดยส่วนใหญ่แล้วกล้องแบบคอมแพคนั้นจะมีฟังก์ชันนี้บางรุ่นเท่านั้น แต่กล้องแบบ SLR จะมีฟังก์ชันนี้รวมอยู่ด้วย ฉะนั้นในการเลือกซื้อก็ให้ดูช่วงห่างของความเร็วต่ำสุดและสูงสุดให้ห่างกันมากๆ จะเป็นการดี เช่น เช่น 15 วินาที - 1/4000 วินาที กับ 30 วินาที + Bulb - 1/8000 วินาที ก็ให้เลือกกล้องที่ความเร็วชัตเตอร์ 30 วินาที + Bulb - 1/8000 วินาที ดีกว่า

แฟลชที่มาพร้อมตัวกล้อง นั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะสามารถช่วยในการถ่ายภาพในทีที่แสงน้อยได้ระดับหนึ่งแต่อาจจะทำงานได้ไม่ดีนักสำหรับกล้องแบบคอมแพค แต่ถ้าถามว่าถ่ายแล้วใช้งานได้ไหม ก็บอกว่าได้ แต่ความสามารถของแฟลชที่มากับตัวกล้องนั้นจะสู้แฟลชภายนอกไม่ได้ เนื่องจากมีความสามารถในการทำงานที่ดีกว่า ซึ่งกล้องที่ใช้งานแฟลชภายนอกก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือกล้องแบบคอมแพคที่เป็นแบบกึ่ง Semi-Pro กับกล้องดิจิตอล SLR แต่ส่วนใหญ่แล้วแฟลชภายนอกจะนิยมใช้งานกับกล้องดิจิตอลแบบ SLR มากกว่าเพราะเมื่อมองลักษณะการใช้งานโดยรวมจะให้ความคุ้มค่าที่มากกว่า ส่วนการดูในส่วนนี้ก็ให้ดูระยะการทำงานของแฟลชว่าอยู่ในช่วงใดให้เลือกช่วงที่มากๆ ไว้ก่อน

สำหรับแฟลชที่ใช้งานภายนอกนั้นก็จะมีราคาและความสามารถที่แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ และอาจจะไม่สามารถที่จะนำมาใช้งานด้วยกันได้ เช่น แฟลชของ Nikon ก็จะใช้งานกับกล้องของ Nikon เป็นต้น อีกอย่างหนึ่งสำหรับกล้องที่ใช้งานแฟลชภายนอกก็จะมีงบประมาณที่สูงกว่ากล้องแบบคอมแพคอยู่มาก ซึ่งราคาของแฟลชนั้นอาจจะซื้อกล้องแบบคอมแพคได้อีกตัวหนึ่งเลย

Flash modes (โหมดการทำงานของแฟลช)

โหมดการทำงานของแฟลช นี้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือโหมดการทำงานของแฟลชแบบที่มากับตัวกล้อง กับโหมดการทำงานของแฟลชที่เป็นแฟลชภายนอก ซึ่งอาจจะมีการทำงานที่ต่างๆ หรือเหมือนกันก็ได้ ซึ่งในส่วนนี้ก็ไม่ต้องให้ความสำคัญมากนัก ยกเว้นคนที่ใช้งานกล้องดิจิตอล SLR ที่อาจจะมีลักษณะใช้งานแทนกล้องฟิล์มเพื่อให้ภาพที่ถ่ายนั้นออกมาดี มีความคมชัด มีการให้แสงเงาที่ดี ตัวอย่างโหมดการทำงานของแฟลชที่มีก็คือ Auto, On, Off, Manual (Red Eye On/Off)

Exposure compensation (การปรับชดเชยแสง)

การปรับชดเชยแสง เป็นอีกส่วนหนึ่งในความสามารถของกล้องซึ่งก็มีส่วนที่ช่วยให้การถ่ายภาพนั้นได้ภาพออกมาดียิ่งขึ้น เนื่องจากสภาพแสงหรือบรรยากาศในการถ่ายภาพขณะนั้นไม่เหมาะสมหรือไม่ได้ดังใจผู้ใช้งานก็สามารถที่จะปรับชดแสงได้ โดยส่วนมากแล้วจะมีการปรับค่าในทาง + และ - ซึ่งถ้าปรับไปในทาง + ก็จะทำให้ความสว่างของภาพมากเกินกว่าความจริงหรือที่เรียกกันว่า Over ถ้าปรับไปในทาง - ก็จะทำให้ความสว่างของภาพลดลงกว่าภาพจริงหรือที่เรียกว่า Under โดยส่วนมากแล้วกล้องแบบคอมแพคทั่วไปจะมีการปรับค่าชดแสงอยู่ที่ -2EV ถึง +2EV ครั้งละ 1/3EV แต่สำหรับกล้อง SLR นั้นจะสามารถปรับได้มากกว่าเช่น -3EV ถึง +3EV ครั้งละ 1/3EV หรือ 1/2EV

Metering (การวัดแสง)

การวัดแสง เป็นลักษณะการทำงานของกล้องเพื่อทีจะใช้ในการวัดแสงที่ตกกระทบกับวัตถุ ซึ่งก็จะมีผลกับภาพที่ออกมาด้วย ซึ่งถ้าใครที่ชอบถ่ายในโหมด Auto หรือ อัตโนมัติอาจจะไม่ต้องสนใจเพราะตัวกล้องนั้นจะจัดการให้หมดแล้ว แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพแบบแมนนวลก็จะต้องใช้การวัดแสงแบบปรับแสงหรือแมนนวลซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการวัดแสงแบบ Evaluative (แบ่งพื้นที่), Center Weighted (เฉลี่ยหนักกลาง), Spot (เฉพาะจุด)

Continuous Drive (การถ่ายภาพต่อเนื่อง)

การถ่ายภาพต่อเนื่อง อาจจะไม่มีความจำเป็นสำหรับคนที่กดแล้วถ่ายหรือใช้งานในโหมด Auto แต่สำหรับคนที่ต้องการความแปลกใหม่ของภาพอาจจะมีความจำเป็นเพราะจะได้ภาพเป็น Shot-Shot ไปที่มีความต่อเนื่องของภาพ ซึ่งถ้ามีความจำเป็นที่ต้องการใช้งานก็ให้เลือกที่มีความเร็วในการทำงานที่สูงๆ หน่อยและสิ่งที่ต้องทราบก็คือ การถ่ายภาพต่อเนื่องนี้จะมีการเก็บภาพที่ถ่ายไว้ที่หน่วยความจำของตัวกล้องก่อนจากนั้นก็ทำการบันทึกลงสื่อบันทึกข้อมูลในภายหลังเพื่อความเร็วในการทำงาน

Movie Clips (การถ่ายภาพวิดีโอ)

การถ่ายภาพวิดีโอ ของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าไรนัก เพราะความสามารถนั้นไม่เท่ากับกล้องถ่ายภาพวิดีโอ แม้ว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ช่วยเลาหนึ่งก็ตาม และถ้าจะต้องการความสามารถนี้ในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นก็ให้เลือกกล้องที่สามารถถ่ายภาพได้ขนาดสูงๆ เช่น ขนาด 640x480 พิกเซล และระยะเวลาในการถ่ายก็ควรเลือกแบบไม่จำกัดเวลาเพราะจะได้ไม่ต้องมากดถ่ายบ่อย

สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้งานเป็นส่วนที่ผู้ใช้งานนั้นต้องให้ความสำคัญสักเล็กน้อย เนื่องจากก่อนที่จะเลือกซื้อกล้องก็ให้หันกลับมามองอุปกรณ์ไอทีของเราที่ใช้อยู่ก่อนว่าใช้สื่อบันทึกข้อมูลชนิดใด และก็ให้ซื้อกล้องที่ใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่ตรงกันมาใช้งานจะดีกว่า เพราะจะทำให้เกิดความสะดวกและลดต้นทุนไปได้ส่วนหนึ่ง แต่ส่วนนี้ก็ไม่ได้กำจัดอยู่แค่ตรงนี้โดยถ้าไปซื้อกล้องแล้วถูกใจตรงกับความต้องการ สื่อบันทึกข้อมูลอาจจะไม่ต้องตรงกับของที่มีใช้อยู่แล้วก็ได้ โดยสื่อบันทึกข้อมูลที่เห็นๆ กันอยู่ก็จะมี Compact Flash (Type I or II), SD card, MMC Card, Smart Media, Memory Stick, xD Picture Card

Viewfinder (ช่องมองภาพ)

ช่องมองภาพเป็นส่วนที่ใช้การมองภาพโดยจะมีลักษณะที่คล้ายๆ กับกล้องฟิล์ม ซึ่งในปัจจุบันนี้กล้องได้มีการพัฒนาความสามารถไปมากโดยช่องมองภาพนี้ก็จะมีการทำเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ ผู้ใช้งานจะเห็นลักษณะการทำงานเหมือนกับเห็นที่จอ LCD เลยก็จะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกและช่วยประหยัดพลังงานด้วยเนื่องจากไม่ต้องเปิดจอ LCD มาดู และก็มักจะเรียกการทำงานแบบนี้ว่า EVF ซึ่งกล้องส่วนมากที่จะมีการทำงานแบบนี้จะเป็นกล้องดิจิตอลแบบ SLR เสียเป็นส่วนมาก แต่กล้องแบบ SLR-Like ก็มีเหมือนกัน

LCD (จอ LCD)

จอ LCD เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้งานนั้นมองเห็นภาพที่ต้องการจะถ่ายรวมถึงเมนูหรือคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการปรับการทำงาน ในการเลือกซื้อบอกได้เลยว่าจอ LCD นี้ต้องไปเห็นไปจับที่ร้านอย่างเดียวเลย เพราะจะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อเห็นด้วยตาว่าภาพที่เห็นจากจอ LCD นี้ชัดเจนมากน้อยเพียงใด ยิ่งจอ LCD ที่มีขนาดใหญ่และมีความคมชัดมากเท่าไรราคากล้องก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งปกติหน้าจอก็จะอยู่ที่ 1.5 นิ้ว

I/O Port (พอร์ตการเชื่อมต่อภายนอก)

พอร์ตการเชื่อมต่อภายนอก นั้นก็มีความสำคัญจริงๆ อยู่ 1 พอร์ต ก็คือ พอร์ตที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะมีอยู่ 2 พอร์ตก็คือ USB กับ Firewire (IEEE 1394) สำหรับกล้องแบบคอมแพคนั้นจะมีพอร์ตการเชื่อมต่อแบบ USB ถ้าซื้อก็ให้ดูด้วยว่าลองรับ USB 2.0 หรือไม่ ส่วนพอร์ตแบบ Firewire (IEEE 1394) นั้นจะมีการเชื่อมต่ออยู่ในกล้องแบบ SLR บางรุ่นบางยี่ห้อเท่านั้น แต่ส่วนที่เหมือนกันของทั้งกล้องคอมแพคและ SLR ก็คือ จะมีพอร์ต Video out สำหรับต่อกับโทรศัพท์ และ สาย AC Adapter สำหรับเสียบใช้ไฟภายนอก

Uncompressed, Compressed format (โหมดการบันทึกภาพ)

ในการบันทึกภาพของกล้องนั้นก็มีอยู่หลายๆ แบบแต่ก็ไม่มากนักซึ่งกล้องบางรุ่นอาจจะใช้รูปแบบของการบันทึกตามโหมดขนาดของรูปภาพก็ได้โดยโหมดการบันทึกภาพที่นิยมใช้กันก็จะมีแบบ JPEG, TIFF และแบบ RAW โดยแต่ละแบบนั้นก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกโดยซึ่งไฟล์แบบ JPEG นั้นก็จะมีขนาดที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับ TIFF และแบบ RAW แต่การบันทึกข้อมูลข้อแบบ RAW นั้นก็มีข้อดีที่สามารถนำภาพนั้นมาตกแต่งแก้ไขหรือดัดแปลงในส่วนของค่าต่างๆ ได้ เช่น ความเพี้ยนของสีหรือความไม่คมชัดของภาพ แต่ในขณะเดียวกันกล้องราคาต่ำมักจะไม่มีโหมดการบันทึกภาพแบบนี้มาให้ ซึ่งในการถ่ายภาพนั้นก็จะต้องดูความจำเป็นด้วยเราต้องการที่จะบันทึกภาพแบบไหน

Battery (แบตเตอรี่ที่ใช้งาน)

แบตเตอรี่ที่ใช้งานกับกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีอยู่ 3 แบบ คือ แบบลิเทียมไอออน, แบบ AA และแบบ AAA ซึ่งแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนนั้นจะเป็นแบตเตอรี่แบบเฉพาะสามารถใช้งานได้เฉพาะรุ่นนั้นเท่านั้นไม่สามารถที่จะใช้งานกับรุ่นอื่นได้และมีราคาที่แพงแต่สามารถใช้งานได้นานกว่า ส่วนแบบ AA และแบบ AAA นั้นก็จะมีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งก็ขอแนะนำให้ใช้แบบ Ni-MH จะดีกว่าเพราะสามารถชาร์จไฟได้ถึงแม้ว่าจะมีราคาที่แพงกว่าอัลคาไลน์แต่ก็มีราคาที่ถูกกว่าแบบลิเทียมไอออนแต่ก็จะมีข้อเสียก็คือ จะทำให้ตัวกล้องนั้นมีน้ำหนักกว่ากล้องที่ใช้แบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออน

Dimensions, Weight (ขนาด น้ำหนัก)

ขนาด น้ำหนัก มีกล้องจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เหมือนกัน เนื่องจากต้องการให้กล้องถ่ายภาพของตนเองสามารถที่ใช้งานพร้อมกับสามารถที่จะพกพาได้สะดวก ซึ่งตัวกล้องนั้นก็จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 120 กรัมถึง 1.2 กิโลกรัม เมื่อกล้องที่มีน้ำหนักเบานั้นก็จะมีขนาดที่เล็กมีความสะดวกในการพกพาหรือใช้งานแต่ในขณะเดียวกันฟังก์ชั่นต่างๆ ก็อาจจะมีน้อยรวมถึงปุ่มใช้งานต่างๆ ก็อาจจะต้องตัดออกไปเพื่อให้เกิดความง่ายและสะดวกแต่ในขณะเดียวกล้องที่มีน้ำหนักมากขึ้นมาหน่อยก็อาจจะมีฟังก์ชันต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นมามากหน่อยแต่อาจจะทำให้พกพาไม่สะดวกหนักเนื่องด้วยน้ำหนักของตัวกล้องเองและพลังงานที่ใช้งานด้วย กอปรกับขนาดและน้ำหนักนั้นก็จะทำให้มีลักษณะของการออกแบบนั้นแตกต่างกันไปซึ่งก็จะทำให้เกิดลักษณะของตัวกล้องต่างๆ ออกมาเพื่อให้ดูสวยงามมากที่สุด

Menu (ลักษณะของเมนู)

ในการเลือกใช้กล้องส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเหมือนกันก็คือเมนูเนื่องจากเป็นส่วนหลักหรือส่วนพื้นฐานที่จะใช้ในการปรับการทำงานต่างๆ ของตัวกล้องเช่น ความละเอียด, ลักษณะการถ่ายภาพ, โหมดการถ่ายภาพ, แฟลช หรือรูรับแสง และในขณะเดียวกันก็จะเกี่ยวโยงถึงการดูภาพที่ถ่ายไปแล้วด้วย ซึ่งก็ไม่ใช่ว่ากว่าจะถ่ายภาพได้ต้องมีการปรับโน่นปรับนี่ต่างๆ มากมาย ในส่วนของตรงนี้ก็จะต้องไปลองสัมผัสหรือใช้งานที่ร้านดูว่าลักษณะของเมนูของกล้องแต่ล่ะตัวนั้นเป็นอย่างไร แต่สำหรับเมนูที่มีลักษณะโดดเด่นที่สุดของกล้องก็คือการดูภาพ (playback) ซึ่งจะต้องทำให้ง่ายหรือใช้ขั้นตอนน้อยที่สุดในการทำงานโดยถ้าปุ่มดูภาพใช้งานยากแล้วปุ่มการทำงานอื่นๆ ก็คงจะไม่ต้องพูดถึงว่าจะเป็นอย่างไร และตัวเมนูนั้นต้องครอบคลุมการทำงานในทุกๆ

ทิปเล็กน้อยก่อนเลือกซื้อ

จะเห็นได้ว่าสเปคของตัวกล้องนั้นมีมากมายก็ขอให้ศึกษารายละเอียดต่างๆ ก่อนที่จะซื้อและดูให้รอบคอบ ซึ่งเมื่อพร้อมที่จะซื้อกล้องกันแล้วก็ขอสรุปทิปเล็กๆ น้อยๆ เพื่อที่จะได้เป็นแนวในการเลือกซื้อดังนี้

ความละเอียดตรงตามความต้องการใช้งาน - กล้องระดับ 2 ล้านพิกเซลนั้นอาจจะไม่ใช่กล้องที่หลายๆ คนต้องการแต่มันก็เป็นกล้องที่มีราคาถูก และใช้งานง่าย แต่ถ้าต้องการนำมาพิมพ์ภาพขนาดใหญ่สัก 8x10 นิ้วกล้องระดับ 3 ล้านพิกเซลอาจจะเหมาะสมกว่าหรือกล้องระดับ 4-5 ล้านพิกเซลก็จะให้ภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าและเกิดความผิดพลาดน้อยกว่าด้วย

มองที่แบตเตอรี่และแท่นชาร์จ - ในส่วนนี้จะเป็นต้นทุนระยะยาวของการใช้งานกล้องถ่ายภาพซึ่งกล้องบางรุ่น ใช้แบบ AA หรือบางรุ่นใช้แบบเฉพาะก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันแต่แนะนำให้หาแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จได้มาใช้ก็จะเป็นการประหยัดต้นทุนไปได้มากหรืออาจจะมีอย่างน้อยสัก 2 ชุดก็ได้เพื่อที่จะเวลาหมดชุดหนึ่งชาร์จไว้อีกชุดหนึ่งนำไปใช้งานสลับกันก็จะได้ไม่เสียเวลา

การซูมแบบออฟติคอล - ตัวกล้องน่าจะสามารถทำการซูมแบบออฟติคอลได้อย่างน้อย 2x เพื่อให้การถ่ายภาพนั้นมีความคมชัดมากขึ้นซึ่งโดยมากแล้วกล้องส่วนใหญ่จะให้การซูมแบบดิจิตอลมาซึ่งผลของการซูมแบบดิจิตอลนี้ให้คุณภาพของภาพออกมาสู้การซูมแบบออฟติคอลไม่ได้

ระบบช่วยโฟกัสในสภาวะแสงน้อย - กล้องถ่ายภาพบางรุ่นจะมีในส่วนนี้เพื่อที่จะทำให้การถ่ายภาพนั้นง่ายขึ้นดังนั้นระบบนี้จึงมีความสำคัญเมื่อถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อยหรือในเวลากลางคืน

ดูให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานสื่อภายนอกได้ - กล้องบางรุ่นนั้นจะมีหน่วยความจำภายในมาให้แล้ว โดยที่ไม่ต้องใช้งานสื่อบันทึกข้อมูลภายนอกทำให้เกิดความสะดวกอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันอาจจะไม่สามารถใช้สื่อบันทึกข้อมูลภายนอก ซึ่งอาจจะทำให้การถ่ายภาพนั้นถ่ายได้ไม่มากนักหรือจำกัดจำนวนเกินไป ดังนั้นให้ดูก่อนว่ามีช่องต่อสื่อข้อมูลภายนอกหรือไม่และเป็นแบบใดเพื่อที่จะได้เลือกซื้อให้ถูกตามความต้องการ

หลีกเลี่ยงกล้องที่ใช้ FDD หรือ compact discs ในการบักทึกข้อมูล - ในส่วนนี้ไม่ได้บักคับแต่เป็นการแนะนำซึ่งแม้ว่า FDD หรือ CD จะมีราคาที่ถูกและประหยัดก็ตามแต่สื่อเหล่านี้ไม่สามารถที่จะบันทึกจำนวนภาพจำนวนมากๆ ได้และบันทึกภาพได้ที่ความละเอียดไม่สูงมากนักกอปรกับมีการทำงาที่ช้ากว่าสื่อบันทึกข้อมูลแบบอื่นๆ แต่มีข้อดีคือค่าใช้จ่ายต่างๆ จะถูกกว่าสื่อบันทึกข้อมูลแบบอื่นๆ

ลองใช้ก่อนซื้อ - ของไม่ได้ดูไม่ได้เห็นไม่ได้จับอย่าซื้อ ถึงแม้ว่าเราจะมีข้อมูลมากแค่ไหนก็ตามแต่ถ้าได้ไปสัมผัสหรือจับของจริงลองเล่นสักครั้งสองครั้งก็จะเป็นส่วนช่วยให้การตัดสินใจในการเลือกทำได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถที่ใช้เทียบกับรุ่นอื่นๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งที่น่าจะลองก็มีช่วงเวลาของการถ่ายภาพหลังจากกดชัตเตอร์ไปแล้วใช้ระยะเวลานานหรือไม่, ทดลองการซูมว่าสามารถทำได้ดีเพียงใดทำได้นุ่มนวลรวดเร็วหรือไม่, การหาจุดโฟกัสของภาพทำได้รวดเร็วแค่ไหน และจอ LCD มีความคมชัดและใช้งานได้ในสถานที่ต่างๆ มากน้อยเพียงใด

ดูซอฟต์แวร์ที่ให้มาพร้อมตัวกล้อง - ในส่วนนี้ก็จะเป็นประโยชน์ในการแต่งภาพหรือแก้ไขภาพให้ได้ตามความต้องการโดยที่ไม่ต้องไปหาซื้อซอฟต์แวร์เพิ่มเติมอย่าง Adobe Photoshop Elements และ Ulead PhotoImpact

จอ LCD ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกจอที่มีความคมชุดสูงๆ ดูแล้วสบายตา และควรจะมีช่องมองภาพแบบ viewfinder เพื่อที่จะช่วยประหยัดพลังงานของตัวกล้องได้

ลักษณะของการถ่ายภาพเคลื่อนไหว - ในส่วนนี้ก็ไม่ต้องไปให้ความสำคัญมากนักหรืออาจจะมองเลยผ่านไปก็ได้มีก็ดีไม่มีก็เฉยๆ เนื่องจากการถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องถ่ายภาพภาพนิ่งนั้นค่อนข้างที่จะมีการจำกัดอยู่มากซึ่งถ้าคิดจะถ่ายภาพเคลื่อนไหวในลักษณะของวิดีโอให้ไปซื้อกล้องแบบวิดีโอจะดีกว่า

เลือกสื่อบันทึกข้อมูลที่จะใช้งาน - สื่อบันทึกข้อมูลนี้ก็เปรียบเสมือนฮาร์ดดิสก์ที่บันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องเป็นส่วนที่เก็บข้อมูลภาพต่างๆ ก่อนที่จะโอนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่ออื่นๆ ซึ่งสื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถอ่านเขียนได้เร็วก็จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานลงไปได้มากเลยทีเดียว

ขอบคุณ http://www.quickpc.co.th/quickdata/guide/cam/cam.htm



บันทึกการเข้า

malangmow
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 52



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 02:35:51 PM »

 Huh? Huh? Huh?  ผมมีงบอยู่ 6000  บาท  รบกวนช่วยแนะนำสเปคกล้องหน่อยคับ    Huh? Huh? Huh? Embarrassed Lips Sealed Kiss
บันทึกการเข้า

หนุ่มศรีสะเกษ
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 02:42:24 PM »

ถ้าท่านมีงบอยู่เท่านั้นจริงๆ คงหายากหน่อยครับ ลองตัวนี้ดูแล้วกันครับ

Sony S650

ความละเอียด 7.1M

ช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ สาย VDO และ USB

การ์ดแบบ MS/MS ProDuo

แบตเตอรี่ AA*2

น้ำหนักรวม ( แบต ) 178g

SONY S650 + กระเป๋ากล้อง sony แท้ + ขาตั้งกล้อง + ชุดทำความสะอาด = 5,200 บาท ** ประกันศูนย์ Sony ไทยแลนด์ **

SONY S650 + MS 512M + กระเป๋ากล้อง sony แท้ + ขาตั้งกล้อง + ชุดทำความสะอาด = 5,900 บาท ** ประกันศูนย์ Sony ไทยแลนด์ **

 

Max resolution      3072 x 2304
 Low resolution      2592 x 1944, 2048 x 1536, 1632 x 1224, 64 x 480
 Image ratio w:h      4:3, 3:2, 16:9
 Effective pixels      7.1 million
 Sensor photo detectors      7.2 million
 Sensor size      1/2.5 "
 Sensor type      CCD
 Colour filter array      RGB
 Sensor manufacturer      Sony
 ISO rating      Auto, 100, 200, 400, 800, 1000
 Zoom wide (W)      35 mm
 Zoom tele (T)      105 mm (3 x)
 Digital zoom      Yes
 Image stabilization      No
 Auto Focus      Yes
 Manual Focus      No
 Auto focus type      TTL
 Normal focus range      35 cm
 Macro focus range      5 cm
 White balance override      5 positions
 Aperture range      F2.8 - F4.8
 Min shutter      1 sec
 Max shutter      1/2000 sec
 Built-in Flash      Yes
 Flash guide no.      3.5 m (11.4 ft) 5 m
 External flash      No
 Flash modes      Auto, Red-Eye reduction, On, Off, Slow Sync
 Exposure compensation      -2 to +2 EV in 1/3 EV Steps
 Metering      Multi-Segment, Spot
 Aperture priority      No
 Shutter priority      No
 Focal length multiplier       
 Lens thread      No
 Continuous Drive      Yes, 0.7 fps up to 3 images
 Movie Clips      Yes, 320 x 240 @ 30 fps
 Remote control      No
 Self-timer      10 sec
 Timelapse recording      No
 Orientation sensor      No
 Storage types      Memory Stick Duo / Pro Duo + Internal
 Storage included      24 MB Internal
 Uncompressed format      No
 Compressed format      JPEG (EXIF 2.2)
 Quality Levels      Fine, Standard
 Viewfinder      No
 LCD      2.0 "
 LCD Pixels      115,000
 Video out      Yes
 USB      Yes
 Firewire (IEEE 1394)      No
 Battery / Charger      No
 Battery      AA (2) batteries (NiMH recommended)
 Weight (inc. batteries)      178 g (6.3 oz)
 Dimensions      91 x 61 x 27 mm (3.6 x 2.4 x 1.1 in)
 
http://www.madein-hongkong.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=400684

บันทึกการเข้า
007
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 59


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2007, 08:05:13 PM »

ไม่แนะนำกล้องวีดีโอบ้างล่ะคะ กำลังอยากจะได้อยู่เลย
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2007, 09:56:29 PM »

ไม่แนะนำกล้องวีดีโอบ้างล่ะคะ กำลังอยากจะได้อยู่เลย

อยากได้ยี่ห้อไหนหล่ะ แล้วมีงบเท่าไหร่ครับ.............จะหาข้อมูลให้................. Tongue
บันทึกการเข้า
mbsamart
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2007, 10:12:21 PM »

ไม่แนะนำกล้องวีดีโอบ้างล่ะคะ กำลังอยากจะได้อยู่เลย

อยากได้ยี่ห้อไหนหล่ะ แล้วมีลบเท่าไหร่ครับ.............จะหาข้อมูลให้................. Tongue

ลบหรืองบ Grin
ใครจะซื้อก็อ่านดีๆ ล่ะเดี๋ยวถ้าซื้อมาแล้วไม่โดนใจไม่มีใครช่วยได้นะ BenQ ก็ช่วยไม่ได้ถ้าซื้อมาแล้ว ระวังอาการเตะตา..พอใช้ไม่โดนใจ
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2007, 10:31:11 PM »

แก้แล้วครับพี ขอบคุณมากครับ..................... Cheesy Cheesy Cheesy  Grin Grin
บันทึกการเข้า
007
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 59


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 08:20:29 AM »

ขอราคาไม่เกิน 3 หมื่นนะคะ สำหรับยี่ห้อ ก็ต้องขอคำแนะนำด้วย เพราะไม่เคยเล่นกล้อง แต่อยากได้เอาไว้ถ่ายวีดีโอ และถ่ายภาพนิ่งได้ด้วย จะได้ไม่ต้องซื้อกล้องถ่ายรูปอีกไงคะ
บันทึกการเข้า
meitian
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 15


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 12:31:33 PM »

ขอบคุณค่ะ Huh?
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:05:20 PM »

กล้องวีดีโอ DVD ยี่ห้อ Sony Handycam DCR-DVD7

ราคา 17,990   บาท   
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:09:09 PM »

ยังมีอีกเพียบเลย ลองเข้าไปเลือกเอานะครับ....................

>>>รุ่นอื่นๆของกล้องถ่าย VDO<<<
บันทึกการเข้า
007
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 59


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:32:26 PM »

รบกวนถามหน่อยนะคะ อยากทราบข้อดี ข้อเสีย สำหรับกล้องที่ใช้ HDD กับที่ใช้ DVD ค่ะว่าควรจะใช้แบบไหน  Undecided
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:43:12 PM »

ที่เป็น DVD สามารถเปิดใส่เครื่องดูได้เลยไงครับ ส่วนที่เป็น HDD เก็บข้อมูลได้มากมาย............ Tongue

บันทึกการเข้า
007
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 59


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 07:44:44 PM »

ขอบคุณมากนะคะน้อง BenQ ไว้มีปัญหาจะเข้ามาปรึกษาอีกนะคะ  Huh?
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!