วงจรไดชาร์จ

วงจรไดชาร์จ

<< < (2/7) > >>

ch_wattana06:
การทำงานของเรกูเลเตอร์
1. เมื่อเปิดสวิตช์จุดระเบิด (สวิตช์กุญแจสตาร์ท) ไปที่ตำแหน่ง ON กระแสไฟฟ้าจากขั้ว IG ของสวิตช์ไปยังขั้ว IG ของเรกูเลเตอร์ผ่านหน้าทองขาว PL1 , PLo ไปยังขั้ว F และออกจากขั้ว F ของเรกูเลเตอร์เข้าขดลวดโรเตอร์ลงกราวด์ครบวงจร ทำให้ขดลวดโรเตอร์เกิดสนามแม่เหล็ก จากขั้ว IG ของสวิตช์จุดระเบิดอีกเส้นหนึ่งไปยังหลอดไฟแสดงการชาร์จ เข้าขั้ว L ของเรกูเลเตอร์ ไปยังหน้าทองขาว Po และผ่านหน้าทองขาว P1 ลงกราวด์ครบวงจร ทำให้หลอดไฟแสดงการชาร์จติดสว่าง ดังแสดงในภาพ

ch_wattana06:
2. เมื่อเครื่องยนต์ทำงานที่ควานเร็วรอบต่ำถึงความเร็วรอบปานกลาง
เมื่อทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ เครื่องยนต์อยู่ในตำแหน่งเดินเบา อัลเทอร์เนเตอร์ (ไดชาร์จ) ก็หมุนด้วยความเร็วต่ำ ขดรวดโรเตอร์ซึ่งเป็นสนามแม่เหล็กหมุนตัดกับขดรวดสเตเตอร์เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นที่ขั้ว

ch_wattana06:
B  และขั้ว N (ขั้ว N จะมีไฟเพียงครึ่งหนึ่งของขั้ว B) กระแสไฟฟ้าจากขั้ว N ของอันเทอร์เนเตอร์ (ไดชาร์จ) จะไปยังขั้ว N ของเรกูเลเตอร์ เข้าขดรวดรีเลย์ไฟชาร์จลงกราวด์ ทำให้ขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กดูดหน้าทองขาว Po ให้ลงมาติดกับหน้าทองขาว P2 กระแสไฟฟ้าจากขั้ว B ของเรกูเลเตอร์ซึ่งรออยู่ที่หน้าทองขาว P2 ก็จะไปยังหน้าทองขาว Po ไปยังขดลวดโวลเตจเรกูเลเตอร์ลงกราวด์ ทำให้ขดลวดโวลเตจเรกูเลเตอร์เกิดสนามแม่เหล็ก ขณะเดียวกันเมื่อกระแสไฟฟ้าจากขั้ว L ผ่านหน้าทองขาว Po ไปยังขดลวดโวลเตจเรกูเลเตอร์ จะชนกับกระแสจากขั้ว B ทำให้เกิดการสมดุลทางไฟฟ้า ทำให้หลอดไฟแสดงการชาร์จที่หน้าปัดดับ ดังแสดงในภาพ

ch_wattana06:
     ขณะที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ออกจากอัลเทอร์เนเตอร์ (ไดชาร์จ) ยังไม่มาก อำนาจแม่เหล็กของขดลวดโวลเตจเรกูเลเตอร์ก็มีน้อย
ไม่สามารถดูดหน้าทองขาว PLo ให้แยกจาก PL1 ได้ กระแสไฟฟ้าจากขั้ว IG ก็ไปยังขั้ว F โดยไม่ผ่านตัวต้านทานที่ต่อขนานอยู่กับหน้าทองขาว PL1 , PLo
ทำให้กระแสไฟฟ้าจากขั้ว IG ไปยังขั้ว F เข้าขลลวดโรเตอร์ได้มาก ความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดโรเตอร์มีมาก
     เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพิ่มมากขึ้น แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ออกจากอัลเทอร์เนเตอร์ (ไดชาร์จ) ก็มากขึ้นด้วย
ทำให้ขดลวดโวลเตจเรกูเลเตอร์มีสนสมแม่เหล็กมากขึ้นจนสามารถดูดหน้าทองขาว PLo ให้แยกจากหน้าทองขาว PL1
แต่ยังไม่ติดกับหน้าทองขาว PL2 กระแสไฟฟ้าจากขั้ว IG ผ่านหน้าทองขาว PLo ไม่ได้
ก็ไปผ่านตัวความต้านทานไปยังขั้ว F ของเรกูเลเตอร์แล้วเข้าขั้ว F ของอัลเทอร์เนเตอร์ ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้น้อยลง
อัลเทอร์เนเตอร์ก็ผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้าออกมาได้น้อยลง จนทำให้ขดลวดโวลเตจเรกูเลเตอร์มีสนามแม่เหล็กลดลง
จนไม่สามารถดูดหน้าทองขาว PLo ได้ หน้าทองขาว PL0 ก็ไปติดกับหน้าทองขาว PL1 อีก
เป็นการเพิ้มแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ออกจากอัลเทอร์เนเตอร์อีก การทำงานเช่นนี้จะอยู่ในช่วงเครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบต่ำถึงความเร็วรอบปานกลาง
ดังในรูปภาพ

ch_wattana06:
3. เมื่อเครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบปานกลางถึงความเร็วรอบสูง
     เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์สูงขึ้นจากความเร็วรอบปานกลางไปยังความเร็วรอบสูง
อัลเทอร์เนเตอร์ (ไดชาร์จ) จะผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้าออกมามากขึ้น ความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดโวลเตจเรกูเลเตอร์มีมาก
ก็สามารถดูดหน้าทองขาว PLo ให้มาติดกับหน้าทองขาว PL2 ลงกราวด์ ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไปที่ขั้ว F ของอัลเทอร์เนเตอร์
อัลเทอร์เนเตอร์ก็หยุดการผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า ความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดโวลเตจเรกูเลเตอร์ก็ลดลง
ปล่อยให้หน้าทองขาว PLo แยกจากหน้าทองขาว PL2 แต่ยังไม่ติดกับหน้าทองขาว PL1
กระแสไฟฟ้าขั้ว IG ก็ไหลผ่านตัวความต้านทานไปยังขั้ว F ของอัลเทอร์เนเตอร์ได้ อันเทอร์เนเตอร์ก็ผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า
การทำงานเช่นนี้จะอยู่ในช่วงความเร็วรอบเครื่องยนต์ปานกลางถึงความเร็วรอบสูง ดังในรูปภาพ
     หมายเหตุ เมื่อหน้าทองขาว Po ติดกับหน้าทองขาว P2 หน้าทองขาว Po จะไม่แยกจากหน้าทองขาว P2
เพราะแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากขั้ว N ยังมีอยู่ เนื่องมาจากแรงแม่เหล็กตกค้างของขดลวดโรเตอร์ ครับ.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว